อำเภอหาดใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำเภอหาดใหญ่
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอหาดใหญ่
Cquote1.png ชุมทางปักษ์ใต้ หลากหลายเศรษฐกิจ ชีวิตอุดม รื่นรมย์ธรรมชาติ ชายหาดแหลมโพธิ์ ส้มโอสีชมพู คู่คลองอู่ตะเภา ขุนเขาโตนงาช้าง Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอหาดใหญ่
อักษรโรมัน Amphoe Hat Yai
จังหวัด สงขลา
รหัสทางภูมิศาสตร์ 9011
รหัสไปรษณีย์ 90110
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 852.796[1] ตร.กม.
ประชากร 370,919[2] คน (พ.ศ. 2552)
ความหนาแน่น 434.94 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ
ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่
ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
พิกัด 7°0′6″N, 100°27′24″E
หมายเลขโทรศัพท์ 0 7425 2008-9
หมายเลขโทรสาร 0 7425 2008-9

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอหาดใหญ่ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งของนครหาดใหญ่ถือได้ว่าเป็นเมืองใหญ่สุดทางภาคใต้ที่เป็นเมืองศูนย์กลางการค้า เศรษฐกิจ การศึกษา และท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดและของภาคใต้ ในเขตอำเภอหาดใหญ่นอกจากมีนครหาดใหญ่แล้ว ยังมีเมืองอื่น ๆ ในเขตปริมณฑลอีกได้แก่ เมืองคอหงส์ เมืองควนลัง เมืองคลองแห และเมืองบ้านพรุ

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

"หาดใหญ่" เป็นชื่อรวมของหมู่บ้านโคกเสม็ดชุนและหมู่บ้านหาดใหญ่ เดิมดินแดนหาดใหญ่เป็นเนินสูง มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากนัก การคมนาคมไม่สะดวก เป็นป่าต้นเสม็ดชุน โดยทั่วไปชาวบ้านจึงเรียกว่า "บ้านโคกเสม็ดชุน" เมื่อทางการได้ตัดทางรถไฟมาถึงท้องถิ่นนี้ จึงมีประชาชนอพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน และเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ

สมัยนั้นสถานีชุมทางรถไฟอยู่ที่สถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภา (ด้านเหนือของสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ แต่ปัจจุบันทั้งตัวอาคารสถานีและป้ายสถานีอู่ตะเภาได้ถูกรื้อถอนออกไปหมดแล้ว) เนื่องจากพื้นที่บริเวณสถานีอู่ตะเภาเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมเป็นประจำ ทางการรถไฟจึงได้ย้ายสถานีมาอยู่ที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ปัจจุบัน ประชาชนได้ทยอยติดตามมาสร้างบ้านเรือนตามบริเวณสถานีนั่นเอง ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่ากิจการรถไฟมีบทบาทต่อการขยับขยายและความเจริญก้าวหน้าของนครหาดใหญ่ตลอดมา

ต่อมาได้มีผู้เห็นการณ์ไกลว่า บริเวณสถานีรถไฟหาดใหญ่นี้ต่อไปภายหน้าจะต้องเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน จึงได้มีการจับจองและซื้อที่ดินแปลงใหญ่จากราษฏรพื้นบ้าน บุคคลที่ครอบครองแผ่นดินผืนใหญ่ ๆ อาทิ นายเจียกีซี (ต่อมาได้รับพระราชทานนามเป็นขุนนิพัทธ์จีนนคร) คุณพระเสน่หามนตรี นายซีกิมหยง และพระยาอรรถกระวีสุนทร ทั้ง 4 ท่านนี้นับว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่นครหาดใหญ่อย่างแท้จริง ได้ตัดถนนสร้างอาคารบ้านเรือนให้ราษฏรเช่า ตัดที่ดินแบ่งขาย เงินที่ได้ก็นำไปตัดถนนสายใหม่ต่อไป ทำให้ท้องถิ่นรุดหน้าอย่างอัศจรรย์

ชุมชนหาดใหญ่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทางราชการต้องยกฐานะให้บ้านหาดใหญ่เป็นอำเภอ มีชื่อว่า อำเภอเหนือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอเหนือเป็น อำเภอหาดใหญ่ และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอชั้นเอก

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอหาดใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองจังหวัด ระยะทางห่างจากตัวเมืองสงขลา 30 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางรถไฟประมาณ 974 กิโลเมตร และทางรถยนต์ประมาณ 993 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

[แก้] ลักษณะทางภูมิศาสตร์

ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอหาดใหญ่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ มีแนวภูเขาทางด้านทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันออก โดยพื้นที่ลาดจากทิศใต้และทิศตะวันตกไปสู่ทะเลสาบสงขลา มีพื้นที่ติดกับทิวเขาบรรทัดทางทิศเหนือ และติดกับทิวเขาสันกาลาคีรีทางทิศตะวันตกและทิศใต้ ภูเขาที่สำคัญได้แก่ เขาคอหงส์ เขาแก้ว เขาวังพา และเขาน้ำน้อย

สภาพภูมิอากาศมีความคล้ายคลึงกับสภาพอากาศโดยทั่วไปของภาคใต้ที่อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน แบ่งออกเป็น 2 ฤดูกาล คือฤดูฝนและฤดูร้อน ฤดูฝนมี 2 ระยะ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และเดือนกันยายน-ธันวาคม

[แก้] แหล่งน้ำ

  • คลองเตย เป็นคลองสายเก่าแก่ที่สุดของนครหาดใหญ่ อยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมือง ไหลเข้าสู่ทางด้านใต้ของสถานีรถไฟหาดใหญ่ ผ่านบริเวณทุ่งเสาไหลเรียบ ถนนสายต่าง ๆ
  • คลองอู่ตะเภา อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมืองหาดใหญ่ ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร เคยเป็นเส้นทางสัญจรสำคัญระหว่างเมืองสงขลาและเมืองไทรบุรี (รัฐเกดะห์ของประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) แต่ ณ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) คุณภาพของน้ำในคลองอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วง

[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอหาดใหญ่แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 98 หมู่บ้าน

1. หาดใหญ่ (Hat Yai) - 8. ทุ่งใหญ่ (Thung Yai) 6 หมู่บ้าน
2. ควนลัง (Khuan Lang) 6 หมู่บ้าน 9. ทุ่งตำเสา (Thung Tam Sao) 10 หมู่บ้าน
3. คูเต่า (Khu Tao) 10 หมู่บ้าน 10. ท่าข้าม (Tha Kham) 8 หมู่บ้าน
4. คอหงส์ (Kho Hong) 8 หมู่บ้าน 11. น้ำน้อย (Nam Noi) 10 หมู่บ้าน
5. คลองแห (Khlong Hae) 11 หมู่บ้าน 12. บ้านพรุ (Ban Phru) 11 หมู่บ้าน
6. คลองอู่ตะเภา (Khlong U Taphao) 4 หมู่บ้าน 13. พะตง (Phatong) 8 หมู่บ้าน
7. ฉลุง (Chalung) 6 หมู่บ้าน

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอหาดใหญ่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

[แก้] การคมนาคมขนส่ง

อำเภอหาดใหญ่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภาคใต้ตอนล่าง มีวิธีการเดินทางทั้งทางรถยนต์ ทางรถไฟ และทางอากาศ

  • ทางรถยนต์ อำเภอหาดใหญ่มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) และทางหลวงสายเอเชียหมายเลข A2 (ซ้อนทับกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ตัดผ่าน โดยมีสามแยกคอหงส์ (จุดบรรจบกับถนนกาญจนวณิชย์) เป็นจุดปลายของถนนเพชรเกษม (จุดเริ่มต้นของถนนเพชรเกษมอยู่ที่สี่แยกท่าพระ กรุงเทพฯ) จากนั้นทางหลวงหมายเลข 4 จะซ้อนทับกับถนนกาญจนวณิชย์จากสามแยกคอหงส์ไปสิ้นสุดที่ชายแดนไทย-มาเลเซียที่ด่านสะเดา อำเภอสะเดา

นครหาดใหญ่เชื่อมกับนครสงขลา ศูนย์กลางของจังหวัด ด้วยทางหลวงหมายเลข 407 (ถนนกาญจนวณิชย์ช่วงสามแยกคอหงส์ หาดใหญ่ - สามแยกสำโรง สงขลา) และทางหลวงหมายเลข 414 (ถนนลพบุรีราเมศวร์) ซึ่งไปบรรจบกับถนนกาญจนวณิชย์ที่ห้าแยกเกาะยอ มีรถโดยสารประจำทางระหว่างเมืองของบริษัทขนส่ง จำกัด ให้บริการไปยังจุดหมายต่าง ๆ ทั้งกรุงเทพและภาคใต้ โดยมีสถานีขนส่งหาดใหญ่เป็นสถานีรถโดยสารประจำเมือง

  • ทางรถไฟ สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ มีเส้นทางรถไฟ 4 สายมาบรรจบกัน นั่นคือทางรถไฟสายใต้หลักไปกรุงเทพฯ ทางรถไฟสายใต้หลักไปสุไหงโกลก ทางรถไฟสายแยกไปปาดังเบซาร์ (เชื่อมต่อกับทางรถไฟของมาเลเซีย) และทางรถไฟสายแยกไปสงขลา แต่ทางรถไฟสายสงขลาปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่มีรถไฟโดยสารบริการ 28 ขบวน โดยที่ 26 ขบวนเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย อีก 2 ขบวนเป็นของบริษัทการรถไฟมลายา (KTMB) ของมาเลเซีย วิ่งระหว่างชุมทางหาดใหญ่-เซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์-ชุมทางเกมาส
  • ทางอากาศ อำเภอหาดใหญ่มีท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ในอำเภอคลองหอยโข่ง ชานเมืองหาดใหญ่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับกองบิน 56 ของกองทัพอากาศ โดยมีสายการบินต่าง ๆ ของไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ให้บริการเที่ยวบินไปยังกรุงเทพ ภาคใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้แก่ สายการบินไทย สายการบินนกแอร์ สายการบินวันทูโกโดยโอเรียนท์ไทย สายการบินแอร์เอเชีย (ไทย/มาเลเซีย) สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ และสายการบินไทเกอร์แอร์เวย์ (สิงคโปร์)
ตัวเมืองหาดใหญ่ (จากเขาคอหงส์)

[แก้] การศึกษา

อำเภอหาดใหญ่มีสถาบันการศึกษาทุกระดับ ทั้งโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย สถาบันที่สำคัญประกอบด้วย

[แก้] ห้างสรรพสินค้า

[แก้] อำเภอเมืองสงขลา

[แก้] อำเภอหาดใหญ่

[แก้] แหล่งท่องเที่ยว

หาดใหญ่ หาดใหญ่ เมืองศูนย์กลางด้านการค้าและธุรกิจของภาคใต้ ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเป็นประตูผ่านไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คือ มาเลเซีย และสิงคโปร์ เนื่องจากอยู่ห่างจากด่านสะเดาเพียง 60 กิโลเมตร ปัจจัยที่ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากก็คือ การเป็นศูนย์กลางทางด้านต่างๆ ธุรกิจการค้า การขนส่ง การสื่อสาร การคมนาคม การศึกษา และการท่องเที่ยว

ตัวเมืองหาดใหญ่ ตัวเมืองหาดใหญ่เป็นเมืองที่ค่อนข้างจะทันสมัย ประกอบด้วยอาคารบ้านเรือน ร้านค้าพาณิชย์ต่างๆ มากมาย ท่านอาจจะเดินชมสินค้าต่างๆ อย่างเพลิดเพลินโดยตั้งต้นจากจุดหนึ่งในย่านกลางใจเมือง เช่น ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1, 2 หรือ 3 แล้วท่านจะพบสินค้าแปลกๆ ใหม่ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ศูนย์การค้ามีหลายแห่งคือ ศูนย์การค้าลิโด ศูนย์การค้าโอเดียน ถนนเสน่หานุสรณ์ ศูนย์การค้าหาดใหญ่พลาซ่า และตลาดซีกิมหยง ถนนเพชรเกษม ซึ่งย่านการค้าเหล่านี้อยู่ในบริเวณกลางใจเมืองที่ท่านสามารถเดินไปถึงได้อย่างสะดวก

วัดหาดใหญ่ใน วัดหาดใหญ่ใน ถนนเพชรเกษมใกล้สะพานคลองอู่ตะเภา มีพระนอนขนาดใหญ่ประดิษฐานขนาดยาว 35 เมตร สูง 15 เมตร กว้าง 10 เมตร ชื่อพระพุทธหัตถมงคล

สวนสาธารณะเทศบาลเมืองหาดใหญ่ สวนสาธารณะเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ริมถนนกาญจนวนิช เส้นทางหาดใหญ่-สงขลา ห่างจากตัวเมืองหาดใหญ่ 6 กิโลเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวหาดใหญ่และบริเวณใกล้เคียง ตลอดจนนักท่องเที่ยวต่างชาติ บริเวณสวนตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับอย่างงดงาม มีศาลากลางน้ำ และสวนสัตว์ มีร้านอาหาร ที่จอดรถกว้างขวางไว้คอยบริการ ประชาชนนิยมไปพักผ่อนในยามว่าง และวันสุดสัปดาห์เป็นจำนวนมาก

น้ำตกโตนงาช้าง ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งเสาห่างจากตัวเมืองอำเภอหาดใหญ่ประมาณ26กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคใต้อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้างเป็นน้ำตก ที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคใต้ อยู่ห่างจากอำเภอ หาดใหญ่ประมาณ 26 กม. ไปตามเส้นทางหาดใหญ่-รัตภูมิ ประมาณ 13 กม. น้ำตกโตนงา ช้างมีด้วยกันทั้งหมด 7 ชั้น ชั้นที่สวยงามและเป็นชื่อของน้ำตกคือ ชั้นที่ 3 ซึ่งมีสายน้ำตกแยกออกมา ลักษณะคล้ายงาช้าง อันเป็นที่มาของคำว่า "โตน" ภาษาพื้นเมืองแปลว่า น้ำตกโตนงาช้าง หมายถึง น้ำตกรูปงาช้างภายในบริเวณน้ำตกโตนงาช้างยัง มีเส้นทางเดินป่าไว้ให้นักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัย เข้าถึงธรรมชาติ

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 6°57′55″N 100°25′44″E / 6.96533°N 100.42877°E / 6.96533; 100.42877

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ บันทึกนักปกครอง 2551
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/xstat/pop52_3.html 2552. สืบค้น 24 เมษายน 2553.