อุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่ายดาวเทียมของอาคารเครื่องปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหายสี่หลัง (16 มีนาคม)
ภาพถ่ายดาวเทียมของอาคารเครื่องปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหายสี่หลัง (16 มีนาคม)
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น

อุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ เป็นเหตุการณ์ที่อุปกรณ์เครื่องมือขัดข้องและปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น ณ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าวประกอบด้วยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือดจำนวน 6 เครื่องแยกกัน บำรุงรักษาโดยบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) ผู้เชี่ยวชาญมองว่าอุบัติเหตุนิวเคลียร์ครั้งนี้เป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดเป็นอันดับที่สองตามหลังอุบัติภัยเชอร์โนบิล แต่มีความซับซ้อนกว่าเนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมดได้รับผลกระทบ[1]

ขณะที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้นนั้น เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4 ถูกนำแท่งเชื้อเพลิงออก ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ที่ 5 และ 6 ถูกดับเครื่องสนิทตามกำหนดบำรุงรักษา[2] เครื่องปฏิกรณ์ที่เหลือถูกปิดลงอัตโนมัติหลังจากเกิดแผ่นดินไหว และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินเริ่มผลิตพลังงานเพื่อทำงานอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมและปั๊มน้ำที่จำเป็นสำหรับใช้ลดอุณหภูมิ โรงไฟฟ้าได้รับการป้องกันจากกำแพงกันคลื่นที่สามารถทนรับคลื่นสึนามิความสูง 5.7 เมตรได้ แต่คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหว 15 นาทีนั้น สูงถึง 14 เมตร[3] ผลกระทบทำให้โรงไฟฟ้าทั้งหมดถูกน้ำท่วม รวมทั้งเครื่องปฏิกรณ์ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่มากนักและในส่วนสวิตช์เกียร์ไฟฟ้าในฐานของเครื่องปฏิกรณ์ด้วย นอกจากนี้ การเชื่อมต่อกับสายส่งไฟฟ้าพังเสียหาย พลังงานทั้งหมดที่ใช้สำหรับหล่อเย็นจึงสูญเสียไปและเครื่องปฏิกรณ์เริ่มมีความร้อนเกินจากการสลายตัวของสารที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นที่เกิดขึ้นก่อนดับเครื่อง ความเสียหายจากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวทำให้การนำความช่วยเหลือมาจากที่อื่นประสบความยากลำบาก

ต่อมาได้มีหลักฐานว่าแกนปฏิกรณ์บางส่วนเกิดการหลอมละลายในเครื่องปฏิกรณ์ที่ 1, 2 และ 3 การระเบิดของไฮโดรเจนได้ทำลายวัสดุใช้หุ้มส่วนบนของอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของเตาปฏิกรณ์ที่ 1, 3 และ 4 แรงระเบิดได้ทำลายวัสดุคลุมภายในเตาปฏิกรณ์ที่ 2 และเกิดเพลิงไหม้ขึ้นหลายจุดที่เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4 นอกเหนือจากนี้ แท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วซึ่งถูกเก็บไว้ในบ่อเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1-4 เริ่มมีความร้อนเกินเนื่องจากระดับน้ำในบ่อลดลง ด้วยเกรงว่าจะเกิดการรั่วไหลของกัมมันตรังสี จึงนำไปสู่การอพยพประชาชนในรัศมี 20 กิโลเมตรโดยรอบโรงไฟฟ้า คนงานซึ่งทำงานอยู่ที่โรงไฟฟ้าได้รับปริมาณรังสีเข้าไปและถูกอพยพชั่วคราวหลายครั้ง โรงไฟฟ้าบางส่วนกลับมามีพลังงานอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 20 มีนาคม แต่เครื่องจักรกลที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย เพลิงไหม้และการระเบิดยังคงไม่สามารถใช้การได้[4] ในช่วงแรก ทางการญี่ปุ่นได้จัดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 4 ตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (INES) ถึงแม้ว่าองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ จะมองว่าควรจะจัดให้อยู่ในระดับที่สูงกว่านี้ ต่อมาระดับดังกล่าวถูกเพิ่มขึ้นเป็นระดับ 5 และ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ตามลำดับ[5][6]

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ผู้วางระเบียบด้านนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นประกาศว่า น่าจะมีรอยแตกเกิดขึ้นในหม้อความดันห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์ที่ 3 (ซึ่งบรรจุเชื้อเพลิงออกไซด์ผสม) ซึ่งทางการสงสัยว่าอาจเกิดรอยร้าวและการรั่วไหลของกัมมันตรังสี[7][8][9] การตรวจวัดฝุ่นกัมมันตรังสีที่ปลดปล่อยจากเครื่องปฏิกรณ์ทั่วโลกได้รับรายงานโดยนิวไซแอนทิสว่า "ใกล้เคียงกับระดับของเชอร์โนบิล" มีการรายงานว่าองค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์วัดระดับของไอโอดีน-131 ที่ 73% และซีเซียม-137 อยู่ที่ 60% ของระดับที่ปลดปล่อยออกมาจากหายนะเชอร์โนบิล[10] การตรวจวัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นในพื้นที่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่นในรัศมี 30-50 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้า พบว่าระดับซีเซียมกัมมันตรังสีสูงพอที่จะก่อให้เกิดอันตราย[11] อาหารที่ผลิตขึ้นในพื้นที่ถูกห้ามวางจำหน่าย เจ้าหน้าที่ทางการโตเกียวแนะนำเป็นการชั่วคราวว่าน้ำประปาไม่ควรจะใช้เพื่อเตรียมอาหารสำหรับทารก[12][13] การปนเปื้อนพลูโตเนียมถูกตรวจพบในพื้นดินบริเวณสองจุดในโรงไฟฟ้า[14]

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม TEPCO ระบุว่า สามารถตรวจวัดกัมมันตรังสีได้มากกว่าระดับปกติถึง 10 ล้านเท่า (1,000 มิลลิซีเวอร์ต/ชั่วโมง) ในน้ำที่สะสมไว้ในโข่งไอเสียของเครื่องปฏิกรณ์ที่ 2[15][16] คนงานกำลังปั๊มน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีออกจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ 2 ถูกอพยพเพื่อป้องกันการได้รับกัมมันตรังสีเพิ่มเติม[16]

ผู้นำประเทศหลายคนได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับอุบัติเหตุดังกล่าว รัฐบาลญี่ปุ่นและ TEPCO ถูกวิพากษ์วิจารณ์สำหรับการสื่อสารที่ไม่ค่อยดีแก่สาธารณชน[17][18] เมื่อวันที่ 20 มีนาคม เลขานุการคณะรัฐมนตรี ยูคิโอะ เอดาโนะ ประกาศว่า โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะถูกปิดเมื่อวิกฤตการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง[19]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ "Analysis: A month on, Japan nuclear crisis still scarring," International Business Times (Australia). 9 April 2011, retrieved 12 April 2011.
  2. ^ Black, Richard (15 March 2011). BBC News - Reactor breach worsens prospects. BBC News. สืบค้นวันที่ 23 March 2011
  3. ^ Fukushima faced 14-metre tsunami. World Nuclear News (23 March 2011). สืบค้นวันที่ 24 March 2011
  4. ^ Stricken Reactors May Get Power Sunday, Wall Street Journal, 19 March 2011
  5. ^ 'Japan to Raise Alert Level of Nuclear Crisis' BBC News online 18 March 2011.
  6. ^ 'Now radiation in Japan is as bad as radiation level is raised to 7 for only the second time in history' Daily Mail 12 April 2011.
  7. ^ Reactor Core May Be Breached at Damaged Fukushima Plant. Bloomberg.com (25 March 2011). สืบค้นวันที่ 25 March 2011
  8. ^ "Core reactor at at Fukushima Dai-ichi plant in Japan may have been breached", March 25, 2011. สืบค้นวันที่ 25 March 2011
  9. ^ High radiation leak suggests damage to No. 3 reactor vessel: agency. Kyodo. สืบค้นวันที่ March 25, 2011
  10. ^ Fukushima radioactive fallout nears Chernobyl levels. New Scientist. สืบค้นจาก the original วันที่ 2011-11-25 สืบค้นวันที่ 2011-11-25
  11. ^ Caesium fallout from Fukushima rivals Chernobyl. New Scientist. สืบค้นจาก the original วันที่ 30 March 2011 สืบค้นวันที่ 30 March 2011
  12. ^ Japan mulls Fukushima food ban: IAEA, Reuters, 19 March 2011
  13. ^ Justin McCurry in Osaka. "Tokyo water unsafe for infants after high radiation levels detected", Guardian, 23 March 2010. สืบค้นวันที่ 23 March 2011
  14. ^ "Results of Pu measurement in the soil in Fukushima Daiichi Nuclear Power Plant", TEPCO Attachment to press release 28 March 2011 (PDF). สืบค้นวันที่ 7 April 2011
  15. ^ Woes deepen over radioactive waters at nuke plant, sea contamination. Kyodo News Network (27 March 2011). สืบค้นวันที่ 27 March 2011
  16. ^ 16.0 16.1 Radioactivity soars inside Japanese reactor (27 March 2011). สืบค้นวันที่ 27 March 2011
  17. ^ Wagner, Wieland. "Problematic Public Relations: Japanese Leaders Leave People in the Dark", Der Spiegel, 15 March 2011. สืบค้นวันที่ 19 March 2011
  18. ^ "China urges Japan's openness amid panic buying of salt", Channel NewsAsia, 17 March 2011. สืบค้นวันที่ 17 March 2011
  19. ^ "Progress at Japan Reactors; New Signs of Food Radiation", The New York Times, 20 March 2011. สืบค้นวันที่ 20 March 2011
เครื่องมือส่วนตัว
สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น