วิกิพีเดีย:ผู้ดูแลระบบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บย่อ:
เครื่องมือผู้ดูแลระบบของวิกิพีเดียมักถูกมองว่าเหมือน "ไม้ถูพื้น"
นโยบาย
นโยบายและแนวปฏิบัติในวิกิพีเดีย
หลักการสากล
ห้าเสาหลัก
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
ปล่อยวางกฎทั้งหมด
พฤติกรรม
ประพฤติเยี่ยงอารยชน
นโยบายการเขียน
สงครามแก้ไข
ความเป็นเจ้าของบทความ
อย่าว่าร้ายผู้อื่น
เนื้อหา
มุมมองที่เป็นกลาง
งดงานค้นคว้าต้นฉบับ
การพิสูจน์ยืนยันได้
หลักการตั้งชื่อบทความ
ชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่
การลบ
นโยบายการลบ
เงื่อนไขสำหรับการลบทันที
กฎข้อบังคับ
ผู้ดูแลระบบ
นโยบายการบล็อกผู้ใช้
บอต
นโยบายการล็อก
หุ่นเชิด
ชื่อผู้ใช้
การก่อกวน
ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์
นโยบายการใช้ภาพ
เนื้อหาที่ใช้งานโดยชอบธรรม
ดูเพิ่ม
รายชื่อนโยบายทั้งหมด
รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด

ผู้ดูแลระบบ (อังกฤษ: administrator, admin หรือ sysop) เป็นผู้เขียนวิกิพีเดียซึ่งได้รับคุณลักษณะทางเทคนิคเพื่อดำเนินปฏิบัติการพิเศษจำเพาะในวิกิพีเดียภาษาไทย ทั้งความสามารถที่จะบล็อกและปลดบล็อกบัญชีผู้ใช้และเลขที่อยู่ไอพีมิให้สามารถแก้ไข ล็อกและปลดล็อกหน้ามิให้แก้ไข ลบและกู้คืนหน้า เปลี่ยนชื่อหน้าโดยไม่มีข้อจำกัด และเครื่องมืออื่น

ผู้ดูแลระบบรับความรับผิดชอบเหล่านี้เฉกเช่นอาสาสมัครที่ต้องผ่านกระบวนการทบทวนของชุมชนก่อน หาใช่ลูกจ้างของมูลนิธิวิกิมีเดียไม่ ผู้ดูแลระบบมิเคยถูกกำหนดให้ใช้เครื่องมือของตน และต้องไม่ใช้เครื่องมือนั้นเพื่อประโยชน์ในข้อพิพาทที่เข้าไปเกี่ยวข้องเด็ดขาด นอกเหนือจากมีเครื่องมือพิเศษแล้ว ผู้ดูแลระบบก็มีความสามารถเทียบเท่าชาววิกิพีเดียทั่วไป ไม่มีเอกสิทธิ์หรืออำนาจเหนือผู้อื่น ทั้งการเขียนบทความ เสนอนโยบาย หรือออกความเห็น ทั้งนี้ ชาววิกิพีเดียก็ได้ช่วยดูแลระบบวิกิพีเดียอยู่แล้ว ด้วยการเก็บกวาดบทความ หรือสอดส่องการก่อกวน เป็นต้น

ผู้ดูแลระบบมาจากการเสนอชื่อตนเองหรือถูกเสนอชื่อ (ที่ วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล) โดยผู้นั้นจะต้องมีประสบการณ์การใช้งานวิกิพีเดียระยะหนึ่ง เพื่อให้คุ้นเคยกับหลักต่าง ๆ ของวิกิพีเดีย รวมทั้งเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากชุมชนชาววิกิพีเดีย

ปัจจุบัน วิกิพีเดียภาษาไทยมีผู้ดูแลระบบ 15 คน (รวมบอต)

ความสามารถของผู้ดูแลระบบ[แก้]

ผู้ดูแลระบบมีความสามารถทางเทคนิคดำเนินการปฏิบัติการดังนี้

  • บล็อกบัญชีผู้ใช้และเลขที่อยู่ไอพีมิให้แก้ไข
  • ล็อกหน้าเพื่อจำกัดการแก้ไข
  • ลบหน้าที่มีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 รุ่น (revision)
  • สร้างบทความที่ชื่อเรื่องอยู่ในบัญชีดำห้ามสร้างได้
  • ย้ายหน้าไปยังชื่อเรื่องใดก็ได้ที่ต้องการ
  • แก้ไขหน้าที่ถูกล็อกสมบูรณ์
  • ดูและกู้คืนหน้าที่ถูกลบ
  • ซ่อนและลบรุ่นหน้า

ตามประเพณี ปกติผู้ดูแลระบบยังรับผิดชอบตัดสินผลของการอภิปรายหนึ่ง ๆ เช่น การอภิปรายเพื่อลบ เปลี่ยนชื่อ เป็นต้น แต่ผู้เขียนอื่นก็สามารถปิดการอภิปรายได้ในเหตุที่เหมาะสม

ที่ซึ่งผู้ดูแลระบบสามารถช่วยได้[แก้]

ผู้ดูแลระบบที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในข้อพิพาทยังสามารถช่วยจัดการการเยียวยาของคณะอนุญาโตตุลาการ และการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่และสถานการณ์ซึ่งรบกวน ผู้ดูแลระบบที่ดำรงบทบาทนี้เป็นกลาง หาได้มีความเกี่ยวข้องในประเด็นที่กำลังช่วยเหลืออยู่ไม่

การจะเป็นผู้ดูแลระบบ[แก้]

วิกิพีเดียภาษาไทยมีระเบียบการเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลระบบ ผู้ดูแลระบบถูกคาดหวังให้ธำรงความไว้วางใจและความเชื่อมั่นของชุมชน ฉะนั้น การเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลของผู้ใช้ที่ยังมีประสบการณ์น้อยจึงมักไม่ได้รับอนุมัติ ผู้เขียนแต่ละคนจะประเมินความเชื่อมั่นของตนในความพร้อมของผู้สมัครคนหนึ่ง ๆ ในทางของตน โดยทั่วไป ผู้สมัครเป็นผู้เขียนวิกิพีเดียขาประจำ คุ้นเคยกับวิธีดำเนินงานและวิธีปฏิบัติของวิกิพีเดีย เคารพและเข้าใจนโยบายวิกิพีเดีย และได้รับความไว้วางใจโดยรวมจากชุมชน ก่อนที่จะขอหรือสนองการเสนอชื่อ

เมื่อคุณพร้อมสมัคร ให้เพิ่มการเสนอชื่อคุณในหน้า วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล ตามระเบียบที่กล่าวไปแล้วข้างต้น จะมีการอภิปรายว่าคุณควรเป็นผู้ดูแลระบบหรือไม่ จากนั้น ผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้งจะตัดสินว่าควรอนุมัติคำขอของคุณหรือไม่

บุคคลหนึ่งจะมีบัญชีที่มีเครื่องมือผู้ดูแลระบบได้บัญชีเดียวเท่านั้น โดยยกเว้นเฉพาะบอตที่เข้าถึงความสามารถผู้ดูแลระบบ

สิทธิผู้ดูแลระบบไม่มีกำหนดระยะเวลา และถูกเพิกถอนเฉพาะเมื่อมีคำขอเท่านั้น ภายใต้พฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงระดับสูง หรือเพิกถอนชั่วคราวสำหรับผู้ดูแลระบบที่ไม่มีความเคลื่อนไหว

ความคาดหมายในผู้ดูแลระบบ[แก้]

การระมัดระวังและการวินิจฉัย[แก้]

หากคุณได้รับสิทธิเข้าถึงเครื่องมือผู้ดูแลระบบ คุณจักต้องใช้ฟังก์ชันใหม่นี้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการลบหน้าและบล็อกผู้ใช้และเลขที่อยู่ไอพี ความพลาดพลั้งในบางโอกาสนั้นยอมรับได้ แต่ความพลาดพลั้งร้ายแรงหรือบ่อยครั้งยอมรับไม่ได้เสมอไป

เครื่องมือผู้ดูแลระบบยังต้องใช้ด้วยการวินิจฉัย ผู้ดูแลระบบใหม่ต้องใช้เวลาเรียนรู้ว่าเมื่อใดจึงควรใช้เครื่องมือดีที่สุด และอาจใช้เวลาหลายเดือนเพื่อให้ได้การรับรู้ที่ดีว่าควรตั้งเครื่องมือ เช่น การบล็อกและการล็อกหน้าในข้อพิพาทที่จัดการยาก นานเท่าไร แนะนำอย่างยิ่งให้ผู้ดูแลระบบใหม่เริ่มต้นอย่างช้า ๆ และเสริมสร้างประสบการณ์ในพื้นที่ที่ตนคุ้นเคย และถามผู้อื่นหากไม่มั่นใจ

ความประพฤติ[แก้]

ผู้ดูแลระบบถูกคาดหวังให้นำโดยตัวอย่างและประพฤติตนในปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยกิริยาอาการที่มีอารยะและน่าเคารพ ผู้ดูแลระบบถูกคาดหวังให้ปฏิบัติตามนโยบายวิกิพีเดีย และดำเนินหน้าที่ตามความสามารถอย่างดีที่สุด ผู้ดูแลระบบไม่ถูกคาดหวังให้ต้องสมบูรณ์แบบ ความผิดพลาดเป็นบางทีนั้นยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม การรบกวนวิกิพีเดียอย่างต่อเนื่องหรือร้ายแรงนั้นไม่เหมาะสมกับสถานภาพผู้ดูแลระบบ และการวินิจฉัยอย่างเลวสม่ำเสมอหรือมหันต์อาจอาจเป็นผลให้เพิกถอนสถานภาพผู้ดูแลระบบ ผู้ดูแลระบบควรมุ่งมั่นเป็นตัวแบบของมารยาทและความมีอารยะแก่ผู้เขียนอื่น

ผู้ดูแลระบบควรระลึกในใจว่า เขามีเพื่อนร่วมงานอีกหลายคน ฉะนั้น หากพบว่าตนไม่สามารถยึดนโยบายวิกิพีเดียและคงความเป็นอารยะอยู่ได้ (แม้แต่ต่อผู้ใช้ที่แสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหา) ขณะกำลังจัดการกับประเด็นหนึ่ง ก็ควรที่ผู้ดูแลระบบนั้นจะหยิบยกประเด็นมายังกระดานประกาศหรือส่งประเด็นดังกล่าวให้ผู้ดูแลระบบอีกคนหนึ่งจัดการแทน แทนที่จะทำให้ปัญหาซับซ้อนยิ่งขึ้นจากความประพฤติที่เลว

ภาระความรับผิด[แก้]

ผู้ดูแลระบบรับผิดต่อปฏิบัติการของตนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือผู้ดูแลระบบ และปฏิบัติการผู้ดูแลระบบที่ไม่อธิบายอาจบั่นทอนกำลังของผู้อื่นเขียนซึ่งไม่มีเครื่องมือดังกล่าวได้ ผู้เขียนมีอิสระที่จะตั้งคำถามหรือวิจารณ์ปฏิบัติการของผู้ดูแลระบบได้ เพียงแต่อยู่ในขอบเขตของความมีอารยะ หลีกเลี่ยงการว่าร้าย และสุจริตใจอันสมควรแก่เหตุ ผู้ดูแลระบบถูกคาดหวังให้สนองอย่างรวดเร็วและมีอารยะต่อข้อคำถามเกี่ยวกับความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียและปฏิบัติการวิกิพีเดีย และให้อธิบายเหตุผลเมื่อจำเป็น

ผู้ดูแลระบบที่ประพฤติกิริยาอาการที่เป็นปัญหาอย่างร้ายแรงหรือต่อเนื่อง หรือสูญเสียความไว้วางใจหรือความเชื่อมั่นของชุมชน อาจถูกลงโทษหรือเพิกถอนการเข้าถึงสิทธิผู้ดูแลระบบ

ผู้ดูแลระบบที่มีส่วนเกี่ยวข้อง[แก้]

โดยทั่วไป ผู้เขียนไม่ควรทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบในกรณีที่ตนมีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะผู้ดูแลระบบที่มีส่วนเกี่ยวข้องนั้นอาจมี หรืออาจถูกมองว่ากำลังมี การขัดกันแห่งผลประโยชน์ในข้อพิพาทที่ตนเป็นภาคีหรือที่ตนมีความรู้สึกอย่างแรงกล้า ตามปกติ ชุมชนตีความการมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างกว้างมาก จนรวมถึงความขัดแย้งในปัจจุบันหรืออดีตกับผู้ใช้ และข้อพิพาทว่าด้วยหัวข้อ ไม่ว่าข้อพิพาทนั้นจะมีสภาพ ระยะเวลา หรือผลอย่างไรก็ตาม

คำเตือนสำคัญหนึ่ง คือ ผู้ดูแลระบบที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เขียนหรือพื้นที่หัวข้อในบทบาทผู้ดูแลระบบทั้งหมด หรือผู้ที่การมีส่วนเกี่ยวข้องก่อนหน้านี้เป็นการแก้ไขเล็กน้อยหรือชัดเจนว่าไม่มีความลำเอียง นั้นไม่ถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่ถูกกันมิให้ทำหน้าที่ด้วยความสามารถผู้ดูแลระบบต่อ ผู้ใช้หรือพื้นที่หัวข้อนั้น เหตุเพราะบทบาทหนึ่งของผู้ดูแลระบบ คือ จัดการกับประเด็นนั้นอย่างเที่ยงตรง คำเตือน การทำให้สงบ และการอภิปรายและอธิบายคำเตือนเหล่านั้นอย่างสมควรแก่เหตุ การแนะนำเกี่ยวกับบรรทัดฐานชุมชน และการเสนอแนะการใช้คำและการทาบทามที่เป็นไปได้นั้นมิได้ทำให้ผู้ดูแลระบบ "มีส่วนเกี่ยวข้อง"

ในกรณีที่ไม่ซับซ้อน (เช่น การก่อกวนโจ่งแจ้ง) ชุมชนสนับสนุนปฏิบัติการที่ชัดเจนของผู้ดูแลระบบทุกคน แม้จะมีส่วนเกี่ยวข้อง บนเหตุผลว่า ผู้ดูแลระบบที่สมเหตุผลรายใดก็เป็นไปได้ว่ามีข้อสรุปเดียวกัน แม้จะมีข้อยกเว้นการห้ามผู้เขียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องใช้ปฏิบัติการผู้ดูแลระบบ แต่ก็ยังเป็นการดีที่สุดที่ผู้ดูแลระบบที่อาจถูกมองว่ามีส่วนเกี่ยวข้องส่งประเด็นนั้นไปยังผู้ดูแลระบบคนอื่นผ่านกระดานประกาศที่เกี่ยวกับประเด็นนั้น

การร้องทุกข์โดยผู้ใช้[แก้]

หากผู้ใช้คนหนึ่งคนใดเชื่อว่าผู้ดูแลระบบทำหน้าที่ไม่เหมาะสม ผู้ใช้นั้นควรแสดงความกังวลไปยังผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบโดยตรง และพยายามบรรลุมติในกิริยาอาการที่เป็นไปโดยสงบและมีอารยะ อย่างไรก็ดี หากประเด็นดังกล่าวไม่สามารถระงับได้ระหว่างภาคีทั้งสอง ผู้ใช้สามารถใช้การกระทำอื่น (ดูกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วย) หมายเหตุ: หากผู้ใช้ที่กำลังร้องทุกข์นั้นถูกผู้ดูแลระบบบล็อกอย่างไม่เหมาะสม เขาอาจอุทธรณ์การบล็อก และ/หรือ ส่งอีเมลไปยังคณะอนุญาโตตุลาการโดยตรง

การใช้เครื่องมือผู้ดูแลระบบโดยมิชอบ[แก้]

การใช้เครื่องมือผู้ดูแลระบบโดยมิชอบถูกพิจารณาว่าเป็นประเด็นร้ายแรง เครื่องมือผู้ดูแลระบบนั้นถูกจัดหาให้ผู้ใช้ที่ได้รับความไว้วางใจเพื่อการบำรุงรักษาและภารกิจอื่น และควรใช้ด้วยความคิด การใช้เครื่องมือโดยมิชอบอาจลงเอยด้วยการลงโทษหรือกระทั่งการเพิกถอนสิทธิ

สถานการณ์สามัญที่มักกำหนดให้หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือ มีดังนี้

  • การขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือความไม่เป็นกลาง - ตามปกติผู้ดูแลระบบไม่ควรใช้เครื่องมือของตนในเรื่องที่ตนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเอง ตัวอย่างเช่น ในข้อพิพาทด้านเนื้อหาที่ตนเป็นภาคีหนึ่ง ดู ผู้ดูแลระบบที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • บรรทัดฐานชุมชนหรือนโยบาย - เมื่อบรรทัดฐานชุมชนหรือนโยบายชัดเจนว่าไม่ควรใช้เครื่องมือ ก็ไม่ควรใช้เครื่องมือโดยปราศจากคำอธิบายที่แสดงว่าเรื่องดังกล่าวถูกพิจารณา และเหตุผลยกเว้นที่ถูกพิจารณาว่าสมควรแก่เหตุโดยแท้จริง
  • การกลับปฏิบัติการของผู้ดูแลระบบอื่น - เฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ดูแลระบบที่ปฏิบัติการของเขามีส่วนเกี่ยวข้อง และหลังการปรึกษาหารือ
  • การคืนปฏิบัติการผู้ดูแลระบบที่เคยถูกย้อนแล้วสู่สภาพเดิม - การสนองรวมถึงการร้องอนุญาโตตุลาการและการถอดถอนผู้ดูแลระบบ แม้จะกระทำเป็นครั้งแรกก็ตาม

ในกรณีส่วนมาก แม้เมื่อการใช้เครื่องมือจะสมควรแก่เหตุ หากอาจมีข้อสงสัยที่สมเหตุผลเกิดขึ้น มักเป็นการดีกว่าที่จะถามผู้ดูแลระบบที่ไม่มีส่วนได้เสียเพื่อทบทวนและดำเนินปฏิบัติการนั้น (หากถูกต้อง)

การทบทวนและการถอดถอนผู้ดูแลระบบ[แก้]

หากผู้ดูแลระบบใช้อำนาจโดยมิชอบ อำนาจนั้นสามารถถูกเพิกถอนได้ ผู้ดูแลระบบอาจถูกเพิกถอนโดยจิมมี เวลส์, ผู้ดูแลโครงการ หรือโดยคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการอาจยังประเมินการลงโทษที่เล็กน้อยกว่าต่อผู้ดูแลระบบที่เป็นปัญหา รวมทั้งการจำกัดการใช้ฟังก์ชันบางอย่าง หรือกำหนดคุมประพฤติผู้ดูแลระบบ ความสามารถทางเทคนิคที่จะถอดถอนสถานภาพผู้ดูแลระบบอยู่กับผู้ดูแลโครงการและจิมมี เวลส์

ไม่มีวิธีดำเนินการถอดถอนผู้ดูแลระบบที่อาศัยชุมชน ผู้ใช้อาจใช้การระงับข้อพิพาทเพื่อขอความเห็นต่อความเหมาะสมของผู้ดูแลระบบคนใดคนหนึ่ง

บันทึกเทคนิค - ปัจจุบันการเพิกถอนสิทธิที่ผู้ดูแลโครงการเป็นผู้ดำเนินการยังไม่แสดงในปูมผู้ใช้ตามปกติ ดู Bugzilla:4055

การเพิกถอนด้วยใจสมัคร[แก้]

ผู้ดูแลระบบอาจร้องขอให้เพิกถอนการเข้าถึงเครื่องมือผู้ดูแลระบบด้วยตนเองที่เมทาวิกิ และผู้ดูแลโครงการได้ดำเนินการตามคำร้องนั้น

คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ[แก้]

คณะอนุญาโตตุลาการ (คอต.) วินิจฉัยว่า ควรระงับสิทธิผู้ดูแลระบบด้วยเหตุเหล่านี้

  • ว่างเว้นจากวิกิพีเดียภาษาไทย
    • หากผู้ดูแลท่านใดมีการแก้ไขไม่ถึง 50 ครั้ง และ/หรือใช้คุณลักษณะที่สงวนไว้เฉพาะผู้ดูแลระบบ ("เครื่องมือดูแลระบบ") ไม่ถึง 10 ครั้ง ในปีที่ผ่านมา ผู้ใช้พื้นฐานในวิกิพีเดียภาษาไทย (คือ ไม่รวมผู้ใช้ใหม่ บอต และผู้ใช้ไม่ลงทะเบียน) จะยกเรื่องระงับสิทธิ์ผู้ดูแลนั้นขึ้นมาให้ คอต. พิจารณาเมื่อใดก็ได้
    • หาก คอต. พิจารณาว่าควรระงับสิทธิ์ผู้ดูแลระบบ จะแจ้งให้ผู้ดูแลระบบท่านนั้นทราบทางหน้าพูดคุยในวิกิพีเดียภาษาไทย (และฟังก์ชันการส่งอีเมลของมีเดียวิกิหากผู้ใช้นั้นเปิดรับอีเมล รวมถึงช่องทางอย่างเป็นทางการอื่นของวิกิพีเดียที่อาจเปิดขึ้นในอนาคต) หากเวลา 30 วันล่วงไปแล้วไม่มีการคัดค้านด้วยเหตุผลอันสมควรจากผู้ดูแลระบบท่านดังกล่าว ให้ถือว่าคำวินิจฉัยเป็นที่สุด และแจ้งให้ทางเมทาวิกิดำเนินการระงับสิทธิ์ต่อไป หากมีการคัดค้าน คอต. จะพิจารณารับฟังเหตุผลจากทุกฝ่ายก่อนจะออกคำวินิจฉัยใหม่ตามความเหมาะสม
    • หาก คอต. วินิจฉัยว่าไม่ควรระงับสิทธิ์ผู้ดูแลระบบท่านใดเนื่องด้วยมีเหตุผลอันสมควร ผู้ใดจะนำเรื่องระงับสิทธิ์ผู้ดูแลระบบท่านนั้นด้วยเหตุว่างเว้นจากวิกิพีเดีย มาเข้าสู่การพิจารณาของ คอต. อีกได้ก็ต่อเมื่อพ้นระยะเวลา 6 เดือนนับจากวันที่มีคำวินิจฉัยไปแล้ว
    • การระงับสิทธิ์เป็นไปเพื่อความปลอดภัยและการบริหารจัดการวิกิพีเดียภาษาไทย ไม่ถือเป็นมาตรการสกัดกั้น (block) และไม่ถือเป็นประวัติด่างพร้อย ผู้ดูแลระบบที่ถูกระงับสิทธิ์แล้วจะสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ดูแลระบบใหม่อีกได้
  • มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลระบบ หรือขณะปฏิบัติหน้าที่ส่วนตนในวิกิพีเดียแต่พฤติการณ์นั้นส่งผลต่อวิกิพีเดียภาษาไทยและสร้างความเสื่อมเสียต่อผู้ดูแลระบบโดยรวม อาทิ
    • พฤติกรรมต่อหน้าต่าง ๆ ของวิกิพีเดีย: ป้องกันหน้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรหรือสกัดกั้นรุนแรงเกินกว่าเหตุ ลบหน้าหรือไฟล์หรือบางส่วนของหน้าหรือไฟล์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทั้งนี้รวมถึงการใช้ตัวกรองการแก้ไข หรือเครื่องมืออื่นใดที่ส่งผลกระทบต่อหน้าและไฟล์ในวิกิพีเดีย (เว้นแต่ความบกพร่องโดยสุจริต)
    • พฤติกรรมต่อผู้ใช้วิกิพีเดีย: กล่าวหาโดยปราศจากมูลเหตุหรือหลักฐาน หรือกล่าวหาในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ว่าร้าย เสียดสี กดขี่ข่มเหง ทั้งที่กระทำโดยตรงและทำในเชิงเหน็บแนมหรือเชิงคำถาม สกัดกั้นผู้ใช้หรือไอพีโดยปราศจากเหตุอันสมควรหรือสกัดกั้นรุนแรงเกินกว่าเหตุ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ดังกล่าวในหน้าพูดคุยเป็นสิทธิ์ส่วนตนของบุคคลนั้นในการร้องเรียน และผู้ใช้ไม่ล็อกอินก็มีสิทธิ์ร้องเรียนเพื่อรักษาสิทธิ์ของตน
    • พฤติกรรมต่อชุมชนวิกิพีเดีย: บังคับใช้นโยบายที่ยังไม่มีการรับรอง เสนอนโยบายโดยมีผลประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้องแอบแฝง เป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อชุมชนหรือกระทบกระเทือนต่อผู้เขียนและ/หรือผู้อ่านวิกิพีเดีย (ทั้งนี้ไม่รวมการแสดงความเห็นส่วนตนโดยสุจริตแม้ต่างจากเสียงส่วนใหญ่) พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่อสาธารณะเช่นนี้ ผู้ใช้พื้นฐานในวิกิพีเดียภาษาไทยมีสิทธิ์ร้องเรียน เช่นเดียวกับกรณีการว่างเว้นจากวิกิพีเดีย
    • หมายเหตุ: ความผิดในหน้าพูดคุยส่วนตัวอาจถือเป็นเรื่องส่วนตนที่ยอมความกันได้ แต่ความผิดในหน้าของชุมชน แม้คู่กรณีจะให้อภัยกันแล้ว ยังอยู่ในข่ายการพิจารณาของ คอต.

การคืนสิทธิผู้ดูแลระบบ[แก้]

ผู้เขียนที่ถูกถอดถอนสิทธิผู้ดูแลระบบมีอิสระที่จะเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลระบบอีกได้ผ่านกระบวนการเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลระบบตามปกติ ยกเว้นจะเจาะจงห้ามตามการเห็นพ้องต้องกันของชุมชนก่อนหน้า หรือโดยคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ

รายนามผู้ดูแลระบบ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

      
บอต | ผู้ใช้ | ผู้ดูแลระบบ | ผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง | ผู้ตรวจสอบผู้ใช้ | ผู้ดูแลโครงการ | อื่นๆ