ประเทศซิมบับเว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐซิมบับเว
Republic of Zimbabwe (อังกฤษ)
ธงชาติ
คำขวัญUnity, Freedom, Work
(ภาษาอังกฤษ: เอกภาพ, อิสรภาพ, การงาน
เพลงชาติเพลงชาติซิมบับเว
Simudzai Mureza wedu WeZimbabwe หรือ Kalibusiswe Ilizwe leZimbabwe
("โปรดประทานพรแก่ดินแดนแห่งซิมบับเว")
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ฮาราเร
17°50′S 31°3′E / 17.833°S 31.050°E / -17.833; 31.050
ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ
การปกครอง สาธารณรัฐระบอบกึ่งประธานาธิบดี
 -  ประธานาธิบดี โรเบิร์ต มูกาเบ
 -  นายกรัฐมนตรี มอร์แกน แชงกิไร
ประกาศเอกราช
 -  โรดีเชีย 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 
 -  ซิมบับเว 18 เมษายน พ.ศ. 2523 
พื้นที่
 -  รวม 390,757 ตร.กม. (60)
150,871 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 1%
ประชากร
 -  2551 (ประเมิน) 13,349,000 (68)
 -  - (สำมะโน)
 -  ความหนาแน่น 33 คน/ตร.กม. (170)
85 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) พ.ศ. 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 30.581 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (94)
 -  ต่อหัว 2,607 ดอลลาร์สหรัฐ (129)
HDI (2546) 0.505 (ปานกลาง) (145)
สกุลเงิน ดอลลาร์สหรัฐ
สกุลเงินอย่างเป็นทางการของรัฐบาลและยังมีสกุลเงินอย่างไม่เป็นทางการจำนวนมากa, e.g. รูปีอินเดีย, เหรินหมินปี้ แรนด์ของแอฟริกาใต้ และ Zimbabwe Bond coins ฯลฯ
เขตเวลา เวลาแอฟริกากลาง (CAT) (UTC+2)
 -  (DST) ไม่มี (UTC+2)
โดเมนบนสุด .zw
รหัสโทรศัพท์ 263

ซิมบับเว (อังกฤษ: Zimbabwe) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซิมบับเว (อังกฤษ: Republic of Zimbabwe) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ทวีปแอฟริกา อยู่ระหว่างแม่น้ำซัมเบซีและแม่น้ำลิมโปโป มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับประเทศแซมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศโมซัมบิก ทิศตะวันตกติดกับประเทศบอตสวานา และทิศใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ มีพื้นที่ประเทศ 390,580 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือ กรุงฮาราเร[ต้องการอ้างอิง]

ชื่อประเทศ[แก้]

ชื่อซิมบับเวมาจากคำว่า "Dzimba dza mabwe" ซึ่งแปลว่าบ้านหินใหญ่ในภาษาโชนา[1] ชื่อนี้ถูกนำมาจากเกรตซิมบับเวซึ่งเป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรเกรตซิมบับเว

ภูมิศาสตร์[แก้]

ซิมบับเวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ถูกล้อมรอบด้วยประเทศแอฟริกาใต้ทางใต้โดยมีแม่น้ำลิมโปโปกั้นอยู่ บอตสวานาทางตะวันตก แซมเบียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และโมซัมบิคทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ซิมบับเวยังมีจุดที่ติดต่อกับประเทศนามิเบียทางตะวันตกอีกด้วย จุดที่สูงที่สุดของประเทศคือภูเขาเนียนกานี ซึ่งสูง 2,592 เมตร[2]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์ซิมบับเว


ยุคก่อนประวัติศาสตร์[แก้]

มีหลักฐานว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในของซิมบับเวตั้งแต่ห้าแสนปีก่อน ช่วงสองร้อยปีหลังคริสตกาล ชาวกอยเซียนได้เข้ามาตั้งรกรากที่พื้นที่แถบนี้ นอกจากนั้นมีชาวบันตู ชาวโชนา ชาวงูนี และชาวซูลู

อาณานิคมสหราชอาณาจักร[แก้]

นักสำรวจชาวอังกฤษได้เข้ามาในซิมบับเวช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และเริ่มการล่าอาณานิคมขึ้น ดินแดนแซมเบเซียต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันในนามโรดีเซียในพ.ศ. 2435 หลังจากนั้นได้แบ่งเป็นโรดีเซียเหนือและในที่สุดได้กลายมาเป็นแซมเบีย ใน พ.ศ. 2441 ตอนใต้ของพื้นที่ แซมเบเซีย ถูกเรียกว่าโรดีเซียใต้ ต่อมาได้กลายมาเป็นซิมบับเวในอีกหลายปีหลังจากนั้น

สงครามกลางเมือง[แก้]

ดูบทความหลักที่: สงครามกลางเมืองซิมบับเว

หลังการประกาศเอกราช[แก้]

หลังจากผ่านการขัดแย้งกันทางสีผิว รวมไปถึงบทบาทจากสหประชาชาติ และการต่อสู้ของกองโจรในช่วงพ.ศ. 2503 ในที่สุดซิมบับเวได้รับอิสรภาพในพ.ศ. 2523 ในปีเดียวกันนั้น โรเบิร์ต มูกาเบ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ

การเมืองการปกครอง[แก้]

บริหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลซิมบับเว

นิติบัญญัติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาซิมบับเว

ตุลาการ[แก้]

ดูบทความหลักที่: ระบบกฎหมายซิมบับเว

การบังคับใช้กฎหมาย[แก้]

สิทธิมนุษยชน[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพซิมบับเว

กองทัพบก[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพบกซิมบับเว

กองทัพอากาศ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพอากาศซิมบับเว

กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้างเศรษฐกิจ[แก้]

การส่งออกของประเทศซิมบับเวในปี 2549
ผลผลิตทางการเกษตรในซิมบับเวลดลงอย่างมาในระยะหลายปีที่ผ่านมา

การส่งออกแร่ธาตุ การเกษตร และการท่องเที่ยว เป็นธุรกิจที่นำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ซิมบับเว[3] การทำเหมืองแร่ยังคงเป็นธุรกิจที่ให้กำไรมาก ซิมบับเวมีแหล่งทรัพยากรแพลทินัมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก[4] ซิมบับเวเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปของแอฟริกาใต้[5]

ซิมบับเวมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีตลอดคริสต์ทศวรรษ 1980 (อัตราการเติบโตของจีดีพีร้อยละ 5.0 ต่อปี) และ 1990 (ร้อยละ 4.3 ต่อปี) อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจเริ่มถดถอยลงตั้งแต่ปี 2000 โดยลดลงร้อยละ 5 ในปี 2000, ร้อยละ 8 ในปี 2001, ร้อยละ 12 ในปี 2002, และร้อยละ 18 ในปี 2003[6] รัฐบาลซิมบับเวประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายอย่างหลังจากล้มเลิกความตั้งใจที่จะพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาด เช่นปัญหาการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงมาก และการขาดแคลนอุปทานของสินค้าต่าง ๆ การที่ซิมบับเวมีส่วนร่วมกับสงครามในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ระหว่างปี 1998 ถึง 2002 ทำให้ต้องสูญเสียหลายร้อยล้านดอลลาร์ออกจากระบบเศรษฐกิจ[7]

เศรษฐกิจที่ดิ่งลงเหวนี้มีสาเหตุหลักมาจากการบริหารที่ล้มเหลวและการคอร์รัปชันของรัฐบาลมูกาเบ และการขับไล่ชาวไร่ผิวขาวกว่า 4,000 คนในระหว่างการจัดสรรที่ดินที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งในปี 2000[8][9][10] ซึ่งทำให้ซิมบับเวซึ่งเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดกลับกลายเป็นผู้นำเข้าแทน[4] ปริมาณการส่งออกยาสูบก็ลดลงอย่างมาก จากรายงานในเดือนมิถุนายน 2007 ของหน่วยปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ซิมบับเว ประมาณว่าซิมบับเวสูญเสียสัตว์ป่าไปถึงร้อยละ 60 ตั้งแต่ปี 2000 ในรายงานยังได้กล่าวเตือนอีกว่าการสูญเสียพันธุ์สัตว์ป่าและการทำลายป่าไม้อย่างกว้างขวางนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อธุรกิจท่องเที่ยว[11]

ปลายปี 2006 ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่เลวร้าย รัฐบาลเริ่มประกาศอนุญาตให้ชาวไร่ผิวขาวกลับมาสู่ที่ดินของตนอีกครั้ง[12] มีชาวไร่ผิวขาวเหลืออยู่ในประเทศประมาณ 400-600 คน แต่ที่ดินที่ถูกยึดคืนส่วนใหญ่นั้นกลายเป็นที่ดินเสื่อมสภาพและไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกต่อไป[12][13] ในเดือนมกราคม 2007 รัฐบาลยอมให้ชาวไร่ผิวขาวเซ็นสัญญาเช่าที่ดินระยะยาว[14] แต่แล้วในปีเดียวกันรัฐบาลก็กลับขับไล่ชาวไร่ผิวขาวออกจากประเทศอีกครั้ง[15][16]

อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32 ต่อปีในปี 1998[17] จนถึงร้อยละ 231,000,000 ตามสถิติของทางการในเดือนกรกฎาคม 2008[17] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะเงินเฟ้อรุนแรง และทำให้ธนาคารต้องออกธนบัตรใบละ 1 แสนล้านดอลลาร์มาใช้[18] [19] ในเดือนพฤศจิกายน 2008 ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวพุ่งขึ้นสูงถึงร้อยละ 516 ล้านล้านล้านต่อปี และราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 1.3 วัน[20] และนับเป็นภาวะเงินเฟ้อรุนแรงที่เลวร้ายเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์โลก รองจากวิกฤติเงินเฟ้อในฮังการีในปี 1946 ซึ่งราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 15.6 ชั่วโมง[20]

การท่องเที่ยว[แก้]

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

การคมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

การศึกษา[แก้]

สาธารณสุข[แก้]

ประชากรศาสตร์[แก้]

ในปี 2008 ซิมบับเวมีประชากรประมาณ 11.4 ล้านคน[21] จากรายงานขององค์การอนามัยโลก อายุคาดหมายเฉลี่ยสำหรับผู้ชายชาวซิมบับเวคือ 37 ปี และสำหรับผู้หญิงคือ 34 ปี ซึ่งเป็นสถิติต่ำสุดของปี 2004[22] อัตราการติดเชื้อเอดส์ ในประชากรระหว่างอายุ 15-49 ปี ถูกประมาณไว้ที่ร้อยละ 20.1 ในปี 2006[23]

เชื้อชาติ[แก้]

ประชากรประมาณร้อยละ 98 เป็นชาวพื้นเมืองผิวดำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโชนา (ประมาณร้อยละ 80-84) รองลงมาคือชาวเดเบเล (ประมาณร้อยละ 10-15)[24][25] ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากซูลูที่อพยพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ยังมีคนผิวขาวซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ

ศาสนา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ศาสนาในซิมบับเว

ภาษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภาษาในซิมบับเว

ภาษาทางการคือภาษาอังกฤษ[21] แต่ภาษาที่ใช้มากได้แก่ภาษาโชนา และภาษาเดเบเล[26]

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมซิมบับเว

ภาษาที่ใช้ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ และมีภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ คือ Shona Sindebele ศาสนา ลัทธิผสม (ระหว่างศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม) 50% ศาสนาคริสต์ 25% ความเชื่อดั้งเดิม 24% ศาสนาอิสลามและอื่น ๆ 1%

อาหาร[แก้]

ดนตรี[แก้]

กีฬา[แก้]

ฟุตบอล[แก้]

ดูบทความหลักที่: ฟุตบอลทีมชาติซิมบับเว

มวยสากล[แก้]

ดูบทความหลักที่: มวยสากลในซิมบับเว

วันหยุด[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Zimbabwe - big house of stone". Somali Press. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14. 
  2. "Zimbabwe Parks and Wildlife Management Authority". สืบค้นเมื่อ 2007-11-13. 
  3. "Country Profile – Zimbabwe". Foreign Affairs and International Trade Canada. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02. "ประเทศมีทรัพยากรธรรมชาติมากมายเช่นแร่ธาตุ ที่ดิน และสัตว์ป่า ยังมีโอกาสมากมายที่ซ่อนอยู่ในธุรกิจที่มีทรัพยากรเป็นพื้นฐาน เช่นการทำเหมืองแร่ การเกษตร และการท่องเที่ยว และธุรกิจที่ต่อเนื่องจากธุรกิจเหล่านี้" 
  4. 4.0 4.1 "No quick fix for Zimbabwe's economy". BBC. 2008-04-14. สืบค้นเมื่อ 2009-03-01. 
  5. "Zimbabwe-South Africa economic relations since 2000". Africa News. 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2007-12-03. 
  6. Richardson, C.J. 2005. The loss of property rights and the collapse of Zimbabwe. Cato Journal, 25, 541-565. [1]
  7. Organised Violence and Torture in Zimbabwe in 1999, 1999. Zimbabwe Human Rights NGO Forum.
  8. Robinson, Simon. "A Tale of Two Countries"Time Magazine — Monday, February 18, 2002
  9. "Zimbabwe forbids white farmers to harvest"USA Today — 06/24/2002
  10. "White farmers under siege in Zimbabwe"BBC — Thursday, 15 August, 2002
  11. Nick Wadhams (2007-08-01). "Zimbabwe's Wildlife Decimated by Economic Crisis". Nairobi: National Geographic News. สืบค้นเมื่อ 2007-08-05. 
  12. 12.0 12.1 "Desperate Mugabe allows white farmers to come back". The Independent. 2006-12-17. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08. 
  13. Meldrum, Andrew (2005-05-21). "As country heads for disaster, Zimbabwe calls for return of white farmers". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08. 
  14. Timberg, Craig (2007-01-06). "White Farmers Given Leases In Zimbabwe". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08. 
  15. "Zimbabwe threatens white farmers". Washington Post. 2007-02-05. 
  16. Chinaka, Cris (2007-08-08). "Zimbabwe threatens white farmers on evictions". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08. 
  17. 17.0 17.1 "Zimbabwe inflation hits 11,200,000". CNN.com. 2008-08-19. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19. 
  18. "Zimbabwe introduces $100 billion banknotes". CNN.com. 2008-07-19. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08. 
  19. "A worthless currency". The Economist. 2008-07-17. สืบค้นเมื่อ 2008-09-05. 
  20. 20.0 20.1 "Hyperinflation in Zimbabwe". Telegraph.co.uk. 2008-11-13. 
  21. 21.0 21.1 "Zimbabwe". The World Factbook. Central Intelligence Agency. 2008-05-15. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26. 
  22. The World Health Organization. "Annex Table 1—Basic indicators for all Member States" (PDF). The World Health Report 2006. สืบค้นเมื่อ 2009-03-10. 
  23. "Zimbabwe". UNAIDS. สืบค้นเมื่อ 2007-12-03. 
  24. "The People of Zimbabwe". สืบค้นเมื่อ 2007-11-13. 
  25. "Ethnicity/Race of Zimbabwe". สืบค้นเมื่อ 2008-01-06. 
  26. "Languages of Zimbabwe". สืบค้นเมื่อ 2009-03-18. 

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลทั่วไป
รัฐบาล
ท่องเที่ยว
การศึกษา