วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บย่อ:
แนวปฏิบัติ
นโยบายและแนวปฏิบัติในวิกิพีเดีย
พฤติกรรม
สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ
ผลประโยชน์ทับซ้อน
มารยาท
โปรดอย่ากัดผู้ใช้ใหม่
ลายเซ็น
หน้าผู้ใช้
เนื้อหา
อัตชีวประวัติ
การอ้างอิงแหล่งที่มา
แหล่งข้อมูลอื่น
การใส่ภาพ
ไม่ต้องกลัวเสียอรรถรส
การแก้ไข
ขอให้กล้า
คำอธิบายอย่างย่อ
ต้องมีเนื้อหาอย่างชัดเจน
ความสำคัญของเนื้อหา
เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม
แนวทางการเขียน
คู่มือในการเขียน
เขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น
หลีกเลี่ยงถ้อยคำคลุมเครือ
ดูเพิ่ม
รายชื่อนโยบายทั้งหมด
รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด

การอ้างอิง หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ตัวอย่างเช่น:

เมื่อใดที่ควรอ้างอิง: นโยบายของการอ้างอิง คือ การพิสูจน์ยืนยันได้ของข้อมูล ซึ่งข้อความใด ๆ ที่เป็นข้อขัดแย้งหรือคาดว่าจะเป็นข้อขัดแย้งจะต้องมีการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (inline citation) เช่นเดียวกับการอ้างคำพูดจากบุคคลอื่น นโยบายนี้มีผลบังคับใช้กับข้อความใด ๆ ในเมนสเปซ — บทความ รายชื่อ คำอธิบายภาพ และเนื้อหาแต่ละส่วนของบทความ — โดยไม่มีข้อยกเว้น ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างหน้านี้กับนโยบายการอ้างอิง ให้ถือว่านโยบายดังกล่าวมาก่อนเสมอ และหน้านี้ควรจะได้รับการปรับปรุงให้เข้ากันกับนโยบายดังกล่าวด้วย การอ้างอิงยังมีผลสำหรับภาพด้วยเช่นกัน กล่าวคือ เมื่ออัปโหลดภาพ ผู้อัปโหลดจะต้องระบุแหล่งที่มาของภาพและระบุสถานภาพลิขสิทธิ์ของภาพ

เขียนอ้างอิงอย่างไร: แต่ละบทความควรจะใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบเดียวกันทั้งหมด ถ้าหากบทความนั้นมีการอ้างอิงแล้ว ก็ควรยึดรูปแบบนั้นในการอ้างอิงหรือเปลี่ยนรูปแบบการอ้างอิงให้เป็นรูปแบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งควรจะได้รับการเห็นชอบจากผู้ร่วมพัฒนาก่อน ในการอ้างอิงให้ถูกวิธี สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องมีข้อมูลเพียงพอที่จะระบุแหล่งข้อมูล สำหรับข้อผิดพลาดอื่น ๆ จะมีผู้เข้ามาจัดการในภายหลังได้

วัตถุประสงค์

วิกิพีเดียส่งเสริมให้มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลภายในบทความ ด้วยวัตถุประสงค์ดังนี้

  • เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาในบทความแต่ละเรื่อง เชื่อถือได้และสามารถพิสูจน์ยืนยันได้
  • เพื่อให้ภาพลักษณ์ของวิกิพีเดียน่าเชื่อถือมากขึ้น
  • เพื่อแสดงว่าการแก้ไขของคุณไม่ใช่ข้อคิดเห็นของคุณคนเดียว คนบางกลุ่ม หรือเป็นงานวิจัยต้นฉบับ
  • เพื่อลดการโต้เถียงอันเกิดจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน
  • เพื่อให้เกียรติผู้เขียนแหล่งอ้างอิงนั้น และหลีกเลี่ยงการคัดลอกข้อเขียนของเขา
  • เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่อ้างถึงได้

ประเภทของการอ้างอิง

  • อ้างอิงเต็ม (full citation) เป็นการบ่งชี้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และตำแหน่งที่จะพบข้อมูลที่กำลังกล่าวถึงในแหล่งข้อมูลนั้นตามความเหมาะสม (เช่น เลขหน้า) ตัวอย่างเช่น ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1. ราชบัณฑิตยสถาน. หน้า 4. การอ้างอิงประเภทนี้มักระบุเป็นเชิงอรรถ (footnote) และเป็นวิธีการอ้างอิงที่พบใช้บ่อยที่สุดในบทความวิกิพีเดีย
  • อ้างอิงแทรกในเนื้อหา หมายถึง อ้างอิงใด ๆ ที่เพิ่มเข้าไปใกล้กับข้อมูลที่สนับสนุน ตัวอย่างเช่น ต่อท้ายประโยคหรือย่อหน้า โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปเชิงอรรถ
  • อ้างอิงทั่วไป (general reference) เป็นการอ้างอิงไปยังแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สนับสนุนเนื้อหา แต่ไม่แสดงเป็นอ้างอิงแทรกในเนื้อหา อ้างอิงทั่วไปมักจัดทำเป็นรายการไว้ท้ายบทความในส่วน "อ้างอิง" อ้างอิงประเภทนี้อาจพบได้ในบทความที่ยังไม่ได้พัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเนื้อหาทั้งหมดของบทความสนับสนุนด้วยแหล่งข้อมูลเพียงแหล่งเดียว อ้างอิงประเภทนี้ยังอาจจัดเป็นรายการเรียงตามพยัญชนะในส่วน "อ้างอิง" ในบทความที่มีพัฒนาการโดยเป็นส่วนเสริมอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
  • อ้างอิงแบบย่อ (short citation) เป็นการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาที่บ่งชี้ตำแหน่งที่แหล่งข้อมูลว่าข้อมูลโดยเฉพาะนี้สามารถพบได้ที่ใด โดยไม่ให้รายละเอียดของแหล่งข้อมูลนั้นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งรายละเอียดนั้นจะถูกแสดงไว้ในส่วนอ้างอิงทั่วไปแทน ตัวอย่างเช่น ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). หน้า 4 ระบบนี้ใช้ในบางบทความ อ้างอิงสั้นอาจเขียนอยู่ในรูปเชิงอรรถ หรือเป็นอ้างอิงวงเล็บในข้อความ
  • การกล่าวถึงในข้อความ (in-text attribution) เป็นการกล่าวถึงในข้อความบทความเลย (มิใช่เพียงเชิงอรรถ) ว่าข้อความเฉพาะหนึ่ง ๆ นั้นมาจากแหล่งใด อ้างอิงประเภทนี้มักเป็นข้อความแสดงความคิดเห็น ข้อเท็จจริงที่ไม่ได้รับการยืนยัน และคำกล่าว โดยทั่วไปการกล่าวถึงในบทความมิได้บ่งรายละเอียดข้อความที่มาอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะทำเป็นเชิงอรรถตามปกติ ตัวอย่างเช่น ตามข้อมูลของพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ ...[1]

การอ้างอิง

เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหาลงในบทความ คุณควรอ้างถึงแหล่งที่มาข้อมูลนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดข้อสงสัย หากคุณเขียนขึ้นจากความจำ คุณควรค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เพื่อสนับสนุนข้อมูลนั้น แต่ถ้าคุณเขียนขึ้นจากความรู้ของคุณเอง คุณก็ควรจะมีความรู้มากพอที่จะระบุแหล่งอ้างอิงที่ผู้อ่านจะสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ เป้าหมายหลัก คือ ช่วยเหลือผู้อ่านและผู้เขียนคนอื่น ๆ

การอ้างอิงแหล่งที่มาจะมีความสำคัญมากในบทความที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำคลุมเครือ เช่น "บางคนกล่าวว่า " หรือ "มีผู้วิจารณ์ว่า " แต่ควรทำให้การแก้ไขของคุณสามารถพิสูจน์ได้ โดยค้นคว้าว่าใครหรือกลุ่มใดเป็นผู้แสดงความเห็น รวมทั้งอ้างถึง หลักฐานของการแสดงความเห็นดังกล่าวด้วย พึงระลึกว่าวิกิพีเดียไม่ใช่ที่สำหรับแสดงความคิดเห็นส่วนตัว

เนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง สามารถถูกผู้ใช้ลบได้ในทุกเมื่อ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ผู้อื่นอาจไม่พอใจที่คุณลบเนื้อหาโดยไม่ให้โอกาสคนอื่นเติมแหล่งอ้างอิง ดังนั้น คุณอาจจะติดป้าย {{ต้องการอ้างอิง}}, {{ต้องการอ้างอิงย่อหน้านี้}}, หรือ {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} หรือคัดเนื้อหาที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง ไปใส่หน้าอภิปรายแทน และรอจนกว่าจะมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

ในหน้าแก้ความกำกวมนั้นไม่ใช่อ้างอิง เพราะการอ้างอิงข้อมูลที่ให้นั้นควรอยู่ในหน้าบทความเป้าหมายเท่านั้น การอ้างอิงไม่ควรใช้ในส่วนบทนำของบทความ เพราะเป็นการสรุปข้อมูลที่มีการระบุแหล่งอ้างอิงไว้ในบทความแล้ว แม้อาจมีการยกเว้นที่ข้อความนั้นจะต้องมีแหล่งอ้างอิงเสมอแม้แต่ในส่วนบทนำ

สำหรับภาพหรือไฟล์สื่ออื่น รายละเอียดของแหล่งที่มาและสถานะลิขสิทธิ์ควรปรากฏในหน้าไฟล์นั้น คำอธิบายภาพควรมีการอ้างอิงตามความเหมาะสมเช่นเดียวกับส่วนอื่นของบทความ ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงรายละเอียดของภาพที่สามารถพิสูจน์ได้โดยตรงจากภาพเอง (เช่น "ภาพนี้เป็นภาพผู้ชายสองคน")

เมื่อใดที่ควรอ้างอิง

  • เมื่อคุณเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่
  • เมื่อคุณตรวจสอบ ยืนยัน ความถูกต้องเนื้อหา
  • ข้อมูลจากคนกลาง: บอกด้วยว่าคุณได้มาจากไหน
  • เนื้อหาที่เป็นหรือน่าจะเป็นที่กังขา หรืออาจเป็นข้อมูลที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ
  • เมื่อคุณอ้างอิงคำพูดของบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
  • เมื่อคุณเสนอข้อมูลทางสถิติ หรืออ้างถึงอันดับ หรือความเป็นที่สุด
  • เมื่อกล่าวถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอัตชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลนั้นยังเป็นที่พิพาทหรือมีแนวโน้มหมิ่นประมาท ซึ่งหากข้อมูลประเภทนี้ไม่มีแหล่งอ้างอิง ผู้ใช้ควรลบข้อมูลทิ้งทันที

แหล่งข้อมูลใดที่ควรใช้เป็นแหล่งอ้างอิง

แหล่งข้อมูลควรเป็นของบุคคลที่สามที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเนื้อหา ไม่ควรอ้างอิงเว็บบล็อก เว็บบอร์ด เว็บไซต์ส่วนตัว หนังสือที่จ้างสำนักพิมพ์พิมพ์ขึ้นมาเอง เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจมีเนื้อหาที่ไม่เป็นกลาง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการประชาสัมพันธ์ไปยังเว็บไซต์หรือหนังสือเหล่านั้น การอ้างอิงเว็บไซต์ส่วนตัวจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นการอ้างถึง "คำพูด" จากผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ส่วนตัวดังกล่าว ควรอ้างอิงตามแหล่งข้อมูลต้นฉบับซึ่งไม่ละเมิดลิขสิทธิ์มาจากแหล่งอื่นอีกต่อหนึ่ง และหากเป็นไปได้แหล่งข้อมูลนั้นควรเป็นภาษาไทย

แหล่งอ้างอิงต้องมีความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะมาจากเว็บไซต์หรือหนังสือ ไม่ควรอ้างอิงจากคำบอกเล่ากันมาปากต่อปากหรืออ้างอิงไปที่ตัวบุคคล เพราะไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ ไม่ควรอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่เนื้อหาสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของข้อมูล เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบความมีตัวตนของผู้เขียนหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลได้ นอกจากนี้ไม่อ้างอิงวิกิพีเดียด้วยกันเอง ไม่ว่าจะภาษาเดียวกันหรือภาษาอื่น ถ้าเนื้อหาที่เขียนแปลมาจากวิกิพีเดียภาษาอื่นควรระบุแหล่งอ้างอิงตามต้นฉบับด้วย หรือหาแหล่งอื่นมาเพิ่ม

แหล่งอ้างอิงควรสามารถเข้าถึงได้โดยบุคคลทั่วไป มิใช่เอกสิทธิ์เฉพาะบางกลุ่มหรือต้องทำตามเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นได้ รวมทั้งเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องสมัครก่อนเข้าถึงเนื้อหา ไม่เป็นเอกสารภายในองค์กรที่ไม่มีการเผยแพร่สู่แหล่งสาธารณะ เช่นแผ่นพับ รายงาน งบการเงิน เอกสารการสอนในห้องเรียน เป็นต้น (ปกติแล้วแผ่นพับมักจะให้เนื้อหาในทางโฆษณาซึ่งไม่ผ่านนโยบายความเป็นกลาง) หากเป็นแหล่งข้อมูลหนังสือ ควรมีเลข ISBN หรือ ISSN กำกับ เพื่อให้สามารถพิสูจน์ยืนยันและสืบค้นได้ง่ายตามห้องสมุด

แหล่งอ้างอิงกับแหล่งข้อมูลอื่นต่างกันอย่างไร

เว็บย่อ:

แหล่งอ้างอิง (reference หรือ source) ควรเป็นที่รวมแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการยืนยันเนื้อหาข้อมูลภายในบทความ เพื่อให้ผู้อ่านทราบแหล่งที่มาของข้อมูล และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิงได้หากต้องการ ตัวอย่างการอ้างอิง เช่น การนำข้อมูลในเว็บไซต์หรือหนังสือมาเขียนเรียบเรียงใหม่ในวิกิพีเดีย ซึ่งจำเป็นต้องระบุแหล่งที่มา เป็นต้น

สำหรับ แหล่งข้อมูลอื่น (หรือ ลิงก์ภายนอก) ใช้สำหรับรวมแหล่งข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในบทความ หรือไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ (ซึ่งอาจไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เป็นกลาง) แต่มีความเกี่ยวข้องกับบทความ และอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านหากต้องการศึกษาในเรื่องนั้นๆ เพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น บทวิจารณ์ของบุคคลที่มักจะไม่เป็นกลาง ถือเป็นแหล่งข้อมูลอื่น

วิธีการอ้างอิง

เชิงอรรถ

ภาพแสดงมาร์กอัพ <ref></ref> ในกล่องแก้ไข

การอ้างอิงประเภทนี้เป็นบรรทัดข้อความที่ระบุถึงแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้กับข้อความที่สนับสนุน นับเป็นการอ้างอิงข้อมูลประเภทข้อความอย่างถูกต้อง ถ้าคำใดคำหนึ่งหรือวลีใดวลีหนึ่งเป็นที่โต้เถียงกันอย่างมาก คุณสามารถใช้อ้างอิงประเภทนี้ติดกับคำหรือวลีดังกล่าวได้โดยไม่ต้องรอจนจบประโยคก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วการใส่อ้างอิงจุดเดียวในบทความที่ท้ายประโยคที่ต้องการจะอ้างอิงก็เพียงพอแล้ว ตราบใดที่เป็นที่อธิบายได้ว่าแหล่งข้อมูลใดสนับสนุนส่วนใดของข้อความ

การอ้างอิงในบทความวิกิพีเดียส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเชิงอรรถ ซึ่งปรากฏในรูปของวงเล็บเหลี่ยมและมีตัวเลขอยู่ภายในที่สามารถคลิกได้และลิงก์ไปยังรายการตัวเลขอ้างอิงที่อยู่ตอนท้ายของบทความ

หลังจากประโยค หรือย่อหน้าที่อ้างอิง ให้ใส่:

ซึ่งจะปรากฏในลักษณะนี้

เครื่องหมายอ้างอิงโดยปกติจะวางไว้ท้ายประโยคหรือย่อหน้าที่ต้องการอ้างอิง แต่บางครั้งหากคำหรือวลีนั้นเป็นที่โต้เถียงกันมาก และอยู่กลางประโยค ก็อาจเพิ่มเครื่องหมายดังกล่าวติดกับข้อความนั้นได้ทันที แต่โดยทั่วไปแล้ว การอ้างอิงท้ายประโยคหรือย่อหน้าก็เพียงพอแล้ว ตราบเท่าที่ประจักษ์ว่าแหล่งข้อมูลนั้นสนับสนุนส่วนใดของข้อความ หากกล่องข้อมูลหรือตารางต้องการอ้างอิง แต่ไม่สามารถใช้การอ้างอิงแบบเป็นจุดได้ ควรใช้คำบรรยายหรือข้อความอื่นที่อภิปรายถึงเนื้อหานั้นแทน

การสร้างรายการอ้างอิง

ผู้ใช้คนแรกที่เพิ่มเชิงอรรถเข้าไปในบทวามต้องสร้างส่วนที่ข้อความอ้างอิงนั้นปรากฏ การอ้างอิงจะปรากฏที่ท้ายบทความตรงที่คุณพิมพ์ว่า {{รายการอ้างอิง}} การพิมพ์ดังกล่าวจะสร้างรายการเชิงอรรถที่ใช้ในบทความขึ้น และควรตั้งชื่อหัวข้อนั้นว่า "อ้างอิง" หรือ "เชิงอรรถ" โดยเขียนดังนี้:

โดยรายชื่อแหล่งอ้างอิงจะแสดงและเรียงลำดับให้โดยอัตโนมัติ

หากส่วนอ้างอิงกินเนื้อที่มากเกินไป แลดูไม่สวยงาม สามารถแบ่งการแสดงผลเป็นสอง หรือสามคอลัมน์ โดยใส่

อ้างอิงหลายจุดในบทความ จากแหล่งเดียวกัน

ในครั้งแรก หลังจากประโยค หรือส่วนที่อ้างอิง ให้ใส่ตัวแปร "name" และระบุชื่อเรียกสำหรับแหล่งอ้างอิงนี้

การอ้างอิงครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อเว็บไซต์หรือชื่อหนังสือ ให้ใส่เพียงชื่อเรียกสำหรับแหล่งอ้างอิง:

หมายเหตุ: หากชื่อเรียกสำหรับแหล่งอ้างอิงนั้น (1) เป็นภาษาอังกฤษ (2) ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยตัวเลข และ (3) ไม่มีการเว้นวรรค สามารถละเครื่องหมาย "..." (อัญประกาศ) ได้ เช่น <ref name=abc>

อ้างอิงแบบย่อ

ในหลายบทความมีการใช้การอ้างอิงแบบย่อในเชิงอรรถ โดยเขียนเฉพาะผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า ตัวอย่างเช่น <ref>Smith 2010, p. 1.</ref> รายการเชิงอรรถจะปรากฏขึ้นโดยอัตโนมัติตามที่ได้ระบุไว้ด้านบนแล้ว สำหรับแหล่งข้อมูลเต็มจะระบุไว้ในส่วน "บรรณานุกรม" หรือคล้ายกัน ตัวอย่างเช่น

ซึ่งจะปรากฏในบทความดังนี้:

อ้างอิงทั่วไป

อ้างอิงทั่วไปเป็นการอ้างอิงไปยังแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือซึ่งสนับสนุนเนื้อหา แต่ไม่แสดงเป็นอ้างอิงแทรกในเนื้อหา อ้างอิงทั่วไปโดยปกติจะทำรายการไว้ท้ายบทความในส่วน "อ้างอิง" และมักเรียงตามชื่อของผู้ประพันธ์ ตัวอย่างของอ้างอิงแบบทั่วไปมีให้ด้านบนในส่วนอ้างอิงแบบย่อแล้ว

นอกเหนือไปจากการใช้อ้างอิงทั่วไปเมื่อใช้อ้างอิงแบบย่อหรือแบบวงเล็บแล้ว ส่วนอิ้างอิงทั่วไปยังรวมในบทความที่ใช้อ้างอิงแทรกในเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากการอ้างอิงนั้นยังมิได้ให้แก่ข้อมูลทั้งหมดในบทความ ในบทความที่ยังไม่ได้พัฒนา ส่วนอ้างอิงทั่วไปอาจมีได้แม้ว่าจะยังไม่มีอ้างอิงแทรกในเนื้อหาเลยก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเนื้อหาทั้งบทความได้รับการสนับสนุนด้วยแหล่งข้อมูลเพียงแหล่งเดียว ข้อเสียของการใช้อ้างอิงทั่วไปเป็นอย่างเดียวคือ ความถูกต้องของการอ้างอิง (text-source integrity) จะเสียไป เว้นเสียแต่บทความนั้นสั้นมาก

ข้อมูลแหล่งอ้างอิงที่ควรระบุ

หนังสือ

การอ้างอิงหนังสือนั้นให้ระบุชื่อผู้ประพันธ์, ชื่อหนังสือ, เล่มที่ (ถ้ามี), เมืองที่พิมพ์ (ไม่จำเป็น), ชื่อสำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์ และหมายเลข ISBN

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหานั้นควรเพิ่มหมายเลขหน้าที่เกี่ยวข้อง และยังอาจเพิ่มเลขบทได้ตามความเหมาะสม เมื่อมีการเจาะจงหมายเลขหน้า ควรระบุวันเดือนปีที่พิมพ์หรือระบุว่าเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่เท่าใดด้วย เพราะฉบับพิมพ์ครั้งถัดมาอาจมีจำนวนหน้าไม่เท่าเดิม

สำหรับการอ้างอิงในหนังสือที่มีผู้ประพันธ์หลายคนเขียนเป็นส่วน ๆ แยกกัน ควรมี ชื่อผู้ประพันธ์, ชื่อบท, ชื่อของบรรณาธิการหนังสือ, และชื่อของหนังสือและรายละเอียดอื่นข้างต้น

เมื่อหนังสือนั้นสามารถเข้าถึงได้ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์เช่น กูเกิลบุคส์ จะเป็นประโยชน์มากหากคุณเพิ่มลิงก์ไปยังหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่ว่าเมื่อคลิกเข้าไปในชื่อหนังสือแล้วจะนำผู้อ่านไปยังหน้าที่กำลังกล่าวถึงได้ทันที ตัวอย่างเช่น

หมายเหตุ: ลิงก์ประเภทนี้ควรลิงก์ไปยังหนังสือที่มีหน้านั้นจริง ๆ หากไม่มี ก็ไม่ควรเพิ่ม

บทความวารสาร

การอ้างอิงบทความวารสารให้ระบุชื่อผู้ประพันธ์, ปีที่พิมพ์ (บางครั้งให้รวมเดือนด้วย), ชื่อเรื่องของบทความ (ในเครื่องหมายอัญประกาศ), ชื่อของวารสาร, ปีที่, ฉบับที่ และหมายเลขหน้า (คือ หมายเลขบทความในวารสารอิเล็กทรอนิกส์บางแห่ง)

สำหรับการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาระบุแล้วในส่วนหนังสือข้างต้น

หากบทความนั้นสามารถเข้าถึงได้ออนไลน์ ให้เพิ่มลิงก์ชื่อบทความไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น

บทความหนังสือพิมพ์

การอ้างอิงบทความหนังสือพิมพ์ให้ระบุชื่อหนังสือพิมพ์, วันเดือนปีที่พิมพ์, ชื่อผู้ประพันธ์ (ถ้ามี), ชื่อบทความ (ในเครื่องหมายอัญประกาศ) และเมืองที่พิมพ์ หากไม่ระบุในชื่อหนังสือพิมพ์แล้ว หมายเลขหน้าไม่จำเป็นต้องระบุ

หากบทความนั้นสามารถเข้าถึงได้ออนไลน์ ให้ลิงก์ชื่อบทความไปยังที่อยู่เว็บที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น

หน้าเว็บ

การอ้างอิงหน้าเวิลด์ไวด์เว็บนั้นให้ระบุชื่อผู้ประพันธ์, ชื่อบทความ (ในเครื่องหมายอัญประกาศ) ชื่อเว็บไซต์, วันเดือนปีที่เผยแพร่ (ถ้าทราบ), วันที่คุณได้รับข้อมูลนั้น ตัวอย่างเช่น 2008-07-15 (จำเป็นต้องระบุหากไม่ทราบวันเดือนปีที่เผยแพร่) หมายเลขหน้าสามารถเพิ่มได้ถ้ามี

บันทึก

การอ้างอิงบันทึกเสียงให้ระบุชื่อของผู้ประพันธ์เพลงหรือคนเขียนบท, ชื่อของผู้แสดง, ชื่อเพลง (ในเครื่องหมายอัญประกาศ), ชื่อของอัลบั้ม, ชื่อค่ายเพลง, ปีที่วางจำหน่าย, สื่อ (เช่น ตลับเทป, ซีดี, ไฟล์เอ็มพี3)

สำหรับการอ้างอิงภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ หรือบันทึกวิดีโอ ให้ระบุชื่อผู้กำกับ (หรือผู้อำนวยการสร้างถ้าเทียบเท่ากัน), ชื่อของนักแสดงคนสำคัญ, ชื่อของตอนนั้นในเครื่องหมายอัญประกาศ (ถ้ามี), ชื่อของภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์, ชื่อของสตูดิโอ, ปีที่เผยแพร่, สื่อ (เช่น ภาพยนตร์, ดีวีดี)

อ้างอิงตามที่คุณพบเจอ

อย่าอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่คุณไม่ได้พบเจอด้วยตัวคุณเอง หากคุณอ่านหนังสือและมีระบุว่าหนังสือเล่มนั้นอ้างอิงจากหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ให้เขียนดังนี้

ความถูกต้องของการอ้างอิง

เมื่อใช้การอ้างอิงแทรกในเนื้อหาก็มีความสำคัญอย่างมากที่จะรักษาความถูกต้องของการอ้างอิง จุดประสงค์ของการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาคือการให้ผู้อ่านและผู้แก้ไขคนอื่น ๆ ตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น แต่จุดประสงค์ดังกล่าวจะไม่ประสบความสำเร็จหากการอ้างอิงวางไว้อย่างไม่ชัดเจน ระยะห่างระหว่างข้อความและแหล่งข้อมูลอยู่ที่การตัดสินใจของผู้เขียนเอง แต่การเพิ่มเติมข้อมูลโดยไม่ระบุถึงแหล่งข้อมูลอย่างชัดเจนนั้นอาจนำไปสู่การกล่าวหาว่าเป็นงานค้นคว้าต้นฉบับ ละเมิดนโยบายการอ้างอิง หรือแม้กระทั่งโจรกรรมทางวรรณกรรม ผู้เขียนควรดำเนินการด้วยความระมัดระวังเมื่อจัดรูปแบบหรือเพิ่มข้อมูลใหม่เข้าไปเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างข้อความและแหล่งข้อมูลยังคงเป็นไปเช่นเดิม

จากตัวอย่าง รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาด้านล่างไม่เป็นประโยชน์มากนัก เนื่องจากผู้อ่านไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลใดสนับสนุนข้อความส่วนใดบ้าง หรือแหล่งข้อมูลแต่ละแหล่งสนับสนุนข้อความบางส่วน หรือมีเพียงแหล่งเดียวที่สนับสนุนข้อความดังกล่าว ในขณะที่แหล่งที่เหลือควรจะถูกจัดเป็น "แหล่งข้อมูลอื่น" มากกว่า:

  1. Smith, Jane. Popular Cooks. Cambridge University Press, 2010, หน้า 1
  2. Jones, Paul. More popular Cooks. Oxford University Press, 2010, หน้า 2
  3. Doe, John. Cooks Ahoy!. Harvard University Press, 2010, หน้า 3
  4. Doe, Jane. Surely Not More Cooks. Yale University Press, 2010, หน้า 4

วิธีระบุว่าปัญหาอ้างอิง

คำสั่งที่พิมพ์ โอกาสที่ใช้ ผลลัพธ์
  • {{ต้องการอ้างอิง}}
  • {{ขาดอ้างอิง}}
  • {{unreferenced}}
ใส่ไว้บนสุดของบทความ หรือใส่ภายในหัวข้อที่ต้องการอ้างอิงโดยเฉพาะ
  • {{เพิ่มอ้างอิง}}
ใส่ไว้บนสุดของบทความ ที่มีแหล่งอ้างอิงอย่างน้อยหนึ่งแหล่ง แต่ยังไม่เพียงพอ
  • {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
  • {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
  • {{อ้างอิง}}
  • {{citation needed}}
  • {{fact}}
ใส่ท้ายวลีหรือประโยคที่ต้องการแหล่งอ้างอิง ในจุดที่เป็นข้อกังขา [ต้องการอ้างอิง]
  • {{ต้องการอ้างอิงเต็ม}}
ใส่ต่อจากแหล่งอ้างอิง เพื่อระบุว่าแหล่งอ้างอิงนั้นยังขาดข้อมูลที่ควรระบุ [ต้องการอ้างอิงเต็ม]
  • {{ใครกล่าว}}
ใส่ท้ายวลีหรือประโยคที่ต้องการแหล่งอ้างอิง และเป็นถ้อยคำคลุมเครือ [ใครกล่าว?]

อย่างไรก็ดี หากข้อมูลนั้นเคลือบแคลงและเป็นโทษ ให้ลบออกทันทีโดยไม่ต้องติดป้าย คุณอาจนำไปไว้ในหน้าอภิปรายแทน

ดูเพิ่ม