ประเทศเบลเยียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บย่อ:
ราชอาณาจักรเบลเยียม
Koninkrijk België (ดัตช์)
Royaume de Belgique (ฝรั่งเศส)
Königreich Belgien (เยอรมัน)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญดัตช์: Eendracht maakt macht
ฝรั่งเศส: L'union fait la force
เยอรมัน: Einigkeit macht stark
("สามัคคีคือพลัง")
เพลงชาติ"ลาบราบ็องซอน"
(เพลงแห่งบราแบนต์)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
บรัสเซลส์
50°54′N 4°32′E / 50.900°N 4.533°E / 50.900; 4.533
ภาษาราชการ ภาษาดัตช์ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน
การปกครอง สหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
 -  พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป
 -  นายกรัฐมนตรี ชาร์ล มีแชล
เอกราช จาก เนเธอร์แลนด์
 -  ประกาศ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2373 
 -  เป็นที่ยอมรับ 19 เมษายน พ.ศ. 2382 
เข้าร่วมสหภาพยุโรป 25 มีนาคม พ.ศ. 2500
พื้นที่
 -  รวม 30,528 ตร.กม. (137)
11,787 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 6.4
ประชากร
 -  2548 (ประเมิน) 10,419,000 (77)
 -  2544 (สำมะโน) 10,296,350 
 -  ความหนาแน่น 342 คน/ตร.กม. (29)
886 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2555 (ประมาณ)
 -  รวม 420.307 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (30)
 -  ต่อหัว 37,883 ดอลลาร์สหรัฐ (20)
HDI (2556) 0.897 (สูงมาก) (17)
สกุลเงิน ยูโร (€) 1 (EUR)
เขตเวลา CET (UTC+1)
 -  (DST) CEST (UTC+2)
โดเมนบนสุด .be2
รหัสโทรศัพท์ 32
1ก่อนปี พ.ศ. 2542 ใช้ฟรังก์เบลเยียม
2และยังใช้ .eu ร่วมกับรัฐสมาชิกอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป

เบลเยียม (อังกฤษ: Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (อังกฤษ: Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ

เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย

คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศัย

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ราบชายฝั่งของเบลเยียม ประกอบด้วยเนินทรายจำนวนมาก

เบลเยียมมีพรมแดนติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส (620 กม.) เยอรมนี (167 กม.) ลักเซมเบิร์ก (148 กม.) และเนเธอร์แลนด์ (450 กม.) [1] มีพื้นที่รวม 30,528 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำ 250 กม.² ภูมิประเทศของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ที่ราบชายฝั่ง ที่ราบสูงกลาง และที่สูงอาร์แดน[2]

ภูมิประเทศ[แก้]

ที่ราบชายฝั่งของเบลเยียม ประกอบด้วยเนินทรายจำนวนมาก ลึกเข้ามาในแผ่นดินเป็นที่ราบทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และคลอง ที่สูงอาร์เดนส์เป็นเขตที่เป็นป่าหนาแน่น ยกตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 460 เมตร อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเบลเยียม พื้นที่แถบนี้มีลักษณะเป็นหิน ไม่เหมาะกับเกษตรกรรม มีจุดที่สูงที่สุดของเบลเยียมคือซีญาลเดอบอทร็องฌ์ (Signal de Botrange) สูง 694 เมตร[1][2]

แม่น้ำสายหลักของเบลเยียมได้แก่ แม่น้ำแอ็สโก (Escaut) และแม่น้ำเมิซ (Meuse) ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ที่ฝรั่งเศส แม่น้ำแอ็สโกเป็นแม่น้ำสายหลักของเบลเยียม ผ่านท่าเรือแอนต์เวิร์ป บรัสเซลส์ และเกนต์[2]

ภูมิอากาศ[แก้]

ภูมิอากาศชายฝั่งทะเลมีลักษณะชื้นและไม่รุนแรงนัก ในขณะที่ลึกเข้ามาในพื้นทวีปอุณหภูมิจะมีช่วงความเปลี่ยนแปลงสูงกว่า ในเขตที่สูงอาร์เดนส์มีฤดูร้อนที่ร้อนสลับกับฤดูหนาวที่หนาวเย็น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนในบรัสเซลส์ อยู่ระหว่าง 55 มิลลิเมตร ในเดือนกุมภาพันธ์ จนถึง 78 มิลลิเมตรในเดือนกรกฎาคม[3] ในขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของบรัสเซลส์อยู่ที่ 15-18 องศาเซลเซียสในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน และลงต่ำอยู่ที่ 3 องศาในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์[4] จากรายงานของสหประชาชาติในปีพ.ศ. 2546 คุณภาพน้ำในแม่น้ำของเบลเยียมอยู่ในระดับต่ำสุดจากทั้งหมด 122 ประเทศ[5]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์เบลเยียม

ยุคก่อนประวัติศาสตร์[แก้]

มีหลักฐานการดำรงอยู่ของชุมชนโบราณมานานมากกว่า 2,000 ปีโดยขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และภาพเขียนโบราณในถ้ำตอนกลางของประเทศริมฝั่งแม่น้ำเมิซ (la Meuse)

ในปีพ.ศ. 600 จูเลียส ซีซาร์ขยายอำนาจของจักรวรรดิโรมันมายังดินแดนเบลเยียมปัจจุบัน โดยเอาชนะชนเผ่าเคลต์ที่ชื่อเบลไก (Belgae) และก่อตั้งเป็นมณฑลแกลเลียเบลจิกา ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 ดินแดนแถบนี้ก็ตกไปอยู่ในการควบคุมของชนเผ่าแฟรงก์ ก่อตั้งราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง[6] พระเจ้าโคลวิสที่ 1 ทรงรับคริสต์ศาสนาเข้ามาสู่อาณาจักร หลังจากยุคของโคลวิสแล้ว อาณาจักรของพวกแฟรงก์ก็เริ่มแตก จนกระทั่งถึงยุคของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ซึ่งครองราชย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1311 จนถึง 1357 ซึ่งได้รวบรวมอาณาจักรแฟรงก์ ปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป

ยุคกลาง[แก้]

หลังจากพระเจ้าชาร์เลอมาญสิ้นพระชนม์ อาณาจักรก็ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเบลเยียมปัจจุบันเป็นของพระเจ้าโลแทร์ ซึ่งปกครองอาณาจักรกลาง ในขณะที่ส่วนที่เหลือตกเป็นของฝรั่งเศส อาณาจักรกลางภายหลังตกไปอยู่ภายใต้กษัตริย์เยอรมันของอาณาจักรตะวันออก ดินแดนเบลเยียมถูกแบ่งออกเป็นรัฐขุนนางเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งต่อมารวบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเบอร์กันดี หลังจากการอภิเษกสมรสของพระนางแมรีแห่งเบอร์กันดีกับเจ้าชายมักซิมิลันจากราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ซึ่งต่อมาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดินแดนเบลเยียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ได้ตกทอดไปถึงพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปน พระนัดดาของพระเจ้ามักซิมิลัน

ในรัชสมัยของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน พระราชโอรสของพระเจ้าชาลส์ ได้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ โดยพระเจ้าเฟลิเปพยายามที่จะปราบปรามนิกายโปรเตสแตนต์ ดินแดนทางตอนเหนือ ซึ่งสนับสนุนนิกายโปรเตสแตนต์ รวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ดินแดนทางใต้ ประกอบด้วยเบลเยียมและลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสเปน เรียกชื่อว่าเนเธอร์แลนด์ใต้

ต่อมา ฝรั่งเศสได้ขึ้นเป็นมหาอำนาจในยุโรป พื้นที่ประเทศต่ำได้เป็นสนามรบ เบลเยียมได้เปลี่ยนมือไปยังออสเตรีย จนกระทั่งหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1ได้ยึดเบลเยียมในปีพ.ศ. 2338 ยุติการปกครองของสเปนและออสเตรียในบริเวณนี้ หลังจากการสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน กลุ่มประเทศต่ำได้รวมกันอีกครั้งเป็นสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2358

การณ์ปฏิวัติเบลเยียม[แก้]

ดูบทความหลักที่: การปฏิวัติเบลเยียม
ภาพเหตุการณ์ปฏิวัติเบลเยียม ของ Egide Charles Gustave Wappers ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะในบรัสเซลส์

เกิดการปฏิวัติในเบลเยียมในปี พ.ศ. 2373 ก่อตั้งเป็นรัฐเอกราช และเลือกเจ้าชายเลโอโปลด์จากราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 1 โดยมีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในปีพ.ศ. 2374

เบลเยียมได้รับคองโกเป็นอาณานิคมในปีพ.ศ. 2451 จากที่เคยเป็นดินแดนส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 เยอรมนีเข้ารุกรานเบลเยียมในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เบลเยียมเข้าครอบครองรวันดา-อุรุนดี (ปัจจุบันคือประเทศรวันดาและบุรุนดี) ซึ่งเป็นอาณานิคมของเยอรมนีในช่วงสงคราม เบลเยียมถูกรุกรานจากเยอรนีอีกครั้งในสงครามโลกครั้งที่สอง จนกระทั่งถูกปลดปล่อยโดยกองทัพสัมพันธมิตร คองโกได้รับเอกราชในปีพ.ศ. 2503 ในขณะที่รวันดา-อุรุนดีได้รับในอีกสองปีถัดมา

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เบลเยียมเข้าร่วมนาโต ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่บรัสเซลส์ และจัดตั้งกลุ่มเบเนลักซ์ร่วมกับเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก[6] เบลเยียมเป็นหนึ่งในหกสมาชิกก่อตั้งของประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรปในปีพ.ศ. 2494 และในปีพ.ศ. 2500 ก่อตั้งประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งต่อมาคือสหภาพยุโรป เบลเยียมเป็นที่ตั้งของหน่วยงานหลายอย่างของสหภาพ เช่น คณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป เป็นต้น

การเมืองการปกครอง[แก้]

เบลเยียมมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การปกครองของเบลเยียมนั้นมีเน้นไปทางอำนาจปกครองตนเองของสองชุมชนหลัก ซึ่งมีมีปัญหาความแตกแยกจากความแตกต่างทางภาษา[7] ในปีพ.ศ. 2536 ได้มีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญครั้งสำคัญ โดยบัญญัติให้เบลเยียมเป็นสหพันธรัฐ หลังจากเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่พ.ศ. 2513[8]

บริหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลสาธารณรัฐเบลเยียม

นิติบัญญัติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาเบลเยียม

รัฐสภากลางของเบลเยียมนั้นใช้ระบบสภาคู่ โดยประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ดัตช์: de Kamer van Volksvertegenwoordigers; ฝรั่งเศส: la Chambre des Représentants) และวุฒิสภา (ดัตช์: de Senaat; ฝรั่งเศส: le Sénat) วุฒิสภานั้นประกอบด้วยนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง 40 คน และอีก 21 คนแต่งตั้งโดยสภาชุมชนสามสภา สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คนจากเขตเลือกตั้ง 11 เขต เบลเยียมนั้นมีการกำหนดการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2435[9]

พรรคการเมือง[แก้]

พรรคการเมืองของเบลเยียมนั้น มีลักษณะแบ่งตามกลุ่มภาษาอย่างชัดเจน พรรคการเมืองของเบลเยียมอยู่ในสามกลุ่มหลัก ๆ คือ กลุ่มพรรคคริสเตียนเดโมแครต แบ่งเป็น Centre démocrate humaniste (CDH) และ Christen-Democratisch & Vlaams (CD&V) กลุ่มพรรคสังคมนิยม ประกอบด้วย Parti Socialiste (PS) และ Socialistische Partij – Anders (SP.A) และกลุ่มพรรคเสรีนิยม ได้แก่ Mouvement Réformateur (MR) และ Vlaamse Liberalen en Democraten (VLD) นอกจากสามกลุ่มหลักนี้แล้ว ยังมีกลุ่มพรรคกรีน ได้แก่ พรรค Ecolo และ Groen! ซึ่งเป็นพรรคของผู้พูดภาษาฝรั่งเศสและฟลามส์ตามลำดับ[10][11]

ตุลาการ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กฎหมายเบลเยียม

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แผนที่แสดง การแบ่งเขตการปกครองของเบลเยียม

ชาววัลลูนและชาวเฟลมิชในเบลเยียมมีความแตกต่างกันทั้งทางภาษา ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจและการเมือง ในปี พ.ศ. 2511 ความตึงเครียดระหว่างประชากรในพื้นที่ที่ใช้ภาษาดัตช์และที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนบางครั้งถึงขั้นจลาจล สถานการณ์นี้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ-ราชอาณาจักร โดยแบ่งออกเป็นสามเขต คือ เขตฟลามส์ เขตวัลลูน และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ แต่ละเขตมีรัฐบาลท้องถิ่นปกครองตนเอง และมีรัฐบาลกลางบริหารประเทศโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ

การปกครองของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามระดับ ได้แก่ รัฐบาลสหพันธรัฐ มีศูนย์กลางอยู่ที่บรัสเซลส์ ชุมชนภาษาสามชุมชน ได้แก่ ฟลามส์ ฝรั่งเศส และเยอรมัน และสามภูมิภาค ได้แก่ เขตฟลามส์หรือฟลานเดอส์ เขตวัลลูนหรือวัลโลเนีย และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์

โดยเขตฟลามส์และเขตวัลลูนแบ่งออกเป็นจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้

เขตฟลามส์ (Vlaams Gewest) เขตวัลลูน (Région wallonne)
แอนต์เวิร์ป (Antwerpen) แอโน (Hainaut)
ฟลานเดอส์ตะวันออก (Oost-Vlaanderen) ลีแยฌ (Liège/Lüttich)
เฟลมิชบราแบนต์ (Vlaams Brabant) ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg)
ลิมเบิร์ก (Limburg) นามูร์ (Namur)
ฟลานเดอส์ตะวันตก (West-Vlaanderen) วัลลูนบราแบนต์ (Brabant wallon)

นโยบายต่างประเทศ[แก้]

ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป[แก้]

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย[แก้]

ความสัมพันธ์เบลเยียม – ไทย
Map indicating location of เบลเยียม and ไทย

เบลเยียม

ไทย
  • การทูต
  • การค้าและเศรษฐกิจ
  • การศึกษาและวิชาการ

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพเบลเยียม

กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

เบลเยียมเป็นประเทศแรกในภาคพื้นทวีปยุโรปที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม[12] โดยมีการพัฒนาการทำเหมืองแร่ ตีเหล็ก และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เบลเยียมได้พัฒนาสาธารณูปโภคด้านการขนส่ง ทั้งท่าเรือ คลอง รถไฟ และทางหลวง เชื่อมเศรษฐกิจเข้ากับประเทศอื่นในยุโรป เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของประชาคมยุโรป และสนับสนุนการขยายอำนาจของสหภาพยุโรปเพื่อรวมเศรษฐกิจของชาติสมาชิก[10] เบลเยียมเข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโรในปีพ.ศ. 2542 และทดแทนฟรังก์เบลเยียมอย่างสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2545 ทั้งนี้ เบลเยียมเข้าร่วมสหภาพศุลกากรและสกุลเงินกับประเทศลักเซมเบิร์กตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465[13]

ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง วัลโลเนียเป็นเขตที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสูง หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ฟลานเดอส์เริ่มมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยปรากฏการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมี ในเขตวัลโลเนีย อุตสาหกรรมเหล็กเริ่มสูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน จนกระทั่งเกิดวิกฤติการน้ำมัน พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2522 ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ หลังจากนั้น ศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศขยับไปทางเขตฟลานเดอส์[10]

เศรษฐกิจของเบลเยียมมีจุดเด่นคือ ผลิตภาพของแรงงาน รายได้ประชาชาติ และการส่งออกต่อประชากรสูง[14] การส่งออกของเบลเยียมคิดเป็นมากกว่าสองในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีเอ็นพี) [10]โดยเบลเยียมได้เปรียบจากตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ในศูนย์กลางพื้นที่ที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจสูง เบลเยียมเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา

การท่องเที่ยว[แก้]

ดูบทความหลักที่: การท่องเที่ยวในเบลเยียม

ประชากร[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

ในปีพ.ศ. 2549 เบลเยียมมีประชากรประมาณ 10.5 ล้านคน โดยอาศัยอยู่ในเขตฟลามส์ราว 6 ล้านคน เขตวัลลูนราว 3.4 ล้านคน และราว 1 ล้านคนในเขตเมืองหลวง คิดเป็นความหนาแน่นทั้งประเทศ 344 คนต่อตารางกิโลเมตร เขตเทศบาลที่มีผู้อยู่อาศัยมากได้แก่ แอนต์เวิร์ป (4.66 แสนคน) เกนต์ (2.35 แสนคน) ชาร์เลอรัว (2 แสนคน) ลีแยฌ (1.88 แสนคน) บรัสเซลส์ (1.45 แสนคน) เป็นต้น[15]


เมืองใหญ่ที่สุดในเบลเยียม
Nationaal Instituut voor de Statistiek, table 3 (01/01/2012)

ที่ เมือง จังหวัด ประชากร (คน)
แอนต์เวิร์ป
แอนต์เวิร์ป

เกนต์
เกนต์

1 แอนต์เวิร์ป จังหวัดแอนต์เวิร์ป 502,604 ชาร์เลอรัว
ชาร์เลอรัว

ลีแยฌ
ลีแยฌ

2 เกนต์ จังหวัดฟลานเดอร์ตะวันออก 248,242
3 ชาร์เลอรัว จังหวัดแอโน 203,871
4 ลีแยฌ จังหวัดลีแยฌ 195,576
5 บรัสเซลส์ เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ 166,647
6 สการ์เบก เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ 127,747
7 บรูช จังหวัดฟลานเดอร์ตะวันตก 117,170
8 อันเดอร์เลคต์ เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ 111,279
9 นามูร์ จังหวัดนามูร์ 110,096
10 เลอเฟิน จังหวัดเฟลมมิชบราแบนต์ 97,656


ภาษา[แก้]

เบลเยียมมีภาษาทางการ 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาดัตช์ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน โดยคาดว่า มีผู้พูดภาษาดัตช์เป็นภาษาหลักราว 60 เปอร์เซนต์ และประมาณ 40 เปอร์เซนต์สำหรับภาษาฝรั่งเศส โดยภาษาเยอรมันมีผู้พูดน้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์[1] ผู้พูดภาษาดัตช์ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือของประเทศ โดยเป็นภาษาทางการของเขตฟลามส์และชุมชนฟลามส์ และหนึ่งในสองภาษาทางการของเขตเมืองหลวง ผู้พูดภาษาฝรั่งเศสกระจุกตัวอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นภาษาทางการของชุมชนฝรั่งเศส อีกหนึ่งภาษาทางการของเขตเมืองหลวง และภาษาหลักของเขตวัลลูน ภาษาเยอรมันมีผู้พูดอยู่ในเขตชายแดนตะวันออกของประเทศ เป็นภาษาทางการในบางส่วนของวัลลูน ภาษาอื่น ๆ ที่มีผู้พูดในเบลเยียมได้แก่ ภาษาวัลลูน ภาษาปีการ์ ภาษาช็องเปอนัว และภาษาลอแร็ง

ศาสนา[แก้]

คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาหลักของเบลเยียม จากการสำรวจและศึกษาศาสนาในปีพ.ศ. 2544 ประชากรร้อยละ 47 ของประเทศประกาศตนเป็นคาทอลิก และมีประชากรมุสลิมประมาณ 364,000 คน หรือราว 3.5 เปอร์เซนต์ของประชากร[16]

กีฬา[แก้]

กีฬายอดนิยมของเบลเยียมคือฟุตบอลและจักรยาน[17] เอดดี เมิกซ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักกีฬาจักรยานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[18] เบลเยียมผลิตนักเทนนิสหญิงมือหนึ่งของโลกถึงสองคน คือ กิม ไกลส์เติร์ส และฌุสตีน เอแน็ง

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมเบลเยียม

ศิลปะ[แก้]

ภาพ หอคอยบาเบล ของปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ) ศิลปินชาวเฟลมิชที่มีชื่อเสียง

ฟลานเดอส์เป็นแหล่งกำเนิดของจิตรกรที่มีชื่อเสียงหลายยุคสมัย ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 บริเวณยุโรปเหนือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา จิตรกรชาวเฟลมิชคนสำคัญของยุคนี้ประกอบไปด้วย ยัน ฟัน ไอก์, โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน และปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ) ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟลานเดอส์มีจิตรกรที่มีชื่อเสียงมากของยุคคือ เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ และอันโตนี ฟัน ไดก์[19]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เบลเยียมเกิดรูปแบบและสำนักแตกต่างกันมากมาย มีจิตรกรที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติเช่น เจมส์ เอนซอร์ และเรเน มากริตต์ นอกจากนี้ เบลเยียมยังมีสถาปนิกชื่อดังสองคน ซึ่งเป็นศิลปินอาร์ตนูโวคนแรก ๆ คือวิกตอร์ ฮอร์ตา และอ็องรี ฟัน เดอแฟ็ลเดอ[20] เบลเยียมยังเป็นต้นกำเนิดของแซกโซโฟน ประดิษฐ์โดยอดอล์ฟ แซกซ์ ในปีพ.ศ. 2483[21]

ประเพณี[แก้]

ขบวนยักษ์ในงานดูว์กัสดัต (Ducasse d'Ath – เทศกาลเมืองอัต) หนึ่งในเมืองที่อยู่ในประกาศของยูเนสโก

ตลอดปี เบลเยียมมีงานเทศกาลท้องถิ่นจำนวนมาก[22] ขบวนยักษ์และมังกรในหลายเมืองของเบลเยียมได้รับการยอมรับในประกาศผลงานชิ้นเอกมุขปาฐะและมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (อังกฤษ:Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) ของยูเนสโก ได้แก่ อัต, บรัสเซลส์, เดนเดอร์โมนเดอ, เมเคอเลิน และมงส์[23] งานเทศกาลที่สำคัญในเบลเยียมอีกอย่างหนึ่ง คือวันนักบุญนิโคลัส 6 ธันวาคม เรียกในภาษาดัตช์ว่าซินเตอร์กลาส (Sinterklaas) [24]

อาหาร[แก้]

เบลเยียมมีชื่อเสียงในด้านการผลิตช็อกโกแลต[25] โดยมียี่ห้อช็อกโกแลตหลายยี่ห้อที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่น Godiva, Neuheus และ Guylian นอกจากนี้ เบลเยียมยังเป็นประเทศที่นิยมเบียร์ มีเบียร์มากกว่า 450 ชนิด[26] ชาวเบลเยียมเป็นที่รู้กันดีว่าชื่นชอบวัฟเฟิลและมันฝรั่งทอดเฟรนช์ฟรายส์ ซึ่งมีการสันนิษฐานว่ามีต้นกำเนิดจากประเทศนี้[27][28][29] อาหารสำคัญของประเทศอีกอย่างหนึ่งคือหอยแมลงภู่ เสิร์ฟร่วมกับมันฝรั่งทอด[30]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 ข้อมูลประเทศเบลเยียมจากเวิลด์แฟกต์บุก เรียกข้อมูลวันที่ 23 ส.ค. 2550 (อังกฤษ)
  2. 2.0 2.1 2.2 "Belgium". Microsoft Encarta Online Encyclopedia 2007. Microsoft Corporation. © 1997-2007. สืบค้นเมื่อ 23 ส.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  3. "Climate averages — Brussels". EuroWEATHER/EuroMETEO, Nautica Editrice Srl, Rome, Italy. สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2550.  (อังกฤษ)
  4. "Climate averages — Brussels". EuroWEATHER/EuroMETEO, Nautica Editrice Srl, Rome, Italy. สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2550.  (อังกฤษ)
  5. Pearce, Fred (5 มี.ค. 2548). "Sewage-laden Belgian water worst in world". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2550.  (อังกฤษ)
  6. 6.0 6.1 "History of Belgium". Visit Belgium. สำนักงานท่องเที่ยวเบลเยียมในทวีปอเมริกา. © 2005. สืบค้นเมื่อ 26 ก.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  7. Morris, Chris (13 พ.ค. 2548). "Language dispute divides Belgium". บีบีซีนิวส์. สืบค้นเมื่อ 27 มิ.ย. 2550.  (อังกฤษ)
  8. "Historical outline of the federalism in Belgium". AWEX. สืบค้นเมื่อ 26 ก.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  9. Maria Gratschew. "Compulsory Voting". International IDEA. สืบค้นเมื่อ 26 ก.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 "Background Note: Belgium". กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สำนักงานกิจการยุโรปและยูเรเชีย. April 2007. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550.  (อังกฤษ)
  11. "Belgium - Political parties". Encyclopedia of the Nations. สืบค้นเมื่อ 2 ต.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  12. "Industrial History Belgium". European Route of Industrial Heritage. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550.  (อังกฤษ)
  13. "Belgium in the European Union". Belgium. Belgian Federal Public Service (ministry) of Foreign Affairs, Foreign Trade and Development Cooperation. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550.  (อังกฤษ)
  14. "Belgian economy". Belgium. กระทรวงการต่างประเทศ การค้าต่างประเทศ และความร่วมมือการพัฒนา เบลเยียม. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550.  (อังกฤษ)
  15. "Structuur van de bevolking — België / Brussels Hoofdstedelijk Gewest / Vlaams Gewest / Waals Gewest / De 25 bevolkingsrijkste gemeenten (2000–2006)" (asp). กระทรวงเศรษฐกิจเบลเยียม — คณะกรรมการสถิติ. © 1998/2007. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550.  (ดัตช์)
  16. "Belgium". International Religious Freedom Report 2004. กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ สำนักงานประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และแรงงาน. 2004. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2550.  (อังกฤษ)
  17. Geno Jezek (© 2006). "Popular Sports". สืบค้นเมื่อ 3 ต.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  18. Matt Majendie (18 เม.ย. 2548). "Great, but there are greater". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 3 ต.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  19. "Low Countries, 1600–1800 AD". Timeline of Art History. Metropolitan Museum of Art. 2007. สืบค้นเมื่อ 2 ต.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  20. "Low Countries, 1900 a.d.–present". Timeline of Art History. Metropolitan Museum of Art. 2007. สืบค้นเมื่อ 2 ต.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  21. น้าชาติ ประชาชื่น (17 ก.พ 2548). "แซกโซโฟน -- ประวัติที่มา". มติชน. สืบค้นเมื่อ 3 ต.ค. 2550. 
  22. "Belgian folklore festivals". Expatica. สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  23. "Processional Giants and Dragons in Belgium and France". ยูเนสโก. สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2550. 
  24. "The tradition of Sinterklaas". Expatica. 2 ธ.ค. 2548. สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  25. Michael Pollick. "What is Unique About Belgian Chocolate?". WiseGeek. สืบค้นเมื่อ 7 ต.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  26. "Belgium for Beer Lovers". Visit Belgium. สำนักงานท่องเที่ยวเบลเยียมในอเมริกา. สืบค้นเมื่อ 7 ต.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  27. "Origin of Waffles". Augustin's Waffles. Cezam USA, Inc. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  28. Gavin Clabaugh (2006-08-19). "French Fries — Near and Far". Gavin’s Digital Diner. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  29. "The French Fry". Professor's House. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2550.  (อังกฤษ)
  30. "Belgium". Global Gourmet. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2550.  เผยแพร่ซ้ำจาก Van Waerebeek, Ruth; Robbins, Maria (ตุลาคม 1996). Everybody Eats Well in Belgium Cookbook. Workman Publishing. ISBN 1-56305-411-6 (Paperback) , ISBN 0-7611-0106-3 (Cloth).  (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศเบลเยียม ได้โดยค้นหาจาก
โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย :
Wiktionary-logo-th.png หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม
Wikibooks-logo.svg หนังสือ จากวิกิตำรา
Wikiquote-logo.svg คำคม จากวิกิคำคม
Wikisource-logo.svg ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ
Commons-logo.svg ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
Wikinews-logo.svg เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
Wikiversity-logo-en.svg แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย
เว็บทางการ
ข้อมูลทั่วไป

Wikivoyage-Logo-v3-icon.svg ประเทศเบลเยียม ข้อมูลการท่องเที่ยวจาก วิกิท่องเที่ยว