ประเทศมอลตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐมอลตา
Republic of Malta (อังกฤษ)
Repubblika ta' Malta (มอลตา)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
เพลงชาติL-Innu Malti (The Maltese Anthem)
เมืองหลวง วัลเลตตา
35°48′N 14°28′E / 35.800°N 14.467°E / 35.800; 14.467
เมืองใหญ่สุด บีร์กีร์การา
ภาษาราชการ ภาษามอลตาและภาษาอังกฤษ
การปกครอง สาธารณรัฐประชาธิปไตย
 -  ประธานาธิบดี จอร์จ อะเบลา
 -  นายกรัฐมนตรี โจเซฟ มัสกัต
เอกราช
 -  จาก สหราชอาณาจักร 21 กันยายน ค.ศ. 1964 
 -  สาธารณรัฐ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1974 
เข้าร่วมสหภาพยุโรป 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
พื้นที่
 -  รวม 316 ตร.กม. (185)
121 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 0.001
ประชากร
 -  พ.ย. 2548 (ประเมิน) 404,039 (166)
 -  2548 (สำมะโน) 404,039¹ 
 -  ความหนาแน่น 1,282 คน/ตร.กม. (7)
3,339 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 7.574 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (144)
 -  ต่อหัว 19,302 ดอลลาร์สหรัฐ (37)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 5.369 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (120)
 -  ต่อหัว 13,683 ดอลลาร์สหรัฐ (35)
HDI (2547) 0.875 (สูง) (32)
สกุลเงิน ยูโร (€) (EUR)
เขตเวลา CET (UTC+1)
 -  (DST) CEST (UTC+2)
ระบบจราจร ซ้ายมือ
โดเมนบนสุด .mt2
รหัสโทรศัพท์ 356
1ประชากรทั้งหมดรวมผู้มีถิ่นอาศัยชาวต่างชาติ ผู้อยู่อาศัยชาวมอลตาเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2547 มี 389,769 คน
2และยังใช้ .eu ร่วมกับรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป อื่น ๆ ด้วย

มอลตา (มอลตา: Malta) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมอลตา (มอลตา: Repubblika ta' Malta) เป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็กสองเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่มีประชากรหนาแน่น (1,262 คน ต่อตารางกิโลเมตร) มีประชากรทั้งหมด (ล่าสุด พ.ศ. 2546) 399,867 คน เมืองหลวงชื่อเมืองวัลเลตตา (Valletta)

ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของยุโรป ถัดลงมาจากตอนใต้ของประเทศอิตาลี นับเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งหนึ่งในยุโรป มีผู้มาครอบครองและถูกแย่งชิงนับครั้งไม่ถ้วนในอดีต

ประวัติศาสตร์[แก้]

มอลตาเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาตั้งแต่ปี 2344 และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2507 โดยได้รับความช่วยเหลือด้านการป้องกันประเทศและการเงินตามข้อตกลงที่มีกับอังกฤษเป็นระยะเวลา 10 ปี มอลตาเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2507 และยังอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ อย่างไรก็ดี ในช่วงสงครามเย็น มอลตามีรัฐบาลที่มาจากพรรคแรงงาน นำโดยนาย Dom Mintroff ซึ่งมีแนวทางสังคมนิยม-ชาตินิยม จึงดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (non-alignment) อย่างจริงจัง และได้ขอยกเลิกความตกลงที่ทำไว้กับอังกฤษฉบับปี 2507 และปี 2515 โดยขอทำความตกลงฉบับใหม่ซึ่งมีเนื้อหาที่จะรักษาอธิปไตยของประเทศและเพื่อเป็นหลักประกันว่า มอลตาจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่จากการที่มีฐานทัพนาโตประจำอยู่ในมอลตา ความตกลงฉบับใหม่มีระยะเวลา 7 ปี (ปี 2515-2522) สาระสำคัญโดยสรุปคืออังกฤษต้องจ่ายค่าเช่าในการคงฐานทัพในมอลตา 14 ล้านปอนด์ต่อปี ต่อมา ในเดือนมีนาคม 2522 รัฐบาลมอลตาได้ขอยกเลิกการต่อสัญญาให้เช่าพื้นที่สำหรับเป็นฐานทัพ ทำให้กองกำลังอังกฤษต้องถอนกำลังออกจากมอลตาตั้งแต่นั้นมา

นอกจากนี้ รัฐบาลมอลตายังมีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการค้ากับหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อิตาลี สหภาพโซเวียต จีน กลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออก ลิเบีย ตูนิเซีย และตกลงรับความช่วยเหลือด้านวิชาการจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะลิเบีย อีกทั้งได้ลงนามในความตกลงรับรองความเป็นกลางและการร่วมมือทางการค้ากับประเทศต่างๆ ผลของการดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดอย่างจริงจังทำให้ในปี 2524 สหภาพโซเวียตและอิตาลีได้ตกลงรับรองความเป็นกลางของมอลตา โดยเฉพาะอิตาลี ได้ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและการเงินแก่มอลตาเป็นระยะเวลา 5 ปี นอกจากนั้น มอลตายังมีความตกลงร่วมกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ในปี 2513 ซึ่งได้ต่ออายุความตกลงมาจนถึงปัจจุบันในเวทีระหว่างประเทศ ปัจจุบัน มอลตาเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญหลายองค์การ อาทิ สหประชาชาติ กลุ่ม 77 IAEA OSCE UNCTAD UNESCO เป็นต้น

มอลตาได้ถอนตัวจากการเป็นสมาชิกกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ตั้งแต่เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2547 มอลต้าได้เพิ่มบทบาทของตนเองในนโยบาย EU-Mediterranean ซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศอื่นๆ มีประเทศโมรอโค อัลจีเรีย ตูนิเซีย อียิป อิสราเอล ปาเลสไตน์ จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย และตุรกี

ในเดือน กุมภาพันธ์ 2549 กระทรวงการต่างประเทศมอลต้าเสนอนโยบายด้านการต่างประเทศซึ่งเน้นการเพิ่มพูนความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ระหว่างมอลต้ากับประเทศอื่นที่ชาวมอลต้าได้ย้ายถิ่นฐานไป

การเมือง[แก้]

มอลตา เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ภูมิศาสตร์[แก้]

ชายฝั่งเกาะมอลตา บริเวณ Sliema

พื้นที่เป็นเกาะที่เกิดจากหินภูเขาไฟ บริเวณชายฝั่งเป็นโขดหินเกือบทั้งหมด

เศรษฐกิจ[แก้]

  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 7.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
  • อัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ 1.0 (2549)
  • รายได้เฉลี่ยต่อหัว 7,926 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
  • อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.0 (2549)
  • ปริมาณการส่งออก 2.744 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
  • ปริมาณการนำเข้า 3.859 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
  • สินค้าส่งออกสำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่ง
  • สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักร อาหารและสัตว์ ผลิตภัณฑ์เคมี แร่ธาตุ เครื่องดื่มและยาสูบ
  • ประเทศคู่ค้าสำคัญ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เยอรมนี อังกฤษ อิตาลี
  • ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ หินปูน เกลือ พื้นดินที่เหมาะกับการเพาะปลูก
  • อุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ การต่อและซ่อมเรือ การก่อสร้าง อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ รองเท้าและอุปกรณ์ ยาสูบ

ประชากร[แก้]

  • 417,617 ( 2012 )

วัฒนธรรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศมอลตา ได้โดยค้นหาจาก
โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย :
Wiktionary-logo-th.png หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม
Wikibooks-logo.svg หนังสือ จากวิกิตำรา
Wikiquote-logo.svg คำคม จากวิกิคำคม
Wikisource-logo.svg ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ
Commons-logo.svg ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
Wikinews-logo.svg เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
Wikiversity-logo-en.svg แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย