ชิคาโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ชิคาโก (แก้ความกำกวม)
ชิคาโก
เมือง
แม่น้ำชิคาโก ใจกลางเมืองชิคาโก
แม่น้ำชิคาโก ใจกลางเมืองชิคาโก
ธงของชิคาโก
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของชิคาโก
ตรา
สมญา: The Windy City, The Second City, Chi-Town, Hog Butcher for the World, City of Broad Shoulders, Chi City, The City That Works
คำขวัญ: ละติน: Urbs in Horto (อังกฤษ: City in a Garden), Make No Small Plans, I Will[1]
ที่ตั้งของตัวเมืองชิคาโกในรัฐอิลลินอยส์
ที่ตั้งของตัวเมืองชิคาโกในรัฐอิลลินอยส์
พิกัดภูมิศาสตร์: 41°52′55″N 87°37′40″W / 41.88194°N 87.62778°W / 41.88194; -87.62778
ประเทศ สหรัฐอเมริกา
รัฐ อิลลินอยส์
เคาน์ตี้ คุกเคาน์ตี้, ดูเพจเคาน์ตี้
ก่อตั้ง 1770s
เข้าร่วม 4 มีนาคม พ.ศ. 2380
การปกครอง
 • ประเภท Mayor-council government
 • นายกเทศมนตรี Richard M. Daley (Democrat)
เนื้อที่
 • เมือง [[1 E+8_m²|606.2 ตร.กม.]] (237.0 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน 588.3 ตร.กม. (227.2 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ 17.9 ตร.กม. (6.9 ตร.ไมล์)  3.0%
 • ตัวเมือง 5,498.1 ตร.กม. (2,122.8 ตร.ไมล์)
 • เขตมหานคร 28,163 ตร.กม. (10,874 ตร.ไมล์)
ความสูง 179 เมตร (586 ฟุต)
ประชากร (2007)
 • เมือง 2,836,659 (อันดับที่ 3) คน
 • ความหนาแน่น 4,816 คน/ตร.กม. (12,649 คน/ตร.ไมล์)
 • ตัวเมือง 8,711,000
 • เขตมหานคร 9,785,747
 • Demonym Chicagoan
เขตเวลา CST (UTC-6)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) CDT (UTC-5)
รหัสพื้นที่ 312, 773
เว็บไซต์ www.cityofchicago.org

ชิคาโก (Chicago; คำอ่าน: เกี่ยวกับเสียงนี้ ʃɪˈkɑːgoʊ ) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐอิลลินอยส์ รู้จักกันในชื่อ "เมืองแห่งลม" (Windy City) ชื่อเล่นนี้ มีที่มาจากการที่นักข่าวเขียนล้อเลียนนักการเมืองของ ชิคาโกใน ศตวรรตที่ 19 เกี่ยวกับการพูดจากลับกลอกไปมา บางคนเชื่อว่ามีที่มาจากการที่เป็นเมืองที่มีลมพัดแรงตลอดเวลาแต่ไม่ได้มีหลักฐานใดๆเขียนสนับสนุนทฤษฎีนี้ ชิคาโกเป็นเมืองใหญ่อันดับสามในสหรัฐอเมริกาเทียบตามจำนวนประชากร รองจากเมืองนิวยอร์ก และลอสแอนเจลิส เมืองชิคาโกตั้งอยู่ในเคาน์ตีคุก รัฐอิลลินอยส์ เขตมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อรวมเคาน์ตีรอบ ๆ ชิคาโกทั้ง 8 เคาน์ตีจะเรียกเขตว่า ชิคาโกแลนด์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 9 ล้านคน

ชิคาโกพัฒนาจากเมืองทุ่งนาจากปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) กลายมาเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งหนึ่งของโลก และในปัจจุบันนับเป็น 1 ใน 10 เมืองสำคัญของโลกทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ชิคาโกยังคงเป็นศูนย์กลางทางด้านความเจริญ การเงิน การคมนาคม และวัฒนธรรมที่สำคัญของเขตมิดเวสต์ ในชิคาโกมีสนามบินอยู่ 3 แห่ง โดยสนามบินโอ'แฮร์ เป็นสนามบินนานาชาติที่มีการจราจรทางอากาศมากที่สุดเป็นหนึ่งในสามของสหรัฐอเมริกา

ประชากรในชิคาโกประกอบด้วยหนึ่งในสามเป็นคนขาว และอีกหนึ่งในสามเป็นคนดำ และที่เหลือเป็นคนกลุ่มอื่น โดยในเมืองชิคาโกแบ่งออกเป็น 77 ชุมชนแยกตามกลุ่มประชากรที่อยู่อาศัย

ประวัติ[แก้]

เกรตชิคาโกไฟร์[แก้]

ภาพวาดเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ในชิคาโก

ในปี พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) เมืองชิคาโกถูกไฟไหม้ครั้งใหญ่ในเหตุการณ์เกรตชิคาโกไฟร์ (Great Chicago Fire) โดยตึก มากกว่า 18,000 หลังเสียหาย ผู้เสียชีวิตกว่า 300 คน และประชากรมากกว่า 100,000 คน ไม่มีที่อยู่ เนื่องจากเมืองอยู่ติดกับทะเลสาบมิชิแกน ทำให้ลมโหมกระหน่ำอย่างรุนแรงทำให้ไฟไหม้รุกรามได้เร็วภายในเพียงคืนเดียว และไหม้ติดต่อกันไม่หยุดหนึ่งวัน ภายหลังจากความเสียหายในชิคาโก สถาปนิกและวิศวกรจากทั่วสหรัฐอเมริกาได้ระดมมาอยู่รวมกันที่เมืองชิคาโก ช่วยกันสร้างและออกแบบอาคารใหม่ ด้วยเนื่องในโอกาสนี้ ชิคาโกจึงได้วางผังเมืองใหม่รวมถึง ได้นำเทคโนโลยีการสร้างตึกแบบใหม่มารวมกันที่ชิคาโก ตึกระฟ้าได้มีการสร้างมากมายภายในตัวเมือง รวมถึงศูนย์กลางการเดินทางและสื่อสารในชิคาโก

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

น้ำพุคราวน์ ในบริเวณสวนสาธารณะมิลเลนเนี่ยม นครชิคาโก

ในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) เมืองชิคาโกได้เปิดมิวเซียมแคมปัส (Museum Campus) ในเนื้อที่ 10 เอเคอร์ เป็นแหล่งรวมพิพิธภัณฑ์ของชิคาโกบริเวณริมทะเลสาบมิชิแกนตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแกรนต์ปาร์ก (Grant Park) พิพิธภัณฑ์ฟิลด์ พิพิธภัณฑ์ที่มีฟอสซิลของไดโนเสาร์สมบูรณ์ที่สุดในโลกที่รู้จักในชื่อว่า "ที.เร็กซ์ ซู" (T.Rex Sue) พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเชดด์ (Shedd Aquarium) และ หอดูดาวแอดเลอร์ (Adler Planetarium) และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชิคาโก ในเขตแกรนต์ปาร์กมีพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีชื่อเสียงชื่อว่าสถาบันศิลปะชิคาโก หรือ "อาร์ตอินสติตูตออฟชิคาโก" (Art Institute of Chicago) ที่ตั้งอยู่บนถนนมิชิแกน ในศูนย์กลางเมืองชิคาโก หรือที่เรียกว่าดาวน์ทาวน์ จะมีวิลลิสทาวเวอร์ (Willis Tower) ตึกที่ได้ชื่อว่าเป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในโลกในช่วง ปี พ.ศ. 2517-2546 และตึกจอห์นแฮนค็อก (John Hancock Tower) และ วอเตอร์ทาวเวอร์ สิ่งก่อสร้างชิ้นเดียวที่รอดจากไฟไหม้ใหญ่ของชิคาโก นอกจากนี้ในดาวน์ทาวน์ยังมีห้างสรรพสินค้า สถานที่ท่องเที่ยวและร้านอาหารต่างๆ

สิ่งที่ขึ้นชื่อในเมืองชิคาโกอีกอย่างคือ ละครเวที ดนตรีแจ๊ส และดนตรีบลูส์จะเห็นได้ว่าในตัวเมืองชิคาโกนั้นก็มีโรงละครที่เก่าแก่และโด่งดังอยู่หลายที่ โดยโรงละครที่มีชื่อเสียงที่สุดคือหอประชุมโรงละครแห่งมหาวิทยาลัยรูสเวล์ท (The Auditorium Theatre of Roosevelt University) ซึ่งถูกออกแบบโดย แดนค์มาร์ แอดเลอร์ และ หลุยส์ ซุลลิแวน สถาปนิกชื่อดัง ปัจจุบันตึกที่เป็นที่ตั้งของโรงละครแห่งนี้ได้ถูกบรรจุให้เป็น National Historic Landmark building ของประเทศสหรัฐอเมริกาและมีการแสดงที่หลากหลาย เช่น โอเปร่า, บัลเลท์ เปิดให้เข้าชมตลอดทั้งปี

เนื่องจากผู้ว่าการนครชิคาโก ริชาร์ด ดาร์ลี่ จูเนียร์ (Richard M. Daley)ได้บริหารเมืองชิคาโกต่อจากบิดาของเขามาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ปี 1989ทำให้เมืองชิคาโก เป็นเมืองหนึ่งที่มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำ และมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองใหญ่ที่น่าอยู่เมืองหนึ่งของสหรัฐอเมริกา จุดท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ น้ำพุบัคกิ้งแฮม ริมทะเลสาบมิชิแกน, น้ำพุคราวน์ในบริเวณสวนสาธารณะมิลเลเนี่ยมปาร์ค (Crown Fountain, Millennium Park) ซึ่งได้รับรางวัลทางด้านการออกแบบหลายรางวัล, ฟิลด์มิวเซียมและโซลเยอร์ฟิล์ด, ลูปเทรนทัวร์สถาปัตยกรรม, อาคารที่ว่าการรัฐอิลลินอยส์ที่เป็นห้างสรรพสินค้าผสมผสานอยู่ในสถานที่ราชการ ตัวอาคารออกแบบโดยสถาปนิกดัง เฮลมุท จาห์น

นอกจากนี้ชิคาโกยังเป็นเมืองแห่งสถาปัตยกรรม นอกจากอาคารสถาปัตยกรรมในยุคใหม่ที่สำคัญๆแล้ว ชิคาโกยังอยู่ติดกับโอคพาร์ค (Oak Park) ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านและสำนักงานของสถาปนิกชื่อดังในยุคโมเดิร์น ชื่อ แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ สามารถติดต่อที่สถาบันสถาปนิกในเมืองเพื่อซื้อทัวร์เดินทางไปทัศนศึกษาที่บริเวณดังกล่าวได้


เทศบาลเมืองชิคาโกมักจะจัดให้มีกิจกรรมตลอดปี [2] ได้แก่ งานเทศกาลอาหาร (The Taste of Chicago), งานเทศกาลดนตรี, งานฮาโลวีน, งานจุดไฟต้นคริสต์มาสประจำปี (Tree Lighting Ceremony) เป็นต้น งานจะจัดในพื้นที่ในเมืองไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะมิลเลเนี่ยมปาร์ค พื้นที่ริมทะเลสาบ และลานดาร์ลี่ใจกลางเมือง

การศึกษา[แก้]

โรงเรียนเอกชนในชิคาโกมีมากกว่า 600 แห่ง มีนักเรียนมากกว่า 400,000 คนเข้าเรียน

การศึกษาระดับอุดมศึกษา[แก้]

มหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกาตั้งอยู่ในชิคาโก อาธิ มหาวิทยาลัยคาทอลิคที่มีชื่อเสียงคือ มหาวิทยาลัยเดอโปล (DePaul University) และ มหาวิทยาลัยโลโยลา (Loyola University) นอกจากนี้ยังมี มหาวิทยาลัยชิคาโก (The University of Chicago) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงทางด้านวิชาการทั่วๆ ไป ส่วน มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ชิคาโก มีชื่อเสียงด้านแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์ มีชื่อเสียงในด้านวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ และโรงเรียนสถาบันศิลปะชิคาโก (School of the Art Institute of Chicago)ที่มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะอันดับต้นของประเทศ

กีฬา[แก้]

ทีมกีฬาที่สำคัญของชิคาโก ได้แก่ ชิคาโก ไวต์ซอกซ์ และ ชิคาโก คับส์ ทีมเบสบอล ชิคาโก บูลส์ ทีมบาสเกตบอล ชิคาโก บูลส์ ทีมอเมริกันฟุตบอล ชิคาโก ไฟร์ ทีมฟุตบอล และ ชิคาโก แบล็กฮอกส์ ทีมฮอกกี้ ชิคาโก แบร์ ทีมอเมริกันฟุตบอล

ประชากร[แก้]

ในช่วง ค.ศ. 1840-1950 ชิคาโกมีแนวโน้มการเพิ่มขี้นของประชากรในระดับค่อนข้างสูง แต่ชะลอลงในช่วง ค.ศ.1960 จนถึงปัจจุบัน

จำนวนประชากร
ปี (ค.ศ.) จำนวนประชากร  % เปลี่ยนแปลง


1840 4,470
1850 29,963 +570.3%
1860 112,172 +274.4%
1870 298,977 +166.5%
1880 503,185 +68.3%
1890 1,099,850 +118.6%
1900 1,698,575 +54.4%
1910 2,185,283 +28.7%
1920 2,701,705 +23.6%
1930 3,376,438 +25.0%
1940 3,396,808 +0.6%
1950 3,620,962 +6.6%
1960 3,550,404 -1.9%
1970 3,366,957 -5.2%
1980 3,005,072 -10.7%
1990 2,783,726 -7.4%
2000 2,896,016 +4.0%
2008 2,853,114 -1.5%

อ้างอิง[แก้]

  1. "Chicago, IL Facts". VacationsMadeEasy.com. สืบค้นเมื่อ 2008-04-24. 
  2. ปฏิทินการจัดงานของเมืองชิคาโก


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]