นิวแคลิโดเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิวแคลิโดเนีย
Nouvelle Calédonie (ฝรั่งเศส)
Flags of New Caledonia
เพลงชาติLa Marseillaise
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
นูเมอา
22°16′S 166°27′E / 22.267°S 166.450°E / -22.267; 166.450
ภาษาราชการ ภาษาฝรั่งเศส
การปกครอง ดินแดนโพ้นทะเล
 -  ประธานาธิบดี ฟร็องซัว ออล็องด์
 -  ข้าหลวงใหญ่ Jean-Jacques Brot
 -  หัวหน้ารัฐบาล ฮาโรลด์ มาร์ติน
ดินแดนโพ้นทะเล
 -  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2396 
พื้นที่
 -  รวม 19,058 ตร.กม. (~151)
7,359 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) พื้นดิน: 18,575.5 กม.²
ประชากร
 -  ม.ค. 2548 (ประเมิน) 232,258 (181)
 -  ก.ย. 2547 (สำมะโน) 230,789 
 -  ความหนาแน่น 12.5 คน/ตร.กม. (~172)
32.4 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2546 (ประมาณ)
 -  รวม 3.158 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (170)
 -  ต่อหัว 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ (65)
HDI (2546) n/a (ไม่มีอันดับ) (n/a)
สกุลเงิน ฟรังก์ซีเอฟพี (XPF (CFP franc))
เขตเวลา (UTC+11)
โดเมนบนสุด .nc
รหัสโทรศัพท์ 687

นิวแคลิโดเนีย (อังกฤษ: New Caledonia) หรือ นูแวล-กาเลดอนี (ฝรั่งเศส: Nouvelle-Calédonie) ชื่ออื่น ๆ ที่นิยมเรียกได้แก่ "คานากี" (Kanaky) และ "เลอกายู" (Le Caillou) เป็น "อาณานิคมพิเศษ (sui generis collectivity)" (ในทางปฏิบัติ ดินแดนโพ้นทะเล) ของประเทศฝรั่งเศส ประกอบด้วยเกาะหลัก (เกาะกร็องด์แตร์, Grande Terre) และเกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเมลานีเซียในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกเฉียงใต้

นิวแคลิโดเนียมีเนื้อที่ 18,575.5 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของเกาะไต้หวัน ประชากรที่สำรวจได้เมื่อพ.ศ. 2547 มีอยู่ 230,789 คน มีรหัสประเทศโดเมนระดับบนสุดในอินเทอร์เน็ต ว่า .nc เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของนิวแคลิโดเนียคือ นูเมอา (Nouméa) หน่วยเงินคือ ฟรังก์ซีเอฟพี

ตั้งแต่พ.ศ. 2529 คณะกรรมการของสหประชาชาติว่าด้วยการยกเลิกอาณานิคม (UN Committee on Decolonization) ได้รวมนิวแคลิโดเนียไว้ในรายชื่อดินแดนที่ไม่ปกครองตนเองของสหประชาชาติ (United Nations list of Non-Self-Governing Territories) ซึ่งนิวแคลิโดเนียจะตัดสินว่าจะยังคงอยู่กับสาธารณรัฐฝรั่งเศสหรือแยกเป็นเอกราชด้วยประชามติ หลังจากปี พ.ศ. 2557

เมืองหลวงนูเมอา เป็นที่ตั้งของสำนักงานเลขาธิการประชาคมแปซิฟิก (Secretariat of the Pacific Community) เดิมคือคณะกรรมาธิการแปซิฟิกใต้ (South Pacific Commission) ซึ่งเป็นองค์กรภูมิภาคนี้

อ้างอิง[แก้]