ประเทศตรินิแดดและโตเบโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก
Republic of Trinidad and Tobago (อังกฤษ)
ธงชาติ
คำขวัญTogether we aspire, together we achieve
("เราแสวงหาร่วมกัน เราบรรลุผลด้วยกัน")
เพลงชาติForged From The Love of Liberty
เมืองหลวง พอร์ต-ออฟ-สเปน[1]
10°40′N 61°31′W / 10.667°N 61.517°W / 10.667; -61.517
เมืองใหญ่สุด ชากัวนา
ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ
การปกครอง สาธารณรัฐประชาธิปไตย
 -  ประธานาธิบดี แอนโทนี คาร์โมนา
 -  นายกรัฐมนตรี กมลา ปรสาท-พิเสสร
เอกราช
 -  จาก สหราชอาณาจักร 31 สิงหาคม พ.ศ. 2505 
พื้นที่
 -  รวม 5,128 ตร.กม. (172)
1,979 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  ก.ค. 2548 (ประเมิน) 1,305,000 (152)
 -  ความหนาแน่น 207.8 คน/ตร.กม. (47)
538.6 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2546 (ประมาณ)
 -  รวม 13.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (113)
 -  ต่อหัว 12,900 ดอลลาร์สหรัฐ (48)
HDI (2546) 0.801 (สูง) (57)
สกุลเงิน ดอลลาร์ตรินิแดดและโตเบโก (TTD)
เขตเวลา (UTC-4)
 -  (DST)  (UTC n/a)
โดเมนบนสุด .tt
รหัสโทรศัพท์ 1-868

ตรินิแดดและโตเบโก (อังกฤษ: Trinidad and Tobago) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก (อังกฤษ: Republic of Trinidad and Tobago) เป็นชาติที่ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียนตอนใต้ ตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งเวเนซุเอลา 11 กม. เป็นรัฐที่เป็นหมู่เกาะ ประกอบด้วย 2 เกาะเป็นหลักคือ เกาะตรินิแดด เกาะโตเบโก และเกาะเล็กอื่น ๆ อีก 21 เกาะ โดยตรินิแดดเป็นเกาะที่ใหญ่กว่าและมีประชากรมากกว่า ในขณะที่โตเบโกมีขนาดเล็กกว่า (303 ตารางกิโลเมตร ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด) และมีประชากรน้อยกว่า (50,000 คน ร้อยละ 4 ของจำนวนประชากรทั้งหมด) ในภาษาอังกฤษ พลเมืองมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า Trinidadians (ชาวตรินิแดด) หรือ Tobagonians (ชาวโตเบโก) หรือ Citizens of Trinidad and Tobago (ชาวตรินิแดดและโตเบโก) แต่ก็มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า Trinis หรือ Trinbagonians

ตรินิแดดและโตเบโกมีลักษณะต่างจากประเทศแคริบเบียนที่ใช้ภาษาอังกฤษประเทศอื่น ๆ คือมีการประกอบอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยมีพื้นฐานเศรษฐกิจอยู่บนปิโตรเลียมและปิโตรเคมี

ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวอินเดียและชาวแอฟริกามีจำนวนรวมกันถึงเกือบร้อยละ 80 ของจำนวนประชากร ส่วนที่เหลือเป็นเชื้อชาติผสม ชาวยุโรป จีน และชาวซีเรีย-เลบานอน ตรินิแดดและโตเบโกมีชื่อเสียงในเรื่องงานคาร์นิวัลที่จัดก่อนฤดูถือบวชของคริสต์ (Lenten) และเป็นถิ่นกำเนิดของดนตรีสตีลแพน (steelpan) และการเต้นลิมโบ เมืองหลวง (กรุงพอร์ต-ออฟ-สเปน) เป็นผู้เสนอตัวเป็นที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการถาวรเขตการค้าเสรีอเมริกา (Free Trade Area of the Americas: FTAA-ALCA)

เนื้อหา

ภูมิศาสตร์[แก้]

ประเทศตรินิแดดและโตเบโก เป็นประเทศทางชายฝั่งทะเล ทำให้มีลักษณะเป็นทะเลส่วนใหญ่

ประวัติศาสตร์[แก้]

ตรินิแดด[แก้]

โตเบโก[แก้]

สหพันธรัฐอินดีสตะวันตก[แก้]

ดูบทความหลักที่: สหพันธรัฐอินดีสตะวันตก

การเมืองการปกครอง[แก้]

บริหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลตรินิแดดและโตเบโก

ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในแบบคณะผู้เลือกตั้ง (Electroral College) ประกอบด้วยสมาชิกจากวุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และสามารถดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่ 2 ได้ ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (โดยทั่วไปจะเป็นผู้นำพรรคการเมืองเสียงข้างมาก หรือ ผู้นำรัฐบาลผสม) และเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีจากสมาชิกรัฐสภา

นิติบัญญัติ[แก้]

ระบบ 2 สภา (bicameral parliament) ประกอบด้วย (1) วุฒิสภา (Senate) สมาชิก 31 ที่นั่ง 16 ที่นั่งมาจากการแต่งตั้งโดยพรรคการเมืองเสียงข้างมากในสภา 9 ที่นั่งจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี (2) สภาผู้แทนราษฎร (house of Representatives) จำนวน 41 เสียง สมาชิกมาจากการแต่งตั้งในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี

ตุลาการ[แก้]

ระบอบกฏหมาย : ระบบกฏหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ (English Common Law) มีการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายในศาลฎีกาสูงสุด รูปแบบ ศาลสูงสุด (Supreme Court of Judicature) ประกอบด้วยศาลสูง (High Court of Justice และศาลอุทธรณ์ (Court of Appeals) ศาลสูงสุดของศาลอุทธรณ์ได้แก่ สภาองคมนตรี (Privy Council) ในกรุงลอนดอน นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของ Caribbean Court of Justice (CCJ)

การบังคับใช้กฎหมาย[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

9 ภูมิภาค 3 เขตการปกครอง (boroughs) 2 เมือง 1 เขต (Ward - เขตการเลือกตั้ง)

9 ภูมิภาค ได้แก่ Couva/Tabaquite/Talparo, Diego Martin, Mayaro/Rio Claro, Penal/Debe, Princes Town, Sangre Grande, San Juan/Laventille, Siparia, Tunapuna/Piarco

3 เขตการปกครอง (boroughs) ได้แก่ Arima, Chaguanas, Point Fortin

2 เมือง ได้แก่ Port of Spain, San Fernando

1 เขต (Ward - เขตการเลือกตั้ง) ได้แก่ Tobago


นโยบายต่างประเทศ[แก้]

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพตรินิแดดและโตเบโก

กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโกมีชื่อเสียงว่าเป็นแหล่งการลงทุนที่ดีสำหรับธุรกิจระหว่างประเทศ ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2538 ธุรกิจการท่องเที่ยวขยายตัวอย่างรวดเร็วแม้ยังเป็นสัดส่วนที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศหมู่เกาะแคริบเบียนอื่นๆ นอกจากนี้ เนื่องจากราคาน้ำมัน ปิโตรเคมี และก๊าซธรรมชาติเหลวซึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศนี้ขยับตัวสูงขึ้น ทำให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาและทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) 20.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

GDP รายบุคคล 21,200 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

อัตราการเจริญเติบโต GDP 0% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

GDP แยกตามภาคการผลิต ภาคการเกษตร 0.4% ภาคอุตสาหกรรม 58.8% ภาคการบริการ 40.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices) 10.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

ผลผลิตทางการเกษตร โกโก้ ข้าว มะนาว กาแฟ ผัก และสัตว์ปีก

อุตสาหกรรม ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ การท่องเที่ยว อาหาร ปูนซีเมนต์ เครื่องดื่ม ฝ้ายและสิ่งทอ

มูลค่าการส่งออก 12.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b. (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

สินค้าส่งออก ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้า ปุ๋ย น้ำตาล

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา 44.2% สเปน 6.1% จาไมก้า 5.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

มูลค่าการนำเข้า 8.187 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

สินค้านำเข้า แร่เชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง กระบวนการผลิตสินค้า อาหาร เคมีภัณฑ์ และสัตว์ที่ยังมีชีวิต

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า) ที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา 27.8% รัสเซีย 11.5% บราซิล 7.8% โคลัมเบีย6.9% กาบอง 4.3% จีน 4.2% แคนาดา 4.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

สกุลเงิน ตรินิแดดและโตเบโกดอลลาร์ (Trinidad and Tobago dollars) --TTD

สถานการณ์เศรษฐกิจ[แก้]

การท่องเที่ยว[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

คมนาคม[แก้]

โทรคมนาคม[แก้]

สาธารณูปโภค[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]

การศึกษา[แก้]

สาธารณสุข[แก้]

สวัสดิการสังคม[แก้]

ประชากร[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศตรินิแดดและโตเบโก
ชาติพันธุ์ ร้อยละ
อินเดีย
  
40%
แอฟริกัน
  
37.5%
ลูกผสม
  
18.5%
จีน
  
0.3%
อื่น ๆ
  
1.1%

ในปี ค.ศ. 2005 มีประชากรร้อยละ 96 หรือประมาณ 1.3 ล้านคน อาศัยอยู่บนเกาะตรินิแดด ส่วนอีกร้อยละ 4 อาศัยอยู่บนเกาะโตเบโก ซึ่งแต่ละเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศ แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาและการอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ[2] มีสองกลุ่มชาติพันธุ์หลักในประเทศคือ แอฟโร-ตรินิแดด และอินโด-ตรินิแดด ทั้งยังมีคนจากชาติอื่น เช่น พวกลูกผสม, ยุโรป, จีน, ซีเรีย-เลบานอน และกลุ่มอเมอริเดียน เป็นต้น

ศาสนา[แก้]

ประเทศตรินิแดดและโตเบโก ถือเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางศาสนา แต่โดยหลักแล้วประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 65.7 อันมีนิกายโรมันคาทอลิก, แองกลิคัน, เซเวนเดย์แอดเวนติสต์, เพรสไบทีเรียน, เมโธดิส, พยานพระยะโฮวาห์ และอีแวนเจริคัล ขณะที่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีศาสนิกร้อยละ 25.6 และศาสนาอิสลาม มีศาสนิกร้อยละ 6.6[3]

นอกจากนี้ยังศาสนาของชนแอฟริกัน คือ สปิริตชวลแบปติสต์ และโอริซา ซึ่งถือเป็นศาสนาที่โตเร็วที่สุด ทำนองเดียวกัน ลัทธิอิแวนเจริคัล (พระวรสาร) และลัทธิอื่นๆ ที่ถือว่านอกรีตของศาสนาคริสต์นั้นก็เติบโตขึ้นในประเทศ ทั้งที่ลัทธิดังกล่าวถูกกำหนดว่าไม่ถูกต้องก็ตาม

มีชุมชนศาสนิกในศาสนาบาไฮ ซึ่งเผยแผ่ศาสนาในประเทศ[4] และมีกลุ่มศาสนิกยูดาห์กลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 55-100 คน[5] นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ และลัทธิเต๋าในกลุ่มเชื้อสายจีน

ภาษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภาษาในตรินิแดดและโตเบโก

วัฒนธรรม[แก้]

สถาปัตยกรรม[แก้]

ดนตรี[แก้]

นิกกี มินาจ นักร้องชาวตรินิแดด เธอมีเชื้อสายอินเดียและแอฟริกัน

อาหาร[แก้]

สื่อสารมวลชน[แก้]

กีฬา[แก้]

วันหยุด[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]