ประเทศแอฟริกาใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"แอฟริกาใต้" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับภูมิภาคทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ดูที่ แอฟริกาใต้ (ภูมิภาค)
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
Republic of South Africa (อังกฤษ)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญ!ke e: ǀxarra ǁke (ภาษาซคัม)
"เอกภาพในความหลากหลาย"
เพลงชาติเพลงชาติแอฟริกาใต้
เมืองหลวง เคปทาวน์ (ทางฝ่ายนิติบัญญัติ)
พริทอเรีย (ทางฝ่ายบริหาร)
บลูมฟอนเทน (ทางฝ่ายศาล)
33°55′S 18°25′E / 33.917°S 18.417°E / -33.917; 18.417
เมืองใหญ่สุด โจฮันเนสเบิร์ก
ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ
ภาษาพื้นเมือง ภาษาแอฟริคานส์ ภาษาซูลู ภาษาโชซา ภาษาสวาตี ภาษาเอ็นเดเบลี ภาษาซูทูใต้ ภาษาซูทูเหนือ ภาษาซองกา ภาษาสวันนา และภาษาเวนดา
การปกครอง ประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี
 -  ประธานาธิบดี จาค็อบ ซูมา
เอกราช
 -  จาก สหราชอาณาจักร 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 
พื้นที่
 -  รวม 1,219,912 ตร.กม. (อันดับที่ 25)
471,011 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) เล็กน้อย
ประชากร
 -  2548 (ประเมิน) 44,344,136 คน (อันดับที่ 26)
 -  ความหนาแน่น 36 คน/ตร.กม. (อันดับที่ 136)
93.2 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2547 (ประมาณ)
 -  รวม 501.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 21)
 -  ต่อหัว 10,798 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 60)
HDI (2550) 0.683 (กลาง) (อันดับที่ 129)
สกุลเงิน แรนด์ (ZAR)
เขตเวลา (UTC+2)
 -  (DST)  (UTC+3)
ระบบจราจร ซ้ายมือ
โดเมนบนสุด .za
รหัสโทรศัพท์ 27

สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (อังกฤษ: Republic of South Africa) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า แอฟริกาใต้ (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้ด้วย) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก และสวาซิแลนด์ นอกจากนี้ยังมีเลโซโทซึ่งเป็นประเทศที่ถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยอาณาเขตของประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชร, ทองคำ และไวน์ที่ชาวฝรั่งเศสนำเข้ามาอีกด้วย

เนื้อหา

ภูมิศาสตร์[แก้]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์แอฟริกาใต้

ยุคก่อนประวัติศาสตร์[แก้]

ยุคกลาง[แก้]

อาณานิคมยุโรป[แก้]

ดูบทความหลักที่: สหภาพแอฟริกาใต้

สาธารณรัฐ[แก้]

ดูบทความหลักที่: การถือผิว

การเมืองการปกครอง[แก้]

บริหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลแอฟริกาใต้

นิติบัญญัติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาแอฟริกาใต้

ตุลาการ[แก้]

ดูบทความหลักที่: ระบบกฎหมายแอฟริกาใต้

การบังคับใช้กฎหมาย[แก้]

สิทธิมนุษยชน[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

9 จังหวัดในประเทศแอฟริกาใต้

ประเทศแอฟริกาใต้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 จังหวัด (provines-provinsie) โดยแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด ได้แก่

จังหวัด เมืองหลวง เมืองใหญ่สุด พื้นที่[1] ประชากร [2]
จังหวัดเอสเทิร์นเคป บิโช พอร์ตเอลิซาเบท 168,966 6,829,958
จังหวัดฟรีสเตต บลูมฟอนเทน บลูมฟอนเทน 129,825 2,759,644
จังหวัดกาวเต็ง โจฮันเนสเบิร์ก โจฮันเนสเบิร์ก 18,178 11,328,203
จังหวัดควาซูลู-นาตัล พีเอเตอร์มาเริซเบิร์ก เดอร์บัน 94,361 10,819,130
จังหวัดลิมโปโป โพโลเควน โพโลเควน 125,754 5,554,657
จังหวัดพูมาลังกา เนลสไปรต์ เนลสไปรต์ 76,495 3,657,181
จังหวัดนอร์ทเวสต์ มาฟีเคง รุสเทนเบิร์ก 104,882 3,253,390
จังหวัดนอร์เทิร์นเคป คิมเบอร์เลย์ คิมเบอร์เลย์ 372,889 1,096,731
จังหวัดเวสเทิร์นเคป เคปทาวน์ เคปทาวน์ 129,462 5,287,863

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพแอฟริกาใต้

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

การท่องเที่ยว[แก้]

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]

การศึกษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: การศึกษาในแอฟริกาใต้

สาธารณสุข[แก้]

ประชากรศาสตร์[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

ชาวผิวขาว เป็นชาวยุโรป ที่สืบเชื้อสายจากชาวดัตช์,ชาวอังกฤษ และชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในแอฟริกาใต้ ปัจจุบันเรียกว่าชาวแอฟริกาเนอร์ ,ชาวผิวสี เป็นชาวเลือดผสมระหว่างชาวแอฟริกาเนอร์ ชาวพื้นเมือง และชาวมาเลย์ที่อพยพเข้ามา ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดเวสเทิร์นเคป และชาวพื้นเมืองเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา เช่น ชาวซูลู เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีชาวอินเดียที่ส่วนมากอาศัยอยู่ในจังหวัดควาซูลู-นาตัล อีกด้วย

ศาสนา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ศาสนาในแอฟริกาใต้

คริสต์ร้อยละ 79.77% อศาสนา 15.1% อิสลาม 1.46% พราหมณ์-ฮินดู 1.25% และอื่นๆอีก 2.42%

ภาษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภาษาในแอฟริกาใต้

ประเทศแอฟริกาใต้มีภาษาราชการ 11 ภาษา ได้แก่ ภาษาแอฟริคานส์, ภาษาอังกฤษ, ภาษาซูลู, ภาษาโชซา, ภาษาสวาตี, ภาษาเอ็นเดเบลี, ภาษาซูทูใต้, ภาษาซูทูเหนือ, ภาษาซองกา, ภาษาสวันนา และภาษาเวนดา ชาวแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาแอฟริคานส์และภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้

เมืองใหญ่ที่สุด[แก้]

กีฬา[แก้]

ฟุตบอล[แก้]

ฟุตบอลทีมชาติแอฟริกาใต้ (อังกฤษ: South Africa national football team) หรือ บาฟานา บาฟานา (Bafana Bafana มีความหมายว่าเด็กชาย) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากประเทศแอฟริกาใต้ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลแอฟริกาใต้ (SAFA) ทีมกลับมาเล่นระดับโลกในปี 1992 หลังจากหลายปีที่ถูกฟีฟ่าแบนจากนโยบายการแบ่งแยกสีผิว และในปี 2010 แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกของทวีปแอฟริกาที่เป็นเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก 2010 เดือนมิถุนายน ซิฟิเว่ ทีชาบาลาล่ายังเป็นคนแรกที่ทำคะแนนให้กับทีมชาติแอฟริกาใต้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก ทีมชาติแอฟริกาใต้ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ชนะการแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ ในปี 1996 ที่ประเทศตนเองเป็นเจ้าภาพ

รักบี้[แก้]

กีฬารักบี้เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในแอฟริกาใต้อย่างมากพอๆกับฟุตบอล ทีมชาติแอฟริกาใต้เป็นทีมรักบี้ที่เก่งระดับโลกและมีผู้เล่นมากฝีมือมากมาย เช่น Percy Montgomery นักรักบี้ทีมชาติแอฟริกาใต้ที่เกิดในประเทศนามิเบีย

มวยสากล[แก้]

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมแอฟริกาใต้

ดอกไม้ประจำชาติคือ ดอกคิง โพรเธีย และสัตว์ประจำชาติคือ กวาง Springbok

สถาปัตยกรรม[แก้]

เครื่องดนตรีพื้นเมือง[แก้]

เครื่องดนตรีพื้นเมืองคือวูวูเซลา (อังกฤษ: vuvuzela, เป็นภาษาซูลู แปลว่า ทำให้เกิดเสียงดัง) หรือในบางครั้งเรียก เลปาตาตา (Lepatata ในภาษาสวานา) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าคล้ายทรัมเป็ต เป็นเครื่องดนตรีและวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองแอฟริกาใต้ มีความยาวประมาณ 1 เมตร เสียงของวูวูเซลา เป็นไปในลักษณะดังกึกก้อง คล้ายเสียงร้องของช้าง และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่ใช้เป็นเครื่องดนตรีเป่าเชียร์นักเตะจากประเทศต่างๆ

วัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

สื่อมวลชน[แก้]

วันหยุด[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Stats in Brief, 2010. Pretoria: Statistics South Africa. 2010. p. 3. ISBN 978-0-621-39563-1. 
  2. Mid-year population estimates, 2011 (รายงาน). Statistics South Africa. 2011. http://www.statssa.gov.za/publications/P0302/P03022011.pdf. 

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศแอฟริกาใต้ ได้โดยค้นหาจาก
โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย :
Wiktionary-logo-th.png หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม
Wikibooks-logo.svg หนังสือ จากวิกิตำรา
Wikiquote-logo.svg คำคม จากวิกิคำคม
Wikisource-logo.svg ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ
Commons-logo.svg ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
Wikinews-logo.svg เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
Wikiversity-logo-en.svg แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย
รัฐบาล
การศึกษา
ข้อมูลทั่วไป
ด้านการท่องเที่ยว