ประเทศอิสราเอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อิสราเอล)
รัฐอิสราเอล
מדינת ישראל (ฮีบรู)
دولة إسرائيل (อาหรับ)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
เพลงชาติHatikvah (ฮีบรู)
"ความหวัง"
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เยรูซาเลม (พิพาท)
31°47′N 35°13′E / 31.783°N 35.217°E / 31.783; 35.217
ภาษาราชการ ภาษาฮีบรู และ ภาษาอาหรับ
การปกครอง ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
 -  ประธานาธิบดี ริวเวน ริฟลิน
 -  นายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู
นิติบัญญัติ ฮัคเนเซท
เอกราช จากปาเลสไตน์ในอาณัติ 
 -  ประกาศ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2491
(ปฏิทินยิว: 05 อิยาร์ 5708) 
พื้นที่
 -  รวม 22,1451 ตร.กม. (151)
8,5501 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 2.12 (440 กม. / 170 ไมล์)
ประชากร
 -  2555 (ประเมิน) 8,134,100 2 (97)
 -  2538 (สำมะโน) 5,548,523 
 -  ความหนาแน่น 324 คน/ตร.กม. (34)
787 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2557 (ประมาณ)
 -  รวม 286.840 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] 
 -  ต่อหัว 35,658 ดอลลาร์สหรัฐ[1] (25)
HDI (2556) 0.888[2] (สูงมาก) (19)
สกุลเงิน เชเกลอิสราเอลใหม่ (₪) (ILS)
เขตเวลา IST (UTC+2)
 -  (DST) IST (UTC+3)
โดเมนบนสุด .il
รหัสโทรศัพท์ 972
1 รวมในที่สูงโกลัน
2 รวมชาวอิสราเอลที่อาศัยในเขตเวสต์แบงก์

อิสราเอล (อังกฤษ: Israel; ฮีบรู: יִשְׂרָאֵל‎; อาหรับ: إِسْرَائِيل‎) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (อังกฤษ: State of Israel; ฮีบรู: מְדִינַת יִשְׂרָאֵל‎; อาหรับ: دَوْلَة إِسْرَائِيل‎) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปกครองในระบอบสาธารณรัฐแบบมีรัฐสภา มีพรมแดนทิศเหนือติดเลบานอน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดซีเรีย ทิศตะวันออกติดจอร์แดนและเวสต์แบงก์ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอียิปต์และฉนวนกาซา และทิศใต้ติดอ่าวอกาบาในทะเลแดง และมีภูมิลักษณ์ทางภูมิศาสตร์หลากหลายภายในพื้นที่ที่ค่อนข้างเล็ก[3][4] กฎหมายพื้นฐานของอิสราเอลจำกัดความว่า อิสราเอลเป็นรัฐยิวและประชาธิปไตย และเป็นรัฐที่มีชาวยิวเป็นประชากรส่วนใหญ่ประเทศเดียวในโลก[5]

ศูนย์กลางทางการเงินของอิสราเอลอยู่ที่เทลอาวีฟ[6] ขณะที่เยรูซาเลมเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศและเป็นเมืองหลวง แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากนานาประเทศ ประชากรอิสราเอล ตามที่นิยามโดยกรมสถิติกลางอิสราเอล ประเมินไว้เมื่อ พ.ศ. 2555 อยู่ที่ 8,134,100 คน ในจำนวนนี้ 5,985,100 คนเป็นชาวยิว ชาวอาหรับเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ โดยมีประชากร 1,638,500 คน รวมทั้งดรูซและเบดูอิน[7][8] ชาวอาหรับอิสราเอลส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่ตั้งถิ่นฐาน โดยมีส่วนที่น้อยกว่าแต่ยังถือว่ามีจำนวนมากเป็นชาวเบดูอินเนเกฟและคริสต์ศาสนิกชนอาหรับที่กึ่งตั้งถิ่นฐาน (semi-settle) ชนกลุ่มน้อยอื่นยังมีเชื้อชาติและนิกายเชื้อชาติ-ศาสนาอีกเป็นจำนวนมาก

อิสราเอลปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยมีระบบรัฐสภา การมีผู้แทนตามสัดส่วนและสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป[9] นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และเนสเซทเป็นองค์การบริหารอำนาจนิติบัญญัติสภาเดี่ยวของอิสราเอล อิสราเอลมีความคาดหมายการคงชีพสูงสุดประเทศหนึ่งในโลก[10] อิสราเอลเป็นประเทศพัฒนาแล้ว สมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา[11] และเศรษฐกิจของอิสราเอล ใหญ่เป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศราคาตลาดใน พ.ศ. 2554 อิสราเอลมีมาตรฐานการครองชีพสูงสุดในตะวันออกกลางและสูงสุดเป็นอันดับสามในทวีปเอเชีย[12] และมีความคาดหมายการคงชีพสูงสุดประเทศหนึ่งของโลก

เนื้อหา

ภูมิศาสตร์

แบบเมดิเตอร์เรเนียน ร้อนแห้งในฤดูร้อน เย็นปานกลาง และมีฝนตกเล็กน้อยในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย ระหว่าง 8 - 36 องศา ฝนตกประมาณปีละ 64 วัน ปริมาณ 539 มิลลิเมตร มีพรมแดน (ตามเข็มนาฬิกา) ติดกับประเทศเลบานอน ซีเรีย จอร์แดน และอียิปต์ อิสราเอลมีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ่าวอะกาบา (Gulf of Aqaba) และทะเลเดดซี

ประวัติศาสตร์

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์อิสราเอล

ยุคก่อนประวัติศาสคร์

ประวัติศาสตร์ของอิสราเอลเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าได้ทำพันธสัญญากับท่านอับราฮัม เนื่องจากว่าพระองค์ได้ทรงมองเห็นว่าท่านอับราฮัม เป็นคนชอบธรรมในสายพระเนตรของพระองค์ อับราฮัมมีลูกด้วยกันสองคน คนแรกคือ อิสมาเอล (Yismael) ที่เกิดกับหญิงทาสชื่อว่า นางฮาการ์ (Hagar) คนที่สองคือ อิสอัค (Ishak) หรือไอแซค (Issic) ที่เกิดกับซาราห์ (Sarah)ผู้เป็นบุตรหญิงของบิดาของอับราฮัม แต่ไม่ใด้เกิดจากมารดาเดียวกัน ส่วนเชื้อสายของอิสอัคนั้น เป็นต้นตระกูลของชาวอิสราเอล โดยอิสอัคมีลูกด้วยกันสองคนคือ เอซาว (Esau) และยาโคบ (Jacob) หรืออิสราเอลตามที่พระเจ้าได้ทรงตั้งชื่อให้เมื่อครั้งที่ท่านยาโคบหรือท่านอิสราเอลได้ปล้ำสู้กับพระเจ้าแล้วได้ชัยชนะครั้งที่ข้ามแม่น้ำยับบอก(การปล้ำสู้กันครั้งนี้เป็นเหตุให้ผู้ชายอิสราเอลไม่กินเส้นที่ตะโพก ซึ่งอยู่ที่ข้อต่อตะโพกนั้นจนถึงทุกวันนี้ เพราะพระองค์ทรงถูกต้องข้อต่อตะโพกของ ยาโคบตรงเส้นเอ็นที่ตะโพก ยาโคบ Jacob หรือ อิสราเอล มีลูกด้วยกันสิบสามคนคือ รูเบน สิเมโอน เลวี ยูดาห์ ดาน นัฟทาลี กาด อาเชอร์ อิสสาคาร์ เศบูลุน โยเซฟ และเบนยามิน และดีนาหฺ์ (หลังจากให้กำเนิดเศบูลุน เลอาห์ให้กำเนิดบุตรสาวคือดีนาห์นี่เอง) จากพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับอับราฮัมพระองค์จึงได้บรรดาลให้เกิดภัยแล้งขึ้นทั่วโลก

ต่อมาได้เกิดภัยแล้งขึ้น ยาโคบ หรืออิสราเอล และครอบครัว ต้องทำมาหากินด้วยความยากลำบาก โยเซฟ บุตรคนหนึ่งของยาโคบได้ไปเป็นผู้ดูแลราชอาณาจักรในอียิปต์ เขาได้นำพี่น้องทั้งหมดที่ต้องประสบกับภัยแล้งในคานาอันเข้ามาอยู่อาศัยในแผ่นดินอียิปต์ ครั้นพอสิ้นโยเซฟไป ฟาโรห์องค์ต่อมาได้เกิดความไม่ไว้ใจต่อชาวฮีบรู จึงลดฐานะให้เป็นทาส แล้วเกณฑ์แรงงานไปใช้ในการทำอิฐเพื่อใช้ในการก่อสร้างพีรมิด และมีคำสั่งให้ประหารชีวิตเด็กเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก มีทารกเพศชายคนหนึ่งรอดตายจากคำสั่งประหารนั้นมาได้ ชื่อว่า "โมเสส" (Moses) โมเสสเติบโตขึ้น เป็นผู้พาพวกอิสราเอล หรือ ฮีบรูซึ่งนับแต่ผู้ชายได้ถึง 600,000 คน ผู้หญิงและเด็กต่างหาก และยังมีฝูงชนชาติอื่นเป็นจำนวนมากติดตามไปด้วย พร้อมทั้งฝูงสัตว์ คือฝูงแพะแกะและโคจำนวนมาก ออกจากอียิปต์กลับไปสู่ประเทศปาเลสไตน์ โดยพระกรที่เหยียดออก พวกฮีบรูมีความสามัคคีและมีกำลังเข้มเข็งขึ้น จึงได้ทำการรวบรวมดินแดนโดยรอบ อันได้แก่ ดินแดนของพวกคานัน และพวกอาราเอลไลท์ แต่ก็ถูกรุกรานจากพวกพวกฟิลิเตีย (Philistine) ซึ่งอพยพจากเกาะครีต และเข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบชายทะเล ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปาเลสไตน์ และพวกอามอไรท์กับฮิตไตท์จากทางเหนือ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีกษัตริย์ปกครอง พวกอิสราเอลไลท์ได้พร้อมใจกันเลือกหัวหน้ากลุ่มที่เข้มแข็งขึ้นมาผู้หนึ่งชื่อ "ซาอูล" (Saul) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรก เมื่อประมาณ 1,050 ปี ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ชาวยิวมีกษัตริย์ที่เก่งกล้าอีก 2 องค์คือกษัตริย์ดาวิดและกษัตริย์โซโลมอน เมื่อกษัตริย์โซโลมอนสิ้นพระชนม์ เมื่อ ปี 930 ก่อนคริสต์ศักราช ทำให้อาณาจักรของโซโลมอนแตกออกป็นสองส่วนคือ อาณาจักรอิสราเอล (The Kingdom of Israel) โดยมีกรุงสะมาเรียเป็นเมืองหลวง และอาณาจักรยูดาห์ (Kingdom of Judah) โดยมีเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลาง

ยุคกลาง

350 ปีต่อมา อาณาจักรทั้งสองต้องล่มสลายไป โดยอาณาจักรที่ล่มสลายไปแห่งแรกคือ อาณาจักรอิสราเอล ถูกยึดครองโดยพวกอัสซีเรียน (Assyrian) ในปี 721 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งนำโดยกษัตริย์ซาร์กอนที่ 2 และกวาดต้อนชาวยิวไปยังอัสซีเรีย ต่อมา ปี 587 ก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรยูดาห์ต้องล่มสลายโดยเนบูคัดเนสซาร์แห่งอาณาจักรแคลเดียมีชัยต่ออัสซีเรีย จึงตัดสินใจบุกอาณาจักยูดาห์ต่อ เขาได้ทำลายมหาวิหารยะโฮวาห์ และกวาดต้อนชาวอาณาจักรยูดาห์ไปยังบาบิโลน หลังจากอาณาจักรทั้ง 2 แตกไป ชาวยิวต้องอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย กรีก โรมัน เป็นอิสระได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ในที่สุด ถูกเนรเทศเกือบทั้งหมดและบางส่วนถูกฆ่า ชนชาติอิสราเอลจึงได้กระจัดกระจายไปยังแอฟริกา ยุโรป เปอร์เซีย และแหลมอารเบีย ต่อมาปี ค.ศ 632 ดินแดนปาเลสไตน์ กลับมาเป็นของชนกลุ่มน้อยที่เคยอยู่มาก่อนที่อับราฮัมจะเข้ามา นั่นคือชาวฟิลิเตียหรือชาวปาเลสไตน์ ต่อมาโซจุเตริกท์ประมุขแห่งอิสลามได้เข้าครอบครองเยรูซาเร็ม

ศาสนจักรมุสลิม

รัฐอารักขาของสหราชอาณาจักร

ดูบทความหลักที่: รัฐอารักขาปาเลสไตน์

เมื่อประเทศสหราชอาณาจักรมีอำนาจและอิทธพลในดินแดนแถบนี้ ได้อนุญาตให้ชาวอิสราเอลเดินทางกลับสู่มาตุภูมิได้ตามมติสหประชาชาติ ที่ชาวยิวขอตั้งรัฐอิสระโดยภายใต้การนำของดิโอเดอร์ เฮริท์ ในนาม 'กลุ่มไซออนนิสต์' ซึ่งสหประชาชาติได้แบ่งดินแดนแห่งนี้เป็น 60% ของชาวอิสราเอล และ 40% เป็นของชาวฟิลิเตียหรือปาเลสไตน์ ทำให้มีการจัดตั้งประเทศอิสราเอลในที่สุด

การประกาศเอกราช

ในปี ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติ ลงมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว โดยแบ่งเอาดินแดนบางส่วนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย โดยมติดังกล่าวไม่ได้ขอความเห็นชอบจากชาวปาเลสไตน์เลยแม้แต่น้อย

ในปี ค.ศ. 1948 มีการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นอย่างเป็นทางการบนแผ่นดินปาเลสไตน์โดยมี เดวิด เบนกูเรียน (David Bengurion) เป็นผู้นำคนแรก โดยตั้งชื่อว่า รัฐอิสราเอล นับแต่นั้นมา อิสราเอลก็เริ่มปรากฏในแผนที่โลกในฐานะประเทศ ทั้งที่ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่มีแผ่นดินครอบครองเลย

ความขัดแย้งและสนธิสัญญาสันติภาพ

ดินแดนที่อิสราเอลถือครอง:
  หลังสงคราม
คาบสมุทรไซนายคืนให้อียิปต์ในปี 1982

นับแต่ปี 1964 ประเทศอาหรับ ด้วยกังวลต่อแผนของอิสราเอลที่จะหันเหน้ำจากแม่น้ำจอร์แดนเข้าสู่ที่ราบชายฝั่ง พยายามหันเหต้นน้ำเพื่อให้อิสราเอลขาดทรัพยากรน้ำ ยั่วยุให้เกิดความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลฝ่ายหนึ่ง กับซีเรียและเลบานอนอีกฝ่ายหนึ่ง

ก่อนจะถึงเดือนมิถุนายน 1967 อียิปต์ได้ขับไล่กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติบริเวณคาบสมุทรซีนาย และชุมนุมพลบริเวณใกล้ชายแดน, ปิดช่องแคบติลาน ซึ่งเป็นช่องทางเดินเรือเข้าสู่อ่าวอกาบาที่ไปสู่เมืองท่าอีลาท เมืองท่าทางด้านใต้ของอิสราเอล ไม่ให้เรืออิสราเอลผ่านได้ และเรียกร้องให้ชาติอาหรับร่วมกันถล่มอิสราเอล ในเดือนมิถุนายน 1967 ฝ่ายอิสราเอลชิงลงมือก่อนโดยส่งกำลังทางอากาศเข้าโจมตีฐานทัพอากาศของอียิปต์ที่กำลังเตรียมการสำหรับสงครามที่กำลังจะเกิดขึ้น จอร์แดนเข้าโจมตีเยรูซาเล็มตะวันตกและเนทันย่า แต่ถูกอิสราเอลบุกกลับจนอิสราเอลยึดดินแดนอาหรับได้มากมายและชนะสงครามภายใน 6 วัน ซึ่งหลังสงคราม 6 วัน อิสราเอลได้ทำการควบคุม เวสต์แบงก์ ฉนวนกาซา เยรูซาเลมตะวันออก คาบสมุทรไซนาย และ ที่ราบสูงโกลัน

ในวันที่ 6 ตุลาคม 1973 ซึ่งตรงกับเดือน รอมฎอน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยัมคิปปูร สงครามครั้งนี้เป็นเปิดฉากโดยการนำของ อันวาซาดัต ของประเทศอียิปต์ ตามด้วยซีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุต่อเนื่องในการยึดดินแดนจากสงครามครั้งก่อนของอิสราเอลในปี 1967 ในช่วงแรกๆของสงครามนี้ อิสราเอลดูเหมือนจะตั้งตัวไม่ติด เพราะอียิปต์ใช้การรุกแบบ (Immediate Attack) โดยส่งทหารเข้าโจมตีอิสราเอลทางด้านคลองสุเอซและด้านที่ราบสูงโกลัน พร้อมด้วยอาวุธที่ทันสมัยจากโซเวียต ประกอบกับทหารจำนวนมาก รถถังหลายร้อยคัน เป็นเหตุให้ชาวอิสราเอลตามชายฝั่งถูกขยี้หมด อิสราเอลตกเป็นฝ่ายตั้งรับ เพราะนิ่งนอนใจจากชัยชนะสงครามครั้งที่แล้ว แต่ช่วงเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ อิสราเอลก็ตั้งตัวติด และเริ่มเป็นผู้รุกบ้าง สงครามจึงดำเนินไปอย่างดุเดือด โดยต่างฝ่ายต่างขุดเอาอาวุธมาอวดกันอย่างน่าวิตก อิสราเอลส่งเครื่องบินออกโจมตีและทิ้งระเบิดตามเมืองต่างๆของซีเรียและอียิปต์ รวมถึงนครดามัสกัสด้วย และล้อมทหารของอียิปต์ไว้ทุกแห่ง นอกจากนี้ ยังปิดกั้นการถอยกลับของทหารอียิปต์ได้อีกด้วย ดังนั้นการรบครั้งนี้แสดงให้ชาวโลกได้เห็นว่าฝ่ายอาหรับไม่มีการพัฒนาการใดๆเลย แถมยังถูกทำลายอาวุธที่อุตส่าห์สะสมมากว่า 6 ปี ในที่สุดคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UN Security Council) โดยมีมติ 14 ต่อ 0 โดยให้อิสราเอลคืนดินแดนที่ยึดมาได้ในสงครามปี 1967 และให้อาหรับยอมรับประเทศของชาวยิว

ด้วยเหตุนี้ผู้นำอียิปต์ตัดสินใจที่จะยอมรับข้อตกลง เพราะต้องการดินแดนคืน กลุ่มอาหรับสร้างความไม่พอใจอย่างมากต่อ ‘อันวาซาดัส’ และประณามว่าเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน และปลดอียิปต์ออกจากสมาชิกสันนิบาตชาติอาหรับ และนี้เองทำให้อิสราเอลได้รับอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ ส่วนทางจอร์แดนก็ได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพกับอิสราเอลเมื่อปี 1994 และบริหารจัดการศาสนสถานของชาวมุสลิมในเยรูซาเลมผ่านทางกระทรวงเอากอฟ (Awqaf) และกิจการศาสนา แม้แต่ผู้นำของ PLO ก็ยอมหันหน้าเข้าหาอิสราเอล โดยเจรจาผ่านทางสหประชาชาติในปี 1972 การประนีประนอมครั้งนี้เป็นผลก่อให้เกิดการลงนามใน “ข้อตกลงสันติภาพออสโล ฉบับที่ 1” ในปี 1993 เป็นการประกาศว่าโลกยอมรับให้มีดินแดนปกครองตนเองที่ชื่อปาเลสไตน์ ในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่า

ในปัจจุบันอิสราเอลได้มีดินแดนในการควบคุมและเคยควบคุม ดังนี้

การเมืองการปกครอง

อิสราเอลปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภา Knesset มีวาระครั้งละ 7 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้แก่นาย Reuven Rivlin ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014

บริหาร

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลอิสราเอล

คณะรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งมีวาระครั้งละ 4 ปี รัฐบาลชุดปัจจุบันมาจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อ 22 มกราคม 2556 นำโดยนายกรัฐมนตรี Benjamin Netanyahu จากพรรค Likud Yisrael Beiteinu

นิติบัญญัติ

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาอิสราเอล

สมาชิกสภา Knesset ซึ่งทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎรและสถาบันทางนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิก 120 คน มีวาระครั้งละ 4 ปี ประกอบด้วยผู้แทนจากพรรคสำคัญ ๆ ดังนี้

  1. Kadima ซึ่งเป็นพรรคสายกลาง 29 ที่นั่ง
  2. Labour ซึ่งเป็นพรรคนิยมซ้าย 19 ที่นั่ง
  3. Shas ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษนิยม (Ultra-orthodox) 12 ที่นั่ง
  4. Likud ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวาสายกลาง 12 ที่นั่ง
  5. Yisrael Beiteinu ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 11 ที่นั่ง
  6. Yisrael Beiteinu ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 11 ที่นั่ง
  7. National Union ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 9 ที่นั่ง
  8. Gil ซึ่งเป็นพรรคของผู้เกษียณอายุ 7 ที่นั่ง

ตุลาการ

ดูบทความหลักที่: กฎหมายอิสราเอล

สถานการณ์การเมือง

รัฐบาลอิสราเอลให้ความสำคัญสูงสุดต่อนโยบายความมั่นคงภายในประเทศ และการป้องกันภัยคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินเฉพาะของชาวอิสราเอล ความล้มเหลวของการเจรจาสันติภาพก่อให้เกิดการลุกฮือด้วยกำลังของชาวปาเลสไตน์ (Intifada) ในปี 2543 ได้นำไปสู่วงจรความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ นอกจากนี้ การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของอิสราเอลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของปาเลสไตน์ โดยกลุ่มฮะมาสเมื่อเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งประกาศไม่ยอมรับการมีอยู่ของรัฐอิสราเอล ส่งผลให้ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์เพิ่มความตึงเครียดขึ้น

อนึ่ง เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 กลุ่มฮะมาสสามารถยึดครองฐานที่ตั้งของฝ่ายฟะตะห์ทั้งหมดในกาซาโดยการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ส่งผลให้ประธานาธิบดี Mahmoud Abbas ตะวันตก และอิสราเอล ยอมไม่ได้จึงประกาศกฎอัยการศึก และประกาศถอดถอนนายกรัฐมนตรี Ismail Haniyaa ผู้นำฝ่ายฮะมาส และถอดถอนรัฐมนตรีฝ่ายฮะมาสทั้งหมด โดยแต่งตั้งนาย Salam Fayyad อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังปาเลสไตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีปาเลสไตน์ชุดใหม่ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มฟะตะห์ทั้งหมด โดยมีฐานที่ตั้งในเขตเวสต์แบงก์ เรียกได้ว่าอิสราเอลได้ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นชาวปาเลสไตน์ลงทั้งหมด

อิสราเอล สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป รัสเซีย (กลุ่ม Quartet) องค์การการประชุมอิสลาม และอียิปต์ ได้ผลักดันแต่งตั้งรัฐบาลปาเลสไตน์ภายใต้กลุ่มฟะตะห์ โดยอิสราเอลได้เริ่มเจรจาสันติอีกครั้งกับประธานาธิบดี Abbas และได้โอนเงินภาษีปาเลสไตน์ที่อิสราเอลยึดไว้คืนให้ 118 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากทั้งหมด 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์ (ฝ่ายฟะตะห์) 255 คน จากทั้งหมด 11,000 คน รวมทั้ง อภัยโทษให้ผู้ต้องหาปาเลสไตน์หัวรุนแรง ซึ่งประธานาธิบดี Abbas ได้สั่งการให้กลุ่มติดอาวุธฟะตะห์เกือบทั้งหมด 300 คน วางอาวุธ เพื่อเป็นการตอบแทน

อย่างไรก็ตาม อิสราเอลยังคงมีความระมัดระวังในการเจรจากับกลุ่มฟะตะห์ โดยอิสราเอลยังคงเรียกร้องให้กลุ่มฟะตะห์เจรจาให้กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์อื่น ๆ ยอมรับเงื่อนไข 3 ประการของกลุ่ม Quartet ได้แก่

  1. การยุติความรุนแรง
  2. การยอมรับการมีอยู่ของรัฐอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ และยอมรับรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง (ฟะตะห์)
  3. การยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงสันติภาพต่าง ๆ กับอิสราเอลในอดีต

อิสราเอลยังคงไม่ส่งมอบพื้นที่ยึดครองในเวสต์แบงก์ หรือรื้อถอนจุดตรวจค้นระหว่างอิสราเอล-เวสต์แบงก์ หรือการยุติการก่อสร้างที่อยู่อาศัยชาวอิสราเอลในพื้นที่ปาเลสไตน์ ที่กระทำมาโดยตลอด 60 ปี ตามที่รัฐบาลปาเลสไตน์และสมาชิกสหประชาชาติส่วนใหญ่ต้องการ

ทั้งนี้ โดยที่การจัดตั้งรัฐบาลของอิสราเอลที่ผ่านมาล้วนเป็นแบบรัฐบาลผสม ทำให้การดำเนินนโยบายของรัฐบาลอิสราเอลมีความอ่อนไหวสูงต่อข้อเรียกร้องของพรรคร่วมรัฐบาลและกลุ่มกดดันทางการเมืองภายในประเทศ

สิทธิมนุษยชน

การแบ่งเขตการปกครอง

อิสราเอล เวสต์แบงก์ และ ฉนวนกาซา

ประเทศอิสราเอลแบ่งเป็น 6 เขต (เมโฮซอต [mehozot]; เอกพจน์ เมฮอซ [mehoz]) และ 13 เขตย่อย (นาฟอต [nafot]; เอกพจน์ นาฟา [nafa])

  • เขตเหนือ (North District หรือ Mehoz HaZafon เมฮอซฮาซาฟอน)
    • เมืองเอก: นาซาเรธ (Nazareth)
    • เซฟัต (Zefat)
    • คินเนเรต (Kinneret)
    • ยิซเรเอล (Yizre'el)
    • อัคโค (Akko)
    • โกลัน (Golan)
  • เขตไฮฟา (Haifa District หรือ Mehoz Hefa เมฮอซเฮฟา)
    • เมืองเอก: ไฮฟา
    • ไฮฟา (Haifa)
    • ฮาเดรา (Hadera)
  • เขตกลาง (Center District หรือ Mehoz HaMerkaz เมฮอซฮาเมอร์คาซ)
    • เมืองเอก: รามลา
    • ชารอน (Sharon)
    • เปตาห์ติกวา (Petah Tiqwa)
    • รามลา (Ramla)
    • เรโฮวอต (Rehovot)

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

  มีความสัมพันธ์ทางทูต
  ระงับความสัมพันธ์ทางทูต
  เคยมีความสัมพันธ์ทางทูต
  ไม่มีความสัมพันธ์ทางทูต เคยมีความสัมพันธ์ทางการค้า
  ไม่มีความสัมพันธ์ทางทูต

กองทัพ

ดูบทความหลักที่: กองทัพอิสราเอล

กองกำลังกึ่งทหาร

เศรษฐกิจ

โครงสร้าง

ระบบเศรษฐกิจอิสราเอลมีลักษณะผสมผสานระหว่างการที่รัฐเข้าไปมีบทบาทควบคุมกิจการที่มีกำลังการผลิตและการจ้างงานสูง ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถมีกิจการได้โดยเสรี โดยทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจของอิสราเอลจะอยู่ใต้อิทธิพลของความจำเป็นด้านความมั่นคง

  • ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ต้นไม้ ธาตุทองแดง โปแตช ก๊าซธรรมชาติ หินฟอสเฟต โบรมีน
  • อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 1.9 (ปี 2549)
  • อัตราผู้ว่างงาน ร้อยละ 8.5 (ปี 2549)
  • สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ software เพชรเจียระไน ผลิตภัณฑ์เกษตร เสื้อผ้า
  • สินค้านำเข้าที่สำคัญ วัตถุดิบ อาวุธยุทโธปกรณ์ เชื้อเพลิง เพชร เมล็ดข้าว สินค้าอุปโภคบริโภค
  • ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ จีน ฮ่องกง
    • ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม ฮ่องกง สหราชอาณาจักร
    • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร

สถานการณ์เศรษฐกิจ

การท่องเที่ยว

โครงสร้างพื้นฐาน

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

คมนาคม และ โทรคมนาคม

การศึกษา

อัตราการรู้หนังสือ

สาธารณสุข

ประชากร

กรุงเยรูซาเลม เมืองที่มีประชากรมากที่สุดในอิสราเอล

มีจำนวนประมาณ 6 ล้านคน ร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ส่วนประชากรอีกร้อยละ 6 อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ ชาวอิสราเอลมีหลายชาติพันธ์ ทั้งชาวยิว และชนอาหรับพื้นเมือง รวมทั้งชาวยิวที่อพยพมาจากยุโรป แอฟริกา เอเชีย และประเทศตะวันออกกลางอื่น ๆ ประชากรส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ อาทิ เทลอาวีฟ เยรูซาเลม และไฮฟา ที่เหลือกระจัดกระจายตามพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศชาวอิสราเอล ร้อยละ 82 นับถือศาสนายูดาย (Judaism) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม (14 %) คริสต์ (2%) อายุเฉลี่ย 79.46 ปี ชาย 77.33 ปี หญิง 81.7 ปี อัตราการเขียนออกอ่านได้ ร้อยละ 95.4

เชื้อชาติ

ยุโรป 32.1% อิสราเอล 20.8% อาหรับ 19.9% แอฟริกา 14.6% เอเชีย 12.6%

ภาษา

ดูบทความหลักที่: ภาษาในประเทศอิสราเอล

ศาสนา

ดูบทความหลักที่: ศาสนาในประเทศอิสราเอล

ส่วนใหญ่นับถือศาสนายูดาห์ 80.1% ศาสนาอิสลาม 14.6% ศาสนาคริสต์ 2.1% ศาสนาบาไฮ และอื่น ๆ อีก 3.2%

กีฬา

ฟุตบอล

บาสเก็ตบอล

วัฒนธรรม

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมอิสราเอล

อิสราเอลมีวัฒนธรรมทั้งเก่า และใหม่ผสมผสานกัน กล่าวคือ วัฒนธรรมโบราณของยิวที่เก่าแก่กว่า 4000 ปี และวัฒนธรรมใหม่ที่เกิดจากการหลั่งไหลของชาวยิวจากทั่วโลกที่กลับเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอิสราเอลภายหลังการก่อตั้งรัฐอิสราเอล เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2491 ชาวอิสราเอลร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ส่วนประชากรอีกร้อยละ 6 อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ

วรรณกรรม

สถาปัตยกรรม

อาหาร

ดนตรี

สื่อมวลชน

วันหยุด

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Report for Selected Countries and Subjects". International Monetary Fund. April 2014. สืบค้นเมื่อ April 2014. 
  2. "2014 Human Development Report Summary". United Nations Development Programme. 2014. pp. 21–25. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014. 
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cia
  4. Skolnik 2007, pp. 132–232
  5. "Israel". Freedom in the World (Freedom House). 2008. Retrieved 20 March 2012.
  6. "GaWC – The World According to GaWC 2008". Globalization and World Cities Research Network. Retrieved 1 March 2009.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cbsmonth
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ population_stat
  9. "Global Survey 2006: Middle East Progress Amid Global Gains in Freedom". Freedom House. 19 December 2005. Retrieved 20 March 2012.
  10. "WHO: Life expectancy in Israel among highest in the world". Haaretz. 24 May 2009.
  11. "Israel's accession to the OECD". Organisation for Economic Co-operation and Development. Retrieved 12 August 2012.
  12. "Human development indices". United Nations Development Programme. Retrieved 4 November 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
แผนที่
ลิงก์อื่นๆ

แม่แบบ:ประเทศอิสราเอล