ประเทศบุรุนดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐบุรุนดี
Republika y'u Burundi (คิรุนดี)
République du Burundi (ฝรั่งเศส)
ธงชาติ
คำขวัญUnité, Travail, Progrès
(ภาษาฝรั่งเศส: เอกภาพ แรงงาน ความก้าวหน้า)
เพลงชาติBurundi bwacu
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
บูจุมบูรา
3°30′S 30°00′E / 3.500°S 30.000°E / -3.500; 30.000
ภาษาราชการ ภาษาคิรุนดีและภาษาสวาฮีลี
การปกครอง สาธารณรัฐ
 -  ประธานาธิบดี ปีแยร์ อึงกูรุนซีซา
ประกาศเอกราช
 -  จาก เบลเยียม 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 
พื้นที่
 -  รวม 27,830 ตร.กม. (142)
10,745 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 7.8%
ประชากร
 -  2003 (ประเมิน) 6,054,714 (99)
 -  1978 (สำมะโน) 3,589,434 
 -  ความหนาแน่น 206.1 คน/ตร.กม. (52)
533.8 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2003 (ประมาณ)
 -  รวม 4.517 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 1 (142)
 -  ต่อหัว 627 ดอลลาร์สหรัฐ (163)
HDI (2003) 0.378 (ต่ำ) (169)
สกุลเงิน ฟรังก์บุรุนดี (BIF)
เขตเวลา เวลาแอฟริกากลาง (Central Africa Time, CAT) (UTC+2)
 -  (DST) ไม่มี (UTC+2)
โดเมนบนสุด .bi
รหัสโทรศัพท์ 257
1ประมาณค่าจากการถดถอย (regression) ค่า PPP อื่น ๆ บัญญัติไตรยางศ์จากค่าประมาณมาตรฐานล่าสุดของ International Comparison Programme

บุรุนดี (ฝรั่งเศสและคิรุนดี: Burundi) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐบุรุนดี (คิรุนดี: Republika y'u Burundi; ฝรั่งเศส: République du Burundi) หรือชื่อเดิมว่า อุรุนดี (อังกฤษ: Urundi) คือประเทศที่ตั้งอยูในภูมิภาคเกรตเลกส์ของแอฟริกา บุรุนดีมีพรมแดนทางเหนือจดประเทศรวันดา ทางใต้และตะวันออกจดประเทศแทนซาเนีย และทางตะวันตกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก บุรุนดีเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อย่างไรก็ดี ทางตะวันตกส่วนใหญ่ติดต่อกับทะเลสาบแทนกันยีกา (Lake Tanganyika) ชื่อบุรุนดีมาจากภาษากลุ่มบันตู ภาษาคิรุนดี

นอกจากจะเป็นประเทศที่ห่างไกลทางภูมิศาสตร์ มีความกดดันทางประชากร และมีทรัพยากรเบาบางแล้ว บุรุนดีเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนและมีความขัดแย้งมากที่สุดในแอฟริกาและโลก ขนาดเล็กของบุรุนดี ต่างจากปัญหาใหญ่ที่มีเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยพื้นที่ที่เป็นสิทธิ์ของชนกลุ่มน้อยทุตซี กับชนกลุ่มใหญ่ฮูตู

ประวัติศาสตร์[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แผนที่แสดงการแบ่งเขตการปกครองของประเทศบุรุนดี

ประเทศบุรุนดีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 จังหวัด (province) ได้แก่

  1. จังหวัดบูบันซา
  2. จังหวัดบูจุมบูราไมรี
  3. จังหวัดบูจุมบูรารูรัล
  4. จังหวัดบูรูรี
  5. จังหวัดคันคูโซ
  6. จังหวัดชิบีโตเค
  7. จังหวัดกิเตกา
  8. จังหวัดคารูซี
  9. จังหวัดคายันซา
  10. จังหวัดคิรุนโด
  11. จังหวัดมาคัมบา
  12. จังหวัดมูรัมฟ์ยา
  13. จังหวัดมูยิงกา
  14. จังหวัดมวาโร
  15. จังหวัดนโกซี
  16. จังหวัดรูตานา
  17. จังหวัดรูยีกี

อ้างอิง[แก้]