ประเทศปากีสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
Islamic Republic of Pakistan (อังกฤษ)
اسلامی جمہوریہ پاکستان (อูรดู)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญIman, Ittehad, Nazm
("ศรัทธา, เอกภาพ, วินัย")
เพลงชาติQaumi Tarana
(เพลงชาติ) [1][2]
เมืองหลวง อิสลามาบัด
33°40′N 73°10′E / 33.667°N 73.167°E / 33.667; 73.167
เมืองใหญ่สุด การาจี
ภาษาราชการ ภาษาอูรดูและภาษาอังกฤษ
การปกครอง สาธารณรัฐอิสลาม
 -  ประธานาธิบดี อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี
 -  นายกรัฐมนตรี มีร์ ฮาซาร์ ข่าน โคโซ
เอกราช จาก สหราชอาณาจักร 
 -  ประกาศ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2490 
 -  สาธารณรัฐ 23 มีนาคม พ.ศ. 2499 
พื้นที่
 -  รวม 803,940 ตร.กม. (34)
339,868 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 3.1
ประชากร
 -  2555 (ประเมิน) 178,255,373[3] (6)
 -  ความหนาแน่น 211 คน/ตร.กม. (53)
529 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 404.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (26)
 -  ต่อหัว 2,628 ดอลลาร์สหรัฐ (128)
HDI (2546) 0.527 (กลาง) (135)
สกุลเงิน รูปี (Rs.) (PKR)
เขตเวลา PST (UTC+5:00)
 -  (DST) not observed (UTC+6:00)
ระบบจราจร ซ้ายมือ
โดเมนบนสุด .pk
รหัสโทรศัพท์ 92

ปากีสถาน (อังกฤษ: Pakistan; อูรดู: پاکستان‎) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (อังกฤษ: Islamic Republic of Pakistan; อูรดู: اسلامی جمہوریہ پاکستان‎) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง

คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN)

สัญลักษณ์ประจำชาติ[แก้]

สัญลักษณ์ประจำชาติ
สัตว์ประจำชาติ Markhor.jpg
นกประจำชาติ Keklik.jpg
ต้นไม้ประจำชาติ Pedrengo cedro nel parco Frizzoni.jpg
ดอกไม้ประจำชาติ Jasminum officinale.JPG
สัตว์สงวนประจำชาติ Snow Leopard 13.jpg
นกสงวนประจำชาติ Vándorsólyom.JPG
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเลประจำชาติ Platanista gangetica.jpg
สัตว์เลื้อยคลานประจำชาติ Persiancrocodile.jpg
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกประจำชาติ Bufo stomaticus04.jpg
ผลไม้ประจำชาติ Chaunsa.JPG
มัสยิดประจำชาติ Shah Faisal Mosque (Islamabad, Pakistan).jpg
สุสานประจำชาติ MazareQuad.jpeg
แม่น้ำประจำชาติ Indus river from karakouram highway.jpg
ภูเขาประจำชาติ K2, Mount Godwin Austen, Chogori, Savage Mountain.jpg

ภูมิศาสตร์[แก้]

เคทู เป็นยอดเขาที่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก สูง 8,611 เมตร จากระดับน้ำทะเล

สภาพภูมิอากาศของประเทศปากีสถานแตกต่างกันออกไปตามสภาพที่ตั้ง มีตั้งแต่อากาศร้อนจัดจนถึงอากาศหนาวจัดในตอนเหนือของประเทศ ในตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบมีอากาศร้อนในฤดูร้อนและเย็นลงในฤดูหนาวส่วนทางตอนเหนือจะมีอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็งในฤดูหนาว จึงมีหิมะปกคลุมอยู่ทั่วไปปริมาณน้ำฝนที่ตกไม่มากนักยกเว้นทางตอนใต้ของประเทศติดกับ ทะเลอาหรับจะมีฝนตกหนักเนื่องจากได้รับอิทธิพลลมมรสุมตกชุกในปลายฤดูร้อน

ประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์ปากีสถาน

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และ ยุคสัมริด[แก้]

ชขตคนีรวยบีรจนขจรนจั

ตักสิลา ในสมัยพุทธกาลเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนต่างๆ

อาณานิคมสหราชอาณาจักร[แก้]

การเมืองการปกครอง[แก้]

ปากีสถานปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลาม มีประธานาธิบดีเป็นประมุข นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

บริหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลปากีสถาน

นิติบัญญัติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาแห่งปากีสถาน

ตุลาการ[แก้]

ดูบทความหลักที่: ระบบกฎหมายปากีสถาน

การบังคับใช้กฎหมาย[แก้]

สิทธิมนุษยชน[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แผนที่แสดงที่ตั้งจังหวัดและดินแดนของประเทศปากีสถาน

เขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศปากีสถาน ได้แก่

จังหวัด (Province) :

ดินแดน (Territorry) :

ส่วนของเขตแคชเมียร์ที่ปากีสถานบริหาร (Pakistani-administered portion of Kashmir region) :

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพปากีสถาน

กองทัพบก[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพบกปากีสถาน

กองทัพอากาศ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพอากาศปากีสถาน

กองทัพเรือ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพเรือปากีสถาน

กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

การท่องเที่ยว[แก้]

ดูบทความหลักที่: การท่องเที่ยวในปากีสถาน
ใจกลางกรุงอิสลามาบัด
การคมนาคมแสนวุ่นวายที่จัตุรัสอัล ฟาลาห์

ประชากรศาสตร์[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

เขตความหนาแน่นแบ่งตามสีในปากีสถาน

มีการประมาณประชากรของปากีสถานในปี พ.ศ. 2552 ประมาณ 180,800,000 คน[4] [5] โดยชาวปัญจาบเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศ มีจำนวนกว่าร้อยละ 60-70 รองลงมาเป็นพวกซินด์ และปาทาน นอกจากนี้ยังมีประชากรกลุ่มอื่น อย่างชาวอัฟกันอพยพ, บัลติ, เปอร์เซีย, กัศมีร์ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาทีหลังอย่าง ชาวปากีสถานเชื้อสายจีน และชาวปากีสถานเชื้อสายไทย

ประชากรกว่าร้อยละ 97 นับถือศาสนาอิสลาม โดยส่วนใหญ่เป็นซุนนีย์ ส่วนร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นชีอะห์ มีผู้นับถือศาสนาอื่นอยู่บ้าง แต่มีอยู่ประปราย และส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตชนบท และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และการประมง

ศาสนา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ศาสนาในปากีสถาน

ประเทศปากีสถาน จัดว่าเป็นประเทศสังคมมุสลิม เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์มากเป็นอันดับที่สองของโลก โดยมีผู้นับถือนิกายซุนนีย์ร้อยละ 75 และนิกายชีอะห์ร้อยละ 20 โดยสามารถจำแนกจำนวนศาสนิกของศาสนาต่างๆ ได้ดังนี้

นอกจากนี้ยังมีศาสนิกชนในศาสนาอื่น ที่ไม่ได้รวมในที่นี้ได้แก่ ผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ (ชาวปาร์ซี),ลัทธิอาหมัด, ศาสนาพุทธ(ส่วนมากพบในเขตบัลติสถาน) [6], ศาสนายูดาย, ศาสนาบาไฮ และนับถือผี (มีมากในกาลาชา ในเขตชิลทรัล) [7]

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมปากีสถาน

สถาปัตยกรรม[แก้]

อาหาร[แก้]

อาหารปากีสถาน มีความหลากหมายมาก

วัฒนธรรมของชาวปากีสถานแสดงให้เห็นถึงอย่างแท้จริง ผู้ที่มาเยือนจะพบหลักฐานถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวปากีสถาน ศิลปกรรมของชาวปากีสถานมีรูปแบบทั้งที่เป็นศิลปกรรมทางศาสนา เช่น พรมขนสัตว์ เครื่องทองเหลือง และรูปแกะสลัก เป็นต้นทางด้านดนตรีและการฟ้อนรำมีประวัติอันยาวนาน การฟ้อนรำเป็นการฟ้อนของชาวปากีสถานโดยเฉพาะ สถานที่สำคัญในประเทศปากีสถานมีอยู่มากมาย เช่น เมืองโมเฮนโจดาโร เป็นสถานที่ทางโบราณคดีที่สำคัญ ส่วนโบราณสถานของศาสนามีปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป เช่น ที่เมืองลาฮอร์ เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่ง เช่น ค่ายทหารเมืองลาฮอร์ และมัสยิดบาสชาฮิซึ่งสร้างโดยจักรพรรดิออรังเซ็บ มัสยิดบาสชาฮินี้กว้างเป็นอันดับหนึ่งของโลก นอกจากนี้ปากีสถานยังมีสถานที่อื่นที่นาสนใจอีกมาก ควรจะไปเที่ยวดินแดนทางภาคเหนือซึ่งเป็นขุนเขา มีหิมะปกคลุมตลอดฤดูหนาว

ลักษณะทางสังคมส่วนใหญ่ยังเป็นแบบดั้งเดิม ยังยึดจารีตและวัฒนธรรมมุสลิมอย่างเคร่งครัดในการดำรงชีพ แต่ภายหลังเมื่อได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จึงมีการเปลี่ยนไปตามแบบวัฒนธรรมตะวันตกบ้าง เช่น ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมทางการเมือง งานสวัสดิการสังคม และมีการเรียกร้องสิทธิสตรีให้ทัดเทียมกับบุรุษ โดยจะต้องอยู่ในกรอบวัฒนธรรมอิสลาม

ดนตรี[แก้]

สื่อสารมวลชน[แก้]

ดูบทความหลักที่: สื่อสารมวลชนในปากีสถาน

กีฬา[แก้]

วันหยุด[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Official website, American Institute of Pakistan Studies. ""National Anthem of Pakistan"". สืบค้นเมื่อ 2006-04-18. 
  2. Embassy of Pakistan, Washington D. C. ""Pakistani Flag"". สืบค้นเมื่อ 2006-04-18. 
  3. "World Gazetteer population estimate for 2006". Archived from the original on 2012-12-08. 
  4. Department of Economic and Social Affairs Population Division (2009). World Population Prospects, Table A.1 (.PDF). 2008 revision. United Nations. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12. 
  5. 2009 World Population Data Sheet - Population Reference Bureau
  6. ผู้นำชาวพุทธในปากีสถานขอให้ช่วยพัฒนาพุทธสถาน
  7. "International Religious Freedom Report 2007". State Department, US. 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-03-21. 

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]