ทวีปยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทวีปยุโรป
Europe
{{{ชื่อสัญลักษณ์}}}

{{{คำขวัญ}}}

จำนวนประเทศ 50 ประเทศ
ขนาดพื้นที่ 10,180,000 ตารางกิโลเมตร
(3,930,000 ตารางไมล์)o[›]
ประชากร 731,000,000o[›] (2009, 3rd)
ความหนาแน่นของประชากร 70 ต่อตารางกิโลเมตร
(181 ต่อตารางไมล์)
ภาษา ดูที่ List of languages

ทวีปยุโรป มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน[1]

ทวีปยุโรปมีพื้นที่ 10,600,000 ตร.กม. เล็กที่สุดเป็นอันดับสองรองจากทวีปออสเตรเลีย แต่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา ปี พ.ศ. 2546 ยุโรปมีประชากรราว 799,566,000 คน หรือประมาณ 1 ใน 8 ของประชากรโลก

ประเทศในทวีปยุโรป[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประเทศในทวีปยุโรป
ประเทศ เมืองหลวง ขนาดพื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (ล้านคน) (2551)
ธงชาติกรีซ กรีซ เอเธนส์
130,463
11.2
ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย ซาเกร็บ
55,882
4.4
ธงชาติเช็ก สาธารณรัฐเช็ก ปราก
78,864
10.4
ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน ซานมารีโน
61
0.03
ธงชาติเซอร์เบีย เซอร์เบีย เบลเกรด
88,361
12.1
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน
42,593
5.5
ธงชาตินอร์เวย์ นอร์เวย์ ออสโล
320,466
4.8
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ อัมสเตอร์ดัม
41,019
16.4
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซาราเยโว
50,537
3.8
บัลแกเรีย บัลแกเรีย โซเฟีย
109,627
7.6
เบลเยียม เบลเยียม บรัสเซลส์
30,164
10.7
เบลารุส เบลารุส มินสก์
205,194
9.7
โปรตุเกส โปรตุเกส ลิสบอน
91,320
10.6
โปแลนด์ โปแลนด์ วอร์ซอ
312,056
38.1
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ปารีส
537,666
62.0
ฟินแลนด์ ฟินแลนด์ เฮลซิงกิ
334,288
5.3
มอนเตเนโกร มอนเตเนโกร พอดกอรีตซา
91,320
10.6
มอลโดวา มอลโดวา คีชีเนา
13,812
0.6
มอลตา มอลตา วัลเลตตา
312
0.4
มาซิโดเนีย มาซิโดเนีย สโกเปีย
25,416
2.0
โมนาโก โมนาโก โมนาโก
1.5
0.03
ยูเครน ยูเครน เคียฟ
597,007
46.2
เยอรมนี เยอรมนี เบอร์ลิน
352,914
82.2
รัสเซีย รัสเซีย มอสโก
16,877,291
141.9
โรมาเนีย โรมาเนีย บูคาเรสต์
234,749
21.5
ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก
2,555
0.5
ลัตเวีย ลัตเวีย รีกา
63,851
2.3
ลิกเตนสไตน์ ลิกเตนสไตน์ วาดุซ
160
0.04
ลิทัวเนีย ลิทัวเนีย วิลนีอุส
64,445
3.4
นครรัฐวาติกัน นครรัฐวาติกัน วาติกัน
0.5
0.0009
สเปน สเปน มาดริด
498,936
46.5
สโลวาเกีย สโลวาเกีย บราติสลาวา
49,036
5.4
สโลวีเนีย สโลวีเนีย ลูบลิยานา
19,761
2.0
สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เบิร์น
40,809
7.6
สวีเดน สวีเดน สตอกโฮล์ม
444,754
9.2
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร ลอนดอน
241,275
61.3
ออสเตรีย ออสเตรีย เวียนนา
82,885
8.4
อันดอร์รา อันดอร์รา อันดอร์ราลาเวลลา
448
0.1
อิตาลี อิตาลี โรม
297,789
59.9
เอสโตเนีย เอสโตเนีย ทาลลินน์
44,577
1.3
แอลเบเนีย แอลเบเนีย ติรานา
28,416
3.2
ไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ เรคยาวิก
101,809
0.3
ประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ ดับลิน
69,471
4.5
ฮังการี ฮังการี บูดาเปสต์
91,953
10.0
สหภาพยุโรป ทวีปยุโรป
10,600,000 1 745.9069 2
  • 1 ไม่รวมรัสเซียตะวันออกไกล
  • 2 ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรป

ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญของทวีปยุโรป ได้แก่ ทางตะวันตกของฝรั่งเศส ทางตะวันออกของเกาะอังกฤษ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก

  1. เขตที่ราบสูง ได้แก่ ที่ราบที่อยู่ระหว่างที่ราบกับเขตเทือกเขา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางของทวีป มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 25 ของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส ภาคใต้ของเยอรมนีและโปแลนด์
  2. เขตเทือกเขาแบ่งออกเป็น 2 เขตใหญ่ ๆ คือ
  • เทือกเขาภาคเหนือ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือกับตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เทือกเขาแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในสกอตแลนด์ เวลส์ และเกาะไอซ์แลนด์ ซึ่งมีขนาดเตี้ยและเกิดขึ้นมานานแล้ว
  • เทือกเขาภาคใต้ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกกับตะวันตก ซึ่งเทือกเขานี้มีขนาดสูงและยังเป็นเขตที่เปลือกโลกยังไม่สงบดี จึงเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟ

ภูมิภาค[แก้]

การแบ่งภูมิภาคของทวีปยุโรป:

ทวีปยุโรป แบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่

ประวัติศาสตร์[แก้]

แม่แบบ:บทความหลักประวัติศาสตร์ยุโรป

เมืองสำคัญ[แก้]

ทวีปยุโรปมีหลายเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก ทวีปยุโรปจึงเป็นทวีปที่มีการคมนาคมที่สะดวกสบายเป็นอย่างมาก การคมนาคมส่วนใหญ่จะเป็นระบบราง เช่น รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการคมนาคมระหว่างเมืองและระหว่างประเทศ

ภูมิศาสตร์[แก้]

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

เขตอากาศของทวีปยุโรป สามารถแบ่งเป็น 7 เขตดังนี้

  1. เขตภูมิอากาศแบบทุนดรา หรืออากาศแบบขั้วโลก เป็นเขตอากาศที่หนาวเย็นจัดตลอดทั้งปี ส่วนฤดูร้อนสั้นประมาณ 1-2 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยของเขตนี้ เฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส พืชพรรณธรรมชาติได้แก่ มอสส์ ตะไคร่น้ำ เขตอากาศทุนดราของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรสแกนดิเนเวียและบริเวณทางเหนือสุดของประเทศรัสเซีย
  2. เขตอากาศแบบกึ่งขั้วโลกหรือไทกา ลักษณะอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีอากาศหนาวจัดในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 6 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนมีระยะเวลายาวกว่าเขตภูมิอากาศแบบทุนดรา ปริมาณน้ำฝนทั้งปีอยู่ระหว่าง 500-1,000 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติ คือ ป่าสนหรือป่าไทกา บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ คือ นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์
  3. เขตอากาศอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ลักษณะอากาศของเขตนี้ คือ ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น เพราะอยู่ลึกเข้าไปในใจกลางทวีป จึงไม่ค่อยได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทร พืชพรรณธรรมชาติได้แก่ ป่าไม้ผลัดใบและไม่ผลัดใบผสมกัน ส่วนบริเวณที่มีฝนตกน้อย พืชพรรณธรรมชาติจะเป็นทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ คือ ดินแดนของประเทศโปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย เอสโตเนีย และลัตเวีย
  4. เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ลักษณะของอากาศในเขตนี้ คือ ฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด เพราะเขตนี้มีที่ตั้งอยู่ใกล้มหาสมุทร จึงได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เขตนี้มีอากาศอบอุ่น ชุ่มชื้น ฝนตกสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของทั้งปีอยู่ที่ 750-1,500 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตอบอุ่นชนิดป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสน บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ ครอบคลุมบริเวณของประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก เยอรมนี สหราชอาณาจักร และทางตอนใต้ของนอร์เวย์และสวีเดน
  5. เขตภูมิอากาศอบอุ่นชื้น ลักษณะอากาศของเขตนี้ คือ อากาศอบอุ่น ฤดูร้อนอากาศร้อน มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 500-1,000 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้เขตอบอุ่นหรือทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรบอลข่าน ออสเตรีย และฮังการี
  6. เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีแสงแดดตลอดทั้งปี ฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูหนาวจะมีฝนตก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 500-1,000 มิลลิเมตรต่อปี พืชพรรรณธรรมชาติเป็นเขตอบอุ่น เรียกว่า ป่าไม้เมดิเตอร์เรเนียน เช่น คอร์กโอ๊ก ส้ม มะนาว องุ่น มีป่าไม้มีหนามแหลม เรียกว่า ป่ามากี (maquis) บริเวณที่มีลักษณะอากาศแบบนี้ คือ บริเวณที่มีอาณาเขตติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส เซอร์เบีย และกรีซ
  7. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ลักษณะสำคัญของอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีปริมาณฝนน้อย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า 500 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าขึ้นเบาบาง


อาชีพและทรัพยากร

  1. การเพาะปลูก เขตเพาะปลูกอยู่ในยุโรปตะวันตก ภาคตะวันออกและภาคใต้ของอังกฤษ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของฝรั่งเศส ตอนเหนือของเยอรมนี ยูเครน พืชที่สำคัญคือ
    1. ข้าวสาลี ปลูกได้มากที่สุดคือ ยูเครน รองลงไปคือ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โรมาเนีย บัลแกเรีย เยอรมนี ฮังการี
    2. ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ถั่ว มันฝรั่ง ปลูกได้โดยทั่วไป
    3. องุ่น ส้ม มะกอก มะนาว แอปเปิลและผลไม้ชนิดต่างๆ ปลูกได้มากเขตอากาศแบบเมดิเตอร์เนียน ได้แก่ประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน กรีซ
    4. ต้นแฟล็กซ์ ใช้ใบทำป่านลินิน ปลูกมากในโปแลนด์ เบลเยียม ไอร์แลนด์
  2. การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงไปตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
    1. เขตทุนดรา มีการเลี้ยงกวางเรนเดียร์
    2. เขตทุ่งหญ้าสเตปป์ มีการเลี้ยงโคเนื้อ แพะ แกะ ม้า
    3. เขตเมดิเตอร์เรเนียน มีการเลี้ยงโคเนื้อ และแกะ
    4. เขตภูเขาสูง และที่ราบสูง มีการเลี้ยงโคเนื้อ โคนม แกะ
    5. เขตอบอุ่นชื้นตอนเหนือของคาบสมุทรบอลข่าน มีการเลี้ยงสุกรด้วยข้าวโพด
    6. เขตภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก มีการทำฟาร์มโคนม
  3. การทำป่าไม้ พบมากในประเทศฟินแลนด์ สวีเดน รัสเซีย นอร์เวย์ ในบริเวณป่าสน ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน นำมาผลิตเป็นเยื่อกระดาษ
  4. การประมง แหล่งประมงที่สำคัญ ได้แก่
    1. ทะเลเหนือ โดยเฉพาะบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือบรรจบกับกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก เกิดเป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมมากแห่งหนึ่งของโลกเรียกว่า ดอกเกอร์แบงก์ ประเทศที่จับปลาได้มาก สหราชาอาณาจักร ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์
    2. บริเวณอ่าวบิสเคย์จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะบริเวณทะเลดำ ทะเลสาบแคสเปียนและแม่น้ำโวลกา มีการจับปลาสเตอร์เจียน มาทำเป็นไข่ปลาคาร์วียร์
  5. การทำเหมืองแร่ ยุโรปเป็นทวีปที่มีแร่เหล็กและถ่านหินอุดมสมบูรณ์
    1. ถ่านหิน แหล่งสำคัญอยู่ทางภาคเหนือของสหราชอาณาจักร ภาคกลางของเบลเยียม ลุ่มแม่น้ำรูห์ของเยอรมนี ภาคใต้ของโปแลนด์ ภาคเหนือของเช็ก สโลวัก ยูเครน ไซบีเรียของรัสเซีย
    2. เหล็ก แหล่งสำคัญคือ
      1. แหล่งคิรูนาและเยลีวาร์ทางตอนเหนือของสวีเดน
      2. แหล่งคริวอยร็อกในยูเครน
      3. แหล่งลอเรนซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส
    3. น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ แหล่งสำคัญของยุโรปอยู่ในบริเวณทะเลเหนือ และรอบๆทะเลสาบแคสเปียน
    4. บอกไซต์ เมื่อนำถลุงแล้วได้อะลูมิเนียม แหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคใต้ของฝรั่งเศส ยูโกสลาเวีย ฮังการี เทือกเขาอูราลในรัสเซีย
    5. โพแทช ใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยและสบู่ แหล่งผลิตอยู่ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน รัสเซีย
  6. อุตสาหกรรม ยุโรปได้ชื่อว่าเป็นทวีปอุตสาหกรรม เพราะเกือบทุกประเทศประชากร ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม แหล่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปตะวันตก เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ส่วนยุโรปตะวันออกอยู่ใน รัสเซีย ยูเครน เบลารุส
  7. การค้าขาย เนื่องจากยุโรปความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทำให้ยุโรปมีการติดต่อค้าขายกับภูมิภาคอื่นและมีการตั้งกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น
    1. สหภาพยุโรป (EU-European Union)
    2. สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA-European Free Trade Association) ตลาดการค้าขายระหว่างประเทศ ได้แก่ ประเทศต่างๆที่อยู่ในยุโรปและประเทศอเมริกาเหนือ
  8. การคมนาคมขนส่ง ยุโรปเป็นทวีปที่มีการคมนาคมขนส่งเจริญก้าวหน้ามาก
    1. ทางรถยนต์ มีทางหลวงเชื่อมระหว่างเมือง เขตอุตสาหกรรมและประเทศต่างๆ มีระยะทางยาวประมาณ 1 ใน 5 ของทางรถยนต์ของโลก
    2. ทางรถไฟ ทวีปยุโรปมีทางรถไฟยาว 1 ใน 3 ของทางรถไฟในโลก ประเทศที่มีทางรถไฟยาวเมื่อเฉลี่ยต่อเนื้อที่แล้วมากที่สุด คือ เบลเยียม รองลงมาคือ สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ เมืองที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟคือ ปารีส ลอนดอน เบอร์ลิน วอร์ซอ มอสโก
    3. ทางอากาศ แต่ละประเทศต่างก็มีสายการบินเป็นของตนเอง ใช้ติดต่อระหว่างเมืองภายในประเทศ ระหว่างประเทศ และระหว่างทวีป ศูนย์กลางการบินส่วนใหญ่เป็นเมืองหลวงของแต่ละประเทศ
    4. ทางน้ำ แม่น้ำสำคัญที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำเซน แม่น้ำดานูบ แม่น้ำโวลกา แม่น้ำโอเดอร์ และมีการขุดคลองเพื่อการคมนาคม เช่น คลองคีล ในเยอรมนี เชื่อมระหว่างทะเลบอลติกกับทะเลเหนือ คลองมีดีในฝรั่งเศสเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก

เศรษฐกิจ[แก้]

ทวีปยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจรุ่งเรืองมาก โดยมีการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เรียกว่า กลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งมีบทบาทมากต่อเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ สมาชิกจี 8 จำนวน 8 ประเทศ มีสมาชิกอยู่ในทวีปยุโรปมากถึง 5 ประเทศ คือ รัสเซีย เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสหราชอาณาจักร

  • หลังเกิดวิกฤตการเงินโลก 2010 ที่กรีซ ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงเหวอย่างหนัก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มสหภาพยุโรปเริ่มขาดสภาพคล่องทางการเงินจากปัญหาหนี้สินเพิ่มมากขึ้น
  • ตารางแสดงประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพีมากที่สุดในทวีปยุโรป 10 อันดับแรก1
อันดับ (ยุโรป) ประเทศ ค่าจีดีพี (ล้าน$) ปี 2552 อันดับ (โลก)
-
สหภาพยุโรป สหภาพยุโรป
16,447,259
-
1
เยอรมนี เยอรมนี
3,352,742
4
2
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
2,675,951
5
3
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
2,183,607
6
4
อิตาลี อิตาลี
2,118,264
7
5
สเปน สเปน
1,464,040
9
6
รัสเซีย รัสเซีย
1,229,227
12
7
เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
794,777
16
8
สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
494,622
19
9
เบลเยียม เบลเยียม
470,400
20
10
โปแลนด์ โปแลนด์
430,197
21
  • ตารางแสดงประเทศในทวีปยุโรปที่มีจีดีพีต่อหัวมากที่สุด 10 อันดับแรก 2
อันดับ (ยุโรป) ประเทศ ค่าจีดีพีต่อหัว ($) ปี 2552 อันดับ (โลก)
1
ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก
104,512
1
2
นอร์เวย์ นอร์เวย์
79,085
2
3
สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
67,560
4
4
เดนมาร์ก เดนมาร์ก
56,115
5
5
ประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์
51,356
6
6
เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
48,223
7
7
ออสเตรีย ออสเตรีย
45,989
10
8
ฟินแลนด์ ฟินแลนด์
44,492
12
9
สวีเดน สวีเดน
43,986
13
10
เบลเยียม เบลเยียม
43,533
14

บทบาทของทวีปยุโรปในเวทีโลก[แก้]

วิกฤตการเงินกรีซ 2010[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. National Geographic Atlas of the World (7th ed.). Washington, DC: National Geographic. 1999. ISBN 0-7922-7528-4.  "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe ... is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles."

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]