ประเทศซีเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย
الجمهورية العربية السورية (อาหรับ)
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติHomat el Diyar
"ผู้พิทักษ์บ้านเกิด"

เมืองหลวง ดามัสกัส
33°30′N 36°18′E / 33.500°N 36.300°E / 33.500; 36.300
เมืองใหญ่สุด อะเลปโป
ภาษาราชการ ภาษาอาหรับ
การปกครอง สาธารณรัฐแบบรัฐเดียว
 -  ประธานาธิบดี บัชชาร อัลอะซัด
 -  นายกรัฐมนตรี วาอีล นาดิร อัลฮัมกี
เอกราช จาก ฝรั่งเศส 
 -  ประกาศ (1) กันยายน พ.ศ. 24791 
 -  ประกาศ (2) 1 มกราคม พ.ศ. 2487 
 -  เป็นที่ยอมรับ 17 เมษายน พ.ศ. 2489 
พื้นที่
 -  รวม 185,180 ตร.กม. (89)
71,479 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 1.1
ประชากร
 -  2557 (ประเมิน) 17,951,639 (54)
 -  ความหนาแน่น 118.3 คน/ตร.กม. (101)
306.5 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 71.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (65)
 -  ต่อหัว 5,348 ดอลลาร์สหรัฐ (101)
HDI (2547) 0.473 (ต่ำ) (166)
สกุลเงิน ปอนด์ซีเรีย (SYP)
เขตเวลา EET (UTC+2)
 -  (DST) EEST (UTC+3)
โดเมนบนสุด .sy
รหัสโทรศัพท์ 963
1ฝรั่งเศสไม่ได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาเอกราชฝรั่งเศส-ซีเรีย (Franco-Syrian Treaty of Independence 1936)

ประเทศซีเรีย (อังกฤษ: Syria; อาหรับ: سورية‎) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (อังกฤษ: Syrian Arab Republic; อาหรับ: الجمهورية العربية السورية‎) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และติดตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย

ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์

รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอรกาชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543

ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถูกพิจารณาว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรับ

เนื้อหา

ภูมิศาสตร์[แก้]

1 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 18 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ30 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทิศเหนือติดตุรกี ทิศใต้ติดจอร์แดน ทิศตะวันออกติดอิรัก ทิศตะวันตกติดเลบานอน อิสราเอลและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

สภาพภูมิประเทศ[แก้]

ที่ราบทะเลทรายที่มีฝนตกเพียงเล็กน้อย มีที่ราบแคบๆชายฝั่ง มีภูเขาอยู่ทางทิศตะวันตก

สภาพภูมิอากาศ[แก้]

ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนอากาศชื้น ตอนกลางและทางตะวันออกมีอุณหภูมิสูงในหน้าร้อนถึง 43 องศาเซลเซียส ในหน้าหนาวมีอากาศที่พอเหมาะ มีความหนาวเย็นในบางครั้ง ทางเหนือมีฝนตกจำนวนมาก

ประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์ซีเรีย

ยุคก่อนประวัติศาสคร์[แก้]

ยุคกลาง[แก้]

จักรวรรดิ์ออตโตมัน[แก้]

ดูบทความหลักที่: ออตโตมันซีเรีย

รัฐอารักขาของฝรั่งเศส[แก้]

ซีเรียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2489

สาธารณรัฐ[แก้]

การเมืองการปกครอง[แก้]

รูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐภายใต้การปกครองโดยทหาร (นับแต่ปี ค.ศ.1963) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ เลือกตั้งคราวละ 7 ปี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประมุขของรัฐคนปัจจุบันคือ นายบัชชาร อัลอะซัด (ตั้งแต่ 17 กรกฎาคม 2543)

บริหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลซีเรีย

หัวหน้าฝ่ายบริหาร นาย Mustafa Mohammed Miro (นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ 13 มีนาคม 2543)

นิติบัญญัติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาซีเรีย

ตุลาการ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กฎหมายซีเรีย

สถานการณ์การเมือง[แก้]

ต่อมาในปี 2513 พันเอก ฮาเฟซ อัล-อัสซาด ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจปกครองประเทศ [1] และในปี พ.ศ. 2514 ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของซีเรียจนถึงอสัญกรรมเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543 เดือนต่อมา บุตรชายของอดีตประธานาธิบดี ดร. บาชาร์ อัล-อัสซาด ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของซีเรีย

ซีเรียเป็นประเทศค่อนข้างปิด โดยเฉพาะในสมัยของประธานาธิบดี ฮาเฟซ อัล-อัสซาด เป็นประเทศนิยมอาหรับและมีนโยบายต่อต้านตะวันตก และอิสราเอล นอกจากนั้น ซีเรียมีอิทธิพลต่อเลบานอนในด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ ทำให้การเจรจาใด ๆ ระหว่างอิสราเอลกับเลบานอนจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเจรจาระหว่างซีเรียกับอิสราเอลด้วย อย่างไรก็ดี การที่ ดร. บาชาร์ อัล-อัสซาด ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตกทำให้เห็นความสำคัญของการปฏิรูปประเทศทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ และเห็นความจำเป็นต้องเปิดประเทศเพื่อรับการลงทุน และความช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล ดร. บาชาร์ อัล-อัสซาด คงยึดมั่นนโยบายของบิดา สำหรับความสัมพันธ์กับเลบานอน การถอนกองกำลังอิสราเอลออกจากเลบานอนตอนใต้ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2543 ได้สร้างแรงกดดันให้ซีเรียทบทวนและพิจารณาความจำเป็นและเหตุผลของการคงกองกำลังของตนประมาณ 30,000 นาย อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2548 ซีเรียได้ถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากเลบานอนหลังจากเหตุการณ์ลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอนนาย ราฟิก ฮาริรี่

วิกฤตการเมืองในประเทศซีเรียเริ่มต้นเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2554 อันเป็นผลจากการปฏิวัติในประเทศอาหรับหรืออาหรับสปริง เหตุการณ์นี้ดำเนินมากว่าหนึ่งปีส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 9,113 รายแล้ว โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นพลเรือน เสียชีวิตทั้งจากการเข้าร่วมประท้วง หรือโดนอาวุธลูกหลง 6,546 ราย กองกำลังความมั่นคงรัฐบาลซีเรีย 1,991 ราย และนักรบฝ่ายกบฏ 471 ราย[2]และอีกกว่า 1 หมื่นคนถูกจับ[3] ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศซาอุดิอาระเบีย สั่งปิดสถานทูตซาอุดิอาระเบีย ประจำกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย พร้อมกับเร่งอพยพนักการทูตและเจ้าหน้าที่ ออกจากประเทศอย่างเร่งด่วน [4] ทั้งนี้นายอับดุลลาตีฟ อัล-ซายานี ประธานกลุ่มจีซีซี ออกแถลงการว่า สมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ (จีซีซี) ทั้ง 6 ประเทศนำโดยประเทศซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ , ประเทศบาห์เรน, ประเทศโอมาน, ประเทศกาตาร์ และ ประเทศคูเวต เตรียมปิดสถานทูตในซีเรีย เพื่อประท้วงรัฐบาลซีเรียที่สังหารประชาชนของประเทศดังกล่าว[5]

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า (21 สิงหาคม พ.ศ. 2556) ที่ประเทศซีเรียเกิดเหตุโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่อีกครั้ง จากเหตุสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานมากว่า 29 เดือน ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ต่อต้านประธานาธิบดีบาชาร์อัล อัสซาด ผู้นำซีเรีย เมื่อเครื่องบินของกองทัพซีเรียทิ้งระเบิดในเมืองกัวตาห์ ชานกรุงดามัสกัส โดยกลุ่มสัมพันธมิตรซีเรียแจ้งว่า ระเบิดดังกล่าวเป็นอาวุธเคมี ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 650 ราย พร้อมเผยภาพศพที่นอนเกลื่อนกลาดโดยเป็นเด็กจำนวนมาก ขณะที่นายจอร์จ ซาบรา กลุ่มแกนนำผู้นำฝ่ายค้านแถลงว่า ยอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 1,300 ราย

ด้านสำนักข่าวของทางการซีเรียปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง พร้อมระบุว่าการอ้างอาวุธเคมีดังกล่าว เพื่อกีดกันคณะเจ้าหน้าที่สหประชาชาติเข้าไปตรวจสอบ [6]

สิทธิมนุษยชน[แก้]

เขาจะสั่งปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ชื่อดังทั้ง “กูเกิ้ล” “ยูทูบ” “เฟซบุ๊ค” และ “วิกิพีเดีย” เมื่อองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง และ สื่อต่างชาติอีกหลายสำนัก เริ่มเสนอรายงานตีแผ่การที่อัสซาดตั้งหน่วยตำรวจลับเพื่อจับกุมผู้ที่แสดงตนว่าต่อต้านรัฐบาลมาจำคุก ทรมานร่างกาย หรือสังหารอย่างเหี้ยมโหด หลายฝ่ายเริ่มจับจ้องมายังซีเรีย ซึ่งแน่นอนว่า อัสซาดออกมาปฏิเสธเรื่องราวทั้งหมด

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ซีเรียแบ่งเป็น 14 เขตผู้ว่าราชการ (governorates - muhafazah) ซึ่งการแต่งตั้งผู้ว่าจะเสนอโดยรัฐมนตรีมหาดไทย รับรองโดยคณะรัฐมนตรี และประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา เป็นผู้นำของแต่ละเขต ผู้ว่าจะมีสภาเขตที่ได้รับเลือกมาช่วยเหลือ

  1. ดามัสกัส; ดิมัชก์; อัชชาม (Damascus; Dimashq; ash-Shām)
  2. ริฟดิมัชก์ (Rif Dimashq)
  3. กุเนหหตรา; กุไนตีเราะห์ (Quneitra; Al Qunaytirah')
  4. ดะรา; ดาร์อา (Dara; Dar`a)
  5. อัสซุไวดา (As Suwaydā')
  6. ฮอมส์; ฮิมส์ (Homs; Ḥimṣ)
  7. ตอร์ตูส (Tartous; Tartus)
  8. ลาตาเกีย; อัลลาซีกียะห์ (Latakia; Al-Ladhiqiyah)
  9. ฮะมา (Hama)
  10. อิดลิบ (Idlib)
  11. อะเลปโป; ฮะลับ (Aleppo; Halab)
  12. อาร์รอกเกาะห์ (Ar Raqqah)
  13. ไดร์อัซเซาร์ (Dayr az Zawr)
  14. อัลฮะซะกะห์ (Al Hasakah)
แผนที่เขตการปกครองของประเทศซีเรีย

นโยบายต่างประเทศ[แก้]

ซีเรียมุ่งเน้นการกระชับความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอาหรับเป็นสำคัญ นอกจากนั้น การที่ซีเรียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ทำให้ซีเรียมีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสในระดับหนึ่ง แต่ไม่แน่นแฟ้นเหมือนกับความสัมพันธ์ที่เลบานอนมีต่อฝรั่งเศส

ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส[แก้]

ความสัมพันธ์ซีเรีย – ฝรั่งเศส
Map indicating location of ซีเรีย and ฝรั่งเศส

ซีเรีย

ฝรั่งเศส

ความสัมพันธ์กับรัสเซีย[แก้]

ความสัมพันธ์ซีเรีย – รัสเซีย
Map indicating location of ซีเรีย and รัสเซีย

ซีเรีย

รัสเซีย

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย[แก้]

ความสัมพันธ์ซีเรีย – ไทย
Map indicating location of ซีเรีย and ไทย

ซีเรีย

ไทย

ไทยกับซีเรียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2499 (ค.ศ. 1956) แต่การติดต่อสัมพันธ์ การค้าและการลงทุนระหว่างกันมีน้อย อดีตรองนายกรัฐมนตรี วันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้เดินทางเยือนซีเรีย เมื่อมิถุนายน 2547 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านต่างๆ ซึ่งซีเรียแสดงความสนใจที่จะร่วมมือในด้านการท่องเที่ยว การส่งออกยาและเวชภัณฑ์ เสื้อผ้า และอาหาร แปรรูป [7]

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพซีเรีย

กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

การเกษตร ได้แก่ กาแฟ ผลไม้ ถั่ว อินทผลัม gเป็นสินค้าหลักที่ทำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก แม้ซีเรียปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้มีความทันสมัยมากขึ้น เช่น การเปิดเสรีธนาคารพาณิชย์

ทรัพยากรธรรมชาติ[แก้]

ปิโตรเลียม ฟอสเฟต โครเมียม แมงกานีส แร่เหล็ก หินเกลือ หินอ่อน และยิปซั่ม

สถานการณ์เศรษฐกิจ[แก้]

การท่องเที่ยว[แก้]

ดูบทความหลักที่: การท่องเที่ยวในซีเรีย

มีนักท่องเที่ยวจากซีเรียเดินทางมาไทยค่อนข้างน้อย ในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวจากซีเรียเข้ามาในไทยประมาณ 2,803 คน

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]

คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

การศึกษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: การศึกษาในประเทศซีเรีย

มีนักเรียนไทยในซีเรียประมาณ 80 คน ส่วนใหญ่มาจากภาคใต้ ได้รับการศึกษาด้านศาสนาและกฎหมายอิสลามโดยได้รับทุนโดยตรงจากซีเรีย

อัตราการรู้หนังสือ[แก้]

สาธารณสุข[แก้]

ประชากรศาสตร์[แก้]

22,457,336 ล้านคน (ค่าประมาณ เดือนกรกฎาคมคม พ.ศ. 2556)

โบสถ์ของนักบุญซิเมโอน สไตไลทส์

ศาสนา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ศาสนาในประเทศซีเรีย

อิสลาม (สุหนี่) 74% Alawite, ดรูซและมุสลิมนิกายอื่น ๆ 16% คริสเตียน 10%

ภาษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภาษาในประเทศซีเรีย

อาหรับเป็นภาษาราชการ ฝรั่งเศส อังกฤษ ใช้กันอย่างกว้างขวาง

กีฬา[แก้]

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมซีเรีย

วรรณกรรม[แก้]

สถาปัตยกรรม[แก้]

อาหาร[แก้]

สลัดฟาตุช

ดนตรี[แก้]

สื่อมวลชน[แก้]

วันหยุด[แก้]

อ้างอิง[แก้]