ประเทศลิเบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐแห่งรัฐลิเบีย
ليبيا (อาหรับ)
ธงชาติ
เพลงชาติลิเบีย ลิเบีย ลิเบีย
เมืองหลวง โตบรูค (โดยพฤตินัย)
ตริโปลี (โดยนิตินัย)
32°54′N 13°11′E / 32.900°N 13.183°E / 32.900; 13.183
เมืองใหญ่สุด ตริโปลี
ภาษาราชการ ภาษาอาหรับ
การปกครอง สาธารณรัฐแบบรัฐเดี่ยว
 -  ประธานาธิบดี อะกิละ ซาลาห์ อิสซา (โตบรูค)
นูรี อะบูซาเมน (ตริโปลี)
 -  นายกรัฐมนตรี อับดุลเลาะห์ อัล-ทานี (โตบรูค)
โอมาร์ อัล-ฮาซี (ตริโปลี)
ได้รับเอกราช
 -  จากอิตาลี 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 
 -  ราชอาณาจักรลิเบีย 24 ธันวาคม พ.ศ. 2494 
 -  เปลี่ยนแปลงสู่ระบอบสาธารณรัฐ 1 กันยายน พ.ศ. 2512 
 -  สิ้นสุดสงครามกลางเมืองลิเบีย 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554 
พื้นที่
 -  รวม 1,759,540 ตร.กม. (17)
102,703 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  2553 (ประเมิน) 6,420,000[1] (105)
 -  2549 (สำมะโน) 5,670,688 
 -  ความหนาแน่น 3.6 คน/ตร.กม. (218)
9.4 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2553 (ประมาณ)
 -  รวม 96.138 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] (68)
 -  ต่อหัว 14,884 ดอลลาร์สหรัฐ[2] (56)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2553 (ประมาณ)
 -  รวม 76.557 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] (64)
 -  ต่อหัว 11,852 ดอลลาร์สหรัฐ[2] (48)
HDI (2553) 0.755[3] (สูง) (53)
สกุลเงิน ดีนาร์ลิเบีย (LYD)
เขตเวลา EET (UTC+2)
โดเมนบนสุด .ly
รหัสโทรศัพท์ 218
1 รวมชาวต่างชาติ 350,000 คน (Libyan 2006 census, accessed September 15, 2006;[4])

ลิเบีย (อาหรับ: ليبيا‎) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ มีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอียิปต์ไปทางตะวันออก ประเทศซูดานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศชาดและประเทศไนเจอร์ไปทางใต้ และประเทศแอลจีเรียและตูนิเซียไปทางตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อตริโปลี

ประเทศลิเบียมีพื้นที่เกือบ 1,800,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา และประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 17[5] เมืองหลวง กรุงตริโปลี มีชาวลิเบียอาศัยอยู่ 1.7 ล้านคน จากทั้งประเทศ 6.4 ล้านคน ตามข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2552 ลิเบียมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) สูงที่สุดในแอฟริกา และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (อำนาจซื้อ) สูงสุดเป็นอันดับ 4 ในแอฟริกา ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณปิโตรเลียมสำรองขนาดใหญ่และจำนวนประชากรที่ค่อนข้างน้อย[6][7] ลิเบียเป็นหนึ่งในสิบประเทศผลิตน้ำมันที่ร่ำรวยที่สุดในโลก

หลังจากที่ได้รับเอกราชเป็นราชอาณาจักรลิเบียใน พ.ศ. 2494 นับตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา ลิเบียอยู่ภายใต้การปกครองของมูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี ผู้ซึ่งก้าวขึ้นสู่อำนาจจากการรัฐประหาร กลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 มีการประท้วงและการเดินขบวนครั้งใหญ่ทั่วประเทศต่อต้านรัฐบาลกัดดาฟี เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ฝ่ายกบฏสามารถควบคุมหัวเมืองและนครชายฝั่งได้หลายแห่ง[8][9][10] โดยที่ฝ่ายที่สนับสนุนกัดดาฟียังคงควบคุมเมืองชายฝั่งบ้านเกิดของกัดดาฟี เซิร์ทและเมืองบานีวาลิคทางตอนใต้ของกรุงตริโปลี[11] วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554 กองกำลังฝ่ายกบฏเข้ายึดครองกรุงตริโปลีได้อย่างเบ็ดเสร็จ และสามารถขับไล่กัดดาฟีกับผู้สนับสนุนจนต้องถอยร่นออกไปยังที่มั่นแห่งสุดท้ายคือเมืองเซิร์ท สงครามกลางเมืองระหว่างสองฝ่ายดำเนินมาถึงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ที่เมืองเซิร์ท ขบวนรถของกัดดาฟีและผู้ติดตามถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธของนาโต้ระหว่างการหลบหนี ผู้ติดตามถูกสังหารระหว่างการสู้รบ ขณะที่กัดดาฟีในสภาพบาดเจ็บสาหัสถูกควบคุมตัวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนมูตัสซิมบุตรชายของกัดดาฟีและอาบู บาค์ร ยูนิส อดีตรัฐมนตรีกลาโหม ก็ถูกสังหารเสียชีวิตในวันเดียวกัน

แม้รัฐบาลกัดดาฟีจะถูกโค่นล้มไป แต่ลิเบียก็ยังคงประสบปัญหาความขัดแย้ง หลังการเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ลิเบียก็แตกออกเป็นสองฝ่าย[12] โดยฝ่าย New General National Congress มีศูนย์กลางอยู่ที่ตริโปลี ส่วนฝ่าย Council of Deputies ซึ่งเป็นรัฐบาลที่สหประชาชาติยอมรับ[13] มีฐานอยู่ที่โตบรูค ทั้งสองฝ่ายรวมทั้งฝ่ายรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์[14] ต่างก็สู้กันในสงครามกลางเมืองครั้งใหม่[15][16]

ชื่อ[แก้]

แผนที่โลกที่เป็นที่รู้จักในยุคของเฮโรโดตัสแสดงพื้นที่ของลิเบียในแอฟริกาเหนือ

ในกรีกโบราณ ชื่อ "ลิเบีย" ใช้ในความหมายที่กว้างขวางกว่า คือ แอฟริกาเหนือทั้งหมดที่อยู่ทางตะวันตกของอียิปต์ และในบางกรณีก็ใช้อ้างถึงแอฟริกาทั้งทวีป 3 ส่วนของประเทศนี้ตามประเพณีคือตริโปลิเตเนีย (Tripolitania) เฟซซัน (Fezzan) และไซเรไนกา (Cyrenaica) ในวรรณคดีกรีก ไดโดอาศัยอยู่ในลิเบีย

เขตการปกครอง[แก้]

การแบ่งเขตปกครองในลิเบียปัจจุบัน(ตั้งแต่พ.ศ. 2550)
แผนที่ประเทศลิเบีย
ภาษาอาหรับ ปริวรรต ประชากร (2549)[17] พื้นที่(km2) หมายเลข
(บนแผนที่)
البطنان อัล บุตนัน 159,536 83,860 1
درنة ดาร์นะห์ 163,351 19,630 2
الجبل الاخضر อัล ยาบัล อัลอักดัร 206,180 7,800 3
المرج อัล มาร์ย 185,848 10,000 4
بنغازي เบงกาซี 670,797 43,535 5
الواحات อัล วาฮัต 177,047 6
الكفرة อัล คูฟระห์ 50,104 483,510 7
سرت ซิร์ต/ซุร์ต 141,378 77,660 8
مرزق มูรซัก 78,621 349,790 22
سبها ซาบา 134,162 15,330 19
وادي الحياة วาดี อัลฮายา 76,858 31,890 20
مصراتة มิสซาตะห์ 550,938 9
المرقب อัลมูร์คุบ 432,202 10
طرابلس ตาราบูลุส 1,065,405 11
الجفارة อัล ฟารา 453,198 1,940 12
الزاوية อัล ซาวิยะห์ 290,993 2,890 13
النقاط الخمس อัน นูกวัต อัล คาม 287,662 5,250 14
الجبل الغربي อัล ยาบัล อัล คัรบี 304,159 15
نالوت นาลุต 93,224 16
غات ฆัต 23,518 72,700 21
الجفرة อัล ยูฟระห์ 52,342 117,410 17
وادي الشاطئ วาดี อัล ซาตี 78,532 97,160 18

อ้างอิง[แก้]

  1. Department of Economic and Social Affairs Population Division (2009). World Population Prospects, Table A.1 (PDF). 2008 revision. United Nations. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12. 
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Libya". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 2010-04-21. 
  3. "Human Development Report 2010". United Nations. 2010. สืบค้นเมื่อ 5 November 2010. 
  4. "View". redOrbit. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02. 
  5. U.N. Demographic Yearbook, (2003), "Demographic Yearbook (3) Pop., Rate of Pop. Increase, Surface Area & Density", United Nations Statistics Division. Retrieved July 15, 2006.
  6. Annual Statistical Bulletin, (2004), "World proven crude oil reserves by country, 1980–2004", O.P.E.C.. Retrieved July 20, 2006.
  7. World Economic Outlook Database, (April, 2006), "Report for Selected Countries and Subjects", International Monetary Fund. Retrieved July 15, 2006.
  8. "Gaddafi defiant as state teeters - Africa". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 2011-02-23. 
  9. "BBC News - Middle East and North Africa unrest". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2011-02-23. 
  10. "Libyan minister quits, diplomat claims genocide". Sify.com. สืบค้นเมื่อ 2011-02-23. 
  11. "Long Bread Lines and Open Revolt in Libya’s Capital". NYtimes.com. 2011-02-26. สืบค้นเมื่อ 2011-02-26. 
  12. Why elections won’t save Libya -- Al Jazeera America
  13. Libya government in Tobruk votes to return to UN talks
  14. ISIS in Libya: Civil war provides 'space' for radical jihadists
  15. Civil war surges in Libya after legislative elections
  16. Is civil war likely? -- The Economist
  17. Libyan General Information Authority. Retrieved 22 July 2009.

พิกัดภูมิศาสตร์: 27°24′N 17°36′E / 27.4°N 17.6°E / 27.4; 17.6