ประเทศเยอรมนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
Bundesrepublik Deutschland (เยอรมัน)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
เพลงชาติ


- สถานที่ตั้งประเทศเยอรมนี (สีเขียวเข้ม)- ประเทศในทวีปยุโรป (สีเขียวและสีเทาเข้ม) - ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (สีเขียว)
- สถานที่ตั้งประเทศเยอรมนี (สีเขียวเข้ม)
- ประเทศในทวีปยุโรป (สีเขียวและสีเทาเข้ม)
- ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (สีเขียว)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เบอร์ลิน
52°31′N 13°23′E / 52.517°N 13.383°E / 52.517; 13.383
ภาษาราชการ ภาษาเยอรมัน
การปกครอง สหพันธ์สาธารณรัฐ
 -  ประธานาธิบดี โยอาคิม เกาค์
 -  นายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล
การสร้างชาติ
 -  จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พ.ศ. 1386 (สนธิสัญญาแวร์เดิง
 -  จักรวรรดิเยอรมัน 18 มกราคม พ.ศ. 2424 
 -  สหพันธ์สาธารณรัฐ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 
 -  รวมประเทศ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533 
เข้าร่วมสหภาพยุโรป 25 มีนาคม พ.ศ. 2496 (เยอรมนีตะวันตก)
พื้นที่
 -  รวม 357,050 ตร.กม. (61)
137,858 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 2.4
ประชากร
 -  2557 (ประเมิน) 80,716,000[2] (16)
 -  2554 (สำมะโน) 80,219,695[3] 
 -  ความหนาแน่น 226 คน/ตร.กม. (58)
583 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2558 (ประมาณ)
 -  รวม 3.815 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] (5)
 -  ต่อหัว 46,896 ดอลลาร์สหรัฐ (20)
HDI (2556) 0.911 [5] (สูงมาก) (6)
สกุลเงิน ยูโร (€) 2 (EUR)
เขตเวลา CET (UTC+1)
 -  (DST) CEST (UTC+2)
โดเมนบนสุด .de และ .eu
รหัสโทรศัพท์ 49
1ภาษาเดนมาร์ก ภาษาเยอรมันล่าง ภาษาซอร์เบีย ภาษาโรมานี และภาษาฟริเชีย ได้รับการยอมรับและคุ้มครองอย่างเป็นทางการในฐานะภาษาชนกลุ่มน้อย โดยกฎบัตรยุโรปว่าด้วยภาษาระดับภูมิภาคหรือภาษาชนกลุ่มน้อย (European Charter for Regional or Minority Languages: ECRML)
2ก่อนปี พ.ศ. 2542: ดอยท์เชอมาร์ค

เยอรมนี (อังกฤษ: Germany; เยอรมัน: Deutschland) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (อังกฤษ: Federal Republic of Germany; เยอรมัน: Bundesrepublik Deutschland) เป็นประเทศที่มีการปกครองแบบสหพันธ์สาธารณรัฐแบบมีรัฐธรรมนูญในทวีปยุโรปตอนกลาง โดยเป็นการรวมตัวของรัฐทั้งหมด 16 รัฐ ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก[6]

เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม  UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก

หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก

เนื้อหา

ภูมิศาสตร์กายภาพ[แก้]

เยอรมนีมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันไปจากทางตอนเหนือถึงทางตอนใต้ โดยมีทั้งที่ราบทางตอนเหนือและเทือกเขาทางตอนใต้

พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ พรมแดนมีความยาวทั้งหมดรวม 3757 กิโลเมตร ทำให้เยอรมนีเป็นประเทศที่มีประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุดในยุโรป

ภูมิศาสตร์มนุษย์[แก้]

กว่า 52 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ของประเทศได้มีการใช้ในเชิงพาณิชย์แล้ว (ปี ค.ศ. 2009) เยอรมนีมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 29.5 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหรือสาธารณูโภค (เช่น ถนน ทางรถไฟ) พื้นที่น้ำมีอยู่ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์

เยอรมนีแบ่งการปกครองในระบบสหพันธรัฐ มีทั้งหมด 16 รัฐ (เยอรมัน: Bundeslan, บุนเดิสลันท์) แต่ละรัฐจะมีรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของตัวเองและจะมีกระทรวงการปกครองบริหารสูงสุดซึ่งจะดูแลรัฐทุกรัฐของเยอรมนี

Karte Deutsche Bundesländer (nummeriert).svg
ทัศนียภาพบริเวณเทือกเขาแอลป์ ในรัฐบาวาเรีย ริมทะเลสาบฮินเทอร์เซ (Hintersee)

รัฐ

เมืองเอก

พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร)

ประชากร

1. บาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก

Baden-Württemberg

ชตุทท์การ์ท

Stuttgart

35,752 10,717,000
2. บาวาเรีย (ไบเอิร์น)

เยอรมัน : Bayern
อังกฤษ : Bavaria

มิวนิก

เยอรมัน : München
อังกฤษ : Munich

70,549 12,444,000
3. เบอร์ลิน (นครรัฐ)

Berlin

เบอร์ลิน 892 3,400,000
4. บรันเดนบูร์ก

Brandenburg

พอทสดัม

Potsdam

29,477 2,568,000
5. เบรเมิน (นครรัฐ)

Bremen

เบรเมิน 404 663,000
6. ฮัมบูร์ก (นครรัฐ)

Hamburg

ฮัมบูร์ก 755 1,735,000
7. เฮสเซิน

เยอรมัน : Hessen; อังกฤษ : Hesse

วีสบาเดิน

Wiesbaden

21,115 6,098,000
8. เมคเลนบูร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น

เยอรมัน : Mecklenburg-Vorpommern
อังกฤษ : Mecklenburg-Western Pomerania

ชเวริน

Schwerin

23,174 1,720,000
9. นีเดอร์ซัคเซิน

เยอรมัน : Niedersachsen
อังกฤษ : Lower Saxony

ฮันโนเวอร์

เยอรมัน : Hannover
อังกฤษ : Hanover

47,618 8,001,000
10. นอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลิน

เยอรมัน : Nordrhein-Westfalen
อังกฤษ : North Rhine-Westphalia

ดึสเซลดอร์ฟ

Düsseldorf

34,043 18,075,000
11. ไรน์ลันด์-พฟัลซ์

เยอรมัน : Rheinland-Pfalz
อังกฤษ : Rhineland-Palatinate

ไมนซ์

Mainz

19,847 4,061,000
12. ซาร์ลันด์

Saarland

ซาร์บรึคเคิน

Saarbrücken

2,569 1,056,000
13. ซัคเซิน (แซกโซนี)

เยอรมัน : Sachsen; อังกฤษ : Saxony

เดรสเดิน

Dresden

18,416 4,296,000
14. ซัคเซิน-อันฮัลท์

เยอรมัน : Sachsen-Anhalt
อังกฤษ : Saxony-Anhalt

มักเดบูร์ก

Magdeburg

20,445 2,494,000
15. ชเลสวิก-โฮลชไตน์

Schleswig-Holstein

คีล

Kiel

15,763 2,829,000
16. เทือริงเงิน

เยอรมัน : Thüringen; อังกฤษ : Thuringia

แอร์ฟูร์ท

Erfurt

16,172 2,355,000

ประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์เยอรมนี

ชาวเยอรมันมีบรรพบุรุษมาจากชาวนอร์ดิกยุคสำริด หรือ สมัยก่อนโรมัน ยุคเหล็ก จากสแกนดิเนเวียทางใต้ และเยอรมันเหนือ โดยได้ขยายบริเวณลงมาทางใต้ ตะวันออกและตะวันตก เมื่อศตวรรษที่ 1 เข้ามาติดต่อกับชนเผ่าเซลติกแห่งกอลกับชาวอิหร่านแห่งบอลติก และชนเผ่าสลาฟในตอนกลางและตะวันออกของยุโรป ในสมัยจักรพรรดิออกัสตัส โรมได้เข้ามารุกรานเยอรมัน (โดยขยายอาณาเขตจากแม่น้ำไรน์ไปยังเทือกเขาอูราล) ค.ศ. 9 สามพยุหเสนาโรมันที่นำโดยเบลียส ควินทิเลียส แวรัส ได้พ่ายแพ้ เชอรัสแคนแห่งอาร์มิเนีย สมัยก่อนคริสต์ศักราชที่ 100 ชาวทาสิทัสเขียนชาวเยอรมันว่า ชนเผ่าดั้งเดิมได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบ โดยครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในสมัย​​เยอรมันสมัยใหม่ คือ ออสเตรีย บาวาเรียทางตอนใต้ และตะวันตกของไรน์แลนด์ส่วนหนึ่งของดินแดนโรมัน

การเมืองการปกครอง[แก้]

เยอรมนีปกครองในรูปแบบสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ระบบการปกครองของเยอรมนีมีพื้นฐานจากเอกสารรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2492 ซึ่งเรียกว่า Grundgesetz (กฎหมายพื้นฐาน) การเรียกกฎหมายนี้ว่า Grundgesetz แทน Verfassung (รัฐธรรมนูญ) เป็นความตั้งใจที่ว่าจะถูกแทนที่โดยรัฐธรรมนูญเมื่อเยอรมนีได้รวมเป็นรัฐเดียว การแก้ไขกฎหมายพื้นฐานจะต้องใช้เสียงมากกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งสองสภา มาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิพื้นฐาน การแยกอำนาจ โครงสร้างสหพันธ์ และสิทธิในการต่อต้านความพยายามล้มล้างรัฐธรรมนูญนั้นคงอยู่ตลอดกาล ไม่สามารถแก้ไขได้ ชื่อ Grundgesetz ยังคงใช้หลังการรวมประเทศเยอรมนี

บริหาร[แก้]

ตำแหน่งประธานาธิบดี (Bundespräsident) เป็นตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ได้รับเลือกจากที่ประชุมสหพันธ์ (Bundesversammlung) ซึ่งประกอบสมาชิกของ Bundestag และตัวแทนของแต่รัฐต่างๆ ในจำนวนเท่ากัน ประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสหพันธ์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือคริสเตียน วูฟฟ์ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (เยอรมัน: Bundeskanzler; อังกฤษ: Chancellor) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร หัวหน้ารัฐบาลคนปัจจุบันคือ อังเกลา แมร์เคิล

กระทรวง[แก้]

ประเทศเยอรมนีมีกระทรวงอยู่ทั้งหมด 14 กระทรวง ได้แก่

กระทรวง ชื่อเยอรมัน อักษรย่อ
1 กระทรวงกลาโหม Bundesministerium der Verteidigung BMVg
2 กระทรวงยุติธรรมและการคุ้มครองผู้บริโภค Bundesministerium der Justiz und für Verbraucherschutz BMJV
3 กระทรวงการคลัง Bundesministerium der Finanzen BMF
4 กระทรวงมหาดไทย Bundesministerium des Innern BMI
5 สำนักงานการต่างประเทศ Auswärtiges Amt AA
6 กระทรวงเศรษฐกิจและพลังงาน Bundesministerium für Wirtschaft und Energie BMWi
7 กระทรวงแรงงานและกิจการสังคม Bundesministerium für Arbeit und Soziales BMAS
8 กระทรวงกิจการครอบครัว ผู้สูงอายุ สตรีและเยาวชน Bundesministerium für Familie, Senioren, Frauen und Jugend BMFSFJ
9 กระทรวงสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ อาคารและความปลอดภัยของนิวเคลียร์ Bundesministerium für Umwelt, Naturschutz, Bau und Reaktorsicherheit BMUB
10 กระทรวงอาหารและการเกษตร Bundesministerium für Ernährung und Landwirtschaft BMEL
11 กระทรวงพัฒนาการและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ Bundesministerium für wirtschaftliche Zusammenarbeit und Entwicklung BMZ
12 กระทรวงสาธารณสุข Bundesministerium für Gesundheit BMG
13 กระทรวงการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิตอล Bundesministerium für Verkehr und digitale Infrastruktur BMVI
14 กระทรวงศึกษาธิการและการวิจัย Bundesministerium für Bildung und Forschung BMBF

นิติบัญญัติ[แก้]

อาคารบุดเดสทัก (อาคารรัฐสภา)
ดูบทความหลักที่: บุนเดสทัก

อำนาจนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาซึ่งประกอบไปด้วย สภาผู้แทนราษฎร (Bundestag) ซึ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และ สภาผู้แทนรัฐ (Bundesrat) เป็นสภาตัวแทนรัฐสิบหกรัฐของสหพันธ์ ระบบพรรคการเมืองของเยอรมนีมีเพียงสองพรรคการเมืองหลักคือพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน (CDU) และพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (SPD) โดยจนถึงปัจจุบันนายกรัฐมนตรีมาจากเพียงสองพรรคนี้ อย่างไรก็ตาม ก็มีพรรคที่เล็กกว่าซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างพรรคประชาธิปไตยเสรี (FDP) และกลุ่มพันธมิตร 90/กรีน (Bündnis 90/Die Grünen) ซึ่งมักเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในรัฐบาลผสม

ตุลาการ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กฎหมายเยอรมนี

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ[แก้]

ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป[แก้]

ประเทศเยอรมนีกับประเทศฝรั่งเศส มีบทบาทเป็นผู้นำของสหภาพยุโรป และกำลังมุ่งหน้าสู่การรวมการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศสมาชิก มาขึ้นกับสหภาพยุโรปมากขึ้น

หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีพยายามไม่ยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการทหารของประเทศอื่นมากนัก พฤติกรรมนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงใน พ.ศ. 2542 เมื่อเยอรมนีตัดสินใจส่งทหารเข้าร่วมสงครามโคโซโว เยอรมนีและฝรั่งเศสยังเป็นประเทศหลักที่คัดค้านการรุกรานประเทศอิรักของสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2546

ปัจจุบัน เยอรมนีกำลังพยายามเข้าเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เช่นเดียวกับ ญี่ปุ่น อินเดีย และบราซิล

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย[แก้]

ความสัมพันธ์เยอรมนี – ไทย
Map indicating location of เยอรมนี and ไทย

เยอรมนี

ไทย
  • การทูต
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจและการค้า
  • การท่องเที่ยว

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: บุนเดสแวร์

กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ของประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนีมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นอันดับสี่ของโลกถัดจากสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น เยอรมนียังเป็นประเทศที่มีการส่งออกเป็นอันดับสามของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน ปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญคืออัตราการจ้างงาน

บริษัทในเยอรมันที่มีธุรกิจไปทั่วโลก อย่างเช่น เมอร์เซเดส-เบนซ์ บีเอ็มดับเบิ้ลยู ปอร์เช่ โฟล์กสวาเกน เอาดี้ มายบัค ซีเมนส์ อลิอันซ์ เป็นต้น มีตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ 8 แห่งโดยมี ตลาดหลักทรัพย์แฟรงค์เฟิร์ต เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุด และเป็นหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ตั้งแต่ประวัติของอุตสาหกรรมในประเทศเยอรมนีได้รับการควบคุมให้ผู้ริเริ่มและผู้รับผลประโยชน์ของเศรษฐกิจทั่วโลกมากกว่าที่เคย เยอรมนีเป็นผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของโลกในปี ค.ศ.2002 ถึง ค.ศ.2008 และได้ทำการค้าตลาดร่วมกับจีนในปี 2009 และปัจจุบันผู้ส่งออกใหญ่เป็นอันดับสองและสร้างดุลการค้าใหญ่ ภาคบริการในรอบ 70% ของ GDP รวมอุตสาหกรรม 29.1%, 0.9% และภาคการเกษตร ผลิตภัณฑ์ของประเทศเยอรมนีส่วนใหญ่อยู่ในด้านวิศวกรรมโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์

การท่องเที่ยว[แก้]

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

การคมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

เส้นทางคมนาคม[แก้]

โทรคมนาคม[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในปี ค.ศ.1921.

เยอรมนีมีนักวิจัยที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง 103 รางวัล เช่น ผลงานของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และมักซ์ พลังค์ ถือเป็นรากฐานสำคัญของฟิสิกส์ยุคใหม่ และได้ถูกพัฒนาต่อมาโดยผลงานของแวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก แฮร์มันน์ ฟอน เฮล์มโฮลทซ์ โยเซฟ ฟอน เฟราน์โฮเฟอร์ กาเบรียล ดานีล ฟาเรนไฮต์ และวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกนผู้ค้นพบรังสีเอกซ์ ความสำเร็จนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1901 นักวิศวกรรมการบินอวกาศชื่อ แวร์นเนอร์ ฟอน เบราน์ ผู้พัฒนาจรวดในยุคแรกและต่อมาเป็นสมาชิกสำคัญของนาซาและพัฒนาจรวด Saturn V Moon ซึ่งปูทางสำหรับความสำเร็จของโครงการอะพอลโล งานของ Heinrich Rudolf Hertz ในด้านรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นความรู้ที่สำคัญในการพัฒนาโทรคมนาคมสมัยใหม่ ผ่านการก่อสร้างห้องปฏิบัติการแรกที่มหาวิทยาลัยซิกใน 1879 ของเขา, Wilhelm Wundt เป็นเครดิตกับสถานประกอบการของจิตวิทยาเป็นอิสระเชิงประจักษ์ วิทยาศาสตร์ Alexander von Humboldt ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและ explorer เป็นพื้นฐานเพื่อชีวภูมิศาสตร์

การนำเข้าและส่งออกของเยอรมนีในปี 2553 จัดว่าอยู่ในทิศทางที่ดี มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเข้า มีมูลค่ารวมมากกว่า 800,000 ล้านยูโร ส่วนการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 18% คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 950,000 ล้านยูโร โดยในจำนวนนี้ 95% ส่งออกไปยังตลาดยุโรป และกว่า 11% ส่งออกไปยังตลาดเอเชีย โดยเฉพาะจีน ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 5.5%ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ ในช่วงปี 2552-2553 อุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมนีปรับตัวดีขึ้นมาก เนื่องจากการสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจากจีน โดยในปี 2553 เยอรมนีส่งออกรถเพิ่มขึ้น 24% และการผลิตรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น 12%

การศึกษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: การศึกษาในประเทศเยอรมนี

ในปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนนักศึกษาทั้งหมด ประมาณ 12.6 ล้านคน ที่ประเทศมีครูอาจารย์ทั้งหมด ประมาณ 780,000 คน ตามที่โรงเรียนสถานศึกษากว่า 52,000 แห่งในเยอรมัน การศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 6 18 ปี รวมการศึกษาภาคบังคับทั้งหมด 12 ปี ซึ่งนักเรียนจำเป็นต้องเรียนหลักสูตรภาคบังคับแบบเต็มเวลานี้อย่างน้อย 9 ปี (ในบางรัฐ 10 ปี) หลังจากนั้นนักเรียนสามารถเลือกเรียนหลักสูตรสายอาชีพหรือฝึกงาน ซึ่งเป็นการเรียนแบบไม่เต็มเวลาได้ โรงเรียนเอกชนในเยอรมันมีไม่กี่แห่งที่ดำเนินการโดยนักสอนศาสนา โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนรัฐบาล เรียนฟรีไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน หนังสือและตำราเรียนมักมีให้นักเรียนยืมไม่ต้องซื้อ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ของส่วนตัวก็จะให้ผู้ปกครองบริจาคเงินตามกำลังทรัพย์ที่มี เมื่อนักเรียนอายุ 6 ปี จะเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นเวลา 4 ปี หลังจากจบประถมศึกษาแล้วจึงศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภทด้วยกัน Secondary General School (Houptschule) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ให้การศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป วิชาที่สอน ได้แก่ ภาษาเยอรมัน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ สังคมวิทยา ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และวิชาแนะนำวิชาชีพ เวลาเรียน 6 ปี หลังจบนักเรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตรเพื่อเป็นประตูสู่การศึกษาสายวิชาชีพ Intermediate School (Realschule) เป็นโรงเรียนที่อยู่ระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ให้การศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป (Secondary General School) กับโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เน้นวิชาการ (Grammar School) หลักสูตรส่วนใหญ่จะเน้น วิชาพื้นฐานทั่วไป หลังจบหลักสูตร 6 ปี แล้วจะได้ประกาศนียบัตรเพื่อศึกษาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น เช่น โรงเรียนอาชีวะ ที่ต้องเรียนเต็มเวลา ประมาณ 40% ของผู้จบโรงเรียนมัธยมจะได้ประกาศนียบัตรแบบนี้ Grammar School (Gymnasium) เป็นการศึกษาระดับมัธยมศึกษา 9 ปี เป็นการเรียนการสอนที่เน้นวิชาการ และเมื่อเรียนในระดับ เกรด 11 13 วิธีการเรียนจะแบ่งเป็นการเลือกกลุ่มวิชา (Course) ที่ถนัด เพื่อเน้นบางสาขาวิชาโดยเฉพาะ เพื่อเตรียมตัวเข้าเรียนมหาวิทยาลัยหลังจากจบเกรด 13 แล้ว Comprehensive School (Gesamtshule) เป็นการผสมผสานการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมทั้ง 3 ประเภท เข้าด้วยกันภายใต้การบริหารหนึ่งเดียว นักเรียนเริ่มเรียนตั้งแต่เกรด 5 ถึง เกรด 10 และจะเริ่มเรียนวิชาเฉพาะทาง ในระดับเกรด 7 บางกลุ่มวิชาจะมีการแบ่งการเรียนออกเป็นกว่า 11 ระดับ แล้วแต่ความยากง่าย

สาธารณสุข[แก้]

รัฐสวัสดิการ[แก้]

ประชากร[แก้]

ดูบทความหลักที่: ชาวเยอรมัน

ประชากรในเยอรมนีกระจายตัวอยู่ แตกต่างกันมากในแต่ละภูมิภาคนั่นคือประมาณหนึ่งในสามของประชากรได้แก่ประมาณ 25 ล้านคน ใช้ชีวิตอยู่ใน 82 เมืองใหญ่ ส่วนอีก 50.5 ล้านคนอยู่ในชุมชนและเมืองที่มีประชากรระหว่าง 2,000 ถึง 100,000 คน นอกจากนั้นอีกประมาณ 6.4 ล้านคน อาศัยอยู่ในย่านที่มีประชากรไม่เกิน 2,000 คน บริเวณผู้อพยพเข้าในเบอร์ลิน ซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็วตั้งแต่การรวมประเทศเยอรมนี มีประชากรมากกว่า 4.3 ล้านคน ในเขตอุตสาหกรรมริมแม่น้ำไรน์ และรัวร์ ที่ซึ่งเมืองต่าง ๆ มักเหลื่อมล้ำเข้าหากัน เพราะไม่มีเส้นขีดคั่นอย่างชัดเจนนั้นมีประชากรมากว่า 11 ล้านคน กล่าวคือ 1,100 คนต่อตารางกิโลเมตร

ภูมิภาคอันมีประชากรหนาแน่นดังกล่าวนี้แตกต่างจากอาณาบริเวณที่มีประชากรเบาบางมาก อาทิเช่น บริเวณอันกว้างใหญ่ของรัฐมาร์ค บรันเดนบวร์ก และเมคเคลนบวร์ก-ฟอร์พอมเฟิร์น

กล่าวโดยสรุปแล้ว นับได้ว่าเยอรมนีซึ่งมีประชากรหนาแน่นถึง 230 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่มีความหนาแน่นมากแห่งหนึ่งในยุโรป แต่ก็มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างบริเวณสหพันธ์ดั้งเดิม กับบริเวณอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน กล่าวคือในรัฐใหม่ของสหพันธ์ฯ และเบอร์ลินตะวันออกมีประชากรหนาแน่นถึง 140 คนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่รัฐของสหพันธ์ฯ เดิม มีประชากรหนาแน่นถึง 267 คนต่อตารางกิโลเมตร

เชื้อชาติ[แก้]

เยอรมัน 91.5% ตุรกี 2.4% อื่นๆ 6.1% (ประกอบไปด้วยชาวกรีก อิตาลี โปแลนด์ รัสเซีย เซิร์บและโคเอเชีย เป็นกลุ่มใหญ่)

ภาษา[แก้]

ภาษาเยอรมัน

ศาสนา[แก้]

คริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ 34% คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 34% มุสลิม 3.7% ศาสนาอื่นๆแยกกระจัดกระจายออกไปและอื่นๆ 28.3%

กีฬา[แก้]

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมเยอรมัน

วรรณกรรม[แก้]

สถาปัตยกรรม[แก้]

ดนตรี[แก้]

ประเทศเยอรมันมี นักดนตรี คีตกวีทางดนตรี นักประพันธ์ดนตรี ที่มีชื่อเสียงระดับสากลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน, โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค, โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท, โยฮันเนส บราห์ม, ริชาร์ด วากเนอร์, ฟรันซ์ ชูแบร์ท, จอร์จ เฟรดริก ฮันเดล, โรแบร์ท ชูมันน์, เฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น, คาร์ล ออร์ฟ เป็นต้น

ปัจจุบันเยอรมัน เป็นตลาดดนตรีที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของยุโรป และอันดับ 4 ของโลก[7] ดนตรีเยอรมันเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วง ศตวรรษที่ 20-21 อาทิเช่น วงสกอร์เปียนส์ กับ วงรัมสไตน์ วงเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันดีมากที่สุดในระดับโลก, โทคิโอโฮเทล เป็นวงป็อปร็อกที่มีชื่อเสียงวงหนึ่งในเยอรมัน เป็นต้น

อาหารเยอรมัน[แก้]

อาหารเยอรมันแตกต่างจากพื้นที่สู่พื้นที่ เช่น ในภาคใต้ของบาวาเรียและ Swabia ร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการปรุงอาหารตามแบบสวิสเซอร์แลนด์และออสเตรีย หมูและไก่เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่นิยมบริโภค ในเยอรมนีหมูเป็นที่นิยมมากที่สุด ตลอดทุกภาคเนื้อมักจะรับประทานในรูปแบบไส้กรอก มากกว่า 1500 ชนิดของไส้กรอกที่ผลิตในประเทศเยอรมนี อาหารอินทรีย์ได้รับส่วนแบ่งตลาดประมาณ 3.0% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก

Schwarzwälder Kirschtorte เค้กแบล็คฟอเรสต์เป็นอาหารว่างที่ขึ้นชื่อของเยอรมัน
เบียร์เครื่องดื่มขึ้นชื่อของเยอรมัน

พูดภาษาเยอรมันเป็นที่นิยมมีความหมาย :"รับประทานอาหารเช้าเช่นจักรพรรดิ กลางวันเช่นกษัตริย์ และอาหารเย็นเหมือนขอทาน" อาหารเช้ามักประกอบด้วยขนมปังก้อนเล็ก (Brötchen) ทาแยมหรือน้ำผึ้ง หรือทานกับเนื้อเย็นและชีส บางครั้งมีไข่ต้ม ธัญพืชหรือ Muesli กับนมหรือโยเกิร์ต กว่า 300 ชนิดของขนมปังมีจำหน่ายในร้านเบเกอรี่ทั่วประเทศ ผู้อพยพจากหลายประเทศมาสู่เยอรมนีได้นำอาหารนานาชาติมากมายมาเผยแพร่จนทำให้เกิดนิสัยการกินรายวัน เช่นอาหารอิตาเลียนพิซซ่าและพาสต้า อาหารตุรกีและอาหรับชอบ Döner และ Falafel โดยเฉพาะในเมืองใหญ่นอกจากร้านอาหารพื้นเมืองแล้ว ยังมีร้านอาหารนานาชาติแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารจีน กรีก อินเดีย ไทย ญี่ปุ่นและอาหารเอเชียอื่น ๆ ได้รับความนิยมในทศวรรษที่ผ่านมา

แม้ว่าไวน์จะเป็นที่นิยมในหลายประเทศ แต่ประเทศเยอรมนีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำชาติคือเบียร์ แม้คนเยอรมันจะบริโภคเบียร์ต่อคนจะลดลง แต่ปริมาณการบริโภคเบียร์ 127 ลิตรต่อปีต่อคนในเยอรมนีก็ยังคงเป็นตัวเลขสูงที่สุดในโลก ชนิดของเบียร์ในเยอรมันได้แก่ Alt, Bock, Dunkel, Kölsch, เลเกอร์, Malzbier, Pils และ Weizenbier จากการสำรวจ 18 ประเทศตะวันตกที่บริโภคเครื่องคิดเป็นต่อหัวมากที่สุด เยอรมนีอยู่ในอันดับ 14 สำหรับเครื่องดื่มทั่วไป ในขณะที่มาเป็นอันดับสามในการบริโภคน้ำผลไม้ นอกจากนั้น น้ำแร่อัดลมและ Schorle (ผสมกับน้ำผลไม้) ก็เป็นที่นิยมเช่นกันในเยอรมนี

เทศกาลสำคัญ[แก้]

วันหยุด[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CIA
  2. Statistische Ämter des Bundes und der Länder: Bevölkerung Deutschland 2013. Retrieved 29 May 2014.
  3. Zensus 2011: Bevölkerung am 9. Mai 2011. Retrieved 1 June 2013.
  4. "Germany". International Monetary Fund. April 2015. สืบค้นเมื่อ 2 November 2014. 
  5. "2014 Human Development Report Summary". United Nations Development Programme. 2014. pp. 21–25. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014. 
  6. "Germany Top Migration Land After U.S. in New OECD Ranking". Bloomberg. 20 May 2014. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014. 
  7. http://www.riaj.or.jp/e/issue/pdf/RIAJ2013E.pdf

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:Spoken Wikipedia-2

รัฐบาล
การท่องเที่ยว
การศึกษา