ประเทศไต้หวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐจีน
中華民國 (จีน)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
เพลงชาติ"เพลงชาติสาธารณรัฐจีน"
《中華民國國歌》
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ไทเป
25°02′N 121°38′E / 25.033°N 121.633°E / 25.033; 121.633
ภาษาราชการ ภาษาจีน[1]
ภาษาพื้นเมือง ภาษาไต้หวัน
ภาษาแคะ
กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา[2]
อักษรทางการ อักษรจีนตัวเต็ม
การปกครอง ประชาธิปไตยระบบกึ่งประธานาธิบดี
 -  ประธานาธิบดี หม่า อิงจิ่ว
 -  นายกรัฐมนตรี Jiang Yi-huah
การสถาปนา การปฏิวัติซินไฮ่ 
 -  ประกาศวันชาติ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2454 
 -  สถาปนา 1 มกราคม พ.ศ. 2455 
 -  ย้ายสู่เกาะไต้หวัน 7 ธันวาคม พ.ศ. 2492 
พื้นที่
 -  รวม 35,980 ตร.กม. (138)
13,892 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 2.8
ประชากร
 -  ก.ค. 2551 (ประเมิน) 25,341,602 (47 2)
 -  ความหนาแน่น 640 คน/ตร.กม. (14 2)
1,658 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 668.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (16)
 -  ต่อหัว 29,000 ดอลลาร์สหรัฐ (24)
HDI (2546) 0.910 (สูง) (24 (ถ้าได้รับการจัดอันดับ) 3)
สกุลเงิน ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (NT$) (TWD)
เขตเวลา CST (UTC+8)
 -  (DST) ไม่มี (UTC)
โดเมนบนสุด .tw
รหัสโทรศัพท์ 886

ไต้หวัน ในภาษาไต้หวัน หรือ ไถวาน ในชื่อท้องถิ่น (จีนตัวย่อ: 台湾; จีนตัวเต็ม: 臺灣/台灣; พินอิน: Táiwān ไถวาน; ภาษาไต้หวัน: Tâi-oân ไต้หวัน) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐจีน (中華民國 Zhōnghuá Mínguó ?; Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門 Jīnmén ?; Kinmen) ไต้หวัน เผิงหู (澎湖 Pénghú ?) หมาจู่ (馬祖 Mǎzǔ ?; Matsu) และอูชิว (烏坵 Wūqiū ?) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ทั้งหมดดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區 Táiwān Dìqū ?; Taiwan Area)

ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีน ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง[3] ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้

เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功 Zhèng Chénggōng ?) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งอาณาจักรตงหนิง (東寧 Dōngníng ?; Tungning) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明 Fǎn Qīng Fù Míng ?) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨 Guómíndǎng ?; Kuomintang) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์ (共产党 Gòngchǎndǎng ?; Communist Party) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้

ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ถึงต้นทศวรรษที่ 1990 การเมืองการปกครองไต้หวันได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก[4][5] อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วย[6][7][8]

ภูมิศาสตร์[แก้]

ประเทศสาธารณรัฐจีน มีลักษณะเป็นกลุ่มเกาะ ทำให้ภูมิประเทศติดกับทะเล ไม่ติดกับประเทศใดเลย ห่างจากเกาะไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้เป็นประเทศฟิลิปปินส์และทะเลจีนใต้ ส่วนทิศตะวันออกเป็นมหาสมุทรแปซิฟิก

ประวัติศาสตร์[แก้]

พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) -การจลาจลอู่ฮั่นในประเทศจีน เป็นจุดเริ่มต้นการล่มสลายของราชวงศ์ชิง เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามามีอำนาจในจีนในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) พรรคก๊กมินตั๋ง พรรคการเมืองเมืองชาตินิยมของจีนที่เป็นฝ่ายแพ้ก็พาผู้คนอพยพหนีออกจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งหลักที่ไต้หวัน เพื่อวางแผนกลับไปครองอำนาจในจีนต่อไป

ชาวจีนมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน อพยพตามมาอยู่ที่เกาะไต้หวันในยุคที่เหมา เจ๋อตงมีอำนาจเต็มที่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้นำของประเทศทั้งสองจีน คือผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์กับผู้นำสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน แย่งกันเป็นกระบอกเสียงของประชาชนจีนในเวทีโลก แต่เสียงของนานาประเทศส่วนใหญ่เกรงอิทธิพลของจีนแผ่นดินใหญ่ จึงให้การยอมรับจีนแผ่นดินใหญ่มากกว่า

ในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ก่อนที่นายพล เจียง ไคเช็ก (General Chiang Kaishek) (ภาษาจีน:蔣中正) จะถึงอสัญกรรมไม่กี่ปี สาธารณรัฐจีนซึ่งเป็นประเทศที่ร่วมก่อตั้งองค์การสหประชาชาติได้สูญเสียสมาชิกภาพในฐานะประเทศตัวแทนชาวจีนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) สหประชาชาติก็ประกาศรับรองจีนเดียวคือจีนแผ่นดินใหญ่และตัดสัมพันธ์ทางการเมืองกับสาธารณรัฐจีน ทั้งสหรัฐอเมริกาก็ได้ถอนการรับรองว่าสาธารณรัฐจีนมีฐานะเป็นรัฐ ไต้หวันจึงกลายเป็นเพียงดินแดนที่จีนอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เมื่อเจียง ไคเช็ก ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ลูกชายที่ชื่อ เจี่ยง จิ้งกว๋อ (Chiang Chingkuo) ได้เป็นผู้สืบทอดการปกครองไต้หวันต่อและเริ่มกระบวนการ วางรากฐานไปสู่ประชาธิปไตย

ประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งเกิดในไต้หวัน ชื่อ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) ขึ้นบริหารประเทศ รัฐบาลจีนที่ปักกิ่งได้ตั้งฉายาประธานาธิบดีไต้หวันคนใหม่ว่า "จิ้งจกปากหวาน" (A sweet-Talking Chameleon) ช่วงเวลาที่นายหลี่ เติงฮุย เป็นประธานาธิบดี การเมืองของไต้หวันเกิดการแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่ายคือ 1) พวกก๊กมินตั๋ง ที่ต้องการกลับไปรวมประเทศกับจีนแผ่นดินใหญ่(รวมจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน) 2) พวกที่ต้องการให้ไต้หวันเป็นประเทศอิสระไม่เกี่ยวข้องกับจีนแผ่นดินใหญ่ และ 3) พวกที่ต้องการดำรงฐานะของประเทศไว้ดังเดิมต่อไป

ไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่นัดเจรจาหาทางออกของข้อขัดแย้งทางการเมืองครั้งแรกที่สิงคโปร์เมื่อปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) แต่ปรากฏว่าจีนแผ่นดินใหญ่ประวิงเวลาการลงนามในสัญญาหลายฉบับที่เป็นข้อตกลงร่วมกัน ทำให้ผลของการเจรจาคราวนั้นไม่ก้าวหน้าไปถึงไหน ความสัมพันธ์ระหว่างสองจีนเลวร้ายลงทุกที เมื่อประธานาธิบดีหลี่ เติงฮุย เดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาและได้รับการยอมรับอย่างเอิกเกริก ทำให้จีนแผ่นดินใหญ่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงกระทำการข่มขวัญไต้หวันกับประเทศที่ให้การสนับสนุนไต้หวัน ด้วยการทำการซ้อมรบขึ้นใกล้ ๆ เกาะไต้หวัน สหรัฐอเมริกาออกมาแสดงอาการปกป้องคุ้มครองไต้หวันด้วยการส่งกำลังกองเรือรบของสหรัฐฯ มาป้วนเปี้ยนอยู่ในน่านน้ำที่จีนซ้อมรบ

ขณะที่โลกกำลังล่อแหลมกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดในน่านน้ำจีนมากขึ้นทุกทีนั้น ไต้หวันก็จัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ และในการเลือกตั้งครั้งใหม่นั้นเอง ไต้หวันก็ได้นายหลี่ เติงฮุย เป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง

ไต้หวันเข้าสู่สภาวะวิกฤต เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ทำให้ประชากรส่วนมากที่เป็นชาวพื้นเมืองเสียชีวิตไป 2,000 คน ทั้งเมืองมีแต่เศษซากสิ่งปรักหักพังที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และช่วงนี้ไต้หวันต้องเผชิญความยากลำบากจากภัยธรรมชาติร้ายแรง จีนแผ่นดินใหญ่ก็เพิ่มความกดดันไม่ให้นานาชาติเข้ามายุ่งเกี่ยวกับไต้หวันแม้ในยามคับขันเช่นนี้ โดยออกมาประกาศว่า หากมีประเทศใดจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือไต้หวัน จะต้องได้รับอนุญาตจากจีนก่อน ซึ่งคำประกาศของจีนแผ่นดินใหญ่สวนทางกับเมตตาธรรมของประเทศทั่วโลกที่ต้องการให้ความช่วยเหลือไต้หวัน

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) มีการเลือกตั้งใหม่ในไต้หวัน ชาวไต้หวันเลือกผู้แทนจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า คือ นายเฉิน สุยเปี่ยน (Chen Shui-bian) เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของไต้หวัน ผู้ประกาศนโยบายการเมืองแข็งกร้าวว่าไต้หวันต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากจีนแผ่นดินใหญ่ ยุติยุคของพรรคชาตินิยมที่ยังฝักใฝ่แผ่นดินใหญ่อยู่ จีนแผ่นดินใหญ่จึงถือว่าเป็นกบฏต่อการปกครองของจีน เพราะแต่ไหนแต่ไรมา ไต้หวันไม่เคยประกาศอย่างเป็นทางการว่าไต้หวันเป็นประเทศอิสระแยกจากจีน และจีนพูดอยู่เสมอว่าไต้หวันเป็นเด็กในปกครองที่ค่อนข้างจะหัวดื้อและเกเร หากไต้หวันประกาศว่าเป็นอิสระจากจีนเมื่อใด จีนก็จะยกกำลังจัดการกับไต้หวันทันที

ในขณะที่ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างสองจีนในสายตาชาวโลกเลวร้ายลง จีนทั้งสองกลับมีการติดต่อทางการค้ากันมากขึ้น มีการผ่อนปรนอนุญาตให้ชาวไต้หวันเดินทางไปจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อเยี่ยมญาติได้ เกิดปรากฏการสำคัญคือนักธุรกิจไต้หวันหอบเงินทุนมากกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปลงทุนดำเนินธุรกิจทางตอนใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ จนกระทั่งขณะนี้ชาวไต้หวันกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่เป็นลำดับ 2 ของจีน

แต่ความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อประธานาธิบดีบิลล์ คลินตัน มาเยือนจีนอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) นักวิจารณ์การเมืองเริ่มประเมินกันว่าอนาคตทางการเมืองของไต้หวันเริ่มไม่มั่นคง

การเมือง[แก้]

ระบบการเมือง[แก้]

การเมืองการปกครอง ประธานาธิบดี (President) ประธานาธิบดีปัจจุบันคือ นายหม่า อิงจิ่วเริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่20 พฤษภาคมพ.ศ. 2551จากพรรคก๊กมินตั๋ง อำนาจพิเศษของประธานาธิบดีรวมถึงการแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการของสภาควบคุม และสภาตุลาการ (The Control and Judicial Yuans) แก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างอำนาจในการบริหารสภา (inter-Yuan) และการใช้อำนาจในสภาวการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนั้น ประธานาธิบดียังเป็นประธานของสภาความมั่นคงแห่งชาติโดยตำแหน่ง ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย

รัฐธรรมนูญการปกครองแบบ 5 อำนาจ (5 สภา) (The Five Yuans) รัฐธรรมนูญไต้หวันได้จัดแบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็น 5 สภา ได้แก่ (1) สภาบริหาร (The Executive Yuan) (2) สภานิติบัญญัติ (The Legislative Yuan) (3) สภาตุลาการ (The Judical Yuan) (4) สภาตรวจสอบและคัดเลือก (The Examination Yuan) (5) สภาควบคุม (The Control yuan) เป็นส่วนของการบริหารประเทศสูงสุด

บริหาร[แก้]

สภาบริหาร (The Executive Yuan) (คณะรัฐมนตรี) สภาบริหารมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานรับผิดชอบการสร้างนโยบายของชาติและทำให้บังเกิดผล มีการจัดองค์การย่อย 3 ระดับ ภายใต้สภาบริหาร คือ (1) คณะมนตรีสภาบริหาร (Executive Yuan Council) คือ คณะรัฐมนตรี (2) องค์การบริหาร (Executive Organizations) คือกระทรวง และคณะกรรมาธิการ ต่าง ๆ ที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง (3) หน่วยงานขึ้นตรง (Subordinate Departments) รวมไปถึงสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานสถิติ กรมประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมาธิการพิเศษอื่น ๆ และ คณะกรรมาธิการเฉพาะกิจ

นิติบัญญัติ[แก้]

สภานิติบัญญัติ (The Legislative Yuan) สภานิติบัญญัติเป็นตัวแทนของประชาชนในการผ่านการออกกฎหมายและควบคุมการทำงานของสภาบริหาร ผู้แทนของสภานิติบัญญัติมาจากการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 221 คน สภานิติบัญญัติมีสมัยประชุมปีละ 2 ครั้ง และมีอำนาจในการออกกฎหมายทั่วไป การรับรองคำสั่งฉุกเฉิน การตรวจสอบร่างรัฐบัญญัติงบประมาณและการตรวจสอบรายงานทางบัญชี การรับรองรัฐบัญญัติที่ออกโดยกฎอัยการศึก และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพรรคก๊กมินตั๋งยังคงครองเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ

สภาตรวจสอบและคัดเลือก (The Examination Yuan) สภาตรวจสอบและคัดเลือกรับผิดชอบในการสอบสวน การแต่งตั้ง การคัดเลือกการบันทึกข้อมูล การใช้จ่ายเงินของข้าราชการในสังกัดของรัฐบาล การแบ่งหน้าที่ของสภาตรวจสอบและคัดเลือกออกจากฝ่ายบริหารเป็นสิ่งที่รับรองความเป็นอิสระจากอิทธิพลของพรรคพวกเดียวกัน อำนาจเช่นนี้ได้ถูกนำมาใช้โดยสภาตรวจสอบและคัดเลือกแต่เพียงลำพังในระดับการปกครองส่วนกลาง ระบบการตรวจสอบและคัดเลือกได้นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างของรัฐบาลทั้งหมด ไม่ว่าจะมีลำดับยศสูงหรือต่ำ

สภาควบคุม (The Control Yuan) สภาควบคุมเป็นฝ่ายควบคุมสูงสุดของชาติ มีสิทธิในการให้ความคิดเห็นการพิจารณาความผิดของข้าราชการ การว่ากล่าวตำหนิติเตียน การลงโทษ และการตรวจสอบบัญชี สภาควบคุมมีอำนาจเป็นลำดับที่สองของอำนาจการปกครองของไต้หวันที่สืบต่อกันมา 2 สภา (อีกสภาหนึ่งคือสภาตรวจสอบและคัดเลือก) ซึ่งถูกผสมผสานเข้ากับสภาบริหารสภานิติบัญญัติ สภาตุลาการของระบอบประชาธิปไตยทางตะวันตกในระบบการปกครองทั้ง 5 อำนาจแห่งสภา สภาควบคุมนี้จะประชุมกันเดือนละครั้ง และมีกระทรวงตรวจสอบ (Ministry of Audit) เป็นองค์กรย่อยของสภา

ตุลาการ[แก้]

ระบบตุลาการของไต้หวันมีศาลจังหวัด (District Court) เป็นชั้นต้น ศาลสูง (High Court) เป็นศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลสูงสุด (Supreme Court) เป็นศาลชั้นสูงสุด แล้วมีสภาตุลาการ (Judicial Yuan) เป็นองค์กรสูงสุดในการดูแลระบบตุลาการของประเทศ ควบคุมกระทรวงยุติธรรม ศาลสูงสุด ศาลปกครอง และคณะกรรมาธิการระเบียบวินัยข้าราชการ สภาตุลาการมี ประธาน รองประธาน และตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิ 17 คน ทั้งหมดได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีโดยความเห็นชอบของสภาควบคุม

ผู้นำ[แก้]

นายหม่า อิงจิ่วประธานาธิบดีคนปัจจุบัน

นายหม่า อิงจิ่ว (Ma Ing-Jiu) ประธานาธิบดีจากพรรคก๊กมินตั๋ง นายเซียว ว่านฉาง (Shiao Wan-Chang) รองประธานาธิบดีจากพรรคก๊กมินตั๋ง ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไต้หวัน นายหลิว เจ้า เสวียน (Liu zao-xuen) นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 10 กันยายน 2009 นาย อู๋ ตุน อี้ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทน คณะรัฐมนตรีเก่าที่ลาออกเพื่อรับผิดชอบกรณีไต้ฝุ่นมรกต

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

นโยบายต่างประเทศ[แก้]

ปัจจุบันไต้หวันได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 25 ประเทศ (เบลีซ คอสตาริกา สาธารณรัฐโดมินิกัน เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส นิการากัว ปานามา ปารากวัย เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ เซนต์ลูเซีย บูร์กินาฟาโซ แกมเบีย มาลาวี เซาตูเมและปรินซิปี สวาซิแลนด์ คิริบาส หมู่เกาะมาร์แชลล์ นาอูรู ปาเลา หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู และนครรัฐวาติกัน) ไต้หวันมีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เนื่องจากกรอบนโยบายจีนเดียว ไต้หวันจึงให้ความสำคัญกับการกระชับความสัมพันธ์ในกรอบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกับประเทศต่างๆ ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่)

สำหรับนโยบายต่างประเทศของไต้หวันต่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไต้หวันได้ดำเนิน “นโยบายมุ่งสู่ใต้” (Go South Policy) เป็นนโยบายส่งเสริมให้ชาวไต้หวันมีการลงทุนกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไต้หวันต้องพึ่งพาจีนและใช้เศรษฐกิจเป็นช่องทางกระชับความสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้ กรอบเวทีระหว่างประเทศที่ไต้หวันเป็นสมาชิก ได้แก่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia Pacific Economic Cooperartion - APEC) ซึ่งเป็นสมาชิกในฐานะเขตเศรษฐกิจ (economy) และองค์การการค้าโลก (World Trade Organization - WTO) โดยเป็นการเข้าร่วมในฐานะที่เป็นเขตศุลกากรพิเศษ (custom territory) การเข้าร่วมในเวทีทั้งสองของไต้หวันจึงเป็นการเข้าร่วมในสถานะที่ไม่ใช่รัฐ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้]

A map of the world showing countries which have relations with the Republic of China. Only a few small countries recognize the ROC, mainly in Central, South America and Africa.
ประเทศที่มีการรับรองสาธารณรัฐจีนอย่างเป็นทางการ
  มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
  มีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ

สาธารณรัฐจีน พ.ศ. 2454-2492 (ค.ศ. 1911-1949)[แก้]

สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - ปัจจุบัน[แก้]

หลังจากพรรคก๊กมินตั๋งถอยหนีมาอยู่บนเกาะไต้หวัน ประเทศส่วนใหญ่ยังคงรักษาความสัมพันธ์กับรัฐบาลสาธารณรัฐจีนเอาไว้ แต่การรับรองสถานะก็ลดลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องเมื่อในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 มีหลายประเทศได้เปลี่ยนไปรับรองสถานะของสาธารณรัฐประชาชนจีนแทน ในปัจจุบัน สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันยังคงได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก 25 ประเทศซึ่งนอกจากทำเนียบสันตะปาปาแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศเล็ก ๆ ในแถบอเมริกากลางและแอฟริกา ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนมีนโยบายที่จะไม่สานสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศที่รับรองสถานะของสาธารณรัฐจีน และทุกประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยจะต้องมีแถลงการณ์รับรองสถานะของสาธารณรัฐประชาชนจีนเหนือไต้หวัน

ในทางปฏิบัติแล้ว ถึงแม้ว่าประเทศส่วนใหญ่จะไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน และแถลงการณ์ที่ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนต้องการนั้นก็ได้เขียนขึ้นโดยใช้คำกำกวมอย่างยิ่ง ประเทศสำคัญ ๆ บางประเทศที่ไม่ได้รับรองสถานะของสาธารณรัฐจีนก็จะมี "สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป" หรือ "สำนักงานตัวแทนไทเป" ซึ่งปฏิบัติงานต่าง ๆ ในลักษณะเดียวกับสถานทูต เช่น การออกวีซ่า เป็นต้น และในทำนองเดียวกัน หลายประเทศก็ได้จัดตั้งสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจขึ้นในสาธารณรัฐจีนเช่น สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย และสถาบันอเมริกาในไต้หวัน ซึ่งโดยพฤตินัยแล้วก็คือสถานทูตของประเทศต่าง ๆ นั่นเอง

สาธารณรัฐจีนเคยเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติในฐานะสมาชิกก่อตั้ง โดยได้อยู่ในตำแหน่งของประเทศจีนในคณะมนตรีความมั่นคงจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ที่ถูกขับออกโดย "มติสมัชชาสหประชาชาติที่ 2758 (General Assembly Resolution 2758)" และตำแหน่งทั้งหมดในองค์การสหประชาชาติก็ถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทางสาธารณรัฐจีนได้แสดงความพยายามหลายครั้งเพื่อกลับเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ (ดูที่ จีนและองค์การสหประชาชาติ)

นอกจากความขัดแย้งกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเหนือดินแดนบนแผ่นดินใหญ่แล้ว สาธารณรัฐจีนยังมีความขัดแย้งกับมองโกเลียอีกด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ที่สาธารณรัฐจีนได้อ้างสิทธิเหนือพื้นที่มองโกเลีย แต่ก็ถูกกดดันจากสหภาพโซเวียตจนกระทั่งยอมรับรองอิสรภาพของมองโกเลียในที่สุด หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้กลับคำรับรองนั้น และกล่าวอ้างสิทธิเหนือมองโกเลียอีกครั้งจนกระทั่งถึงเมื่อไม่นานนี้ นับจากช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์กับมองโกเลียได้กลายมาเป็นหัวข้อที่สร้างความขัดแย้ง ความเคลื่อนไหวใด ๆ ในการยกเลิกอำนาจอธิปไตยเหนือมองโกเลียจะเกิดการโต้แย้งทันที เนื่องจากทางสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อ้างว่า นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศอิสรภาพไต้หวัน

ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย[แก้]

ความสัมพันธ์ไต้หวัน – ไทย
Map indicating location of ไต้หวัน and ไทย

ไต้หวัน

ไทย

ตามแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 ไทยยอมรับว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องเพียงรัฐบาลเดียวของจีน และไต้หวันเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของจีน หรือสิ่งที่เรียกว่า "นโยบายจีนเดียว" ประเทศไทยจึงยุติการติดต่อที่เป็นทางการกับไต้หวัน แต่ยังคงมีการติดต่อเป็นปกติในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และแรงงาน โดยมีช่องทางการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการผ่านสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป (Taipei Economic and Cultural Office) ซึ่งเป็นตัวแทนของไต้หวัน ตั้งอยู่ที่ชั้น 20 เอ็มไพร์ทาวเวอร์ 195 ถนนสาธรใต้ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย (Thailand Trade and Economic Office) ไทเป เลขที่ 168, 12th Floor, Sung Chiang Road, Chungshan District, Taipei 104

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพสาธารณรัฐจีน

เศรษฐกิจ[แก้]

สาธารณรัฐจีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่14ของโลก หน่วยเงินตราที่ใช้ คือ ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ทรัพยากรธรรมชาติส่วนใหญ่มีจำนวนน้อย แต่เป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นสูงอุตสาหกรรมนั้นเป็นเน้นไปที่การผลิต มีการนำเข้าน้ำมันดิบและแร่เหล็ก เพื่อนำไปผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ ส่งออกไปจำหน่าย ถือเป็นการค้าโดยการผลิต ในปัจจุบันมีการนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

ประชากร[แก้]

รายชื่อเมืองในสาธารณรัฐจีนเรียงตามประชากร

อันดับที่ ชื่อเขต ชื่อภาษาจีน จำนวนตามประชากร
1 ซินเป่ย์ 新北市 3,779,219
2 ไทเป 台北市 2,627,990
3 เถาเยวียน 桃園縣 1,921,526
4 ชนบทไถโจวง 台中縣 1,546,114
5 เมืองเกาสฺยง 高雄市 1,516,115
6 จวางฮว่า 彰化縣 1,313,986
7 ชนบทเกาซีวง 高雄縣 1,244,282
8 ชนบทไถหนาน 台南縣 1,105,515
9 เมืองไถโจวง 台中市 1,050,160
10 ชนบทผิงตง 屏東縣 890,753
11 เมืองไถหนาน 台南市 762,486
12 ชนบทยวินหลิน 雲林縣 726,868
13 ชนบทเหมียวลี่ 苗栗縣 559,776
14 ชนบทเจียอี้ 嘉義縣 551,993
15 ชนบทหนานโถว 南投縣 533,903
16 ชนบทซินจู๋ 新竹縣 491,405
17 Yilan County 宜蘭縣 460,133
18 Hsinchu City 新竹市 396,983
19 Keelung City 基隆市 390,299
20 ฮวาเหลียน 花蓮縣 344,087
21 Chiayi City 嘉義市 272,718
22 Taitung County 台東縣 234,672
23 Penghu County 澎湖縣 92,077
24 Kinmen County 金門縣 79,023²
25 Lienchiang County 連江縣 9,814²

ศาสนา[แก้]

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนคุ้มครองเสรีภาพทางศาสนาและสิทธิในการปฏิบัติตามความเชื่อของประชาชน[9] ตามสถิติในปี ค.ศ. 2005 ประเทศไต้หวันมีพุทธศาสนิกชน 8,086,000 คน (35.1%) ศาสนิกชนเต๋า 7,600,000 คน (33.0%) คริสต์ศาสนิกชน 903,000 คน (3.9%) โดยเป็นโปรเตสแตนต์ 605,000 คน (2.6%) และโรมันคาทอลิก 298,000 คน (1.3%) และศาสนิกชนลัทธิอนุตตรธรรม 810,000 คน (3.5%) เป็นต้น[10][11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Taiwan (self-governing island, Asia)". Britannica Online Encyclopedia. 1975-04-05. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07. 
  2. "The Republic of China Yearbook 2009. Chapter 2 – People and Language". Government Information Office. 2009. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010. 
  3. "Interior minister reaffirms Taipei is ROC’s capital". Taipei Times. 5 December 2013. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013. 
  4. CIA World Factbook- GDP (PPP)
  5. Chan, Rachel (17 June 2009). "Taiwan needs to boost public awareness on climate change: EU envoy". China Post. สืบค้นเมื่อ 2009-07-22. 
  6. Yao, Grace; Yen-Pi Cheng and Chiao-Pi Cheng (6 October 2008). "The Quality of Life in Taiwan". Social Indicators Research 92 (The Quality of Life in Confucian Asia: From Physical Welfare to Subjective Well–Being). "a second place ranking in the 2000 Economist's world healthcare ranking" 
  7. http://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf
  8. "2010中華民國人類發展指數 (HDI)" (PDF) (ใน Chinese). Directorate General of Budget, Accounting and Statistics, Executive Yuan, R.O.C. 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-07-02. 
  9. Constitution of the Republic of China – Chapter II, Article 13: "The people shall have freedom of religious belief."
  10. "Taiwan Yearbook 2006". Government of Information Office. 2006. Archived from the original on 2007-07-08. สืบค้นเมื่อ 2007-09-01. 
  11. "2006 Report on International Religious Freedom". U.S. Department of State. 2006. สืบค้นเมื่อ 2007-09-01.