ประเทศอังกฤษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"อังกฤษ" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ อังกฤษ (แก้ความกำกวม)
ระวังสับสนกับ สหราชอาณาจักร
อังกฤษ
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญGod and my right
เพลงชาติใช้ "ก็อดเซฟเดอะควีน" (God Save the Queen) ตามสหราชอาณาจักรโดยพฤตินัย
แต่ไม่มีเพลงชาติในทางนิตินัย
ที่ตั้งของประเทศอังกฤษ (เขียวเข้ม)– ในทวีปยุโรป (เขียวอ่อนและเทาเข้ม)– ในสหราชอาณาจักร (เขียวอ่อน)
ที่ตั้งของประเทศอังกฤษ (เขียวเข้ม)
– ในทวีปยุโรป (เขียวอ่อนและเทาเข้ม)
– ในสหราชอาณาจักร (เขียวอ่อน)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ลอนดอน
51°30′N 0°7.65′W / 51.500°N 0.12750°W / 51.500; -0.12750
ภาษาราชการ ไม่ได้กำหนด
ภาษาอังกฤษ (โดยพฤตินัย)
การปกครอง ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
 -  พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2
 -  นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร เดวิด แคเมอรอน
สถาปนาเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ค.ศ.1707
พื้นที่
 -  รวม 130,395 ตร.กม. (-)
50,346 ตร.ไมล์ 
ประชากร
 -  2551 (ประเมิน) 51,446,000[1] 
 -  2544 (สำมะโน) 49,138,831 
 -  ความหนาแน่น 395 คน/ตร.กม. 
1,023 คน/ตร.ไมล์
สกุลเงิน ปอนด์สเตอร์ลิง (£) (GBP)
เขตเวลา GMT (UTC+0)
โดเมนบนสุด .uk
รหัสโทรศัพท์ 44

อังกฤษ (อังกฤษ: England) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร[2][3][4] มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเซลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์

ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ดี ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน พ.ศ. 1609 ปัจจุบัน ลอนดอนเป็นเขตมหานครใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรและพื้นที่เมืองใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรปเมื่อวัดด้วยเกณฑ์ส่วนใหญ่ ประชากรอังกฤษมีอยู่ราว 51 ล้านคน คิดเป็น 84% ของประชากรสหราชอาณาจักร และส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในกรุงลอนดอน ภาคตะวันออกเฉียงใต้และเขตเมืองขยายในภาคมิดแลนด์ส ภาคตะวันตกเฉียงเหนือและยอร์กเชอร์ ซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19


ราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งหลังจาก พ.ศ. 1827 รวมเวลส์เข้าไปด้วยนั้น เป็นรัฐอธิปไตยกระทั่งวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 เมื่อพระราชบัญญัติสหภาพมีผลใช้บังคับตามเงื่อนไขซึ่งตกลงกันในสนธิสัญญาสหภาพเมื่อปีก่อน ส่งผลให้มีการรวมทางการเมืองกับราชอาณาจักรสกอตแลนด์ และสถาปนาราชอาณาจักรบริเตนใหญ่[5][6] พ.ศ. 2344 บริเตนใหญ่รวมกับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ผ่านพระราชบัญญัติสหภาพอีกฉบับหนึ่งกลายเป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พ.ศ. 2465 รัฐอิสระไอร์แลนด์ได้รับการสถาปนาเป็นอาณาจักรแยกต่างหาก แต่ Royal and Parliamentary Titles Act 1927 รวมไอร์แลนด์เหนือเข้ากับสหราชอาณาจักรอีกครั้ง และสถาปนาสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือปัจจุบันอย่างเป็นทางการ

ภูมินามวิทยา[แก้]

คำว่า "อิงแลนด์" (England) มาจากชื่อ อิงลาแลนด์ หมายถึง "ดินแดนแห่งแองเกิล"[7] ซึ่งชาวแองเกิลเป็นชนเผ่าหนึ่งในบรรดาชนเผ่าเยอรมันหลายเผ่าที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนนี้ ตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 6

ประวัติศาตร์[แก้]

การปกครอง[แก้]

ภูมิศาสตร์[แก้]

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของอังกฤษ (1981 - 2010) Extremes (1906 - Present)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภมูิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 17.6
(63.7)
19.7
(67.5)
25.6
(78.1)
29.4
(84.9)
32.8
(91)
35.6
(96.1)
36.7
(98.1)
38.5
(101.3)
35.6
(96.1)
29.9
(85.8)
21.1
(70)
17.7
(63.9)
38.5
(101.3)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 6.9
(44.4)
7.2
(45)
9.8
(49.6)
12.4
(54.3)
15.8
(60.4)
18.6
(65.5)
20.9
(69.6)
20.7
(69.3)
17.9
(64.2)
13.9
(57)
9.9
(49.8)
7.2
(45)
13.5
(56.3)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 4.1
(39.4)
4.2
(39.6)
6.2
(43.2)
8.2
(46.8)
11.3
(52.3)
14.1
(57.4)
16.3
(61.3)
16.1
(61)
13.8
(56.8)
10.4
(50.7)
6.9
(44.4)
4.4
(39.9)
9.7
(49.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.3
(34.3)
1.1
(34)
2.6
(36.7)
3.9
(39)
6.7
(44.1)
9.5
(49.1)
11.7
(53.1)
11.5
(52.7)
9.6
(49.3)
6.9
(44.4)
3.8
(38.8)
1.6
(34.9)
5.9
(42.6)
อุณหภมูิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -26.1
(-15)
-20.6
(-5.1)
-21.1
(-6)
-15.0
(5)
-9.4
(15.1)
-5.6
(21.9)
-1.7
(28.9)
-2.0
(28.4)
-5.6
(21.9)
-10.6
(12.9)
-15.5
(4.1)
-25.2
(-13.4)
-26.1
(-15)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 82.9
(3.264)
60.3
(2.374)
64.0
(2.52)
58.7
(2.311)
58.4
(2.299)
61.8
(2.433)
62.6
(2.465)
69.3
(2.728)
69.7
(2.744)
91.7
(3.61)
88.2
(3.472)
87.2
(3.433)
854.8
(33.654)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 13.2 10.4 11.5 10.4 9.9 9.6 9.5 9.9 9.9 12.6 13.1 12.7 132.8
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 54.2 74.3 107.6 155.2 190.6 182.6 193.5 182.5 137.2 103.1 64.5 47.3 1,492.7
แหล่งที่มา: Met Office[8]

เศรษฐกิจ[แก้]

สุขภาพ[แก้]

ประชากรศาสตร์[แก้]

การศึกษา[แก้]

วัฒนธรรม[แก้]

กีฬา[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Office for National Statistics. "Population estimates for UK, England and Wales, Scotland and Northern Ireland – current datasets". statistics.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05. [ลิงก์เสีย]
  2. Office for National Statistics. "The Countries of the UK". statistics.gov.uk. Archived from the original on 20 December 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-02-01. 
  3. "Countries within a country". number-10.gov.uk. Archived from the original on 2008-02-09. สืบค้นเมื่อ 2009-02-01.  Unknown parameter |unused_data= ignored (help)
  4. "Changes in the list of subdivision names and code elements (Page 11)" (PDF). International Organization for Standardization. สืบค้นเมื่อ 2009-02-01. 
  5. William E. Burns, A Brief History of Great Britain, p. xxi
  6. Acts of Union 1707 parliament.uk, accessed 27 January 2011
  7. "England". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 21 July 2010. 
  8. "England 1981–2010 averages". Met Office. 2012. 
  9. "Scotland 1971–2000 averages". Met Office. 2012. 

ดูเพิ่ม[แก้]