ประเทศฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับประเทศในทวีปยุโรป สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ฝรั่งเศส (แก้ความกำกวม)
สาธารณรัฐฝรั่งเศส
République Française (ฝรั่งเศส)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญLiberté, Égalité, Fraternité
("เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ")
เพลงชาติลามาร์แซแยซ
ที่ตั้งของ ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ (เขียวเข้ม) ในทวีปยุโรป (เขียวอ่อนและเทาเข้ม) ในสหภาพยุโรป (เขียวอ่อน)
ที่ตั้งของ ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ (เขียวเข้ม)
ในทวีปยุโรป (เขียวอ่อนและเทาเข้ม)
ในสหภาพยุโรป (เขียวอ่อน)
ดินแดนของฝรั่งเศสทั่วโลก

ดินแดนของฝรั่งเศสทั่วโลก

เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ปารีส
48°51′N 2°20′E / 48.850°N 2.333°E / 48.850; 2.333
ภาษาราชการ ภาษาฝรั่งเศส
การปกครอง สาธารณรัฐเดี่ยว กึ่งประธานาธิบดี
 -  ประธานาธิบดี ฟร็องซัว ออล็องด์
 -  นายกรัฐมนตรี มานุแอล วาลส์
การสร้างชาติ
 -  รัฐฝรั่งเศส พ.ศ. 1386 (สนธิสัญญาแวร์เดิง
 -  ปัจจุบัน พ.ศ. 2501 (สาธารณรัฐที่ 5
เข้าร่วมสหภาพยุโรป 25 มีนาคม พ.ศ. 2500
พื้นที่
 -  รวม 632,834 ตร.กม. (43)
213,011 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) ?
ประชากร
 -  2550 (ประเมิน) 64,102,1401 (20)
 -  ความหนาแน่น 112 คน/ตร.กม. (68)
290.1 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 1.871 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (7)
 -  ต่อหัว 30,100 ดอลลาร์สหรัฐ (24)
HDI (2556) 0.884 (สูงมาก) (20)
สกุลเงิน ยูโร2 (EUR)
เขตเวลา CET (UTC+13)
 -  (DST) CEST (UTC+23)
โดเมนบนสุด .fr
รหัสโทรศัพท์ 33
หมายเหตุ 1:
หมายเหตุ 2: ดินแดนโพ้นทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกใช้ฟรังก์ซีเอฟพี
3เฉพาะฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปเท่านั้น

ฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: France) หรือ สาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: République Française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง

ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย

ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง

เนื้อหา

ที่มาและประวัติของชื่อ[แก้]

คำว่า ฝรั่งเศส (France) มาจากคำในภาษาละตินว่า Francia ซึ่งแปลตามตรงว่า ดินแดนของชาวแฟรงก์ (Frankland) และมีหลายทฤษฎีที่สันนิษฐานถึงที่มาของคำว่า แฟรงก์ (Franks) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคำในภาษาโปรโต-เยอรมันว่า Frankon ซึ่งแปลว่า หลาว หอก หรือทวนซึ่งเป็นอาวุธของพวกแฟรงก์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ฟรานซิสกา (Francisca)

อีกทฤษฎีหนึ่งตามหลักนิรุกติศาสตร์คือในภาษาเยอรมันโบราณ คำว่า แฟรงก์ แปลว่าอิสระ ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นทาส โดยคำดังกล่าวยังคงปรากฏในภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันในรูป ฟรังก์ (Franc) ซึ่งเป็นสกุลเงินของประเทศฝรั่งเศสจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นสกุลเงินยูโรในปี พ.ศ. 2545

ในปัจจุบันประเทศเยอรมนียังเรียกประเทศฝรั่งเศสว่า Frankreich ซึ่งแปลว่า อาณาจักรของชาวแฟรงก์ อีกด้วย

ภูมิศาสตร์[แก้]

ขณะที่ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรป (La Métropole หรือ France métropolitaine) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ฝรั่งเศสก็ยังมีดินแดนที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทะเลแคริบเบียน อเมริกาใต้ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกและทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ รวมทั้งบางส่วนในทวีปแอนตาร์กติกาอีกด้วย (การอ้างสิทธิเหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาไม่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ ดู สนธิสัญญาแอนตาร์กติก)

ภาพถ่ายแผ่นดินใหญ่ประเทศฝรั่งเศสจากดาวเทียมในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545

ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปนั้นมีพื้นที่ 543,935 ตารางกิโลเมตร (210,013 ตารางไมล์) ทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งใหญ่กว่าประเทศสเปนเพียงนิดเดียว ประเทศฝรั่งเศสมีพื้นที่ครอบคลุมลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายมาก ตั้งแต่ที่ราบชายฝั่งในภาคเหนือและตะวันตก ซึ่งติดกับทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ไปจนถึงเทือกเขาแอลป์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ราบสูงมาซิฟซ็องทราลทางภาคใต้ตอนกลางและเทือกเขาพิเรนีสทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศฝรั่งเศสยังมีจุดที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตะวันตกคือ ยอดเขามงบล็อง (Mont Blanc) ซึ่งสูง 4,807 เมตร (15,770 ฟุต) ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอลป์ บริเวณชายแดนประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี

ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปยังมีแม่น้ำต่าง ๆ ที่สำคัญอีกมากมาย เช่น แม่น้ำลัวร์ แม่น้ำการอน แม่น้ำแซน และแม่น้ำโรนซึ่งแบ่งที่ราบสูงมาซิฟซ็องทราลออกจากเทือกเขาแอลป์อีกด้วย โดยไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่กามาร์ก ซึ่งเป็นจุดที่ต่ำที่สุดในประเทศฝรั่งเศส (2 เมตร หรือ 6.5 ฟุต จากระดับน้ำทะเล) และยังมีกอร์ส (คอร์ซิกา) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

พื้นที่ของประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งจังหวัดและดินแดนโพ้นทะเล (ไม่รวมดินแดนอาเดลี) คือ 674,843 ตารางกิโลเมตร (260,558 ตารางไมล์) นับเป็น 0.45% ของพื้นแผ่นดินโลกทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามประเทศฝรั่งเศสครอบครองพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะเป็นอันดับสองของโลก ด้วยเนื้อที่ 11,035,000 ตารางกิโลเมตร (4,260,000 ตารางไมล์) นับเป็น 8% ของพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะทั้งหมดในโลก ตามหลังสหรัฐอเมริกา ไปเพียง 316,000 ตารางกิโลเมตร และนำประเทศออสเตรเลียกว่า 2,886,750 ตารางกิโลเมตร

แผนที่ดินแดนของฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปตั้งอยู่ระหว่าง 41° and 50° เหนือ บนขอบทวีปยุโรปตะวันตกและตั้งอยู่ในภูมิอากาศเขตอบอุ่นเหนือ ทางภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีสภาพภูมิอากาศเขตอบอุ่น แต่กระนั้นภูมิประเทศและทะเลก็มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศเหมือนกัน ละติจูด ลองจิจูดและความสูงเหนือระดับน้ำทะเลทำให้ประเทศฝรั่งเศสมีภูมิอากาศแบบคละอีกด้วย ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภาคตะวันตกส่วนมากจะมีปริมาณน้ำฝนสูง ฤดูหนาวไม่มากและฤดูร้อนเย็นสบาย ภายในประเทศภูมิอากาศจะเปลี่ยนไปทางภาคพื้นทวีปยุโรป อากาศร้อน มีมรสุมในฤดูร้อน ฤดูหนาวหนาวกว่าเดิมและมีฝนตกน้อย ส่วนภูมิอากาศเทือกเขาแอลป์และแถบบริเวณเทือกเขาอื่น ๆ ส่วนมากมักจะมีภูมิอากาศแถบเทือกเขา ด้วยอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งกว่า 150 วันต่อปีและปกคลุมด้วยหิมะกว่า 6 เดือน

ประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส

ชาวฝรั่งเศสสืบเชื้อสายมาจากพวกโกล (Gaul)ในศตวรรษที่ 1 จากนั้นตกมาอยู่ใต้การปกครองของพวกแฟรงก์ (ชื่อประเทศ France มาจากคำว่าแฟรงก์เช่นกัน) ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ที่มีบันทึกว่าเริ่มในศตวรรษที่ 5 เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญตั้งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 843 ก็มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี

ราชสำนักฝรั่งเศสขึ้นสู่จุดสูงสุดในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งในยุคนี้ฝรั่งเศสได้เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในยุโรป และมีอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจศิลปะ และ วัฒนธรรม ต่อยุโรปเป็นอย่างมาก

ภาพ La Liberté guidant le peuple หรือ เสรีภาพนำประชาชน เล่าเรื่องเหตุการณ์ตอนปฏิวัติฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16ในปี ค.ศ. 1792 จึงเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐ หลังจากนั้นนโปเลียน โบนาปาร์ตได้ตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิและรุกรานประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสจึงกลับมาใช้ระบบสาธารณรัฐอีกครั้ง เรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่สอง แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะหลุยส์ นโปเลียน หลานลุงของนโปเลียนได้ยึดประเทศและตั้งจักรวรรดิที่สองอีกครั้ง

ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง ทศวรรษที่ 60 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม จักรวรรดิฝรั่งเศสมีพื้นที่ใหญ่มาก โดยช่วงที่ใหญ่ที่สุดคือช่วงยุคทศวรรษที่ 20 ถึง 30 ซึ่งมีกว่า 12,898,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นจักรวรรดิอันดับสองของโลก รองมาจากจักรวรรดิอังกฤษ

ฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจุบันใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี (เรียกยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ทศวรรษที่ผ่านมาฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำของการรวมตัวตั้งประชาคมยุโรป ซึ่งพัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน

ฝรั่งเศสยังเป็น 1 ใน 5 สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง

การเมือง[แก้]

สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2501 โดยผ่านการลงประชามติ สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญนั้นคือการเพิ่มอำนาจประธานาธิบดี

บริหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลฝรั่งเศส

อำนาจฝ่ายบริหารนั้นถูกแบ่งออกและมีหัวหน้า 2 คน ซึ่งก็คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงแบบสากล มีวาระ 5 ปี (เดิม 7 ปี) มีตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอีกด้วย และนายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

นิติบัญญัติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาฝรั่งเศส

รัฐสภาฝรั่งเศสนั้นแบ่งออกเป็น 2 สภาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) และ วุฒิสภา (Sénat) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีและเสียงข้างมากในสภาสามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาลอีกด้วย สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกของคณะผู้เลือกตั้ง มีวาระ 6 ปี (เดิม 9 ปี)

ตุลาการ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กฎหมายฝรั่งเศส

สถานการณ์การเมือง[แก้]

สิทธิมนุษยชน[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ (Metropolitan France - "France métropolitaine, la Métropole, l'Hexagone") แบ่งการปกครองออกเป็น

  • 22 แคว้น (regions - régions) ได้แก่
  1. อาลซัส (Alsace)
  2. อากีแตน (Aquitaine)
  3. โอแวร์ญ (Auvergne)
  4. บัส-นอร์ม็องดี (Basse-Normandie)
  5. บูร์กอญ (Bourgogne)
  6. เบรอตาญ (Bretagne)
  7. ซ็องทร์ (Centre)
  8. ช็องปาญาร์แดน (Champagne-Ardenne)
  9. กอร์ส (คอร์ซิกา) (Corse)
  10. ฟร็องช์-กงเต (Franche-Comté)
  11. โอต-นอร์ม็องดี (Haute-Normandie)
  1. อีล-เดอ-ฟร็องส์ (Île-de-France)
  2. ล็องก์ด็อก-รูซียง (Languedoc-Roussillon)
  3. ลีมูแซ็ง (Limousin)
  4. ลอแรน (Lorraine)
  5. มีดี-ปีเรเน (Midi-Pyrénées)
  6. นอร์-ปาดกาแล (Nord-Pas-de-Calais)
  7. เปอีเดอลาลัวร์ (Pays de la Loire)
  8. ปีการ์ดี (Picardie)
  9. ปัวตู-ชาร็องต์ (Poitou-Charentes)
  10. พรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ (Provence-Alpes-Côte d'Azur)
  11. โรนาลป์ (Rhône-Alpes)
FranceRegionsNumbered.png

โดยในแต่ละแคว้นแบ่งออกเป็น จังหวัด (départements) รวมทั้งหมด 96 จังหวัด

นอกจากในทวีปยุโรปแล้ว ประเทศฝรั่งเศสยังมีเขตการปกครองโพ้นทะเล (Overseas) อยู่ในทวีปต่าง ๆ ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา แอนตาร์กติกา และภูมิภาคโอเชียเนียอีก ได้แก่

Départements+régions (France).svg

นโยบายต่างประเทศ[แก้]

ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป[แก้]

ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย[แก้]

ความสัมพันธ์ฝรั่งเศส – ไทย
Map indicating location of ฝรั่งเศส and ไทย

ฝรั่งเศส

ไทย

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพฝรั่งเศส

กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

ประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศพึ่งอยู่กับพลังงานนิวเคลียร์ (เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์กอลเฟค)

เมื่อดูจากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 4 ของโลก ประเภทของอุตสาหกรรมที่เป็นที่มาของความสำเร็จดังกล่าว ได้แก่ อุตสาหกรรมทางด้านการขนส่ง โทรคมนาคม อุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์ยา รวมไปถึงภาคธนาคาร การประกันภัย การท่องเที่ยว และสินค้าฟุ่มเฟือย (เครื่องหนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำหอมและเหล้า)

ในปี พ.ศ. 2547 ประเทศฝรั่งเศสเสียเปรียบดุลการค้าถึง 6.6 พันล้านยูโร ถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกทางด้านสินค้าทุน (ส่วนมากจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์) และเป็นอันดับ 2 ในส่วนของภาคบริการและทางด้านเกษตรกรรม (โดยเฉพาะธัญพืชและอุตสาหกรรมอาหาร) ส่วนในระดับภูมิภาคยุโรป ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าการเกษตรรายใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ สัดส่วนการค้าระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 70 (ร้อยละ 50 เฉพาะประเทศในโซนยูโร)

ในด้านการลงทุน ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้เพราะผู้ลงทุนพอใจในคุณภาพของแรงงานชาวฝรั่งเศส การค้นคว้าวิจัยขั้นสูง เทคโนโลยีชั้นสูงที่ก้าวหน้ามาก เสถียรภาพของค่าเงิน และการควบคุมต้นทุนการผลิต

ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองลงมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา (59 เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ใน 19 โรงงานปรมาณูทั่วประเทศ) การผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศ 88% มาจากพลังงานนิวเคลียร์ ค่าไฟฟ้าในประเทศราคาถูกกว่าประเทศใกล้เคียง จึงมีการส่งออกกระแสไฟฟ้าไปยังประเทศอื่น [1]

เกษตรกรรม[แก้]

ประเทศฝรั่งเศสมีจำนวนพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรกว่า 590,000 แห่ง มีประชากรในวัยทำงานในภาคการเกษตร 1,189,000 คน และมีพื้นที่เพาะปลูก 27,668,000 เฮกตาร์หรือเท่ากับร้อยละ 50.7 ของประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ โดยมีผลิตผลทางการเกษตรหลักดังนี้

ส่วนด้านการทำปศุสัตว์และการผลิตเนื้อสัตว์นั้น มีดังนี้

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ภายกลุ่มประชาคมยุโรปกว่าร้อยละ 58.6 ของการค้าทั้งหมดของประเทศฝรั่งเศสคือ ประเทศเยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก สหราชอาณาจักร สเปนและอิตาลี ที่เหลือได้แก่ สหรัฐอเมริกา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และแอลจีเรีย

การค้าต่างประเทศ[แก้]

เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 เครื่องแรกที่ผลิตในเมืองตูลูส เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 โดยเครื่องบินแอร์บัสเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความสำเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศสและสหภาพยุโรป

ในอดีตประเทศฝรั่งเศสขาดดุลการค้ามาโดยตลอดจนถึงปี พ.ศ. 2525 ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างใหม่ เช่น การไม่รวมอัตรารายได้กับดัชนีเงินเฟ้อ และการปรับความสามารถในการแข่งขันส่งผลให้สภาวะการค้าของประเทศฝรั่งเศสดีขึ้น และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสก็ได้เปรียบดุลการค้าติดต่อกันเรื่อยมา โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ฝรั่งเศสได้เปรียบดุลการค้า คือ ราคาพลังงานที่ฝรั่งเศสต้องนำเข้าได้ลดลง ประเทศฝรั่งเศสทำการค้ากับสหภาพยุโรปเป็นสำคัญโดยร้อยละ 60 ของการส่งออกของฝรั่งเศสส่งไปยังตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งเดิมถือว่าเป็นจุดอ่อนของประเทศฝรั่งเศส แต่สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้กลายเป็นข้อได้เปรียบ และการส่งออกสินค้ามูลค่าสูงเช่น เครื่องบินแอร์บัส และอุปกรณ์การบิน ดาวเทียม อุปกรณ์ด้านการทหาร และรถไฟความเร็วสูง (TGV) ได้ขยายตัวอย่างมากโดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของการส่งออกของประเทศฝรั่งเศสทั้งหมด

แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจในอนาคต คาดว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้เปรียบดุลการค้าลดลง เนื่องจากการถดถอยของอุปสงค์โลก ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจเอเชีย ในปี พ.ศ. 2541 และการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกาและสงครามในอิรัก[2]

การท่องเที่ยว[แก้]

พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส

จำนวน 81.9 ล้านคนนี้ ไม่รวมนักท่องเที่ยวที่อาศัยในประเทศฝรั่งเศสน้อยกว่า 24 ชั่วโมง เช่น ชาวยุโรปทางตอนเหนือที่เดินทางผ่านประเทศฝรั่งเศสเพื่อไปประเทศสเปนหรืออิตาลีในฤดูร้อน ประเทศฝรั่งเศสมีสถานที่ท่องเที่ยวในทุก ๆ บรรยากาศไม่ว่าจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมหรือธรรมชาติ ที่ประกอบไปด้วยทะเล หาดทราย ป่า แม่น้ำ ภูเขา บ้านพักตากอากาศ ฯลฯ สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดมีดังนี้[3] หอไอเฟล (6.2 ล้าน), พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (5.7 ล้าน) , พระราชวังแวร์ซายส์ (2.8 ล้าน) , พิพิธภัณฑ์ออร์เซ (2.1 ล้าน) , ประตูชัยฝรั่งเศส (1.2 ล้าน) , ซองตร์ ปอมปิดู (1.2 ล้าน) , มง-แซ็ง-มีแชล (1 ล้าน) , พระราชวังช็องบอร์ (711,000) , วิหารแซ็งต์-ชาแปล (683,000) , ชาโต ดู โอต์-โคนิคบูร์ก (549,000) , ปุย เดอ โดม (5 แสน) , พิพิธภัณฑ์ปิกัสโซ (441,000) และการ์กาซอน (362,000)

ประเทศฝรั่งเศสมีโรงแรมกว่า 18,217 แห่ง สถานที่ตั้งแคมป์ 8,289 แห่ง หมู่บ้านตากอากาศ 1001 แห่ง บ้านพักเยาวชน 188 แห่ง ที่พักราคาย่อมเยาในต่างจังหวัด 63,158 แห่ง ห้องพักพร้อมอาหารเช้าตามบ้านคนท้องถิ่น 31,013 ห้อง โดยประเทศฝรั่งเศสมีรายได้จากการท่องเที่ยว 32.8 พันล้านยูโร นับเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและอิตาลี และมีดุลการท่องเที่ยวเกินดุลกว่า 9.8 พันล้านยูโร

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

คมนาคม[แก้]

โทรคมนาคม[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]

การศึกษา[แก้]

สาธารณสุข[แก้]

สวัสดิการสังคม[แก้]

ประชากร[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: ชาวฝรั่งเศส

ประชากรของประเทศฝรั่งเศสนั้นมีประมาณ 64.5 ล้านคน โดยเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก เมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรจำนวนมากได้แก่ ปารีส มาร์แซย์ ลียง ลีล ตูลูซ นิส และน็องต์

ภาษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภาษาในฝรั่งเศส

ศาสนา[แก้]

ประเทศฝรั่งเศสนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกเป็นส่วนใหญ่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ในฝรั่งเศสมีพวกแขกอินเดียบางส่วน นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และ ศาสนาซิกส์

กีฬา[แก้]

ฟุตบอล[แก้]

มวยสากล[แก้]

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมฝรั่งเศส

ชาวฝรั่งเศสมีวัฒนธรรมการนอนกลางวัน จึงส่งผลให้ประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสชอบนอนกลางวันตามไปด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนลึกของวัฒนธรรม คล้ายคลึงกับของอังกฤษและอิตาลีอยู่แล้ว ไม่สามารถแบ่งได้ชัดเจนเด่นชัด เช่น การจับมือ ภาษา เป็นต้น เนื่องจากชนพื้นเมืองเป็น ชนผิวดำ และสีผิว จึงได้วัฒนธรรมตามกันมา

วรรณกรรม[แก้]

สถาปัตยกรรม[แก้]

ศิลปะ[แก้]

ดนตรี[แก้]

สื่อสารมวลชน[แก้]

ดูบทความหลักที่: สื่อสารมวลชนฝรั่งเศส

วันหยุด[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]


อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

รัฐบาล
เศรษฐกิจ
การศึกษา
วัฒนธรรม
การท่องเที่ยว