วัณโรค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัณโรค
(Tuberculosis)
Tuberculosis-x-ray-1.jpg
ภาพเอกซเรย์ทรวงอกของผู้ป่วยวัณโรค
การจำแนกและแหล่งข้อมูลภายนอก
ICD-10 A15-A19
ICD-9 010-018
OMIM 607948
DiseasesDB 8515
MedlinePlus 000077 000624
eMedicine med/2324 emerg/618 radio/411
MeSH C01.252.410.040.552.846

วัณโรค (อังกฤษ: Tuberculosis) หรือ MTB หรือ TB (ย่อจาก tubercle bacillus) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis[1] วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ[2] การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50%

อาการตรงต้นแบบมีไอเรื้อรังร่วมกับเสมหะมีเลือดปน ไข้ เหงื่อออกกลางคืน และน้ำหนักลด การติดเชื้อในอวัยวะอื่นก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย การวินิจฉัยต้องอาศัยรังสีวิทยา (โดยมากคือ การเอ็กซ์เรย์อก) การทดสอบโรคบนผิวหนัง การตรวจเลือด เช่นเดียวกับการตรวจโดยทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อจุลชีววิทยาต่อของเหลวในร่างกาย การรักษานั้นยากและต้องอาศัยการปฏิชีวนะยาวหลายคอร์ส

คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M. tuberculosis[3][4] และมีการติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที ใน พ.ศ. 2550 มีการประเมินว่ามีกรณีมีฤทธิ์เรื้อรัง 13.7 ล้านคน[5] และใน พ.ศ. 2553 มีกรณีใหม่ 8.8 ล้านกรณี และผู้เสียชีวิต 1.45 ล้านคน ส่วนมากในประเทศกำลังพัฒนา[6] จำนวนสัมบูรณ์ผู้ป่วยวัณโรคลดลงตั้งแต่ พ.ศ. 2549 และกรณีใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2545[6] นอกเหนือจากนี้ คนในประเทศกำลังพัฒนาติดต่อวัณโรคมากกว่า เพราะระบบภูมิคุ้มกันมีแนวโน้มเป็นอันตรายมากกว่าเนื่องจากอัตราโรคเอดส์ที่สูงกว่า[7] การกระจายของวัณโรคไม่ได้เป็นแบบแผนทั่วโลก ราว 80% ของประชากรในประเทศเอเชียและแอฟริกาหลายประเทศให้ผลบวกเมื่อทดสอบผิวหนัง ขณะที่ประชากรสหรัฐอเมริกาเพียง 5-10% เท่านั้นที่ให้ผลบวก[1]

อาการ[แก้]

  1. ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ บางรายไอแห้งๆ บางรายอาจมีเสมหะสี เหลือง เขียว หรือไอปนเลือด
  2. เจ็บแน่นหน้าอก
  3. มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายหรือเย็น
  4. เหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย
  5. เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

การปฏิบัติตนเมื่อเป็นวัณโรค[แก้]

  1. กินยาตามชนิดและขนาดที่แพทย์สั่งให้อย่างสม่ำเสมอจนครบกำหนด
  2. หลังกินยาไประยะหนึ่ง อาการไอและอาการทั่วๆไปจะดีขึ้น อย่าหยุดกินยาเด็ดขาด
  3. ควรงดสิ่งเสพติดทุกชนิด เช่น เหล้า บุหรี่ ฯลฯ
  4. สวมผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น
  5. เปลี่ยนผ้าปิดจมูกที่สวม บ่อยๆเพราะผ้าปิดจมูกเอง ก็เป็นพาหะได้เช่นกัน
  6. บ้วนเสมหะลงในภาชนะ หรือกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิด
  7. จัดบ้านให้อากาศถ่ายเทสะดวก ให้แสงแดดส่องถึงและหมั่นนำเครื่องนอนออกตากแดด
  8. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้ทุกชนิด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อปลา และนม ไข่ ผัก และผลไม้
  9. นอนกลางวันอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อนำโปรตีนจากอาหารรับประทานเข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
  10. ไม่เที่ยวในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด เพราะ อาจนำเชื้อไปแพร่ให้ผู้อื่น หรือ ติดเชื้อโรคจากผู้อื่นเข้าสู่ร่างกายเพิ่มเติม
  11. ในระยะ 2 เดือนแรกหลังจากเริ่มการรักษา (เรียกว่า "ระยะแพร่เชื้อโรค") ผู้ป่วยควรจะนอนในห้องที่มีอากาศถ่ายเท และ นอนแยกห้องกับสมาชิกในครอบครัว รวมไปถึงการรับประทานอาหาร การใช้ถ้วยชาม และเสื้อผ้า ควรแยกล้าง หรือ แยกซักต่างหาก และต้องนำไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค
  12. หลังจากแพทย์ลงความเห็นว่าพ้นจากระยะแพร่เชื้อโรคแล้ว ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวได้ดังเช่นเดิม เช่น การนอน การรับประทานอาหาร และซักผ้าร่วมกับสมาชิกผู้อื่น โดยในระยะนี้ผู้ป่วยต้องทานยาอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 4 เดือน (โรควัณโรคจะต้องใช้เวลาในการรักษาระยะสั้นที่สุด 6 เดือน ยาวที่สุด 1 - 2 ปี)

การป้องกัน[แก้]

  1. ถ้ามีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยว่าเป็นวัณโรค เช่น ไอเรื้อรัง 2 สัปดาห์ขึ้นไป มีไข้ต่ำๆโดยเฉพาะตอนบ่ายๆหรือค่ำๆ เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ควรรีบไปรับการตรวจรักษาโดยการเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ
  2. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  3. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การส่ำส่อนทางเพศ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์ เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรค จะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
  4. ประชาชนทั่วไป ควรตรวจร่างกายโดยการเอกซ์เรย์ปอดหรือตรวจเสมหะ (AFB) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ถ้าพบว่าเป็นวัณโรคจะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
  5. ในเด็กควรได้รับการฉีดวัคซีนบีซีจี (Bacilus Calmette Guerin) รวมถึงผู้ที่ทำการทดสอบทูเบอร์คูลินเทสท์ (Tuberculin test) ให้ผลเป็นลบ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

แนวทางการรักษา[แก้]

ในปัจจุบัน โรควัณโรคเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ โดยใช้ระยะเวลาการรักษาสั้นที่สุด 6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเองว่ากินยาครบตามที่แพทย์สั่งหรื่อไม่ ถ้ากินๆหยุดๆอาจทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อวัณโรคดื้อยา (MDR TB,XDR TB) ได้ จะทำให้ระยะเวลาการรักษายาวนานและการรักษายากมากยิ่งขึ้น

ยาวัณโรคในปัจจุบันหลักๆจะมีอยู่ 4 ชนิดคือ

  1. Isoniazid
  2. Rifampicin
  3. pyrazinamide
  4. Ethambutol

ยาที่กล่าวมาในข้างต้นนี้มีผลข้างเคียงของยาทุกตัว จึงต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์ ถ้าซื้อหรือหามารับประทานเองอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

วัณโรคกับเอดส์[แก้]

วัณโรคและโรคเอดส์ เป็นแนวร่วมมฤตยูที่สามารถเพิ่มผลกระทบให้มีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคได้สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อเอดส์ โดยผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ จะมีผลกระทบต่อวัณโรค ทั้งในส่วนของการวินิจฉัยและการรักษา ซึ่งจะทำให้เกิดความยุ่งยากมากขึ้นในด้านการรักษา ผู้ป่วยมักขาดยา กินยาไม่สม่ำเสมอ นำไปสู่การดื้อยา ทำให้มีอัตราการรักษาหายต่ำ และจะส่งผลให้อัตราการตายสูง นอกจากนี้ ยังพบอัตราการกลับเป็นวัณโรคซ้ำมากขึ้น รวมทั้ง นำเชื้อวัณโรคดื้อยาแพร่กระจายแก่ผู้อื่นได้ง่าย

ความล่าช้าและผลกระทบ[แก้]

ความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค หมายถึง ระยะเวลาที่ผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการจนถึงระยะเวลาผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถแบ่งความล่าช้าออกได้ 4 ระยะ ดังนี้[8]

  1. ความล่าช้าจากผู้ป่วย '(Patient's Delays)'คือ' ระยะเวลาเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยมีอาการเข้าได้กับวัณโรค และสิ้นสุดในวันสุดท้ายก่อนเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์
  2. ความล่าช้าจากระบบการส่งต่อ '(Referral’s delays)'คือ' เป็นช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการเริ่มแรกมารับการรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขครั้งแรก แล้วได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ทำการวินิจฉัยวัณโรค
  3. ความล่าช้าจากการวินิจฉัย '(Diagnosis’s delays)'คือ' ระยะเวลาเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามารับการตรวจวินิจฉัยที่ระบบบริการสุขภาพของรัฐครั้งแรก และสิ้นสุดเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยป่วยเป็นวัณโรค
  4. ความล่าช้าจากการรักษา '(Treatment’s delays)'คือ' ระยะเวลาเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย และสิ้นสุดเมื่อเริ่มต้นรักษาครั้งแรก

ผลกระทบที่เกิดจากความล่าช้าในการรักษา ประกอบด้วย 2 ระดับ คือ

  1. ระดับตัวบุคคล 'คือ' ผลกระทบของการเกิดโรคต่อร่างกายของผู้ป่วยเอง เช่น อาการหอบเรื้อรังแม้รักษาหายแล้ว เป็นต้น
  2. ระดับสังคม 'คือ' ผลกระทบที่บุคคลที่ป่วยจะนำเชื้อโรคไปแพร่สู่สังคม ทำให้เกิดการระบาดของโรคยากที่จะสามารถควบคุมได้

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Kumar V, Abbas AK, Fausto N, Mitchell RN (2007). Robbins Basic Pathology (8th ed.). Saunders Elsevier. pp. 516–522. ISBN 978-1-4160-2973-1. 
  2. Konstantinos A (2010). "Testing for tuberculosis". Australian Prescriber 33 (1): 12–18. 
  3. "Tuberculosis Fact sheet N°104". World Health Organization. November 2010. สืบค้นเมื่อ 26 July 2011. 
  4. Jasmer RM, Nahid P, Hopewell PC (2002). "Clinical practice. Latent tuberculosis infection". N. Engl. J. Med. 347 (23): 1860–6. doi:10.1056/NEJMcp021045. PMID 12466511. , which cites Dolin PJ, Raviglione MC, Kochi A (1994). "Global tuberculosis incidence and mortality during 1990-2000". Bull World Health Organ 72 (2): 213–20. PMC 2486541. PMID 8205640. 
  5. World Health Organization (2009). "Epidemiology". Global tuberculosis control: epidemiology, strategy, financing. pp. 6–33. ISBN 9789241563802. สืบค้นเมื่อ 12 November 2009. 
  6. 6.0 6.1 "The sixteenth global report on tuberculosis". 2011. 
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lancet11
  8. World Health Organization (WHO). (2006). THE STOP TB STRATEGY : Building on and enhancing DOTS to meet the TB-related Millennium Development Goals. Ganeva: Switzerland.