ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปภาพแสดงการเปรียบเทียบค่า GDP ในปี 2555

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (อังกฤษ: gross domestic product: GDP) หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ซึ่งคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้น ๆ

อย่างไรก็ตาม จีดีพี เป็นดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ แต่ไม่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้

การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ[แก้]

การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ สามารถวัดได้ 2 วิธี ได้แก่ ฝ

1. การวัดรายจ่าย (Expenditure Approach) ที่จ่ายให้สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

GDP = รายจ่ายเพื่อบริโภค + รายจ่ายเพื่อการลงทุน + รายจ่ายของรัฐบาล + รายจ่ายสุทธิของต่างประเทศที่ซื้อสินค้าผลิตในประเทศ

หรือ GDP = Consumption + Investment + Government spending + (exports – imports)

2. การวัดรายได้ (Resource Cost - Income Approach) ที่ได้จากการขายสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

GDP = ค่าจ้างและเงินเดือนลูกจ้าง + รายได้เจ้าของธุรกิจส่วนตัว + กำไรของบริษัท (รายได้ผู้ถือหุ้น) + ดอกเบี้ย (รายได้เจ้าหนี้) + ค่าเช่า (รายได้เจ้าของสินทรัพย์) + ภาษีธุรกิจทางอ้อม + ค่าเสื่อมราคา + รายได้สุทธิของคนต่างชาติในประเทศ

หมายเหตุ: ภาษีทางอ้อมคือภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าหรือบริการโดยผู้ที่มีหน้าที่ชำระภาษีโดยตรง (ผู้เสียภาษีคนแรก) สามารถผลักภาระภาษีไปให้บุคคลอื่นได้ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เนื่องจากวิธีการวัด GDP ด้วยรายจ่ายเป็นวิธีที่พื้นฐานที่สุดในการวัดและเข้าใจ GDP ดังนั้น จะอธิบายตัวแปรในสมการที่คำนวณ GDP ด้วยการวัดรายจ่ายเท่านั้น ดังต่อไปนี้

GDP = C + I + G + NE หรือ C + I + G + (X - M)

Consumption (C) หมายถึง การบริโภคภาคเอกชน (Private consumption) ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลแทบทั้งหมดเช่น อาหาร ค่าเช่า ค่ายา แต่ไม่รวมการซื้อบ้านหลังใหม่

Investment (I) หมายถึง การลงทุนของธุรกิจในสินค้าทุน เช่น การก่อสร้างเหมืองแร่ใหม่ การซื้อซอฟต์แวร์ การซื้ออุปกรณ์เครื่องจักรสำหรับโรงงาน เป็นต้น การใช้จ่ายโดยครัวเรือนเพื่อซื้อบ้านหลังใหม่รวมไว้ในการลงทุนเช่นกัน ทว่า การซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินเช่น การซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้ ไม่จัดว่าเป็นการลงทุนแต่เป็นการออม (Saving) จึงไม่รวมใน GDP เพราะเป็นเพียงการสับเปลี่ยนเอกสารทางกฎหมายเท่านั้น ซึ่งเงินนั้นไม่ได้แปลงให้กลายเป็นสินค้าหรือบริการ จึงไม่เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจที่แท้จริง และจัดให้เป็นรายจ่ายประเภทเงินโอน (Transfer payment)

หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสุทธิของภาคการเงินเท่านั้นที่มองว่าเป็นการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงรวมไว้ใน GDP

Government Spending (G) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ซึ่งรวมถึงเงินเดือนของข้าราชการ การซื้ออาวุธทางทหาร และค่าใช้จ่ายลงทุนของรัฐ แต่ไม่รวมรายจ่ายประเภทโอนเงินอย่างเช่น สวัสดิการสังคมหรือผลประโยชน์จากการว่างงาน

Net Exports (NE) หมายถึง การส่งออกสุทธิ หรือการส่งออก (X) ลบด้วยการนำเข้า (M) นั่นเอง ที่ต้องลบการนำเข้าเพราะตัวเลขการบริโภคสินค้าและบริการที่นำเข้ามาบริโภคจะรวมไว้ใน C, I, และ G

เปรียบเทียบ ดัชนี GDP และ PPP
ของประเทศแต่ละประเทศในปี 2555.[1]
  มากกว่า $129,696
  $64,848 – 129,696
  $32,424 – 64,848
  $16,212 – 32,424
  $8,106 – 16,212
  $4,053 – 8,106
  $2,027 – 4,053
  $1,013 – 2,027
  $507 – 1,013
  ต่ำกว่า $507
  ไม่มีข้อมูล

สิ่งที่ไม่นับรวมใน GDP[แก้]

  1. ไม่นับสินค้าก่อนสินค้าขั้นสุดท้าย (intermediate goods) เพราะจะทำให้เกิดการนับซ้ำ
  2. ไม่นับการซื้อขายสินค้ามือสอง เพราะไม่ได้เป็นการเพิ่มผลผลิตปัจจุบัน แต่นับค่าคอมมิชชั่นจากการขาย เพราะเป็นการให้บริการในช่วงเวลาปัจจุบัน
  3. ไม่นับรายการทางการเงินและการโอนเงิน เช่น การซื้อขายหุ้น น้าโอนเงินให้หลาน เพราะไม่เป็นการผลิต
ค่า GDP จากการจัดอันดับของธนาคารโลกในปี 2554

ข้อจำกัดของ GDP[แก้]

  1. ไม่นับการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในตลาด เช่น ในอดีตทำกับข้าวรับประทานเองในบ้าน จึงไม่นับรวม แต่ปัจจุบันรูปแบบของการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปทำให้ต้องรับประทานข้าวนอกบ้าน จึงนับรวม ซึ่งทำให้การเปรียบเทียบ GDP ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันให้มีความหมายลดลง
  2. ไม่รวมผลผลิตที่ไม่ได้รับการรายงาน (underground economy) เช่น เป็นการค้าขายที่เป็นเงินสดโดยไม่มีการแจ้งให้ทางการรับทราบ เช่น บ๋อยรับทิปเป็นเงินสด คนงานทำงานโดยรับเงินสดเพื่อเลี่ยงภาษี
  3. ไม่รวมการพักผ่อนและต้นทุนมนุษย์ GDP สนใจแต่ผลผลิต ไม่ใส่ใจว่าคนทำงานหนักหรือนานขนาดไหนในการสร้างผลผลิต
  4. ไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพสินค้าและการเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
  5. ไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการผลิต บริโภค และการกระทำด้านลบของคนและธรรมชาติ
รายชื่อประเทศจากการคำนวณค่า GDP ในปี 2553

อันดับประเทศที่มีการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ[แก้]

อันดับ พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2553
โลก โลก 74,171.718 โลก โลก 71,707.302 โลก โลก 70,220.553 โลก โลก[2] 63,467.755
สหภาพยุโรป สหภาพยุโรป 17,227.735 สหภาพยุโรป สหภาพยุโรป 16,584.007 สหภาพยุโรป สหภาพยุโรป 17,588.535 สหภาพยุโรป สหภาพยุโรป[2] 16,287.710
1 ธงของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา 16,237.746 ธงของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา 15,684.750 ธงของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา 15,075.675 ธงของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา 14,498.925
2  จีน 9,020.309  จีน 8,227.037  จีน 7,321.986  จีน[3] 5,930.393
3 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 6,149.897 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 5,963.969 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 5,897.015 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 5,495.387
4 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 3,597.965 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 3,400.579 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 3,607.364 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 3,312.193
5 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2,739.274 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2,608.699 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2,778.085 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2,570.592
6 ธงของประเทศบราซิล บราซิล 2,456.663 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 2,440.505 ธงของประเทศบราซิล บราซิล 2,492.907 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 2,267.482
7 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 2,422.921 ธงของประเทศบราซิล บราซิล 2,395.968 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 2,431.530 ธงของประเทศบราซิล บราซิล 2,142.926
8 ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 2,213.567 ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 2,021.960 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 2,196.334 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 2,059.187
9 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 2,076.006 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 2,014.079 ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 1,899.056 ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 1,616.018
10 ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 1,972.844 ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 1,824.832 ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 1,838.166 ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 1,614.834

อ้างอิง[แก้]

  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. "หน่วยที่ 9 รายได้ประชาชาติและการวัดรายได้ประชาชาติ". เอกสารการสอนชุดวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 9-15. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553. หน้า 1–35. ISBN 974-614-549-5
  • https://en.wikipedia.org/wiki/Gross_domestic_product


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Based on the IMF data. If no data was available for a country from IMF, World Bank data were used.
  2. 2.0 2.1 "Nominal 2011 GDP for the world and the European Union.". International Monetary Fund(IMF). สืบค้นเมื่อ 2013-5-1. 
  3. 台湾、香港、マカオを除く