ประเทศคีร์กีซสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐคีร์กีซ
Кыргыз Республикасы (คีร์กีซ)
Кыргызская Республика (รัสเซีย)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติเพลงชาติสาธารณรัฐคีร์กีซ
เมืองหลวง บิชเคก
42°52′N 74°36′E / 42.867°N 74.600°E / 42.867; 74.600
ภาษาราชการ ภาษาคีร์กีซและภาษารัสเซีย
การปกครอง สาธารณรัฐ
 -  ประธานาธิบดี อัลมัซเบค อาตัมบาเยฟ
 -  นายกรัฐมนตรี จูมาร์ต โอตอร์บาเยฟ
ได้รับเอกราช จากสหภาพโซเวียต 
 -  ประกาศ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2534 
 -  เป็นที่ยอมรับ ธันวาคม พ.ศ. 2534 
พื้นที่
 -  รวม 198,500 ตร.กม. (85)
76,621 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 3.6%
ประชากร
 -  ก.ค. 2548 (ประเมิน) 5,146,281 (111)
 -  2542 (สำมะโน) 4,896,100 
 -  ความหนาแน่น 25 คน/ตร.กม. (147)
67 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 9.324 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (142)
 -  ต่อหัว 1,800 ดอลลาร์สหรัฐ (190)
HDI (2546) 0.702 (กลาง) (109)
สกุลเงิน ซอมคีร์กีซสถาน (KGS)
เขตเวลา KGT (UTC+5)
 -  (DST) KGST (UTC+6)
โดเมนบนสุด .kg
รหัสโทรศัพท์ 996
บิชเคก
พิพิธภัณฑ์เลนิน
ชายสวมหมวกแบบดั้งเดิม

คีร์กีซสถาน (คีร์กีซและรัสเซีย: Кыргызстан) หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐคีร์กีซ (คีร์กีซ: Кыргыз Республикасы; รัสเซีย: Кыргызская Республика) เป็นประเทศในเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดมีชื่อว่าบิชเคก (เดิมเรียกว่า ฟรุนเซ) คีร์กีซสถานเดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

เนื้อหา

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้ง คีร์กีซสถานมีที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ระหว่างละติจูด 37 - 43 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 71 – 80 องศาตะวันออก มีขนาดพื้นที่ 198,500 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

คีร์กีซสถานมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเทียนชานที่แยกตัวออกมาจากปามีร์นอต ปรากฏทะเลสาบอิสซิค-คุลอยู่ระหว่างสันเขาสูงบริเวณตอนกลางของประเทศ เทือกเขาเทียนชานในเขตคีร์กีซสถานเป็นต้นน้ำของแม่น้ำซีร์ดาเรียที่ไหลลงทะเลอารัลในตอนกลางของภูมิภาค

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

ลักษณะภูมิอากาศที่ปรากฏในพื้นที่ของคีร์กีซสถาน พิจารณาเป็นเขตของภูมิอากาศได้ดังนี้

  1. เขตภาคพื้นทวีป ฝนตกมาก อบอุ่นในฤดูร้อน หนาวเย็นในฤดูหนาว ปรากฏอยู่ตามพื้นที่หน้าเขาของเทือกเขาเทียนชาน
  2. เขตขั้วโลก อากาศหนาวจัด ปรากฏอยู่ตามสันเขาสูงซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ลักษณะอากาศหนาวคล้ายขั้วโลก

ประวัติศาสตร์[แก้]

นักประวัติศาสตร์ศึกษาพบว่าบรรพบุรุษชาวคีร์กิซเป็นพวก Turkic ซึ่งอาศัยในดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน และย้ายถิ่นฐานไปในเขตไซบีเรียตอนใต้ จนกระทั่งในศตวรรษที่ 15 จึงได้ตั้งถิ่นฐานในดินแดนสาธารณรัฐคีร์กิซในปัจจุบัน ในอดีตดินแดนสาธารณรัฐคีร์กิซเคยถูกครอบครองโดยจีนและอุซเบก จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1876 คีร์กิซ ได้ถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรรัสเซีย ต่อเนื่องไปถึงปี ค.ศ. 1918 ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต จนกระทั่งได้รับสถาปนาเป็นหนึ่งในสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1936 คีร์กิซสถาน (หรือสาธารณรัฐคีร์กิซ) ในปี ค.ศ.1990 นาย Askar Akarkev ได้รับเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรก และต่อมาในปี ค.ศ. 1991 สาธารณรัฐคีร์กิซได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต และเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)สาธารณรัฐคีร์กิซประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจจนกลายเป็นประเทศแรกในอดีตสหภาพโซเวียตที่เข้าเป็นสมาชิก WTO (ค.ศ.1998)

ยุคก่อนประวัติศาสตร์[แก้]

ยุคประวัติศาสตร์[แก้]

ศตวรรษที่ 19[แก้]

ศตวรรษที่ 20[แก้]

การเมืองการปกครอง[แก้]

รัฐธรรมนูญปี 1993 กำหนดให้คีร์กีซสถานมีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย

บริหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลคีร์กีซสถาน

ประธานาธิบดีเป็นประมุขและนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศ

นิติบัญญัติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาแห่งคีร์กีซสถาน

ระบบสภาเดี่ยว

ตุลาการ[แก้]

สถานการณ์การเมือง[แก้]

สิทธิมนุษยชน[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

  North Kyrgyzstan
  South Kyrgyzstan

ประเทศคีร์กีซสถานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 จังหวัด (provinces - oblastlar) และ 2 นคร* (cities - shaar) ได้แก่

หมายเหตุ: ชื่อศูนย์กลางการปกครองอยู่ในวงเล็บ

แต่ละจังหวัดแบ่งเป็น อำเภอ (districts - rayon) ปกครองโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลกลาง ชุมชนในชนบทเรียกว่า ไอล์ออคโมตุส (aiyl okmotus) และประกอบด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ 20 หมู่บ้านเป็นอย่างมาก ปกครองตนเอง มีนายกเทศมนตรีและสภาที่ได้รับการเลือกตั้ง

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพคีร์กีซสถาน

เศรษฐกิจ[แก้]

สภาวะทางเศรษฐกิจปัจจุบัน

         เนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐคีร์กิซนั้นส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรม และ ประชากรส่วนใหญ่ยากจน จึงต้องมีการปฏิรูปประเทศอย่างเป็นขั้นตอน โดยคำนึงถึงรากฐานความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและทางเชื้อชาติ และต้องพยายามยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น เพื่อบรรเทาความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้งจากความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
         ปัจจุบันรัฐบาลส่งเริมให้เอกชนเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามกิจการบางอย่าง อาทิ กิจการเหมืองแร่และการผลิตพลังงานไฟฟ้า รัฐวิสาหกิจยังคงมีบทบาทมาก  โดยกิจการด้านอุตสาหกรรมถึงร้อยละ 90 ยังเป็นของรัฐ  สาธารณรัฐคีร์กิซมีพลังงานไฟฟ้าเป็นสินค้าส่งออกด้านพลังงานเพียงอย่างเดียว แต่โดยที่ตลาดพลังงานไฟฟ้าสำคัญของสาธารณรัฐคีร์กิซ ทั้งนี้ความหวังในระยะยาวของคีร์กิซอยู่ที่การขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งจากการร่วมสำรวจของสาธารณรัฐคีร์กิซและสหรัฐฯ ได้พบแหล่งน้ำมันที่น่าสนใจหลายแหล่ง
         สภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในรัฐบาลของประธานาธิบดี Kurmanbek Bakiev ไม่ได้ต่างจากในสมัยนาย Askar Akarkev อีกทั้งยังมีการคอรัปชั่นและกลุ่มอาชญากรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังคงมีปัญหาการปฏิบัติไม่เท่าเทียมกันระหว่างชาวคีร์กิซ และอุซเบก

พลังงาน[แก้]

การท่องเที่ยว[แก้]

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

คมนาคม[แก้]

โทรคมนาคม[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]

การศึกษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: การศึกษาในคีร์กีซสถาน

สาธารณสุข[แก้]

สวัสดิการสังคม[แก้]

ประชากร[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

จำนวนประชากร 
ประชากรของประเทศคีร์กีซสถานมีจำนวนทั้งสิ้น 5,264,000 คน (ก.ค. 2548)

ศาสนา[แก้]

ศาสนาในประเทศคีร์กีซสถาน
ศาสนา ร้อยละ
อิสลาม
  
80%
คริสต์
  
17%
อื่นๆ
  
3%

ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีย์ ร้อยละ 80 รองลงมาคือศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ร้อยละ 17 และศาสนาอื่น ๆ อีกร้อยละ 3[1] ขณะที่ศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Center) ได้ประมาณการตัวเลขชาวคีร์กีซที่เป็นมุสลิมในปี ค.ศ. 2009 ว่ามีมากถึงร้อยละ 86.3 ของประชากร[2]

แม้ว่าคีร์กีซสถานจะเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตที่มิเคยสนับสนุนให้นับถือศาสนา แต่ในปัจจุบันคีร์กีซสถานมีอิทธิพลของอิสลามต่อการเมืองสูงขึ้น[3] เป็นต้นว่า มีสวัสดิการลดภาษีให้แก่ผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในนครมักกะห์[3] ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศนับถือนิกายซุนนีย์และใช้การศึกษาในแนวทางมัซฮับฮานาฟี[4]

มัสยิดของชาวดันกันที่เมืองการาโกล

ศาสนาอิสลามในคีร์กีซสถาน เป็นมากกว่าปูมหลังทางวัฒนธรรม และเกินกว่าหลักวัตรปฏิบัติ มีศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยพยายามฟื้นฟูศาสนาให้คงอยู่ดังเดิม ตูร์ซันเบ บากีร์อูลู ผู้ตรวจการแผ่นดินและนักสิทธิมนุษยชนชาวคีร์กีซ ได้ให้ข้อสังเกตว่า "ในยุคแห่งความเป็นอิสระนี้ ไม่น่าแปลกใจอะไรที่จะหวนกลับไปหารากเหง้าและจิตวิญญาณ ไม่เพียงแต่ในคีร์กีซสถานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอดีตสาธารณรัฐต่าง ๆ ของโซเวียต มันจะเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม เพื่อพัฒนาสังคมที่ใช้การตลาดโดยไม่คำนึงถึงมิติทางจริยธรรม"[3]

เบร์เมต์ อะคาเยวา บุตรสาวของอดีตประธาธิบดีอัสการ์ อะกาเยฟ ได้ให้สัมภาษณ์ในปี ค.ศ. 2007 ว่าศาสนาอิสลามจะแผ่ขยายไปทั่วประเทศ[5] เธอเน้นย้ำว่ามัสยิดถูกสร้างขึ้นจำนวนมากในประเทศเพื่ออุทิศให้แก่พระศาสนา เธอได้ให้ข้อสังเกตว่า "มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ดีในตัวของมัน มันทำให้สังคมเรามีคุณธรรมมากยิ่งขึ้น สะอาดมากยิ่งขึ้น"[5] ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของอิสลามดั้งเดิมกับอิสลามในปัจจุบัน[6]

โบสถ์คริสต์ในกรุงบิชเคก

ส่วนศาสนาอื่นๆ อย่างศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะนิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ และยูเครนออร์ทอดอกซ์ ในกลุ่มที่มีเชื้อสายรัสเซียและยูเครน ส่วนนิกายลูเธอแรน กับนิกายอานาบัปติสต์ อยู่ในกลุ่มเชื้อสายเยอรมัน และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกประมาณ 600 คน[7][8]

ส่วนการนับถือภูตผียังพอมีให้เห็นบ้าง เช่นประเพณีติดธงมนต์บนต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีกลิ่นอายของพุทธศาสนาซึ่งเคยมีอิทธิพลเหนือดินแดนแถบนี้มาช้านาน แม้ว่าประเพณีบางอย่างเป็นวัตรปฏิบัติของพวกซูฟีก็ตาม[9] ทั้งนี้ในประเทศคีร์กีซสถานเคยมีกลุ่มชาวยิวเมืองบูคาราอยู่ด้วย แต่ปัจจุบันชนกลุ่มดังกล่าวได้ย้ายออกไปยังสหรัฐอเมริกา และอิสราเอลแล้ว

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 รัฐสภาได้มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ในการออกกฎหมายเพิ่มเติม เกี่ยวกับชุมนุมเกี่ยวกับศาสนาตั้งแต่ 10-200 คน ว่าด้วย "การกระทำอันรุนแรงที่มุ่งเป้าไปยังศาสนิก" และห้ามทำกิจกรรมทางศาสนาในโรงเรียนหรือองค์กรที่มิได้รับการจดทะเบียน[10] ซึ่งถูกลงนามโดยประธานาธิบดีกูร์มานเบก บากีฟ เมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2009[11]

ภาษา[แก้]

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมคีร์กีซสถาน

สถาปัตยกรรม[แก้]

ดนตรี[แก้]

อาหาร[แก้]

สื่อสารมวลชน[แก้]

วันหยุด[แก้]

กีฬา[แก้]

การขี่ม้า[แก้]

มวยสากล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Kyrgyzstan". State.gov. สืบค้นเมื่อ 2010-04-17. 
  2. [1]
  3. 3.0 3.1 3.2 "ISN Security Watch – Islam exerts growing influence on Kyrgyz politics". Isn.ethz.ch. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02. 
  4. "Kyrgyzstan – Quick facts, statistics and cultural notes". Canadiancontent.net. 2005-04-04. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02. 
  5. 5.0 5.1 "EurasiaNet Civil Society – Kyrgyzstan: Time to Ponder a Federal System – Ex-President's Daughter". Eurasianet.org. 2007-07-17. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02. 
  6. "Religion and expressive culture – Kyrgyz". Everyculture.com. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02. 
  7. alexander drummer. "Kirguistán la Iglesia renace con 600 católicos". ZENIT. สืบค้นเมื่อ 2010-04-17. 
  8. "Religion in Kyrgyzstan". Asia.msu.edu. 2010-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02. [ลิงก์เสีย]
  9. Shaikh Muhammad Bin Jamil Zeno, Muhammad Bin Jamil Zeno – 2006, pg. 264
  10. "Kyrgyzstan's Religious Law". Voanews.com. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02. 
  11. "Human Rights Activists Condemn New Religion Law". Eurasianet.org. 2009-01-16. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02. 

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศคีร์กีซสถาน ได้โดยค้นหาจาก
โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย :
Wiktionary-logo-th.png หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม
Wikibooks-logo.svg หนังสือ จากวิกิตำรา
Wikiquote-logo.svg คำคม จากวิกิคำคม
Wikisource-logo.svg ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ
Commons-logo.svg ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
Wikinews-logo.svg เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
Wikiversity-logo-en.svg แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย
รัฐบาล
การศึกษา
ด้านการท่องเที่ยว