รัฐสภายุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สภายุโรป)
รัฐสภายุโรป
รัฐสภายุโรปที่แปด
Coat of arms or logo.
ประเภท
ประเภท ระบบสภาเดียว
ผู้บริหาร
ประธาน มาร์ติน ชูลซ์ (พันธมิตรก้าวหน้าแห่งสังคมนิยมและประชาธิปไตย)
ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
รองประธาน
ตั้งแต่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555
หัวหน้ากลุ่มการเมือง
ที่ใหญ่ที่สุด
มันเฟรด เวเบอร์ (กลุ่มพรรคเพื่อประชาชนยุโรป)
ตั้งแต่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557
หัวหน้ากลุ่มการเมือง
ที่ใหญ่เป็นอันดับสอง
จิอันนี พิตเตลลา (พันธมิตรก้าวหน้าแห่งสังคมนิยมและประชาธิปไตย)
ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
โครงสร้าง
สมาชิก 751 คน
European Parliament as of June 2015.svg
กลุ่มการเมือง

ฝ่ายเสียงข้างมาก (477)      EPP (217)
     S&D (190)
     ALDE (70)
ฝ่ายค้านและไม่อยู่ในกลุ่มใด (273)      ECR (74)
     EUL-NGL (52)
     Greens – EFA (50)
     EFDF (45)[1]
     ENF (38)

     ไม่อยู่ในกลุ่มใด (14)[2]
คณะกรรมาธิการ
การเลือกตั้ง
ระบบการเลือกตั้ง บัญชีรายชื่อ, ถ่ายโอนคะแนนเสียงและระบบเสียงส่วนใหญ่[3]
การเลือกตั้งล่าสุด 22-25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ที่ประชุม
European Parliament, Plenar hall.jpg
ที่แรก: อาคารหลุยส์ไวส์: สทราซบูร์, ประเทศฝรั่งเศส (ในรูป)
ที่รอง: เอสปาซลีโอโพลด์: บรัสเซลส์, ประเทศเบลเยียม
สำนักเลขาธิการ: ลักเซมเบิร์ก และบรัสเซลส์
เว็บไซต์
europarl.europa.eu

รัฐสภายุโรป (อังกฤษ: European Parliament) (ตัวย่อ: Europarl หรือ EP) เป็นรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของสหภาพยุโรป (EU) สภายุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรปร่วมกันทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของสหภาพยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในฝ่ายนิติบัญญัติที่ทรงอำนาจที่สุดในโลก ปัจจุบันสภายุโรปประกอบด้วยสมาชิกสภายุโรปจำนวน 751 คน โดยเป็นร่างตัวแทนของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยมากเป็นอันดับสองของโลก (รองจากรัฐสภาอินเดีย) และมีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยมากที่สุดในโลก (375 ล้านคนจากข้อมูลใน พ.ศ. 2552)[4][5][6]

สมาชิกรัฐสภายุโรปมาจากการเลือกตั้งโดยตรง โดยจัดการเลือกตั้งทุกๆ 5 ปี ซึ่งทุกคนมีสิทธิ์ออกเสียง โดยดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2522 อย่างไรก็ตาม อัตราผู้ออกมาใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรปน้อยลงทุกๆ ปี นับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเป็นต้นมา จนในปี พ.ศ. 2542 อัตราผู้มาใช้สิทธิ์อยู่ที่ร้อยละ 43 (%) จากบรรดาผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด โดยอัตราผู้มาใช้สิทธิ์ในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 90% ในลักเซมเบิร์กและเบลเยี่ยม (ที่มีการบังคับเลือกตั้ง) ไปจนถึงแค่ 20% ในสโลวาเกีย ในบรรดาประเทศสมาชิก 18 ประเทศจากประเทศสมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศ มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งต่ำกว่า 50%[7]

แม้ว่ารัฐสภายุโรปจะมีอำนาจนิติบัญญัติที่คณะมนตรีและคณะกรรมาธิการไม่มี แต่รัฐสภายุโรปไม่มีอำนาจในการริเริ่มออกกฎหมายอย่างที่รัฐสภาแห่งชาติของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปมี อย่างไรก็ตาม สภาอาจมีความสามารถโดยพฤตนัยในการริเริ่มออกกฎหมาย รัฐสภายุโรปถือเป็นสถาบันอันดับแรกของสหภาพยุโรป (ได้รับการกล่าวถึงเป็นอันดับแรกในสนธิสัญญาแห่งสหภาพยุโรป และได้รับสิทธิทางพิธีการเหนือองค์การในระดับยุโรปทั้งหมด) และใช้อำนาจในการจัดสรรงบประมาณและอำนาจนิติบัญญัติร่วมกับคณะมนตรี (ยกเว้นในบางกรณีที่มีวิธีดำเนินการพิเศษทางนิติบัญญัติ) คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นร่างบริหารของสหภาพยุโรปนั้น ขึ้นตรงต่อสภา สภามีอำนาจในการเลือกประธานคณะกรรมาธิการ และรับรอง (หรือคัดค้าน) การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการทั้งคณะ และยังสามารถบังคับให้คณะกรรมธิการทั้งคณะออกจากตำแหน่งได้ด้วยการเสนอญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ปัจจุบัน ประธานรัฐสภายุโรปคือนายมาร์ติน ชูลซ์ (จากพรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งเยอรมนี) ได้รับการเลือกตั้งขึ้นมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมหลายพรรค โดยมีกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดสองกลุ่มคือกลุ่มพรรคเพื่อประชาชนยุโรป (EPP) และพันธมิตรก้าวหน้าแห่งนักสังคมนิยมและนักประชาธิปไตย (S&D) การเลือกตั้งครั้งล่าสุดคือการเลือกตั้งรัฐสภายุโรป พ.ศ. 2557 รัฐสภายุโรปมีที่ทำการสามแห่งคือที่ประชุมใหญ่แห่งสภาในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม (รวมถึงการประชุมคณะกรรมการ) และเมืองสทราซบูร์ ประเทศฝรั่งเศส และสำนักเลขาธิการในประเทศลักเซมเบิร์ก[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. ดูการย้ายพรรค|www.efdgroup.eu/members.html|accessdate=23/03/2013
  2. url=http://www.europarl.europa.eu/meps/fr/performsearch.html?search=true&politicalGroup=2970%7Caccessdate=19/01/2013
  3. มีเขตเลือกตั้งหนึ่งในเบลเยียมที่ใช้ระบบเสียงส่วนใหญ่เพื่อเลือกสมาชิกสภายุโรป 1 คน
  4. Brand, Constant and Wielaard, Robert (8 June 2009). "Conservatives Post Gains In European Elections". The Washington Post. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 17 August 2010. 
  5. Ian Traynor (7 June 2009). "Misery for social democrats as voters take a turn to the right". The Guardian (UK). สืบค้นเมื่อ 17 August 2010. 
  6. "18 new MEPs take their seats". European Parliament. 10 January 2012. สืบค้นเมื่อ 14 February 2012. 
  7. "Turnout at the European elections (1979-2009)". European Parliament. สืบค้นเมื่อ 31 May 2012. 
  8. "European Parliament". Europa. 2010-04-19. สืบค้นเมื่อ 2012-12-08. 
  9. "Consolidated versions of the treaty on European Union and of the treaty establishing the European Community" (PDF). Eur-lex. สืบค้นเมื่อ 12 June 2007.