ประเทศบาห์เรน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรบาห์เรน
مملكة البحرين (อาหรับ)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติBahrainona (บาห์เรนของเรา)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
มานามา
26°13′N 50°35′E / 26.217°N 50.583°E / 26.217; 50.583
ภาษาราชการ ภาษาอาหรับ
การปกครอง ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
 -  พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อัลเคาะลีฟะฮ์
 -  นายกรัฐมนตรี เชคเคาะลีฟะฮ์ บิน ซัลมาน อัลเคาะลีฟะฮ์
ได้รับเอกราช
 -  จากสหราชอาณาจักร 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514 
พื้นที่
 -  รวม 750 ตร.กม. (176)
253 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  กรกฎาคม 2548 (ประเมิน) 688,345 (157)
 -  ความหนาแน่น 987 คน/ตร.กม. (?)
2,556 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 14.08 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (130)
 -  ต่อหัว 20,500 ดอลลาร์สหรัฐ (50)
HDI (2556) 0.815 (สูงมาก) (44)
สกุลเงิน ดีนาร์บาห์เรน (BHD)
เขตเวลา (UTC+3)
โดเมนบนสุด .bh
รหัสโทรศัพท์ 973

บาห์เรน (อังกฤษ: Bahrain; อาหรับ: البحرين‎) หรือชื่อทางการ ราชอาณาจักรบาห์เรน (อังกฤษ: Kingdom of Bahrain; อาหรับ: مملكة البحرين‎) เป็นประเทศเกาะในอ่าวเปอร์เซีย โดยมีสะพานเชื่อมต่อกับซาอุดีอาระเบียที่อยู่ห่างจากเกาะประมาณ 28 กิโลเมตร คือ สะพานคิงฟะฮัด ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ส่วนสะพานมิตรภาพกาตาร์-บาห์เรน ที่กำลังอยู่ในระหว่างวางแผนงานนั้น จะเชื่อมต่อบาห์เรนเข้ากับกาตาร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลก

ประวัติศาสตร์[แก้]

บาห์เรนเคยอยู่ใต้อารักขาของอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2363 โดยอำนาจการปกครองถูกแบ่งออกระหว่างเจ้าครองนครกับข้าหลวงอังกฤษ อิหร่านเคยอ้างสิทธิเหนือบาห์เรนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่เมื่อ พ.ศ. 2523 อิหร่านยอมรับรายงานของ UN ที่แสดงข้อเท็จจริงว่าชาวบาห์เรนต้องการเป็นอิสระมากกว่าที่จะถูกรวมไว้กับอิหร่าน บาห์เรนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ตามสนธิสัญญามิตรภาพฉบับใหม่ที่ทำกับอังกฤษ หลังจากที่ความพยายามในการรวมประเทศกับกาตาร์และกลุ่มรัฐสงบศึก (ปัจจุบันคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เป็นสหพันธรัฐไม่ประสบความสำเร็จ

บาห์เรนเป็นประเทศแรกในอ่าวอาหรับที่ขุดพบน้ำมันดิบ ใน พ.ศ. 2475 และมีการสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้น อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันดิบที่ขุดพบในบาห์เรนนับว่ามีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับคูเวตและ[[ซาอุดีอาระเบีย ]]

การเมือง[แก้]

ราชาธิปไตยกึ่งรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตามผลการลงประชามติของชาวบาห์เรนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อาล เคาะลีฟะฮ์ (His Majesty King Hamad Bin Isa Al Khalifa) เสด็จขึ้นครองราชย์ (ในฐานะเจ้าผู้ครองรัฐ) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2542

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แผนที่ประเทศบาห์เรนแสดงเทศบาล (ปัจจุบันรวมอยู่ในเขตผู้ว่าราชการ)
แผนที่ประเทศบาห์เรนแสดงเขตผู้ว่าราชการ

ก่อนหน้า 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ประเทศบาห์เรนแบ่งเขตการปกครองเป็นเทศบาลที่ปกครองจากเมืองหลวง (กรุงมานามา) 12 แห่ง คือ

  1. อัลฮิดด์ (Al Hidd)
  2. อัลมะนามะห์ (Al Manamah)
  3. อัลมินตะเกาะห์อัลกะร์บียะห์ (Al Mintaqah al Gharbiyah)
  4. อัลมินตะเกาะห์อัลวุสตะ (Al Mintaqah al Wusta)
  5. อัลมินตะเกาะห์อัลชะมาลียะห์ (Al Mintaqah al Shamaliyah)
  6. อัลมุฮาร์รัก (Al Muharraq)
  7. อาร์ริฟาวาอัลมินตะเกาะห์อัลจะนูบียะห์ (Ar Rifa' wa al Mintaqah al Janubiyah)
  8. จิดด์ฮัฟส์ (Jidd Haffs)
  9. มะดีนัตฮามัด (Madinat Hamad ไม่แสดงบนแผนที่ แบ่งจากเทศบาลอาร์ริฟาฯ เมื่อ พ.ศ. 2534)
  10. มะดีนัตอิซา (Madinat 'Isa)
  11. จุซูร์ฮะวาร์ (Juzur Hawar)
  12. ซิตระห์ (Sitrah)

ในปัจจุบันประเทศบาห์เรนแบ่งเป็น 5 เขตผู้ว่าราชการ (governorates) ได้แก่[1]

  1. เขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง (Capital)
  2. เขตผู้ว่าราชการกลาง (Central)
  3. เขตผู้ว่าราชการมุฮาร์รัก (Muharraq)
  4. เขตผู้ว่าราชการเหนือ (Northern)
  5. เขตผู้ว่าราชการใต้ (Southern)

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้ง[แก้]

ทั้งเกาะบาห์เรนล้อมรอบด้วยอ่าวเปอร์เซีย

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

ช่วงฤดูหนาว (ธันวาคม-มีนาคม) อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 19 - 29 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูร้อน (เดือนเมษายน-ตุลาคม) อากาศร้อนชื้น อุณหภูมิอาจสูงถึง 49 องศาเซลเซียส

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

ภูมิประเทศเกือบทั้งหมดเป็นที่ราบต่ำในทะเลทราย ค่อยๆ ชันขึ้น ทางตอนกลาง

เศรษฐกิจ[แก้]

  • อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.1 (ไทย 2.6%)
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 18.97 พันล้าน USD (ไทย 273.4 พันล้าน USD)
  • รายได้ประชาชาติต่อหัว 18,979 USD (ไทย 4,081 USD)
  • ปริมาณน้ำมันสำรอง 125 ล้านบาร์เรล

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย[แก้]

ไทยและบาห์เรนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด บาห์เรนถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางและมีบทบาทเป็นสะพานเชื่อมไทยสู่ประเทศในตะวันออกกลางในหลายมิติ

ศาสนา[แก้]

ศาสนาในประเทศบาห์เรน
ศาสนา %
อิสลาม
  
81.2%
คริสต์
  
9%
อื่น ๆ
  
9.8%

ประชากรส่วนมากของประเทศนับถือ และยึดศาสนาอิสลามเป็นแบบแผน ในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งก่อสร้าง โบราณวัตถุ โบราณสถาน วัฒนธรรมต่างๆ เป็นสิ่งสะท้อนอิทธิพลของศาสนาอิสลามให้เห็นเด่นชัดในประเทศบาห์เรน และประชากรส่วนมากพูดภาษาอาหรับซึ่งใช้กันในแถบภูมิภาคนี้

อ้างอิง[แก้]