ประเทศมองโกเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับดินแดนทางภูมิศาสตร์ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ มองโกเลีย (แก้ความกำกวม)
มองโกเลีย
ᠮᠣᠩᠭᠣᠯ ᠤᠯᠤᠰ; Монгол Улс (มองโกเลีย)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญДаяр Монгол (Dayar Mongol)
เพลงชาติBügd Nairamdakh Mongol
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
อูลานบาตอร์
47°55′N 106°53′E / 47.917°N 106.883°E / 47.917; 106.883
ภาษาราชการ ภาษามองโกเลีย
การปกครอง ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
 -  ประธานาธิบดี ซาคีอากีอิน เอลเบกดอร์ช
 -  นายกรัฐมนตรี นอรอวิน อัลตันคูยัก
พื้นที่
 -  รวม 1,564,116 ตร.กม. (19)
603,909 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 0.6
ประชากร
 -  ก.ค. 2549 (ประเมิน) 2,832,224 (139)
 -  2543 (สำมะโน) 2,650,952 
 -  ความหนาแน่น 1.8 คน/ตร.กม. (227)
4.7 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2013 (ประมาณ)
 -  รวม 26.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 
 -  ต่อหัว 9,293 ดอลลาร์สหรัฐ 
HDI (2556) 0.698 (กลาง) (103)
สกุลเงิน ทูกรุก (MNT)
เขตเวลา (UTC+7)
 -  (DST)  (UTC+8)
โดเมนบนสุด .mn
รหัสโทรศัพท์ 976

ประเทศมองโกเลีย (อังกฤษ: Mongolia; มองโกเลีย: Монгол Улс) เป็นประเทศในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกรองจากประเทศคาซัคสถาน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศรัสเซีย และทางใต้ติดกับประเทศจีน มีพื้นที่ที่สามารถใช้สำหรับการเกษตรได้น้อยกว่าร้อยละหนึ่ง

มองโกเลียมีประชากรเพียง 3 ล้านกว่าคน แต่มีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทยถึงกว่า 3 เท่า ซึ่งทำให้ประเทศมองโกเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุดในโลก ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยานแบบทิเบต และประชากรร้อยละ 38 อาศัยอยู่ในเมืองหลวงอูลานบาตอร์

เนื้อหา

ภูมิศาสตร์[แก้]

ภาพถ่ายประเทศมองโกเลียจากดาวเทียม

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ภูมิประเทศ[แก้]

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบทะเลทราย ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรเบาบางที่สุดในโลก

ภูมิอากาศ[แก้]

ในฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนมาก แต่ในฤดูหนาวอากาศหนาวมากและมีหิมะตก

ประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์มองโกเลีย

ยุคกลาง[แก้]

สมัยใหม่[แก้]

มองโกเลียเคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิมองโกลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งต่อมาได้ยึดอำนาจเข้าปกครองจีนในนามของราชวงศ์หยวนแต่ก็ต้องมาเสียอำนาจเมื่อราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเข้ามามีอำนาจซึ่งทางมองโกเลียเองต้องอยู่ใต้อำนาจของราชวงศ์ดังกล่าวอีกด้วย มองโกเลียได้รับเอกราชจากจีนเมื่อปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) จากการช่วยเหลือของสหภาพโซเวียตแต่ต้องสถาปนาการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ตามแบบประเทศเพื่อนบ้าน ลัทธิคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลงจากมองโกเลียเมื่อปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ปีเดียวกันกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งต่อมามองโกเลียได้นำระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามาใช้กับตน

การเมืองการปกครอง[แก้]

บริหาร[แก้]

นิติบัญญัติ[แก้]

ตุลาการ[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

มองโกเลียแบ่งเขตออกเป็น 21 จังหวัด ซึ่งชาวมองโกลเรียกว่า aymag: ไอมัก (ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า prefecture) แต่เดิม มองโกเลียเป็นมณฑลของจีน จึงมีการแบ่งมองโกเลียเป็นเขตย่อยลงไปอีก แล้วยังคงเป็นเช่นนี้หลังจากที่มองโกเลียเป็นเอกราช

ต่างประเทศ[แก้]

ความสัมพันธ์กับรัสเซีย[แก้]

ความสัมพันธ์กับจีน[แก้]

ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย[แก้]

ความสัมพันธ์มองโกเลีย – ไทย
Map indicating location of มองโกเลีย and ไทย

มองโกเลีย

ไทย

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพมองโกเลีย

กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

เนื่องจากมองโกเลียอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตมาตั้งแต่ปี 2467 และมีการค้ากับสหภาพโซเวียตประมาณร้อยละ 85 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพโซเวียต ส่งผลให้ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศลดลงตั้งแต่ปี 2534 มีผลกระทบทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในมองโกเลีย วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงที่มองโกเลียกำลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสังคมนิยมมาสู่ระบบตลาดเสรี ทำให้มองโกเลียเร่งเปิดประตูสู่นานาชาติมากขึ้นภายใต้ระบบตลาดเสรีในปัจจุบัน มองโกเลียได้ดำเนินนโยบายเปิดกว้างเพื่อให้เกิดการค้า การลงทุน และการจ้างงานมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปมาก

การท่องเที่ยว[แก้]

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]

การศึกษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: การศึกษาในมองโกเลีย

สาธารณสุข[แก้]

สวัสดิการสังคม[แก้]

ประชากรศาสตร์[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

เป็นชาวมองโกล 90 % ชาวคาซัค 4 % ชาวรัสเซีย 2 % ชาวจีน 2 % อื่นๆ 2 %

ภาษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภาษามองโกเลีย

ปัจจุบัน มีผู้พูดภาษามองโกเลียทั้งหมด 95 % ของประเทศ

ศาสนา[แก้]

ศาสนาต่างในประเทศมองโกเลีย[1]

กีฬา[แก้]

ยกน้ำหนัก[แก้]

ดูบทความหลักที่: สมาคมยกน้ำหนักมองโกเลีย

มวยสากล[แก้]

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมมองโกเลีย

วิถีชีวิต[แก้]

กระโจมชาวมองโกล

ชาวมองโกลจะอาศัยอยู่สิ่งที่เรียกว่า "เยิร์ต" ที่สามารถรื้อถอนได้ง่าย และชาวมองโกลส่วนใหญ่เป็นพวกเร่ร่อน ในปีหนึ่งชาวมองโกลจะย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆถึง 20 ครั้ง

สถาปัตยกรรม[แก้]

วรรณกรรม[แก้]

อาหาร[แก้]

ดนตรี และ นาฏศิลป์[แก้]

สื่อสารมวลชน[แก้]

วันหยุด[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศมองโกเลีย ได้โดยค้นหาจาก
โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย :
Wiktionary-logo-th.png หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม
Wikibooks-logo.svg หนังสือ จากวิกิตำรา
Wikiquote-logo.svg คำคม จากวิกิคำคม
Wikisource-logo.svg ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ
Commons-logo.svg ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
Wikinews-logo.svg เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
Wikiversity-logo-en.svg แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย
รัฐบาล
การศึกษา
ด้านการท่องเที่ยว

แม่แบบ:หัวข้อเกี่ยวกับมองโกเลีย