ประเทศอาร์มีเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐอาร์มีเนีย
Հայաստանի Հանրապետություն (อาร์มีเนีย)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญอาร์มีเนีย: Մեկ Ազգ , Մեկ Մշակույթ
(Mek Azg, Mek Mshakouyt:
หนึ่งชาติ หนึ่งวัฒนธรรม)
เพลงชาติเมร์ ไฮเรนิก (Մեր Հայրենիք)
(ปิตุภูมิของเรา)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เยเรวาน
40°16′N 44°34′E / 40.267°N 44.567°E / 40.267; 44.567
ภาษาราชการ ภาษาอาร์มีเนีย
การปกครอง สาธารณรัฐประชาธิปไตย
 -  ประธานาธิบดี แซร์ช ซาร์กเซียน
 -  นายกรัฐมนตรี โฮวิค อับบราฮัมยาน
เอกราช จากสหภาพโซเวียต/สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน(เข้ายึดครอง) 
 -  ประกาศ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2533 
 -  เป็นที่ยอมรับ 21 กันยายน พ.ศ. 2534 
พื้นที่
 -  รวม 29,800 ตร.กม. (139 1)
11,506 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 4.7
ประชากร
 -  2549 (ประเมิน) 2,976,372 (133)
 -  2532 (สำมะโน) 3,288,000 
 -  ความหนาแน่น 100 คน/ตร.กม. (74)
259 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 13.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (118)
 -  ต่อหัว 4,600 ดอลลาร์สหรัฐ (119)
HDI (2003) 0.759 (กลาง) (83)
สกุลเงิน ดรัมอาร์มีเนีย (AMD)
เขตเวลา UTC (UTC+4)
 -  (DST) เวลาออมแสง (UTC+5)
โดเมนบนสุด .am
รหัสโทรศัพท์ 374
1: ไม่รวมนากอร์โน-คาราบัค

อาร์มีเนีย หรือ อาร์เมเนีย[1] (อังกฤษ: Armenia, เสียงอ่าน: /ɑː(r)ˈmiːniə/; อาร์มีเนีย: Հայաստան) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอาร์มีเนีย (อังกฤษ: Republic of Armenia; อาร์มีเนีย: Հայաստանի Հանրապետություն) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส มีอาณาเขตติดต่อกับตุรกีทางทิศตะวันตก ติดต่อกับจอร์เจียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันออก และทางทิศใต้ติดต่อกับอิหร่านและรัฐปกครองตนเองนาคีเชวาน (เป็นดินแดนส่วนแยกของอาเซอร์ไบจาน) อาร์มีเนียเป็นรัฐสมาชิกของสภายุโรปและเครือรัฐเอกราช อาร์มีเนียเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

ประวัติศาสตร์[แก้]

การเมือง[แก้]

ระบบการเมืองของอาร์มีเนียเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

สถาบันทางการเมือง

ฝ่ายนิติบัญญัติ 
เป็นระบบสภาเดียว คือ สภาแห่งชาติ มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาทุก ๆ 4 ปี มี 131 ที่นั่ง โดยแบ่งเป็นแบบเขตเดียวคนเดียว (one-mandate electoral districts) จำนวน 75 ที่นั่ง และแบบบัญชีรายชื่อ (party lists) จำนวน 56 ที่นั่ง
ฝ่ายบริหาร  
  1. ประธานาธิบดี เป็นประมุข อยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี ประธานาธิบดีคนเดียวกันจะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ มีอำนาจในการบริหารประเทศและแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจำนวน 25 คน ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
  2. นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งประธานาธิบดีจะเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้เสนอชื่อคณะรัฐมนตรีต่อประธานาธิบดี โดยคณะรัฐมนตรีประกอบด้วยรัฐมนตรี 25 คน (21 กระทรวง)
ฝ่ายตุลาการ 
ศาลฎีกา (9 คน) ศาลรัฐธรรมนูญ (9 คน)

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แผนที่แสดงเขตการปกครองของประเทศอาร์มีเนีย

อาร์มีเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 จังหวัด (marz, พหูพจน์: marzer) ได้แก่

  1. จังหวัดอารากัตซอตน์ (Aragatsotn)
  2. จังหวัดอารารัต (Ararat)
  3. จังหวัดอาร์มาวีร์ (Armavir)
  4. จังหวัดเกการ์คูนิค (Gegharkunik)
  5. จังหวัดโคไตค์ (Kotayk)
  6. จังหวัดโลรี (Lori)
  7. จังหวัดชีรัค (Shirak)
  8. จังหวัดซูย์นิค (Syunik)
  9. จังหวัดตาวุช (Tavush)
  10. จังหวัดวายอตส์ซอร์ (Vayots Dzor)
  11. จังหวัดเยเรวาน (Yerevan)

ภูมิศาสตร์[แก้]

ภูมิประเทศอาร์มีเนีย

ประเทศอาร์มีเนียเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัสและอยู่ระหว่างทะเลดำกับทะเลแคสเปียน โดยทางเหนือติดกับประเทศจอร์เจียและอาเซอร์ไบจาน ทางใต้ติดกับประเทศอิหร่านและตุรกี

อาณาเขต[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเพชรเจียระไน อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร อาหารสำเร็จรูป

ทรัพยากรธรรมชาติ ทองแดง อะลูมิเนียม

ตลาดนำเข้าที่สำคัญ รัสเซีย เบลเยียม สหรัฐฯ อิสราเอล อิหร่าน

ตลาดส่งออกที่สำคัญ เบลเยี่ยม สหราชอาณาจักร อิสราเอล รัสเซีย อิหร่าน

สินค้านำเข้าที่สำคัญ ก๊าซธรรมชาติ ยาสูบ อาหาร เพชร ปิโตรเลียม

สินค้าออกที่สำคัญ เพชร แร่ธาตุ อาหาร พลังงาน (2547)

ประชากร[แก้]


วัฒนธรรม[แก้]

ละครอาร์มีเนีย

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง". ราชกิจจานุเบกษา. 26 พฤศจิกายน 2544. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557. 

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]