ประเทศตูวาลู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตูวาลู
Tuvalu (อังกฤษ)
Tuvalu (ตูวาลู)
ธงชาติ
คำขวัญTuvalu mo te Atua
("แปดยืนยงเพื่อพระเจ้า")
เพลงชาติตูวาลูโมเตอาตูอา
เมืองหลวง วาอีอากู (หมู่บ้าน; รัฐบาล),
โฟงาฟาเล (เกาะ), ฟูนะฟูตี (อะทอลล์)
8°31′S 179°13′E / 8.517°S 179.217°E / -8.517; 179.217
ภาษาราชการ ภาษาตูวาลูและภาษาอังกฤษ
การปกครอง ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
 -  ประมุข สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
 -  ผู้สำเร็จราชการ เซอร์เอียโคบา อิตาเลลี
 -  นายกรัฐมนตรี เอเนเล โซโปอากา
เอกราช
 -  จาก สหราชอาณาจักร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 
พื้นที่
 -  รวม 26 ตร.กม. (227)
10 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  ก.ค. 2548 (ประเมิน) 10,441 (222)
 -  ความหนาแน่น 441 คน/ตร.กม. (22)
1,142 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2544 (ประมาณ)
 -  รวม 12.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (228)
 -  ต่อหัว 1,100 ดอลลาร์สหรัฐ 
สกุลเงิน ดอลลาร์ตูวาลู
ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD)
เขตเวลา (UTC+12)
โดเมนบนสุด .tv
รหัสโทรศัพท์ 688

ตูวาลู (ตูวาลูและอังกฤษ: Tuvalu) หรือเดิมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะเอลลิซ (อังกฤษ: Ellice Islands) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่อประเทศแปลว่า "แปดยืนยง" (Eight Standing Together) ในภาษาตูวาลู นอกจากนครรัฐวาติกันแล้ว ตูวาลูเป็นประเทศอิสระที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากมีความสูงต่ำ (สูงสุดคือ 5 เมตร) เกาะที่ประกอบเป็นประเทศนี้ อาจจะเกิดปัญหาถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า ประชากรอาจจะอพยพไปที่ประเทศนิวซีแลนด์หรือเกาะนีอูเอซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่เป็นปกครองตนเองแต่ขึ้นกับนิวซีแลนด์ที่ไม่มีปัญหาจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเล แต่มีประชากรน้อยลง

ประวัติศาสตร์[แก้]

ภาพชาวตูวาลู วาดโดย Alfred Agate เมื่อ ค.ศ. 1841

ชาวสเปนเป็นพวกแรกที่เข้ามาพบหมู่เกาะแห่งนี้ ในระหว่างการเดินทางเพื่อค้นหาดินแดนแห่งใหม่ทางตอนใต้ แต่ก็ไม่ให้ความสนใจเท่าใด ต่อมามีชาวอังกฤษเดินเรือเข้ามาพบและได้ตั้งชื่อว่า หมู่เกาะเอลลิซ ตามชื่อของนักการเมืองอังกฤษที่เป็นเจ้าของเรือ ต่อมากลายเป็นชื่อเรียกหมู่เกาะ

ใน พ.ศ. 2435 หมู่เกาะเอลลิซกลายเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ หลังจากนั้นก็ถูกรวมเข้ากับหมู่เกาะกิลเบิร์ต (ปัจจุบันคือคิริบาส) เป็นอาณานิคมของอังกฤษ กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองหมู่เกาะเอลลิซในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อเป็นที่มั่นสำหรับต่อต้านทหารญี่ปุ่นที่ยึดครองหมู่เกาะกิลเบิร์ต หลังสงครามเกิดความตึงเครียดระหว่างประชากรของหมู่เกาะกิลเบิร์ตกับประชากรของหมู่เกาะเอลลิซ หมู่เกาะเอลลิซจึงได้แยกตัวออกมา และเป็นประเทศเอกราชในเครือจักรภพอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2521

การเมือง[แก้]

ระบบรัฐสภา ระบบสภาเดี่ยวเรียกว่า House of Assembly ประกอบด้วยสมาชิก 15 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ตูวาลูแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เกาะและหมู่เกาะ มีอยู่ 5 แห่งที่เป็นอะทอลล์หรือเกาะปะการัง (atoll) โดยเขตการปกครองท้องถิ่นที่ประกอบด้วยเกาะหนึ่งเกาะ ได้แก่

ส่วนเขตการปกครองท้องถิ่นที่ประกอบด้วยเกาะมากกว่าหนึ่งเกาะ ได้แก่

ภูมิศาสตร์[แก้]

ชายหาดในตูวาลู

ตูวาลูอยู่ในเขตลมค้า แต่บนขอบของตะวันตกภาคใต้เขต doldrum แปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตร แลกเปลี่ยนเป็นลมจากไตรมาสตะวันออกและเกิดขึ้นบ่อยระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ในปีที่สุดจากธันวาคม-มีนาคม, ลมระหว่างทิศตะวันตกและทิศเหนือจะเท่ากับหรือเกิน easterlies ในความถี่

เศรษฐกิจ[แก้]

สหประชาชาติจัดให้ตูวาลูอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด เนื่องจากประเทศมีขนาดเล็ก ทรัพยากรธรรมชาติไม่อุดมสมบูรณ์ และมีข้อจำกัดในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ตูวาลูยังประสบปัญหาภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงเพื่อการยังชีพ และสองในสามของการ จ้างงานในประเทศคือการจ้างงานของภาครัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากการให้สัมปทานทำประมง เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสหราชอาณาจักร ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย และรายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ นอกจากนี้ ตูวาลูยังมีรายได้จากกองทุนตูวาลู และการให้เช่าอินเทอร์เน็ตโดเมนเนม .tv

ประชากร[แก้]

ชาวตูวาลูสานไม้

ประเทศตูวาลูมีประชากร 10,441 คน (พ.ศ. 2548) ประเทศตูวาลูมีประชากรหนาแน่นพอๆกันกับประเทศนาอูรู แต่มีประชากรน้อยกว่าประเทศนาอูรู

ประเทศตูวาลูจะมี นกกีวี อยู่เป็นจำนวนมาก และมีพืชพันธ์ไม่ป่า เขตร้อนอยู่

วัฒนธรรม[แก้]