ประเทศเกรเนดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระวังสับสนกับ กรานาดา
เกรเนดา
Grenada (อังกฤษ)
ธงชาติ
คำขวัญThe Land, the People, the Light
เพลงชาติเฮลเกรเนดา "Hail Grenada"
เพลงสรรเสริญพระบารมี : ก็อดเซฟเดอะควีน1
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เซนต์จอร์เจส
12°3′N 61°45′W / 12.050°N 61.750°W / 12.050; -61.750
ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ
การปกครอง ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
 -  ประมุข สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
 -  ผู้สำเร็จราชการ เซอร์คาร์ไลล์ กลีน
 -  นายกรัฐมนตรี คีท มิตเชลล์
เอกราช
 -  จาก สหราชอาณาจักร 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 
พื้นที่
 -  รวม 344 ตร.กม. (217)
132.8 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 1.6
ประชากร
 -  ก.ค. 2548 (ประเมิน) 89,502 (199)
 -  ความหนาแน่น 259.5 คน/ตร.กม. (30)
672.2 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2545 (ประมาณ)
 -  รวม 440 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (210)
 -  ต่อหัว 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ (134)
HDI (2546) 0.787 (ปานกลาง) (66)
สกุลเงิน ดอลลาร์แคริบเบียนตะวันออก (XCD)
เขตเวลา (UTC-4)
 -  (DST)  (UTC-4)
ระบบจราจร ซ้ายมือ
โดเมนบนสุด .gd
รหัสโทรศัพท์ 1-473
1God Save The Queen เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ในพระราชพิธีเท่านั้น

เกรเนดา (อังกฤษ: Grenada) เป็นประเทศบนเกาะในทะเลแคริบเบียนตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงหมู่เกาะเกรนาดีนส์ (Grenadines) ทางใต้ เป็นประเทศอิสระที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ใน ซีกโลกตะวันตก (ประเทศที่เล็กที่สุดคือ ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส) ตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศตรินิแดดและโตเบโก และทางใต้ของประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์

เนื้อหา

ภูมิศาสตร์[แก้]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์เกรเนดา

อาณานิคมฝรั่งเศส[แก้]

ในอดีตเกรเนดาเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าแคริบ (Carib) และอาราวัก (Arawaks) ต่อมาในปี ค.ศ. 1498 โคลัมบัสได้ค้นพบดินแดนแห่งนี้ โดยในระยะแรกถูกเรียกว่า กอนเซปซีออน (Concepción) จนในประมาณศตวรรษที่ 18 จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นเกรเนดา (Grenada) อย่างไรก็ดี แม้ว่าเกรเนดา จะถูกค้นพบโดยโคลัมบัส แต่ก็มิได้เป็นอาณานิคมของสเปนนานนัก โดยใน ค.ศ. 1650 ตกไปอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลในปี ในปี ค.ศ. 1763

อาณานิคมสหราชอาณาจักร[แก้]

สหราชอาณาจักรก็ได้เข้าปกครองเกรเนดา ภายหลังจากที่มีชัยชนะต่อฝรั่งเศสในสงคราม 7 ปี เกรเนดามีฐานะเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรจนถึง ค.ศ. 1974 เมื่อได้รับเอกราชในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ของปีนั้น

สหรัฐอเมริกาเข้าแทรงแซงทางการเมือง[แก้]

ค.ศ. 1983 กองทัพสหรัฐอเมริกาได้เข้าแทรกแซงประเทศในแถบแคริบเบียนเพื่อสร้างเสภียรภาพทางการเมืองในเกรเนดา

การเมืองการปกครอง[แก้]

รูปแบบการปกครองของเกรเนดาเป็นแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐธรรมนูญปัจจุบัน 19 ธันวาคม 2514 ประมุขของประเทศ สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ทรงใช้พระราชอำนาจผ่านทางผู้สำเร็จราชการ (Governer-General) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีเกรเนดา

บริหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลเกรเนดา

หัวหน้าฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นาย Keith Mitchell (เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อ 22 มิถุนายน 2538 ฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีได้รับการเลือกตั้งจากเสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วจะได้แก่หัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก โดยจะได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการ และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้สรรหาและจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งเป็น 6 เขต ได้แก่ Saint Andrew, Saint David, Saint George, Saint John, Saint Mark, Saint Patrick และอีก 1 เขตปกครองตนเอง คือ Carriacou and Petit Martinique

นิติบัญญัติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาแห่งเกรเนดา

ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภาประกอบด้วย 2 สภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิกมีจำนวนทั้งสิ้น 13 คน โดย 10 คนมาจากการเสนอชื่อของพรรครัฐบาลและ และอีก 3 คนมาจากการเสนอชื่อของหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนทั้งสิ้น 15 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี

พรรคการเมือง[แก้]

- พรรค New National Party (NNP) เป็นพรรครัฐบาล โดยในปัจจุบันครองที่นั่งทั้งหมด (15 ที่นั่ง) ในสภาผู้แทนราษฎร - พรรค National Democratic Congress (NDC) - พรรค Grenada United Labor Party (GULP) - พรรค The National Party (TNP) - พรรค Maurice Bishop Patriotic Movement (MBPM) - พรรค Unity Labor Party (ULP)

ตุลาการ[แก้]

ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายตุลาการประกอบด้วย ศาลแพ่ง ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา อำนาจในการพิจารณาไต่สวน อยู่ภายใต้อำนาจของศาลสูงสุดแคริบเบียนตะวันออก ("en:Eastern Caribbean Supreme Court") มีศาลฎีกาอยู่ในตำแหน่งสูงสุด การยื่นอุทธรณ์นั้นผ่านการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ ส่วนการยื่นฎีกาจะยื่นให้คณะกรรมการฝ่ายตุลาการแห่งองคมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร (Privy Council) เป็นผู้พิจารณา

การบังคับใช้กฎหมาย[แก้]

สิทธิมนุษยชน[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เกรเนดาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขตการปกครองส่วนท้องถิ่น (parishes) ได้แก่

ส่วน กาเรียกูและเปอตีมาร์ตินีก (Carriacou and Petit Martinique) เกาะ 2 เกาะในหมู่เกาะเกรนาดีนส์มีฐานะเป็นเมืองขึ้น (dependency)

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพเกรเนดา

กองทัพบก[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพบกเกรเนดา

กองทัพอากาศ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพอากาศเกรเนดา

กองทัพเรือ[แก้]

ดูบทความหลักที่: ราชนาวีเกรเนดา

กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

การท่องเที่ยว[แก้]

ดูบทความหลักที่: การท่องเที่ยวในเกรเนดา

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

คมนาคม[แก้]

โทรคมนาคม[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]

การศึกษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: การศึกษาในเกรเนดา

สาธารณสุข[แก้]

สวัสดิการสังคม[แก้]

ประชากรศาสตร์[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

ศาสนา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ศาสนาในเกรเนดา

ภาษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภาษาในเกรเนดา

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมเกรเนดา

สถาปัตยกรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: สถาปัตยของเกรเนดา

ดนตรี[แก้]

ดูบทความหลักที่: ดนตรีของเกรเนดา

อาหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: อาหารเกรเนดา

สื่อสารมวลชน[แก้]

ดูบทความหลักที่: สื่อสารมวลชนในเกรเนดา

วันหยุด[แก้]

กีฬา[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
การท่องเที่ยว
แผนที่