ประเทศมอลโดวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐมอลโดวา
Republica Moldova (โรมาเนีย)
ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติLimba noastră
(โรมาเนีย: "ภาษาของเรา")
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
คีชีเนา
47°0′N 28°55′E / 47.000°N 28.917°E / 47.000; 28.917
ภาษาราชการ ภาษามอลโดวา1 (ภาษาโรมาเนีย)
การปกครอง ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
 -  ประธานาธิบดี นีโกลาเอ ตีมอฟตี
 -  นายกรัฐมนตรี ยูเรีย เลอันกา
ได้รับเอกราช
 -  จาก สหภาพโซเวียต 27 สิงหาคม พ.ศ. 2534 
พื้นที่
 -  รวม 33,843 ตร.กม. (135)
13,067 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 1.4%
ประชากร
 -  2548 (ประเมิน) 4,455,421 (117)
 -  2547 (สำมะโน) 3,388,0713 
 -  ความหนาแน่น 131 คน/ตร.กม. (56)
339 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 9,367 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (141)
 -  ต่อหัว 2,100 ดอลลาร์สหรัฐ (178)
HDI (2548) 0.671 (กลาง) (115)
สกุลเงิน ลิว (MDL)
เขตเวลา EET (UTC+2)
 -  (DST) EEST (UTC+3)
โดเมนบนสุด .md
รหัสโทรศัพท์ 373
1ภาษามอลโดวาเป็นอีกชื่อหนึ่งของภาษาโรมาเนียที่ใช้ในประเทศนี้
2ภาษากาเกาซ์และภาษารัสเซียเป็นภาษาทางการในเขตปกครองตนเองกาเกาเซียด้วย
3ไม่รวมทรานส์นีสเตรีย

มอลโดวา (มอลโดวา: Moldova) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมอลโดวา (มอลโดวา: Republica Moldova) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ตั้งอยู่ระหว่างประเทศโรมาเนียทางทิศตะวันตก และประเทศยูเครนทางทิศตะวันออก มีพรมแดนกับโรมาเนียตามแม่น้ำพรุต (Prut River) และแม่น้ำดานูบ (Danube River)

ในอดีตพื้นที่ประเทศมอลโดวาอยู่ในอาณาบริเวณของราชรัฐมอลดาเวีย (Principality of Moldavia) ต่อมาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียในปี พ.ศ. 2355 และได้รวมกับดินแดนโรมาเนียอื่น ๆ เป็นประเทศโรมาเนียในปี พ.ศ. 2461 หลังจากเปลี่ยนผู้มีอำนาจเหนือดินแดนนี้ไปมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มอลโดวาก็ได้กลายเป็นดินแดนของสหภาพโซเวียตในชื่อสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลดาเวีย (Moldavian SSR) ระหว่างปี พ.ศ. 2488-2534 จนในที่สุดก็ได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2534

ประวัติศาสตร์[แก้]

ในบรรดากลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช มอลโดวาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็กเป็นอันดับที่สอง รองจากอาร์เมเนีย ในประวัติศาสตร์ มอลโดวาเป็นรัฐเล็กๆ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ Prut กับ แม่น้ำ Dniestr ซึ่งรู้จักกันในครั้งนั้นว่า เบสซาเรเบีย (Bessarabia) เคยอยู่ภายใต้การปกครองของโรมาเนีย ต่อมาถูกรุกรานและมีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนบ่อยครั้ง จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง รัฐนี้จึงได้ถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสหภาพโซเวียต

ในสมัยยุคกลาง ดินแดนส่วนใหญ่ของมอลโดวาที่ขณะนี้ถูกผนวกรวมกับโรมาเนียและยูเครน เคยอยู่ภายใต้การปกครองของฮังการีและลิทัวเนีย ในคริสตศวรรษที่ 16 ถูกตุรกีเข้ามาปกครอง และถูกผนวกรวมกับสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1812 อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากพ่ายแพ้ในสงครามไครเมีย สหภาพโซเวียตต้องเสียดินแดนส่วนหนึ่งของมอลโดวา (ทางใต้ของ Bessarabia) ให้โรมาเนีย แต่ก็ได้กลับคืนมาอีกครั้ง ในระหว่างการประชุม Congress of Berlin ในปีค.ศ. 1878 ต่อมาสหภาพโซเวียตต้องเสียดินแดน Bessarabia ให้โรมาเนียอีกครั้งในปี ค.ศ. 1918 และในปี ค.ศ. 1924 สหภาพโซเวียตได้จัดตั้งดินแดนอิสระมอลดาเวียแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตขึ้น (The Moldavian Autonomous Soviet Socialist Republic : ASSR) ทางภาคตะวันออกของแม่น้ำ Dniestr (ประชากรส่วนใหญ่เป็นมีเชื้อชาติยูเครน) และไม่ยอมรับการอ้างสิทธิ์ของโรมาเนียเหนือดินแดน Bessarabia ภายหลังจากการลงนามสนธิสัญญานาซี - โซเวียต (the Nazi - Soviet pact) ในปี ค.ศ. 1939 สหภาพโซเวียตได้ดินแดน Bessarabia กลับคืนมาและผนวกรวมกับ Moldavian ASSR ในปี ค.ศ. 1940 และเสียดินแดนส่วนใหญ่ของมอลโดวาให้โรมาเนียอีกครั้งเมื่อเยอรมันบุกสหภาพโซเวียตในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 ยกเว้นทางด้านตะวันออกของแม่น้ำ Dniestr ส่วนบริเวณ Tranistria ซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำ Dniestr กับแม่น้ำ Bug ก็ถูกครอบครองโดยกองกำลังทหารของโรมาเนียที่เข้าไปสร้างความโหดร้ายให้แก่ชาวพื้นเมืองเป็นอย่างมาก ในขณะที่ชาวยิวและชาวยิบซีได้รับการยกเว้น อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง มอลโดวาก็กลับมาอยู่ภายใต้การครอบครองของสหภาพโซเวียตอีกครั้งในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 เขตแดนในปัจจุบันของมอลโดวาถูกกำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 1947 เมื่อได้มีการจัดตั้งดินแดนอิสระมอลดาเวีย ASSR อีกครั้ง และโรมาเนียยอมยกมอลโดวาให้สหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ ดังนั้น จึงมีการรื้อฟื้นการปกครองแบบโซเวียต และสาธารณรัฐมอลโดวาก็เข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนให้เป็นรัสเซีย อย่างเข้มงวด (Rigorous Russiafication) ทำให้ในระหว่างนั้น มอลโดวาถูกแยกออกจากการปกครองของโรมาเนียอย่างเด็ดขาด อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้ผู้อพยพชาวยูเครนกับชาวรัสเซียเข้าไปตั้งถิ่นฐานในมอลโดวา โดยเฉพาะบริเวณเขตอุตสาหกรรม Trandniestr

นโยบาย Russiafication ในมอลโดวาดำเนินไปอย่างเข้มข้นตลอดระยะเวลาหลังสงครามโลก ครั้งที่สองและเริ่มเบาบางลงเมื่อสหภาพโซเวียตมีนโยบายเปิดกว้าง (Glasnost) ในปลายปี ค.ศ. 1986 และต่อมาในปี ค.ศ. 1989 กระบวนการแยกตัวเป็นเอกราชและการปฏิรูปประเทศของมอลโดวาก็เริ่มชัดเจนขึ้น โดยผลที่เป็นรูปธรรมที่สุด คือ การที่รัฐบาลสหภาพโซเวียตต้องยอมให้ภาษามอลโดวาภาษาทางการแทนการใช้ภาษารัสเซีย

ภายหลังจากนาย Mircea Druc นักเศรษฐศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 นาย Druc ได้ริเริ่มแผนปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการเมือง จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1990 รัฐสภามอลโดวาได้ออกเสียงที่จะให้มีการประกาศเอกราชและการร่างรัฐธรรมนูญ จนในที่สุดมอลโดวาก็ได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1991 พร้อมทั้งได้เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังทหารออกจากมอลโดวาและจัดตั้งกองกำลังแห่งชาติมอลโดว่าขึ้นมาแทน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

Administrative division

ประเทศมอลโดวาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 32 เขต (districts) 5 เทศบาลนคร (municipalities) (คีชีเนา บัลต์ซี ตีกีนา คอมรัต และตีรัสปอล) 2 เขตกึ่งปกครองตนเอง (semi-autonomous regions) (กาเกาเซียและทรานส์นีสเตรีย - สถานะของเขตนี้ยังเป็นที่ขัดแย้ง) เขตต่าง ๆ ได้แก่

ไม่มีชาติใดยอมรับอำนาจอธิปไตยของทรานส์นีสเตรีย โดยยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมอลโดวาโดยนิตินัย (ตามกฎหมาย) แม้ว่าในความเป็นจริงรัฐบาลมอลโดวาจะไม่ได้ควบคุมดินแดนนี้ก็ตาม

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]