ประเทศสโลวีเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐสโลวีเนีย
Republika Slovenija (สโลวีเนีย)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติZdravljica
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ลูบลิยานา
46°03′N 14°30′E / 46.050°N 14.500°E / 46.050; 14.500
ภาษาราชการ ภาษาสโลวีเนีย1
การปกครอง สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
 -  ประธานาธิบดี บอรุต พาฮอร์
 -  นายกรัฐมนตรี อาเลนคา บราตูเชก
ได้รับเอกราช จาก ยูโกสลาเวีย 
 -  ประกาศ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2534 
 -  เป็นที่ยอมรับ พ.ศ. 2535 
เข้าร่วมสหภาพยุโรป 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
พื้นที่
 -  รวม 20,273 ตร.กม. (151)
7,827 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 0.6%
ประชากร
 -  ก.ค. 2548 (ประเมิน) 2,011,070 (142)
 -  2545 (สำมะโน) 1,964,036 
 -  ความหนาแน่น 99 คน/ตร.กม. (77)
256 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 42.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (84)
 -  ต่อหัว 20,900 ดอลลาร์สหรัฐ (31)
HDI (2556) 0.874 (สูงมาก) (25)
สกุลเงิน ยูโร2 (EUR)
เขตเวลา CET (UTC+1)
 -  (DST) CEST (UTC+2)
โดเมนบนสุด .si
รหัสโทรศัพท์ 386
1 ภาษาอิตาลีและภาษาฮังการีก็เป็นภาษาทางการที่ยอมรับเช่นกันตามเขตชุมชนท้องถิ่น
2ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ใช้หน่วยเงินโทลาร์ (SIT)

ประเทศสโลวีเนีย (อังกฤษ: Slovenia; สโลวีเนีย: Slovenija) ชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย (อังกฤษ: Republic of Slovenia; สโลวีเนีย: Republika Slovenija) เป็นประเทศบนชายฝั่งทางใต้ของเทือกเขาแอลป์ ในยุโรปกลางตอนใต้ มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดอิตาลี ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลเอเดรียติก ทางใต้และตะวันออกจรดโครเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดฮังการี และทางเหนือจรดออสเตรีย

สโลวีเนียเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรยูโกสลาเวียจนถึง พ.ศ. 2488 และเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียตั้งแต่ พ.ศ. 2488 จนได้รับเอกราชเมื่อพ.ศ. 2534 และได้กลายเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป เมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของคณะมนตรียุโรป (Council of Europe) นาโต (NATO) และเป็นผู้สังเกตการณ์ในองค์กรภาษาฝรั่งเศส (La Francophonie)

ประวัติศาสตร์[แก้]

ประเทศสโลวีเนียเคยเป็น 1 ใน 6 รัฐของยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวียเดิมประกอบด้วย 6 สาธารณรัฐ กล่าวคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย โครเอเชีย เซอร์เบีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร และมาซิโดเนีย รวมทั้งคอซอวอและวอยวอดีนาซึ่งเป็นจังหวัดปกครองตนเอง

การเมือง[แก้]

การเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2533 – 2547[แก้]

สโลวีเนียมีการเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2533 นาย Milan Kucan ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ภายหลังการแยกตัวเป็นเอกราช มีการจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีในเดือนธันวาคม 2535 ซึ่งประธานาธิบดี Kucan ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง

ในปี พ.ศ. 2535 พรรค Liberal Democratic (LDS) ของนาย Janez Drnovsek ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง นาย Drnovsek ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาลผสมโดยการประสานผลประโยชน์ของฝ่ายต่างๆ นาย Drnovsek มีนโยบายที่จะนำสโลวีเนียสู่เวทีระหว่างประเทศ ทำให้พรรค LDS ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างต่อเนื่องและได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2539 ในสมัยที่ 2 นี้ นาย Drnovsek ให้ความสำคัญต่อการเข้าเป็นสมาชิก EU และองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) ในด้านเศรษฐกิจ มีนโยบายส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเสรี โดยเน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี ในเดือนเมษายน 2543 เกิดความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล นาย Drnovsek ได้พยายามปรับคณะรัฐมนตรี แต่ไม่เป็นผล พรรค Slovenian People's Party (SLS) ซึ่งรวมกับพรรค Christian Democrats (SKD) และใช้ชื่อพรรคใหม่ว่าพรรค SLS+SKD สามารถร่วมมือกับพรรค Slovenian Democratic (SDS) จนมีเสียงสนับสนุนในสภาฯ มากพอ ได้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2543 โดยมีนาย Andrej Bajuk รองหัวหน้าพรรค SLS+SKD เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของนาย Bajuk ได้บริหารประเทศจนถึงเดือนกันยายน 2543 เมื่อรัฐสภาสโลวีเนียครบวาระ

ในเดือนตุลาคม 2543 สโลวีเนียได้จัดการเลือกตั้งทั่วไป ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรค LDS ของนาย Drnovsek ยังคงได้รับความนิยมจากประชาชน นาย Drnovsek ได้จัดตั้งรัฐบาลผสม 4 พรรค โดยร่วมกับพรรค United List of Social Democrats (ZLSD) พรรค SLS+SKD และพรรค Democratic Party of Retired Persons of Slovenia (DeSUS) โดยนาย Drnovsek ยังคงได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน 2545 นาย Drnovsek ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งประธานาธิบดีและได้รับเลือกตั้ง จึงได้แต่งตั้งนาย Anton Rop เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรัฐสภาได้ให้การรับรองเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2545

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ภูมิศาสตร์[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

ประชากร[แก้]

2 ล้านคน (พ.ศ. 2546) ชาวสโลวีน ร้อยละ 92 ชาวโครอัต ร้อยละ 1 ชาวเซิร์บ บอสเนีย ฮังกาเรียน และอื่นๆ

วัฒนธรรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]