ประเทศฮอนดูรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐฮอนดูรัส
República de Honduras (สเปน)
ธงชาติ
คำขวัญ
"Libre, Soberana e Independiente" (สเปน)
"เสรี, อำนาจอธิปไตยและเอกราช"
เพลงชาติHimno Nacional de Honduras
(เพลงชาติฮอนดูรัส)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เตกูซิกัลปา
14°6′N 87°13′W / 14.100°N 87.217°W / 14.100; -87.217
ภาษาราชการ ภาษาสเปน
การปกครอง สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
 -  ประธานาธิบดี ปอร์ฟีรีโอ โลโบ โซซา
เอกราช จาก สเปน 
 -  ประกาศ 15 กันยายน พ.ศ. 2364 
 -  เป็นที่ยอมรับ พ.ศ. 2366 
พื้นที่
 -  รวม 112,492 ตร.กม. (102)
43,278 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  2553 (ประเมิน) 7,466,0002 (100)
 -  ความหนาแน่น 64 คน/ตร.กม. (128)
166 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2557 (ประมาณ)
 -  รวม 40.983 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] 
 -  ต่อหัว 4,959 ดอลลาร์สหรัฐ[1] 
HDI (2556) 0.617[2] (กลาง) (129)
สกุลเงิน เลมปีรา (HNL)
เขตเวลา CST (UTC−6)
โดเมนบนสุด .hn
รหัสโทรศัพท์ 504

ฮอนดูรัส (อังกฤษและสเปน: Honduras) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฮอนดูรัส (อังกฤษ: Republic of Honduras; สเปน: República de Honduras) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคอเมริกากลาง (ลาตินอเมริกา) ครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่า สแปนิช ฮอนดูรัส เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับ บริติช ฮอนดูรัส ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเบลิซ มีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้คือ ทิศตะวันตกติดต่อกับกัวเตมาลา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับเอลซัลวาดอร์ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับนิการากัว ทิศใต้จรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศเหนือจรดอ่าวฮอนดูรัสและทะเลแคริบเบียน และอยู่ห่างจากเบลีซ 75 กิโลเมตร (50 ไมล์) ตามชายฝั่งอ่าวฮอนดูรัส ฮอนดูรัสเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญหลายแห่ง ที่โด่งดังก็คือ มายา ถูกพิชิตโดยสเปนซึ่งได้เข้ามามีอิทธิพลซึ่งส่งผลถึงปัจจุบันทั้งทางด้านภาษาและขนบธรรมเนียมในหลายด้านตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ฮอนดูรัสประกาศเอกราชเมื่อปี 1821 และกลายเป็นสาธารณรัฐเมื่อหมดยุคของสเปน ประเทศมีขนาด 112,492 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 8 ล้านคน เมืองหลวงชื่อว่า เตกูซิกัลปา บางส่วนทางตอนเหนือเป็นส่วนหนึ่งของแคริบเบียนตะวันตก ฮอนดูรัสมีชื่อเสียงทางด้านการส่งออกแร่ กาแฟ ผลไม้เมืองร้อน อ้อย และล่าสุดกับการส่งออกเสื้อผ้าไปยังตลาดนานาชาติมากขึ้น

เนื้อหา

นิรุกติศาสตร์[แก้]

• อิเกราส(Higueras) - มีการอ้างถึงผลของต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำเต้า มีชื่อว่า ต้นจิกาโร่ ซึ่งถูกพบได้มากบนน้ำบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ

• ฮอนดูรัส (Honduras) - ในภาษาสเปนแปลว่า ลึก โคลัมบัสได้กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้เป็นภาษาสเปนว่า "Gracias a Dios que hemos salido de esas Honduras" ซึ่งแปลได้ว่า ขอบคุณพระเจ้าที่ให้เราออกมาจากดินแดนลึกลับแห่งนี้ได้ ขณะที่เขาได้ล่องไปตามชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม วิลเลียม เดวิดสัน ได้กล่าวว่าไมมีรายงานการกล่าวอ้างถึงคำพูดนั้นมาจากบันทึกการเดินทางของโคลัมบัส ซึ่งความจริงแล้วมาจากบันทึกในศตวรรษต่อมา

• ฮอนดูรัสมาจากฟอนดูรา fondura เป็นภาษาของชาวลีออง (แคว้นหนึ่งในสเปน) ซึ่งแปลว่า ที่ทอดสมอ ซึ่งเป็นคำท้องถิ่นคำแรกที่ปรากฏบนแผนที่ในทศวรรษที่ 2 ของศตวรรษที่ 16 ซึ่งเกี่ยวข้องกับอ่าวในเมืองทรูฆิโย่ มันไม่ได้ใช้อีกเลยจนกระทั่งสิ้นศตวรรษที่ 16 ก่อนปี 1580 ฮอนดูรัสถูกใช้เรียกดินแดนทางด้านตะวันออก ขณะที่ อิเกราสใช้เรียกฝั่งตะวันตก

• ชื่ออื่นๆ เช่น กวยมูราส Guaymuras เป็นชื่อที่ชาวสเปนใช้เรียกดินแดนตอนกลางของอเมริกา โคลัมบัสอ้างว่าน่าจะเป็นเมืองหนึ่งที่ใกล้กับเมืองทรูฆิโย่ ได้มีการนำคำนี้กลับมาใช้ใหม่ในบทสนทนาทางการเมืองในปี 2009 ซึ่งเกิดขึ้นในฮอนดูรัส ในการต่อต้านคอสตาริกา

ภูมิศาสตร์[แก้]

สภาพภูมิประเทศฮอนดูรัส

ประเทศฮอนดูรัสมีพื้นที่ 112,492 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือติดดับทะเลแคริบเบียนและอ่าวฮอนดูรัส ทิศตะวันตกมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัวเตมาลา ทิศใต้ติดกับอ่าวฟอนเซกาและเป็นทางออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันตกเฉียงใตัมีพื้นที่ติดกับประเทศเอลซัลวาดอร์ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับประเทศนิคารากัวโดยมีแม่น้ำโคโคกั้นแบ่งเขต ภูมิอากาศเป็นแบบร้อน และมีอุณหภูมิพอเหมาะในเขตภูเขาสูง ทางตอนกลางและตอนใต้มีอุณหภูมิค่อนข้างร้อนและมีความชื้นน้อยกว่าทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ การทำไม้แปรรูป ทองคำ เงิน ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เหล็ก ถ่านหิน และการทำประมง และยังมี เพรชล้านเม็ด

ประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์ฮอนดูรัส

สมัยก่อนอาณานิคม[แก้]

สมัยอาณานิคม[แก้]

ประกาศเอกราช[แก้]

สหรัฐเข้าแทรกแซงการเกษตร[แก้]

การเมืองการปกครอง[แก้]

บริหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลนิการากัว

นิติบัญญัติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาแห่งนิการากัว

ตุลาการ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กฎหมายนิการากัว

สิทธิมนุษยชน[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

  1. จังหวัดอัตลันตีดา
  2. จังหวัดโชลูเตกา
  3. จังหวัดโกลอง
  4. จังหวัดโกมายากวา
  5. จังหวัดโกปัง
  6. จังหวัดกอร์เตส
  7. จังหวัดเอลปาราอีโซ
  8. จังหวัดฟรันซิสโกโมราซัง
  9. จังหวัดกราเซียสอาดีโอส
  1. จังหวัดอินตีบูกา
  2. จังหวัดเบย์ไอแลนส์
  3. จังหวัดลาปาซ
  4. จังหวัดเลมปีรา
  5. จังหวัดโอโกเตเปเก
  6. จังหวัดโอลันโช
  7. จังหวัดซันตาบาร์บารา
  8. จังหวัดวาเย
  9. จังหวัดโยโร
HondurasDivisions.png

นโยบายประเทศ[แก้]

ความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา[แก้]

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย[แก้]

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพฮอนดูรัส

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

ประเทศฮอนดูรัสจัดว่าเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งในแถบละตินอเมริกา เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม ซึ่งมีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม 22 % ในปีพ.ศ. 2542 สินค้าส่งออกมากที่สุดคือกาแฟ (340 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกทั้งหมด 22 % ของประเทศ กล้วยซึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกอันดับสองของประเทศจนกระทั่งได้ถูกพายุเฮอริเคนมิชท์พัดทำลายเสียหายหมดในปีพ.ศ. 2541 และได้คืนสภาพมา 57 % ของตอนก่อนถูกพายุพัดในปีพ.ศ. 2543 กุ้งเลี้ยงก็เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอีกอย่าง ถึงแม้ว่าจะมีการตัดไม้และเผาทำลายป่าอย่างกว้างขวาง ประเทศฮอนดูรัสก็ยังคงมีป่า, ทรัพยากรธรรมชาติ, และทรัพยากรแร่ธาติอย่างอุดมสมบูรณ์ มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ประมาณ 4.0% ในขณะที่ยังมีอัตราของคนทำงานในอาชีพได้ไม่เต็มที่หรือคนที่ถูกว่าจ้างเฉพาะระยะเวลาสูงกว่า เศรษฐกิจของประเทศฮอนดูรัสได้เติบโตขึ้น 4.8% ในปีพ.ศ. 2543 ที่ได้ฟื้นสภาพจากการเสื่อมถอยของเศรษฐกิจถึง 1.9% ในปีพ.ศ. 2542 ได้มีการคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะเติบโตขึ้นอีก 4-5 % ในปีพ.ศ. 2544 ที่นำโดยโครงการปฏิรูปกองทุนต่างประเทศ ตลาดการค้ามากิลาโดร่า (เป็นการรวมกลุ่มกัน โดยทำการแลกเปลี่ยนสินค้าส่งออกระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่มีเขตแดนติดกัน) ของฮอนดูรัส เป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ได้ดำเนินการต่อเนื่องอย่างแน่นอนในปี พ.ศ. 2543 ได้ว่าจ้างแรงงานเพิ่มถึง 120,000 คน และได้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้มากกว่า 528 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาวะเงินเฟ้อ วัดได้จากดรรชนีแสดงระดับการเปลี่ยนแปลงของสินค้ากับการบริการของผู้บริโภค มีค่าอยู่ที่ 10.1 % ในปี พ.ศ. 2543 ค่าเงินเฟ้อได้ลดลงไปเล็กน้อยจาก 10.9% ที่บันทึกไว้ในปีพ.ศ. 2542 ทุนสำรองในประเทศเริ่มแข็งตัวขึ้นในปีพ.ศ. 2543 ซึ่งอยู่ที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเศษๆ อัตราการส่งเงินเข้าประเทศจากชาวฮอนดูรัสที่อาศัยในต่างประเทศ (ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยในสหรัฐอเมริกา) ขึ้นถึง 28% เป็นจำนวน 410 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2543 ค่าเงินเล็มปิร่า (ระบบเงินตรา) ได้ลดลงอย่างพอประมาณ

การท่องเที่ยว[แก้]

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

สาธารณูปโภค[แก้]

คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]

สาธารณสุข[แก้]

การศึกษา[แก้]

ประชากรศาสตร์[แก้]

กราฟแสดงอัตราการเพิ่มจำนวนประชากรในฮอนดูรัส

เชื้อชาติ[แก้]

ประมาณ 90% ของประชากรฮอนดูรัสเป็นพวกเมสติโซ (ลูกผสมระหว่างเชื้อสายสเปนกับอินเดียนแดง) และยังมีชนกลุ่มน้อยที่เป็นชาวยุโรป,แอฟริกัน,เอเซียน,อาหรับ,และอินเดียนแดงชนเผ่าพื้นเมือง

ภาษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภาษาในฮอนดูรัส

ภาษาสเปน เป็นภาษาราชการที่ใช้สื่อสาร มีบางส่วนเช่นทางตอนชายฝั่งตอนเหนือของประเทศและในหมู่เกาะเบย์แถบทะเลแคริบเบียนที่สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ มีชนกลุ่มน้อยบางส่วนที่ใช้ภาษาเผ่าพื้นเมืองและภาษาการิฟูน่า (ภาษาท้องถิ่น)

ศาสนา[แก้]

ชาวฮอนดูรัสส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ เป็นพวกโรมันคาทอลิก แต่พวกเลื่อมใสลัทธิโปรเตสแตนท์ได้ส่งอิทธิพลอย่างมากให้ประชากรบางส่วนเปลี่ยนศาสนา

เมืองใหญ่[แก้]

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมฮอนดูรัส

ประเทศฮอนดูรัสมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในทวีปอเมริกากลาง (รองจากประเทศนิคารากัว) มีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันถึง 4 ส่วน,ได้แก่ที่เป็นที่ราบสูงในส่วนด้านในของประเทศ,ทางชายฝั่งของทะเลแถบแคริบเบียน,ทางชายฝั่งทะเลที่มียุงอยู่เบาบาง, และพื้นที่ลุ่มใกล้อ่าวฟอนเซก้า ในชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคของประเทศฮอนดูรัส ประเทศฮอนดูรัสยังมีหมู่เกาะที่อยู่นอกชายฝั่งของประเทศเรียกว่าหมู่เกาะเบย์ (สเปน:อิสลาส เดอ ลา บาเฮีย) ซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากส่วนอื่นๆของประเทศทั้งหมด

อาหาร[แก้]

สถาปัตยกรรม[แก้]

ดนตรี[แก้]

สื่อสารมวลชน[แก้]

กีฬา[แก้]

วันหยุด[แก้]

วันที่ 15 กันยายน เป็นวันหยุดราชการของประเทศ เพื่อระลึกถึงการประกาศอิสรภาพจากสเปน ในวันนี้จะมีการเฉลิมฉลองกันทั่วประเทศ นักเรียนจากทุกโรงเรียนจะเดินขบวนไปรอบๆเมืองและหมู่บ้าน มีการดีดสีตีกลอง และร้องรำทำเพลงด้วย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Honduras". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 18 October 2014. 
  2. "Human Development Report 2010". United Nations. 2010. สืบค้นเมื่อ 5 November 2010. 

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]