ประเทศศรีลังกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตย
ศรีลังกา
ශ්‍රී ලංකා ප්‍රජාතාන්ත්‍රික සමාජවාදී ජනරජය (สิงหล)
இலங்கை சனநாயக சோஷலிசக் குடியரசு (ทมิฬ)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติศรีลังกามาตา
(มารดาแห่งศรีลังกา)
เมืองหลวง ศรีชัยวรเทนปุระ-โกตเต (ด้านการบริหาร)
โคลัมโบ (เชิงพาณิชย์)
6°54′N 79°54′E / 6.900°N 79.900°E / 6.900; 79.900
เมืองใหญ่สุด โคลัมโบ
ภาษาราชการ ภาษาสิงหลและภาษาทมิฬ
การปกครอง สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตย
 -  ประธานาธิบดี ไมตรีพาลา สิริเสนา
 -  นายกรัฐมนตรี Ranil Wickremesinghe
เอกราช จาก สหราชอาณาจักร 
 -  ประกาศ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 
พื้นที่
 -  รวม 65,610 ตร.กม. (122)
25,332 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 4.4%
ประชากร
 -  2553 (สำมะโน) 20,277,597 
 -  ความหนาแน่น 323 คน/ตร.กม. (40)
836.6 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2557 (ประมาณ)
 -  รวม 142.719 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (64)
 -  ต่อหัว 7,046 ดอลลาร์สหรัฐ (99)
HDI (2556) 0.750 (สูง) (73)
สกุลเงิน รูปี (LKR)
เขตเวลา (UTC+5:30)
ระบบจราจร ซ้ายมือ
โดเมนบนสุด .lk
รหัสโทรศัพท์ 94

ศรีลังกา (สิงหล: ශ්රී ලංකා; ทมิฬ: இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (สิงหล: ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; ทมิฬ: இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลังกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกับอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมัลดีฟส์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

เนื้อหา

ภูมิศาสตร์[แก้]

เมืองกัณฏีล้อมรอบด้วยป่าไม้และแหล่งน้ำ

ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกคลื่น มีภูเขาสูง มีที่ราบเป็นบริเวณแคบ มีพรมแดนทางทะเลทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับประเทศอินเดีย

ภูมิอากาศ[แก้]

อากาศช่วงพื้นที่ราบลุ่ม ภูมิอากาศของโคลัมโบจะอยู่ประมาณที่ 27 องศาเซลเซียส ในพื้นที่ราบสูงอากาศจะเย็น อุณหภูมิสามารถลงถึง 16 องศาเซลเซียส จากภูเขาที่มีความสูง 2,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แดดออกตลอดทั้งวัน ช่วงลมมรสุมอากาศของศรีลังกา ลมมรสุมทางตะวันออกเฉียงใต้จะพาฝนมาด้วยตั้งแต่เดือน พ.ค. ถึง ก.ค. และพัดต่อไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทางตอนใต้และทางภาคกลาง แต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกจะได้รับอิทธิพลลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือน ธ.ค. ถึง ม.ค.

ประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์ศรีลังกา

ยุคก่อนประวัติศาสตร์[แก้]

ชาวสิงหลและชาวทมิฬเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในศรีลังกาประมาณ 500 ปี และ 300 ปีก่อนคริสตกาลตามลำดับ โดยต่างก็อพยพมาจากอินเดีย อาณาจักรสิงหลได้ก่อตั้งขึ้นในบริเวณที่ราบทางภาคเหนือของศรีลังกา โดยมีเมืองอนุราธปุระเป็นเมืองหลวงแห่งแรกยาวนานถึงประมาณ 1,200 ปี ต่อมาในศตวรรษที่ 13 จึงได้เสื่อมลง พร้อมกับการเกิดขึ้นของอาณาจักรทมิฬ โดยมีเมือง'โปลอนนารุวะเป็นเมืองหลวงยาวนานประมาณ 200 ปี ชาวทมิฬจึงได้อพยพไปตั้งอาณาจักรจัฟฟ์นาทางคาบสมุทรจัฟฟ์นา ตอนเหนือของประเทศส่วนชาวสิงหลได้ถอยร่นลงไปตั้งรกรากอยู่ทางใต้ ก่อตั้งเป็นอาณาจักรแคนดี ซึ่งมี เมืองแคนดีเป็นเมืองหลวง นอกจากนี้ก็มีอาณาจักรโกฎเฏและอาณาจักรรุหุนะ โดยอาณาจักรแคนดีเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดประมาณศตวรรษที่ 15

ยุคโบราณ[แก้]

โคลัมบัสได้ค้นพบประเทศศรีลังกาเมื่อตอนที่ต้องการเดินทางหาอินเดียว จึงตั้งชื่อเมืองตามเขาว่า "โคลัมโบ"

ยุคสัมริด[แก้]

อาณานิคม[แก้]

ดูบทความหลักที่: บริติชซีลอน

อิทธิพลของตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในศรีลังกา เริ่มจากโปรตุเกส ดัตช์ และอังกฤษ ตามลำดับ โดยมาทำการค้าตามเมืองท่าด้านตะวันตกของประเทศ และในปี พ.ศ. 2048 (ค.ศ. 1505) โปรตุเกสได้เข้ายึดครองพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลและปกครองประเทศก่อนที่ชาวดัตช์จะเข้าครอบครองดินแดนศรีลังกาในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) และต่อมาอังกฤษสามารถครอบครองศรีลังกาเป็นเมืองขึ้นในปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) ภายใต้อนุสัญญา Kandyan รวมเวลาที่ศรีลังกาตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติเกือบ 500 ปี และอังกฤษได้ใช้ศรีลังกาเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญแห่งหนึ่งในมหาสมุทรอินเดียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948)

การเมืองการปกครอง[แก้]

นิติบัญญัติ[แก้]

รัฐสภาเป็นระบบสภาเดียวโดยสมาชิกทั้งหมด 225 คน ได้รับเลือกจากประชาชนทุก ๆ 6 ปี ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน อยู่ในตำแหน่ง 6 ปี มีฐานะเป็นประมุขของประเทศและหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และมีอำนาจถอดถอนนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรี

พรรคการเมือง[แก้]

ปัจจุบันมีพรรคการเมืองใหญ่น้อยประมาณ 30 พรรค มีพรรคการเมืองสำคัญ ๆ ได้แก่

  • พรรค Sri Lanka Freedom Party (SLFP)
  • พรรค United National Party (UNP)
  • พรรค Tamil United Liberation Front (TULF)
  • พรรค Ceylon Workers’ Congress (CWC)
  • พรรค Sri Lanka Mahajana Party (SLMP)
  • พรรค Janatha Vimukti Peramuna (JVP) หรือ People’s Liberation
  • พรรค Sri Lanka Muslim Congress (SLMC)

การเมืองภายในของศรีลังกาปัจจุบัน[แก้]

ศรีลังกาเป็นประเทศที่ประกอบด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ศาสนา แต่การเมืองภายในมีพรรคการเมืองที่สำคัญเพียง 2 พรรคของชนชาติสิงหล คือ SLFP (Sri Lanka Freedom Party) และพรรค UNP (United National Party) ที่แข่งขันช่วงชิงอำนาจทางการเมือง พรรคการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเป็นพรรคของชนเชื้อสายทมิฬและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เป็นพรรคย่อยและมีความสำคัญน้อย นับแต่ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491 (ค.ศ. 1948) จนถึงปัจจุบันพรรค SLFP และพรรค UNP ผลัดกันเป็นรัฐบาลมาโดยตลอด โดยทั้งสองพรรคดังกล่าวนิยมระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่ต่างกันที่นโยบายเศรษฐกิจของพรรค SLFP มีลักษณะเป็นสังคมนิยม ในขณะที่พรรค UNP มีนโยบายเศรษฐกิจเสรี

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

จังหวัดในศรีลังกา

ศรีลังกาประกอบด้วย 8 จังหวัด (provinces) ดังนี้ (ชื่อเมืองหลวงอยู่ในวงเล็บ)

นโยบายประเทศ[แก้]

ความสัมพันธ์กับสหราชอาณาจักร[แก้]

ความสัมพันธ์ศรีลังกา – สหราชอาณาจักร
Map indicating location of ศรีลังกา and สหราชอาณาจักร

ศรีลังกา

สหราชอาณาจักร

ความสัมพันธ์ด้านต่างๆกับประเทศไทย[แก้]

ความสัมพันธ์ศรีลังกา – ไทย
Map indicating location of ศรีลังกา and ไทย

ศรีลังกา

ไทย

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพศรีลังกา

กองทัพบก[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพบกศรีลังกา

กองทัพอากาศ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพอากาศศรีลังกา

กองทัพเรือ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพเรือศรีลังกา

กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4 อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 9 อัตราการว่างงาน ร้อยละ 9

การท่องเที่ยว[แก้]

ดูบทความหลักที่: การท่องเที่ยวในศรีลังกา

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

คมนาคม[แก้]

โทรคมนาคม[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]

การศึกษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: การศึกษาในศรีลังกา

สาธารณสุข[แก้]

ประชากรศาสตร์[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

19,742,439 คน (2546) อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 0.83 (2546) ประชาการเป็นชาว สิงหล ร้อยละ 74 ทมิฬ ร้อยละ 8 แขกมัวร์ (อินเดียและตะวันออกกลาง) ร้อยละ 7 และ ผลิตกาแฟ คือ พวกเชื้อชาติเบอร์เกอร์, เวดด้า, มาเลย์, จีน และกัฟฟีร์ (แอฟริกัน) มีอัตราการรู้หนังสือโดยรวม ร้อยละ 92.3 (ปี2547) เพศชาย ร้อยละ 94.8 และเพศหญิง ร้อยละ 90[1]

ภาษา[แก้]

สำหรับบทความหลักในหมวดหมู่นี้ ดู ภาษาราชการของศรีลังกา

ศาสนาในศรีลังกา[แก้]

พุทธศาสนาร้อยละ 70 ฮินดูร้อยละ 7 คริสเตียนร้อยละ 6 อิสลาม ร้อยละ 7 และอื่น ๆ ร้อยละ 10 [1]

ศาสนาในศรีลังกา
ศาสนา ร้อยละ
ศาสนาพุทธ
  
70.19%
ศาสนาฮินดู
  
12.61%
ศาสนาอิสลาม
  
9.71%
ศาสนาคริสต์
  
7.45%
Source: Census of Population and Housing, 2011[2]
ศรีลังกาเป็นประเทศหนึ่งที่มีอิทธิพลทางศาสนาพุทธมาก

วรรณกรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วรรณกรรมของศรีลังกา

ดนตรี และ นาฏศิลป์[แก้]

อาหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: อาหารศรีลังกา

สื่อสารมวลชน[แก้]

ดูบทความหลักที่: สื่อสารมวลชนในศรีลังกา

วันหยุด[แก้]

กีฬา[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติศาสตร์
แผนที่