ประเทศอิรัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐอิรัก
جمهورية العراق (อาหรับ)
كؤماری عێراق (เคิร์ด)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญอาหรับ: الله أكبر
(อัลเลาะห์ อัคบาร์)
("พระผู้เป็นเจ้าคือผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด")
เพลงชาติMawtini (ใหม่) ;
Ardh Alforatain (เก่า)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
แบกแดด
33°20′N 44°26′E / 33.333°N 44.433°E / 33.333; 44.433
ภาษาราชการ ภาษาอาหรับและภาษาเคิร์ด
การปกครอง สาธารณรัฐ
 -  ประธานาธิบดี ฟูอัด มาซุม
 -  นายกรัฐมนตรี ไฮเดอร์ อัล-อาบาดี
ได้รับเอกราช
 -  จากจักรวรรดิออตโตมาน 1 ตุลาคม พ.ศ. 2462 
 -  จากสหราชอาณาจักร 3 ตุลาคม พ.ศ. 2475 
พื้นที่
 -  รวม 437,072 ตร.กม. (58)
168,754 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 1.1%
ประชากร
 -  2557 (ประเมิน) 36,004,552 (36)
 -  ความหนาแน่น 82.7 คน/ตร.กม. (125)
183.9 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2558 (ประมาณ)
 -  รวม 510.916 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (37)
 -  ต่อหัว 13,817 ดอลลาร์สหรัฐ (85)
HDI (2556) 0.642 (ปานกลาง) (120)
สกุลเงิน ดีนาร์อิรัก (IQD)
เขตเวลา (UTC+3)
 •  ฤดูร้อน (DST)  (UTC+4)
โดเมนบนสุด .iq
รหัสโทรศัพท์ 964

ประเทศอิรัก (อาหรับ: العراق‎; เคิร์ด: عێراق‎) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (อาหรับ: جمهورية العراق‎; เคิร์ด: كؤماری عێراق‎) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด

ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัตต์อัลอาหรับใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย

ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ

พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน ค.ศ. 1920 โดยสันนิบาตชาติ เมื่อจักรวรรดิออตโตมันถูกแบ่งตามสนธิสัญญาแซฟวร์ ประเทศอิรักถูกกำหนดให้อยู่ในอำนาจของสหราชอาณาจักรเป็นอาณาเขตในอาณัติเมโสโปเตเมียของอังกฤษ พระมหากษัตริย์สถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1921 และราชอาณาจักรอิรักได้รับเอกราชจากอังกฤษใน ค.ศ. 1932 ใน ค.ศ. 1958 พระมหากษัตริย์ถูกล้มล้างและมีการสถาปนาสาธารณรัฐอิรัก ประเทศอิรักถูกควบคุมโดยพรรคบะอัธสังคมนิยมอาหรับตั้งแต่ ค.ศ. 1968 ถึง 2003 หลังการบุกครองโดยสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร พรรคบะอัธของซัดดัม ฮุสเซนถูกโค่นจากอำนาจและมีการจัดการเลือกตั้งรัฐสภาหลายพรรคขึ้น ทหารสหรัฐออกจากอิรักทั้งหมดใน ค.ศ. 2011 แต่การก่อการกำเริบอิรักยังดำเนินต่อไปและทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อนักรบจากสงครามกลางเมืองซีเรียไหลบ่าเข้าประเทศ

ภูมิศาสตร์[แก้]

แผนที่ประเทศอิรัก

อิรักมีพื้นที่ทั้งหมด 437,072 ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันออกติดกับ อิหร่าน ทิศเหนือ ติดกับตุรกี ทิศใต้ติดกับคูเวต ทิศตะวันตกติดกับ ซีเรีย และจอร์แดน สภาพทางภูมิศาสตร์ของอิรัก เป็นทะเลทรายร้ออิรักยละ 40 ที่ราบสูง ยากแต่การทำการเกษตรทำให้อิรักต้องนำเข้าสินค้าภาคการเกษตรเช่น ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ธัญพืช แต่อย่างไรก็ดี อิรักก็มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ ไทรกิส ยูเฟรตีส ทำให้ยังพอมีความอุดมสมบูรณ์อยู่บ้าง

ประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์อิรัก

ยุคโบราณ[แก้]

ยุคกลาง[แก้]

ยุคอาณาจักรออตโตมาน[แก้]

ส.ค.ส.คริสต์มาสค.ศ.1917 ของกองกำลังบริติชเมโซโปเตเมีย.
  • พ.ศ. 2281 - ตกอยู่ใต้อาณาจักรออตโตมาน

รัฐในอาณัติ และ ราชอาณาจักร[แก้]

กองทัพสหราชอาณาจักรในกรุงแบกแดด, มิถุนายน ค.ศ. 1941.
  • พ.ศ. 2465 - ตกอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ
  • พ.ศ. 2475 - สิ้นสุดการเป็นรัฐในอาณัติของอังกฤษ เข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติ
  • พ.ศ. 2501 - เปลี่ยนระบบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นสาธารณรัฐ

สาธารณรัฐ และ พรรคบะอัธ[แก้]

  • พ.ศ. 2511 - เริ่มต้นการปกครองโดยพรรคบาธ โดยมีประธานาธิบดี Ahmad Masan Al Bakr และรองประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein)
  • พ.ศ. 2522 - ซัดดัม ฮุสเซน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
  • พ.ศ. 2523-2531 -สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่าน (สงครามอ่าวครั้งที่ 1)
  • พ.ศ. 2533 - เข้ายึดครองคูเวต(สงครามอ่าวครั้งที่ 2)
  • พ.ศ. 2533 - ถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยสหประชาชาติ

สหรัฐอเมริกาเข้ายึด[แก้]

อนุสาวรีย์ของซัดดัม ฮุสเซน ภายในFirdos Square กรุงแบกแดด ได้โค่นล้มลงภายหลังจากสงครามอิรัก เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2003.

การเมืองการปกครอง[แก้]

บริหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลอิรัก


นิติบัญญัติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาแห่งอิรัก

ตุลาการ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กฎหมายอิรัก

การเมืองภายใน[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ประเทศอิรักแบ่งออกเป็น 19 จังหวัด (อาหรับ: muhafazat‎, เคิร์ด: Pârizgah‎)

แผนที่แสดงจังหวัดของประเทศอิรัก

เขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน (Kurdistan Autonomous Region) ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ มีพื้นที่รวมบางส่วนของจังหวัดทางเหนือ และปกครองตนเองในเรื่องราชการภายในส่วนใหญ่

นโยบายต่างประเทศ[แก้]

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพอิรัก

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

ระบอบเศรษฐกิจของอิรักเป็นแบบ สังคมนิยม รวมอำนาจไว้ที่ศุนย์กลาง นั่นคือรัฐบาลกลางของอิรัก มีระบบรัฐสวัสดิการมีการแจก ข้าว น้ำตาล ยารักษาโรคบางชนิด นม เสื้อผ้า ให้แก่ประชากรของอิรัก เศรษฐกิจของอิรักค่อนข้างถูกกดดันจากประชาคมโลกโดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์อ่าวเปอร์เซีย สงครามอิรัก และช่วงเหตุการณ์ 9/11 ทำให้เศรษฐกิจของอิรักบอบช้ำ แต่ยุทธปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอิรักคือ น้ำมัน อิรักเป็นประเทศที่มีน้ำมันไว้ในครอบครองเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากซาอุดีอาระเบีย โดยผลิตได้วันละ 2.58 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้อิรักกลายเป็นดินแดนที่น่าสนใจอย่างยิ่งโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจน้ำมันจากสหรัฐอเมริกาที่มุ่งหวังเข้าไปกอบโกยทรัพยากรล้ำค่าอย่างทองคำดำในอิรัก

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

การคมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

เส้นทางคมนาคม[แก้]

โทรคมนาคม[แก้]

การศึกษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: การศึกษาในประเทศอิรัก

สาธารณสุข[แก้]

ประชากรศาสตร์[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

เด็กๆ ชาวเคอร์ดิสในอิรัก

สังคมของอิรักเป็นสังคมหลากหลายชาติพันธุ์ เป็นเหตุมาจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่เป็นแหล่งอารยธรรมมาหลายพันปี พลเมืองของอิรักที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ มุสลิมชีอะห์(ร้อยละ 65) และ มุสลิมสุหนี่ (ร้อยละ 20) นอกจากนี้ยังมีชาวเคิร์ด อยู่ในบริเวณเคอร์ดิสถาน ชาวเคริ์ดในอริรักมีอยู่ประมาณ 3,700,000 คน นับว่าเป็นคนส่วนน้อยในอิรัก และเนื่องด้วยรูปแบบการปกครองที่ให้สิทธิของชนชาติอาหรับ และผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจให้กับมุสลิมสุหนี่ ส่งผลให้ กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนา และชาติพันธุ์ในอิรัก ทั้งกับมุสลิมด้วยกันเองคือ สุหนี่และชีอะห์ และ ยังปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวคิร์ดกับรัฐบาลกลางของอิรัก เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมอีกด้วย

ภาษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภาษาในประเทศอิรัก

ภาษาทางการของอิรัก คือ ภาษาอาหรับ และส่วนอื่นคือ ภาษาเคิร์ด

ศาสนา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภาษาในประเทศอิรัก
มัสยิดแห่งหนึ่งในอิรัก

ชาวอิรักส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 97 % ศาสนาคริสต์ 3 %

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมอิรัก

วรรณกรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วรรณกรรมของอิรัก

นาฏศิลป์[แก้]

ดูบทความหลักที่: นาฏศิลป์ของอิรัก

อาหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: อาหารอิรัก

สื่อสารมวลชน[แก้]

วันหยุด[แก้]

ดูบทความหลักที่: รายชื่อวันสำคัญของอิรัก

=== กีฬา

===

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

รัฐบาล
ข้อมูลพื้นฐาน