Unseen in Trang
1.
อาหารเช้าแบบชาวตรัง
โกปี้ช้ำ
ขนมจีบ อิ่วชาก้วย
ปาท่องโก๋ และหมูย่าง
เป็นอาหารเช้าแบบชาวตรัง
นิยมกินกันตั้งแต่เช้าตรู่
จนกลายเป็นอาหารการกินที่เป็นเอกลักษณ์
ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการกินของชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองตรังกว่า
80%
จนได้รับการขนานนามว่า
เมืองตรัง เมืองคนช่างกิน
2.
ความมหัศจรรย์บนเส้นทางท่องเที่ยว
-
มหัศจรรย์แห่งถ้ำเขาช้างหาย
จากตำนานลูกช้างที่ซุกซนวิ่งเล่นพลัดหลงไปจากฝูงแล้วหายเข้าไปในถ้ำ
จึงเรียกชื่อถ้ำนี้ว่า
ถ้ำเขาช้างหาย ภายในถ้ำจะมีหินงอกหินย้อยอันสวยงามตามจุดต่างๆ
ของเวิ้งถ้ำ
-
มหัศจรรย์แห่งถ้ำเลเขากอบ
เลใต้ภูเขา ลอดยาวสุดลี้
น้ำรอบคีรี นี่คือ
ถ้ำเลเขากอบ ถ้ำใหญ่
ที่มีธารน้ำไหลผ่านและล้อมรอบ
นั่งเรือไปตามสายน้ำชมความมหัศจรรย์ของปฏิมากรรมตามธรรมชาติบนเพดานและพื้นถ้ำ
คือหินงอกหินย้อยรูปร่างต่างๆ
และตื่นเต้นกับถ้ำลอด
ที่ต้องนอนราบกับเรือเพื่อลอดถ้ำ
เปรียบเสมือนได้ลอดท้องมังกร
-
มหัศจรรย์พญากง
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
ลักษณะคล้ายกบและคางคก
แต่มีขนาดใหญ่กว่า
ดวงตาจะมีสีแดงจัดเมื่อกระทบแสงไฟในยามค่ำคืน
มีมากที่อำเภอรัษฎา
พบเห็นได้บริเวณริมฝั่งคลอง
หรือลำห้วย
-
มหัศจรรย์ 3
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ คือ
-
มหัศจรรย์ผ้าทอนาหมื่นศรี
ภูมิปัญญาชาวบ้านในการถักทอเส้นด้านเป็นผืนผ้าหลากหลายลาย
ที่สืบทอดมาหลายชั่วคน
ที่กลุ่มทอผ้านาหมื่นศรี
-
มหัศจรรย์ไม้เทพธาโร
สร้างรายได้ จากต้นไม้ที่ตายแล้ว
ชมการแกะสลักไม้เทพธาโร
ไม้เนื้อหอม เป็นของที่ระลึกรูปลักษณ์ต่างๆ
เช่น พะยูน ที่ศูนย์ผลิตภัณฑ์แกะสลักไม้เทพธาโร
-
มหัศจรรย์หมู่บ้านขนมเค้ก
ชมกรรมวิธีและขั้นตอนการทำขนมเค้กของฝากจากเมืองตรัง
ที่มีชื่อเสียงจากต้นตำรับที่ตำบลลำภูรา
ถ้ำเขาช้างหาย
กลุ่มทอผ้านาหมื่นศรี
อ.นาโยง ถ้ำเลเขากอบ ศูนย์ผลิตภัณฑ์แกะสลักไม้เทพธาโร
อ.ห้วยยอด
พญากง อ.รัษฎา
หมู่บ้านขนมเค้ก
ต.ลำภูรา
3.
เดินป่าสัมผัสก้อนเมฆ
ภูผาเมฆ
เส้นทางเดินป่าที่ท้าทายนักผจญภัยให้ดั้นด้นไปเพื่อสัมผัสกับอากาศหนาวและเมฆหมอกที่ล่องลอยอยู่รอบกาย
แม้กระทั่งเมษายนเดือนที่ร้อนที่สุด
ชมความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแห่งเทือกเขาบรรทัด ต้นไม้แคระบนยอดเขาสูง
และทัศนียภาพอันสวยงามของ
2 ฝั่งทะเล 2
จังหวัด คือ
อ่าวไทย(พัทลุง) และ
อันดามัน (ตรัง)
ใครจะเชื่อว่าจังหวัดตรังที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ ดินแดนแห่งเมืองร้อน
จะสามารถพบเห็นทะเลหมอกได้
4.
ประเพณีไหว้พระจันทร์
ประเพณีดั้งเดิมของชาวจีน
สืบทอดต่อกันมากว่า 100
ปี ทุกครัวเรือนพร้อมใจจัดโต๊ะไหว้อย่างสวยงาม แลตระการตา
และตรึงตาตรึงใจ
ไม่ต้องไปไกลถึงเมืองจีน
มีให้ดูให้เห็นทุกปีในคืนวันเพ็ญเดือนแปด
ที่ชุมชุนทุ่งยาว
อำเภอปะเหลียน
คือ ประเพณีไหว้พระจันทร์
พร้อมลองลิ้มชิมอาหารจีนรสเด็ดหลากหลายเมนู และขนมกุ่ยฉ่ายสูตรเฉพะของชาวทุ่งยาว ในงานประเพณีไหว้พระ-จันทร์
ซึ่งจัดโดยเทศบาลตำบลทุ่งยาว
5.
พะยูน (เงือกแห่งท้องทะเล)
พะยูน สัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ เป็นสัญลักษณ์แห่งท้องทะเลตรัง
ตัวเหมือนปลา
หน้าละม้ายคล้ายหมู
กินหญ้าทะเลเป็นอาหาร
เติบโตเต็มที่มีความยาวประมาณ
3
4 เมตร
หนัก 300 400
กิโลกรัม สามารถพบเห็นพะยูน ฝูงสุดท้าย
หนึ่งเดียวในทะเลตรัง
ได้บริเวณแหล่งหญ้าทะเลที่เกาะลิบง
อำเภอกันตัง
6.
หอยตะเภา
หาดปากเมง
ชายหาดรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวยาว
5 กิโลเมตร
เป็นหาดที่สวยงาม
เงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อน
เล่นน้ำ ฟังเสียงคลื่นกระทบฝั่ง
เสียงเพลงตามธรรมชาติเมื่อยามใบสน
กระทบสายลม ชมพระอาทิตย์ตกที่เขาเมง
ชิมอาหารทะเลสดๆ เลิศรส
ใครจะทราบว่า
หากเมื่อน้ำลงต่ำสุดโดยเฉพาะในช่วงข้างขึ้นหรือข้างแรม
134
ค่ำ จะพบร่องรอยของการฝังตัวของหอยหายากใกล้จะสูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง
สังเกตได้จากรู 2 รู
ที่ห่างกันเล็กน้อย นั้นคือ หอยตะเภา
ที่เป็นหอย 2 ฝา เปลือกด้านนอกสีน้ำตาลปนเขียวหรือเหลือง และสัมผัสกับบรรยากาศการจัดงานอนุรักษ์หอยตะเภา
ประจำปี ในวันเสาร์
อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 3
ของเดือนพฤศจิกายน
7.
วังนกน้ำ
วังนกน้ำ
อำเภอวังวิเศษ คือ บึงน้ำ
หรือแอ่งน้ำ
และป่าพรุ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตชุมชนโดยรอบ
เป็นที่พักอาศัยของนกเป็ดน้ำที่อพยพหนีความหนาวจากประเทศจีน
และนกท้องถิ่นหลากหลายชนิด
ปัจจุบันพื้นที่บางส่วนได้ปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะ
และอ่างเก็บน้ำ
สำหรับใช้เป็นที่พักผ่อนและทำกิจกรรม
เหมาะกับการท่องเที่ยวแบบครอบครัว
เส้นทางท่องเที่ยว
Unseen
in Trang
เส้นทางที่
1
Unseen
ต้นยางพารา
- เลียบชายทะเล
08.00 น. | - อาหารเช้าแบบชาวตรัง สัมผัสและลิ้มลอง โกปี้ช้ำ อิ่วชาก้วย ขนมจีบ ปาท่องโก๋ และหมูย่าง |
09.00 น. | - เดินทางไปอำเภอกันตัง ชมยางพาราต้นแรกของประเทศไทย |
- ชมควนตำหนักจันทน์ สถานที่ที่เคยใช้รับเสด็จรัชกาลที่ 6 ในครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช และพิพิธภัณฑ์พระยารัษฎา ซึ่งเป็นจวนเก่าของอดีตเจ้าเมืองตรัง คือ พระยารัษฎานุประดิษฐ์ | |
- สัมผัสธรรมชาติของป่าพรุร้อน และบ่อน้ำร้อนบ้านควนแคง | |
- ชมท่าเรือหาดยาว | |
12.00 น. | - อาหารเที่ยงที่หาดยาว |
- ชมหาดยาว ชายหาดที่มีเม็ดทรายขาวละเอียดและเงียบสงบ ชมหาดหยงหลิง | |
- เดินทางต่อไปหาดปากเมง แวะถ่ายภาพคู่กับรูปปั้นพะยูนสัญลักษณ์แห่งท้องทะเลตรังไว้เป็นที่ระลึก และสัมผัสชายหาดที่สวยงามรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว พักผ่อนฟังเสียงคลื่นและเสียงเพลงตามธรรมชาติเมื่อยามใบสนกระทบสายลม ลิ้มลองอาหารทะเลสดๆ เป็นอาหารว่างยามบ่าย ตามด้วยการเดินเล่นชายหาดและตามหาร่องรอยการฝังตัวของหอยตะเภา | |
- เดินทางต่อไปชมพิพิธภัณฑ์สัตว์ราชมงคล สถานที่ซึ่งจัดแสดงสัตว์น้ำจืดและน้ำเค็มหายากกว่า 60 ชนิด | |
16.30 น. | - เดินทางกลับตัวเมือง |
เส้นทางที่
2
Unseen
มหัศจรรย์แห่งถ้ำ
(ถ้ำเล
ถ้ำช้างหาย)
08.00 น. | - อาหารเช้าแบบชาวตรัง สัมผัสและลิ้มลองโกปี้ช้ำ อิ่วชาก้วย ขนมจีบ ปาท่องโก๋ และหมูย่าง |
09.00 น. | - เดินทางไปชมแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอห้วยยอด เริ่มรายการด้วยการแวะชมหมู่บ้านแห่งต้นตำหรับการทำขนมเค้ก ของฝากที่มีชื่อเสียงของเมือง ตรัง ที่หมู่บ้านลำภูรา |
- ชมความมหัศจรรย์ของหินงอกหินย้อยและร่วมผจญภัยที่ถ้ำเลเขากอบ ถ้ำใหญ่ซึ่งมีธารน้ำไหลผ่านและล้อมรอบ ด้วยการนั่งเรือล่องไปตามธารน้ำ | |
- แวะชมสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แกะสลักไม้เทพธาโร ที่ศูนย์ผลิตภัณฑ์แกะสลักไม้เทพธาโร | |
12.30 น. | - อาหารเที่ยงที่ตัวอำเภอห้วยยอด หรืออำเภอรัษฎา |
- เดินทางไปสัมผัสถิ่นที่อยู่พญากง และชมความงามของถ้ำพระยาพิชัย ถ้ำพระพุทธ อำเภอรัษฎา | |
- ขึ้นรถเดินทางต่อไปยังถ้ำเขาช้างหาย ชมความงามของหินงอกหินย้อย ตามเวิ้งต่าง ๆ ด้วยการเดินเท้า | |
- ก่อนการเดินทางกลับตัวเมืองตรัง แวะเลือกซื้อสินค้าพื้นเมืองผ้าทอนาหมื่นศรี ภูมิปัญญาชาวบ้านในการถักทอเส้นด้ายกลายเป็นผืนผ้า | |
16.30 น. | - เดินทางกลับจังหวัดตรัง |
เส้นทางที่
3
มหัศจรรย์แห่งถ้ำ (ถ้ำเล
วังนกน้ำ)
08.00 น. | - อาหารเช้าแบบชาวตรัง สัมผัสและลิ้มลองโกปี้ช้ำ อิ่วชาก้วย ขนมจีบ ปาท่องโก๋ และหมูย่าง |
09.00 น. | - เดินทางไปชมแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอห้วยยอด เริ่มรายการด้วยการแวะชมหมู่บ้านแห่งต้นตำหรับการทำขนมเค้ก ของฝากที่มีชื่อเสียงของเมืองตรัง ที่หมู่บ้านลำภูรา |
- แวะชมร่องรอยประวัติศาสตร์ ตำหนักรื่นรมย์ สถานที่ที่เคยใช้เป็นที่รับเสด็จรัชกาลที่ 6 ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช | |
- ชมความมหัศจรรย์ของหินงอกหินย้อยและร่วมผจญภัยที่ถ้ำเลเขากอบ ถ้ำใหญ่ซึ่งมีธารน้ำไหลผ่านและล้อมรอบ ด้วยการนั่งเรือ ล่องไปตามธารน้ำ | |
- แวะชมสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แกะสลักไม้เทพธาโร | |
12.00 น. | - อาหารเที่ยงที่ตัวอำเภอห้วยยอด |
- ออกเดินทางต่อไปอำเภอวังวิเศษ สัมผัสกับบรรยากาศอันสดชื่น เพลิดเพลินกับการชมนกเป็ดน้ำ ที่วังนกน้ำ บึงน้ำและป่าพรุที่หล่อเลี้ยงชีวิตชุมชนและเป็นที่อาศัยของนกเป็ดน้ำซึ่งหนีหนาวมาจากประเทศจีน และนกท้องถิ่นอีกหลากหลายชนิด | |
16.30 น. | - เดินทางกลับตัวเมืองตรัง |
เส้นทางที่
4
Unseen
สัมผัสก้อนเมฆ
ภูผาเมฆ
ภูผาหมอก
07.00 น. | - อาหารเช้าแบบชาวตรัง สัมผัสและลิ้มลองโกปี้ช้ำ อิ่วชาก้วย ขนมจีบปาท่องโก๋ และหมูย่าง |
08.00 น. | - เดินทางไปฝายคลองลำขนุน ต.นาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว จุดเริ่มต้นเส้นทางภูผาหมอก |
- ออกเดินทางลัดเลาะตามเส้นทางขึ้นเขา เพลิดเพลินและตื่นตาตื่นใจกับธารน้ำใส พรรณไม้ ดอกไม้ และสัตว์น้อยใหญ่ ตลอดเส้นทาง | |
11.00 น. | - รับประทานอาหารเที่ยงกลางป่า |
11.30 น. | - เดินทางขึ้นยอดเขา ซึ่งเป็นจุดชมทิวทัศน์ และสัมผัสเมฆหมอกที่ลอยผ่านมาเป็นระยะๆ พร้อมชมธรรมชาติ ป่าไม้แคระ พรรณไม้หายาก และสัตว์สงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น สมเสร็จ |
15.00 น. | - เดินทางกลับตามเส้นทางเดิม |
- เดินทางกลับตัวเมืองตรัง |
08.00 น. | - อาหารเช้าแบบชาวตรัง สัมผัสและลิ้มลองโกปี้ช้ำ อิ่วชาก้วย ขนมจีบ ปาท่องโก๋ และหมูย่าง |
09.00 น. | - เดินทางไปอำเภอกันตัง ชมยางพาราต้นแรกของประเทศไทย |
- ชมควนตำหนักจันทน์ และพิพิธภัณฑ์พระยารัษฎาฯ | |
- เดินทางต่อไปตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน ดินแดนแห่งตำนานไหว้พระจันทร์ | |
12.00 น. | - แวะทานอาหารเที่ยงที่ตำบลทุ่งยาวกับอาหารจีนรสเลิศ และต้นตำหรับขนมกุ่ยฉ่าย |
13.30 น. | - เดินทางไปตามเส้นทางน้ำตกต่างๆ ได้แก่ น้ำตกโตนเต๊ะ น้ำตกไพรสวรรค์ น้ำตกสายรุ้ง น้ำตกกะช่อง |
- แวะชมร่องรอยการับเสด็จรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ที่ตำหนักโปร่งฤทัย บริเวณหน้าแอ่งน้ำใหญ่ทางตอนล่างของสายน้ำตกกะช่อง และจารึกพระปรมาภิไธยย่อในรัชกาล ที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถบนผาหินใกล้ยอดโตนน้ำปลิว ซึ่งเป็นน้ำตกชั้นบนสุดของน้ำตกกะช่อง |
16.00 น. | - เดินทางกลับตัวเมืองตรัง |
- ถึงตัวเมืองตรัง ปิดท้ายรายการด้วยการ แวะคารวะอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ และชมสถานที่อันเคยใช้เป็นตำหนักผ่อนกาย ซึ่งพระยารัษฎาฯ สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช และต่อมาใช้เป็นที่รับเสด็จสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง |