25 ธันวาคม 2532
ก่อตั้งบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ตามนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีระยะที่ 2 ของประเทศ โดยในระยะเริ่มต้นมีผู้ถือหุ้น ประกอบด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ร้อยละ 25 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด ร้อยละ 40 และ บริษัท เอ็กซอนเคมีคัล อีสเทอร์น จำกัด ร้อยละ 35

7 มกราคม 2535
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยปรับปรุงแบบโครงการ อะโรเมติกส์ และอนุมัติให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยถือหุ้นในบริษัททั้งหมด

24 มีนาคม 2538
เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 2,000 ล้านบาทเป็น 4,000 ล้านบาทและได้แปรสภาพเป็น บริษัทมหาชน โดยใช้ชื่อว่าบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ATC

8-10 พฤศจิกายน 2538
นำหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 54.05 ล้านหุ้น เสนอขายประชาชนทั่วไป โดยมีสัดส่วน ผู้ถือหุ้นหลังจากการกระจายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปดังนี้ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ร้อยละ 44 บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 15 บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 9.5 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร้อยละ 5 นักลงทุนสถาบัน ร้อยละ 12.75 และประชาชนทั่วไป ร้อยละ 13.75

25 มกราคม 2539
คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์อนุมัติหุ้นสามัญของบริษัท จำนวน 399,050,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท รวม 3,990.50 ล้านบาทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยจัดอยู่ในกลุ่มเคมีภัณฑ์และพลาสติก

1 กุมภาพันธ์ 2540
โรงงานอะโรเมติกส์และรีฟอร์เมอร์ เริ่มการผลิตผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ในเชิงพาณิชย์ มีกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ รวม 618,000 ตันต่อปี

24 ตุลาคม 2544
เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 4,000 ล้านบาท เป็น 9,610 ล้านบาท

6 มิถุนายน 2545
โครงการขยายกำลังการผลิตระยะที่ 1 แล้วเสร็จ ทำให้บริษัทมีกำลังการผลิต ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 25

25 มิถุนายน 2546
ออกตราสารหนี้ในรูปหุ้นกู้สกุลเงินบาทมูลค่า 12,000 ล้านบาท และนำเงินไปชำระ คืนเงินกู้กับกลุ่มธนาคารผู้ให้กู้เดิมทั้งหมด ทำให้ภาระผูกพันที่มีอยู่กับกลุ่มธนาคารผู้ให้กู้เดิม รวมทั้งสัญญา Shareholders Support Agreement สิ้นสุดลง

14 พฤศจิกายน 2546
คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทดำเนินการขยายธุรกิจในอุตสาหกรรมขั้น ต่อเนื่อง โดยการผลิตสารไซโคลเฮ็กเซน เพื่อเพิ่มอุปสงค์รองรับผลิตภัณฑ์เบนซีน ที่บริษัทจะผลิตได้เพิ่มขึ้นจากโครงการขยายกำลังการผลิตระยะที่ 2

24 ธันวาคม 2546
ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติให้

  -   โอนทุนสำรองจากกำไรสุทธิประจำปีจำนวน 1.79 ล้านบาทและทุนสำรองส่วนล้ำมูลค่าหุ้นจำนวน 2,702,75 ล้านบาท ไปชดเชยผลขาดทุนสะสม
       
  -   ลดทุนจดทะเบียนจาก 9,610 ล้านบาท เป็น 9,580 ล้านบาท เป็นการตัดหุ้นที่ยังมิได้นำมาจำหน่าย
       
  -   เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 9,580 ล้านบาท เป็น 9,726 ล้านบาท เป็นการเพิ่มเพื่อรองรับการออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์ที่จะซื้อหุ้นสามัญ
       
  -   ลดทุนจดทะเบียนจาก 9,726 ล้านบาท เป็น 972.6 ล้านบาท โดยการลดมูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) จาก 10 บาท เป็น 1 บาท และนำทุนสามัญชำระแล้ว ที่ลดลงจากการลดพาร์ ณ ทุนชำระแล้วที่ 9,580 ล้านบาท (หุ้นละ 9 บาท คูณ 958 ล้านหุ้น) รวมจำนวน 8,622 ล้านบาท ไปชดเชยผลขาดทุนของบริษัท

31 ธันวาคม 2546
ลดทุนจดทะเบียนจาก 9,610 ล้านบาท เป็น 9,580 ล้านบาท เป็นการตัดหุ้นที่ยัง มิได้นำมาจำหน่าย

6 มกราคม 2547
เพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทจาก 9,580 ล้านบาท เป็น 9,726 ล้านบาท

11 มีนาคม 2547
ลดทุนจดทะเบียนจาก 9,726 ล้านบาท เป็น 972.6 ล้านบาท โดยลดมูลค่าที่ตราไว้ จากหุ้นละ 10 บาทเหลือหุ้นละ 1 บาท

16 มีนาคม 2547
พิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจในการดำเนินโครงการร่วมทุน 2 โครงการคือ โครงการร่วมทุนผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำ และโครงการร่วมทุนผลิตสาร ฟีนอลระหว่าง PTT, NPC, TOC และ ATC

7 เมษายน 2547
โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หรือโครงการขยายกำลังการผลิตระยะที่ 2 แล้วเสร็จ ทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตสารพาราไซลีนเพิ่มขึ้นเป็น 495,000 ตันต่อปี และ เบนซีน 467,000 ตันต่อปี รวมกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ทั้งสิ้น 1,101,000 ตัน ต่อปี

20 กันยายน 2547
เริ่มงานก่อสร้างโครงการขยายหน่วยกลั่นแยกวัตถุดิบคอนเดนเสท เพื่อขยายขีด ความสามารถในการกลั่นแยกวัตถุดิบคอนเดนเสทให้เพิ่มขึ้นเป็น 70,000 บาร์เรล ต่อวัน และโครงการผลิตสารไซโคลเฮกเซน (Cyclohexane) ขนาดกำลังการผลิต 150,000 เมตริกตันต่อปี เพื่อเพิ่มอุปสงค์รองรับผลิตภัณฑ์เบนซีนที่บริษัทผลิตได้เพิ่มขึ้น

30 กันยายน 2547
สถานะผลประกอบการของบริษัทเปลี่ยนจากขาดทุนสะสม ณ สิ้นปี 2546 เป็นกำไร สะสม 1,550 ล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2547

8 ตุลาคม 2547
ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2547 มีมติอนุมัติการซื้อที่ดินสำหรับการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 จำนวน 972.3 ล้านบาท

24 กุมภาพันธ์ 2548
คณะกรรมการบริษัท มีมติอนุมัติให้บริษัทดำเนินโครงการอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ในวงเงิน 710 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

11 เมษายน 2548
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2548 อนุมัติวงเงินการก่อสร้างงานด้านวิศวกรรม จัดหาเครื่องจักรและก่อสร้างโรงงาน (EPC) สำหรับโครงการอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ในวงเงินไม่เกิน 597 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอนุมัติให้ บริษัทฯ ออกตราสารหนี้ในรูปหุ้นกู้สกุลเงินบาทและ/หรือสกุลเงินอื่นที่เทียบเท่าในวงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อใช้ในโครงการอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2

9 พฤษภาคม 2548
ได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นประจำปี 2548 ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงาน

29 มิถุนายน 2548
คณะกรรมการบริษัท มีมติอนุมัติเพิ่มงบประมาณโครงการอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 เป็นวงเงิน ไม่เกิน 782.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 72.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอนุมัติจัดจ้างกลุ่มบริษัท SK & Engineering Construction Co., Ltd. และบริษัท GS Engineering & Construction Corp. เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง (EPC) โครงการ
อะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ในวงเงินไม่เกิน 653.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดิม 56.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

18 กรกฎาคม 2548
ได้รับรางวัล SET Awards 2005 2 รางวัล ได้แก่รางวัล Best Performance Awards สาขา Industrial สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่มีฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานดีเด่นในปี 2547 และรางวัล Best Corporate Governance Report Awards สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่โดดเด่นในด้านการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี 15 ข้อที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด

23 สิงหาคม 2548
คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้ยกเลิกการเข้าร่วมทุนโดยการเลิกบริษัท ระยองปิโตรเคมิคัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งบริษัทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว 38% และบริษัทนี้ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการทางธุรกิจใดๆ

26 กันยายน 2548
รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และด้านสวัสดิการแรงงาน จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

26 กันยายน 2548
ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2548 อนุมัติการปรับเปลี่ยนรายละเอียดขอบเขตของงานก่อสร้างโครงการ
อะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 โดยชะลอการก่อสร้าง Unicracker ไว้ก่อนและเพิ่มกำลังการผลิตหน่วย Heavy Naphtha Hydrotreater ขึ้นมาแทน และอนุมัติเพิ่มวงเงินงบประมาณก่อสร้าง (EPC) เป็น 653.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

6 ตุลาคม 2548
ลงนามในสัญญาก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 กับ The consortium of SK Engineering & Construction และ GS Engineering & Construction

27 ตุลาคม 2548
ได้รับการต่ออายุใบรับรองระบบ ISO 9000-2000 จากสถาบันรับรองมาตรฐาน ไอเอสโอ

2 พฤศจิกายน 2548
ลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษา (PMC Service) Foster Wheeler International Corporation สำหรับโครงการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2

14 ธันวาคม 2548
ลงนามในสัญญาขายผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ที่จะผลิตได้จากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ให้กับบริษัทมิตซุย
เคมิคัล อิงค์ และบริษัทสยามมิตซุยพีทีเอ จำกัด

19 มกราคม 2549
ลงนามในสัญญาขายผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ที่จะผลิตได้จากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ให้กับบริษัท ทีพีที
ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)

15 มีนาคม 2549
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2549 อนุมัติการปรับเปลี่ยนรายละเอียดขอบเขตของงานและวงเงินงบประมาณโครงการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์ หน่วยที่ 2 จากเดิมที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2548 ลงเหลือเฉพาะในส่วนโรงงานอะโรเมติกส์และลดมูลค่าเงินลงทุนลงเหลือเป็นเงินประมาณ 350 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนในโครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินธุรกิจร่วมกับบริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) หรือ RRC พร้อมทั้งโอนบัตรส่งเสริมการลงทุนของบริษัท ในส่วนโรงงานรีฟอร์เมอร์ให้แก่ RRC

13 เมษายน 2549
โครงการขยายกำลังการผลิตหน่วยกลั่นแยกวัตถุดิบคอนเดนเสทจาก 50,000 บาร์เรลต่อวันเพิ่มขึ้นเป็น 70,000 บาร์เรลต่อวัน และ โครงการผลิตสารไซโคลเฮกเซน ขนาดกำลังการผลิต 150,000 เมตริกตันต่อปี แล้วเสร็จ

10 พฤษภาคม 2549
ได้รับรางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระดับประเทศ ประจำปี 2549 ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

29 มิถุนายน 2549
พิธีวางศิลาฤกษ์ โครงการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์และ รีฟอร์เมอร์ หน่วยที่ 2 ณ นิคมอุตสาหกรรม RIL ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

26 กรกฎาคม 2549
ได้รับรางวัล SET Award 2006 ในสาขา Distinction in Maintaining Excellent Corporate Governance Report ซึ่งเป็นรางวัลที่ยกย่องและเชิดชูบริษัทที่สามารถรักษามาตรฐาน ด้านการรายงานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

18 สิงหาคม 2549
ได้รับรางวัล ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีอุตสาหกรรมดีเด่นประจำ 2549 ประเภทการเพิ่มผลผลิตของกระทรวงอุตสาหกรรม

18 กันยายน 2549
ได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่น ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ประจำปี 2549

27 ตุลาคม 2549
ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก.18001 และ OHSAS 18001 จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.)
ผังเวป