New Document   
    หน้าแรก   
    คณะกรรมการบริหารสมาคม   
    ประวัติสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย   
    กฎ / กติกาการแข่งขันกีฬาตะกร้อ   
    calendar 2010   
    ประวัติกีฬาตะกร้อ   
    King's Cup   
    Prince Cup   
    Princess_Cup   
    LINK TAKRAW   



เทปการแข่งขัน
VDO การฝึกตะกร้อ



  รูปสวยจากคนรักตะกร้อ

POST
คลิกดูรูป



welcome to muscat

Online 26


ตู้จดหมายสมาคม


 

  



การแข่งขันตะกร้อชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยงชิงถ้วยพระราชทาน
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร


  : ประวัติความเป็นมา  :    : ผลการแข่งขัน  :  



ประวัติการจัดการแข่งขัน

 

ประวัติการจัดการแข่งขัน

ตะกร้อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร

 

                      กีฬาตะกร้อ เดิมที่เป็นกีฬาที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมกีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งนอกเหนือจากกีฬาตะกร้อแล้ว สมาคมกีฬาไทยฯ ยังกำกับดูแลกีฬาหมากรุก สกา  กระบี่กระบอง และว่าวจุฬา-ปักเป้า โดยมีการจัดการแข่งขันกีฬาดังกล่าวทั้งหมดปีละครั้ง ในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน ของทุกปี ณ บริเวณท้องสนามหลวง ถือว่าเป็นการจัดการแข่งขันประเพณีกีฬาไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 กีฬาเซปักตะกร้อซึ่งชาวไทยเรียกว่าตะกร้อข้ามตาข่าย ได้ถูกบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาแหลมทองในสมัยนั้น ซึ่งได้เปลี่ยนเป็นกีฬาซีเกมส์ในปัจจุบัน ในการแข่งขันทีมนักกีฬาของไทยไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะยังสู้นักกีฬาของประเทศมาเลเซียไม่ได้ เพราะมีการจัดการแข่งขันน้อยมาก 1 ปีมีการจัดการแข่งขันเพียงครั้งเดียว ทำให้การพัฒนาทั้งในด้านนักกีฬาและเทคนิคต่างๆ เป็นไปอย่างล่าช้า เพราะไม่มีนักกีฬาเล่นกันอย่างแพร่หลาย ทั้งที่เป็นกีฬาที่มีการแข่งขันในระดับนานาชาติแล้ว สมาคมกีฬาไทย จึงได้มีดำริที่จะพัฒนากีฬาเซปักตะกร้อให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และมีนักกีฬาเล่นมากยิ่งขึ้นโดยจัดวางโครงการขึ้น 2 โครงการ คือ

                      1. จัดรายการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยมอบหมายให้ พันเอก เดชา   กาลบุตร เลขาธิการสมาคมฯ ประสานกับสำนักพระราชวัง ขอพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร จำนวน 2 ถ้วย   เพื่อมอบให้แก่ทีมนักกีฬาที่ชนะเลิศการแข่งขันเซปักตะกร้อ และตะกร้อลอดห่วง ซึ่งสมาคมกีฬาไทยฯ ก็ได้ดำเนินการจัดการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานฯ เป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 15-22 กรกฎาคม 2521 ณ สนามยิมเนเซี่ยม 2 สนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2524 แผนกกีฬาตะกร้อ สมาคมกีฬาไทยฯ ได้แยกออกมาเป็นสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย เพื่อให้การพัฒนากีฬาเซปักตะกร้อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมาคมตะกร้อฯ ก็ได้รับภาระมาดำเนินการจัดการแข่งขันตลอดมา

                      ปี พ.ศ. 2535 สมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย ได้มีการพิจารณาที่จะพัฒนานักกีฬาเซปักตะกร้อระดับเยาวชนให้มีการแข่งขันอย่างกว้างขวาง เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหานักกีฬาดาวรุ่งที่มีอายุน้อยมาทดแทนนักกีฬารุ่นเก่า ในการเตรียมทีมนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ และเอเชี่ยนเกมส์ ในอนาคต ประกอบกับปีดังกล่าว ชมรมสมาคมกีฬาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้ดำริจัดกิจกรรม “งานมหกรรมกีฬาสมัครเล่น เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนาถ ในวาระเฉลิมฉลองทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา” สมาคมตะกร้อฯ    โดย พลตรีจารึก  อารีราชการัณย์ นายกสมาคมฯ จึงได้ประสานขอพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เพิ่มอีก 1 ถ้วย เพื่อเป็นรางวัลให้กับทีมนักกีฬาที่ชนะเลิศเซปักตะกร้อประเภทเยาวชนชาย อายุไม่เกิน 20 ปี ในการแข่งขันงานมหกรรมกีฬาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินี-นาถ ของชมรมสมาคมกีฬาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 16-25 เมษายน 2535 ณ ยิมเนเซี่ยม 1 สนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน และได้ถูกบรรจุเข้าร่วมกับการจัดการแข่งขันตะกร้อชิงถ้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาจนถึงทุกวันนี้

                      2. โครงการเตรียมทีมชาติไทยต่อเนื่อง โดยสร้างทีมนักกีฬาทีมชาติไทยขึ้นมา 2 ชุด แยกเป็นทีมชาติไทยชุอเอ. ซึ่งเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยชุดปัจจุบัน และทีมชาติไทยชุดบี. ซึ่งเป็นนักกีฬาดาวรุ่งที่มีความสามารถไว้คอยทดแทนนักกีฬาทีมชาติไทยชุอเอ. ที่หมดสภาพ

                      การดำเนินการจัดการแข่งขันตะกร้อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร สมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี จนถึงปัจจุบัน

 

 

New Document



| HOME | CONTACTUS |


สมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย
THE TAKRAW ASSOCIATION OF THAILAND
2006 © All rights reserved.


Site Meter