เปิดกลุ่มนักการเมือง-ข้าราชการ ‘เอื้อทุจริตบำบัดน้ำเสียคลองด่าน’

            โครงการจัดการน้ำเสียคลองด่าน เป็นอภิโครงการสิ่งแวดล้อม และการจัดการมลพิษโครงการขนาดใหญ่ และมีระยะเวลาในการดำเนินการนานหลายปี และมีข่าวอื้อฉาวในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันมากที่สุด จากความซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับหน่วยงานจำนวนมากทั้งในกลุ่มองค์กร โดยสามารถจัดแบ่งความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกันทั้งหมดดังนี้ คือ  กลุ่มนักการเมือง  กลุ่มข้าราชการ กลุ่มบริษัทเอกชน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่รวบรวมที่ดิน กลุ่มผู้รับเหมา และกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง
กลุ่มนักการเมืองที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในช่วงปี 2538-2543 ถือเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทในการเสนอโครงการโดยในยุคแรกนั้น นายสุวัจน์  ลิปตพัลลภ มีบทบาทสำคัญในการนำเสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่  19 มิถุนายน 2538 โดยประเด็นสำคัญที่เสนอคือ แผนการใช้เงิน  แผนการใช้งบประมาณ และการว่าจ้างแบบเหมารวม (trunkey) เพื่ออกแบบรวบรวมน้ำเสีย ซึ่งต่อมาค่อนข้างชัดเจนว่าวิธีการ จ้างบริษัทแบบ trunkey มีปัญหาก่อให้เกิดการคอร์รัปชัน

นอกจากนี้บริษัท NVPSKG ที่ชนะการประมูลพบว่ามีเครือญาติของสุวัจน์ และเครือข่ายกลุ่มการเมืองอีกหลายพรรครวมเป็นหุ้นส่วนสําคัญ ความคล้องจองดังกล่าว ขณะนั้นนายปกิต กิระวานิช  อธิบดีกรมควบคุมมลพิษในช่วงเวลาของการพัฒนาโครงการ และการเซ็นสัญญาจัดจ้างผู้รับเหมา ภายหลังจากที่ได้ลาออกจากตําแหน่งก่อนเกษียณอายุราชการเมื่อป? 2540 เขาก็ได?รับแต่งตั้งให้เป็นรองประธานคณะกรรมการ การสื่อสารแห่งประเทศไทย การแต่งตั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่ สุวัจน? ลิปตพัลลภ ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ยิ่งพันธ์ ชงเพิ่มงบหมื่นล้าน

ต่อมานักการเมืองที่เข้ามาเกี่ยวข้อง คือ นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ  แม้ว่าขณะนี้ได้เสียชีวิตไปแล้ว แต่ในช่วงเวลาดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ใน 3 รัฐบาลคือ นายบรรหาร ศิลปอาชา  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2538 โดยหลังจากที่ นายยิ่งพันธ์ ได้รับตำแหน่งเพียงหนึ่งเดือนก็ทำหนังสือยืนยันที่จะสานต่อโครงการทันที ทำให้โครงการได้รับการอนุมัติในวันที่ 17 ตุลาคม ปีเดียวกัน
แต่หลังจากนั้นเริ่มมีการประกวดราคาที่ดินในวันที่ 3 กรกฎาคม ได้ข้อสรุปไม่มีที่ดินในฝั่งตะวันตกเข้าเกณฑ์ ส่วนที่ดินฝั่งตะวันออกมีเข้าคุณสมบัติ 2 รายคือ ที่ตำบลคลองด่าน และตำบลบางเพียง อยู่ในเขต อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ แต่อย่างไรก็ตาม บทบาทของ นายยิ่งพันธ์ โดดเด่นมากขึ้นในช่วงรัฐบาลพลเอกชวลิต เพราะเริ่มมีการเปิดทางให้มีการจัดซื้อที่ดินผืนใหญ่ที่ ตำบลคลองด่าน
ทั้งนี้ผลงานที่สำคัญของนายยิ่งพันธ์ คือ 

การสนับสนุนข้อเสนอของกรมควบคุมมลพิษเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงการโดยเสนอให้ยุบรวมโครงการจากฝั่งตะวันตกมารวมที่ฝั่งตะวันออก เพื่อของบประมาณเพิ่มจากเดิมอีก 10,000 ล้านบาท โดยเสนอผ่านคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติซึ่งสามารถเสนอผ่านอย่างง่ายดาย
การเสนอเปลี่ยนแปลงโครงการดังกล่าว ทำให้เอื้อประโยชน์กับกลุ่มผู้รับเหมากลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้า NVPSKG ประกอบด้วย บริษัท ประยูรวิทย์ สี่แสงการโยธา เกทเวย์ เดลเวลอปเม้นท์ วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง กรุงธน เอนจิเนียริ่ง คลองด่าน มารีน แอนด์ ฟิชเจอริ่ง จำกัด และปาล์มบีช ดีเวลลอปเม้นท์

ทั้งนี้ นายยิ่งพันธ์แสดงบทบาทสําคัญอีกครั้งเมื่อผลการประกวดราคารวมแบบ turnkey ที่กลุ่มบริษัท NVPSKG เรียกร้อง 22,950 ล้านบาท ซึ่งทางสํานักงบประมาณขอเสนอให้ควบคุมมลพิษดําเนินการขออนุมัติ เรื่องการปรับเพิ่มงบประมาณ และเรื่องการขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง นายยิ่งพันธก็เร่งรัดดําเนินการเรื่องนี้โดยทันทีภายหลังจากได้รับข้อเสนอเพียงวันเดียว  ส่วนมติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 5 สิงหาคม 2540 จากนั้นเมื่อ นายยิ่งพันธ์เซ็นอนุมัติการว่าจ้างในวันที่ 20 สิงหาคม ระหว่างกรมควบคุมมลพิษกับกลุม บริษัท NVPSKG ซึ่งนับเป็นการผูกพันงบประมาณ และเซ็นสัญญาโครงการขนาด

"วัฒนา" พัวพันออกโฉนดผิดกฎหมาย

ส่วนกลุ่มนักการเมืองกลุ่มสุดท้าย คือ นายวัฒนา  อัศวเหม ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มีความเกี่ยวข้องต่อประเด็นการซื้อขายที่ดิน ซึ่งมีปัญหาการออกโฉนดโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น โดยจากการรวบรวมของ พล.ต.ท.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พบว่า การออกโฉนดของบริษัท ปาล์มบีช ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้มีการรวบรวมที่ดินโดยขอออกโฉนดทับที่คลองสาธารณะ คือ คลองควงภาษี คลองทะเล และมีการออกโฉนดทับถนนหลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นถนนสาธารณะ นอกจากนี้ยังพบว่าบริษัท ปาล์มบีช ได้นำ ส.ค.1 มาออกโฉนดซ้ำหลายครั้ง
เอกสารรายงานผลการตรวจสอบระบุอีกว่า มีความผิดปกติชัดเจนในเรื่องการซื้อขาย และการปั่นราคาที่ดินเกินราคาจริง โดย นายวัฒนา อัศวเหม ได้ใช้อำนาจหน้าที่ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ช่วยให้บริษัท ปาล์มบีช รวบรวมที่ดินเพื่อออกโฉนด และปั่นราคาที่ดินขายให้กับกรมควบคุมมลพิษเกินราคาจริง โดยในขณะนั้นบริษัท ปาล์มบีช ได้ขายที่ดินให้กับบริษัท คลองด่าน ในราคาเพียง 511,025,818 บาท ไปขายให้กับกรมควบคุมมลพิษในราคาที่สูงมากถึง 1,956,600,000 บาท

19 ข้าราชการ บกพร่องในหน้าที่

รายงานสอบสวนดังกล่าวระบุว่า จากการตรวจสอบการซื้อขายที่ดินโครงการบำบัดน้ำเสีย จำนวน 1,903 ไร่ พบว่า มีการออกโฉนดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และมีการปั่นราคาที่ดินสูงเกินราคาจริง โดยมีนักการเมือง และข้าราชการร่วมกันดำเนินการ กระทั่งทำให้รัฐเสียหายมากถึง 1,900 ล้านบาท

ส่วนกลุ่มข้าราชการ กลุ่มข้าราชการกล่าวได้ว่าคือ กลไกสําคัญที่นําไปสู?ความสําเร็จในที่สุดของโครงการ โดยที่กลไกขับเคลื่อนสําคัญที่สุดก็คือ ข้าราชการระดับบริหารของกรมควบคุมมลพิษ โดยสรุปทั้งหมดจำนวน 19 คน ประกอบด้วยกลุ่มข้าราชการที่ออกเอกสารสิทธิที่ดินในเขตตําบลคลองด่าน 
ทั้งนี้ระบุว่ากลุ่มข้าราชการดังกล่าวบกพร่องในการตรวจสอบที่ดิน จนกระทั่งทำให้รัฐเสียหาย โดยถือเป็นความบกพร่องของคณะกรรมการตรวจสอบการซื้อขายที่ดิน

 

Copyright © 2006 All rights reserved. NKT NEWS CO.,LTD.
Contact us : ktwebeditor@nationgroup.com