รูปวิถีชีวิตริมแม่น้ำเจ้าพระยา
 

กรุงรัตนโกสินทร์

ราชอาณาจักรไทย ซึ่งมีประวัติศาสตร์สืบย้อนขึ้นไปได้กว่า ๘๐๐ ปี ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของราชธานี อันเป็นศูนย์รวมของการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินมา ๔ ครั้งราชธานีแรกคือกรุงสุโขทัย ต่อมาคือกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน 

 

โดยเฉพาะกรุงศรีอยุธยาอันมีนามเต็มว่า “กรุงเทพมหานคร บวรทวารวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานี บุรีรมย์” นั้น มีนามสามัญอันปรากฏทั่วไปในพงศาวดาร จดหมายเหตุ หมายรับสั่ง ใบบอก สารตรา และเอกสาร สำคัญทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ว่า กรุงเทพมหานครบ้าง พระนครบ้าง ตลอดระยะเวลากว่า ๔๐๐ ปี ฉะนั้น ต่อมาแม้ราชธานีจะย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรีก็ดี กรุงรัตนโกสินทร์ก็ดี คำเรียกราชธานีว่ากรุงเทพมหานคร หรือ พระนครนั้นก็ยังใช้สืบกันมาโดยตลอด

เมื่อพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรง สถาปนาราชธานีใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของ แม่น้ำ เจ้าพระยา เสร็จการฉลองพระนครแล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ เปลี่ยนแปลงจากครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า“กรุงรัตนโกสินทร์อินท์ อโยธยา”

 ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ ชื่อ กรุงรัตนโกสินทร์จึงมีนามเต็มว่า “กรุงเทพ มหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” อันแปลได้ความว่า

     กรุงเทพมหานคร

พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร

     อมรรัตนโกสินทร์

เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต

     มหินทรายุธยา

เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้

     มหาดิลกภพ

มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง

     นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์

เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้า

ประการน่ารื่นรมย์ยิ่ง

     อุดมราชนิเวศมหาสถาน

มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย

      อมรพิมานอวตารสถิต

เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชา

ผู้อวตารลงมา

     สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์

ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให
้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้

มูลเหตุที่ราชธานีใหม่จะได้นามว่ากรุงรัตนโกสินทร์นั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในเรื่องพระราชกรัณยานุสรณ์ว่า  “การถือน้ำในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสมาก จึงได้ทรงสถาปนาพระอารามในพระบรมมหาราชวัง แล้วพระราชทานนามว่า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เชิญพระพุทธปฏิมากรมาประดิษฐานไว้บนบุษบกทองคำในพระอุโบสถ แล้วจึงพระราชทานนาม พระนครใหม่ให้ต้องกับการซึ่งมีพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตพระองค์นี้เป็นศิริสำหรับ     พระนคร… นามซึ่งว่า รัตนโกสินทร์ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านรับสั่งว่า เพราะท่านประสงค์ความว่า เป็นที่เก็บรักษาไว้ขององค์พระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้มาก จึงยกไว้เป็นหลักพระนคร พระราชทานนามพระนคร ก็ให้ต้องกับพระนามพระมหามณีรัตนปฏิมากรพระองค์นี้ด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อถึงการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาอันใหญ่นี้ จึงได้โปรดให้ข้าราชการมากระทำสัตย์สาบาน แล้วรับน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเฉพาะพระพักตร์พระมหามณีรัตนปฏิมากร

คำว่า “กรุง” ตามสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑ หมายถึง “เมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ซึ่งเป็นที่ประทับอยู่ประจำของพระมหากษัตริย์ หรือเป็นเมืองที่ตั้งสถานที่ทำการของรัฐบาล แต่ก่อนใช้ในความหมายว่า ประเทศ ก็มีเช่นคำว่า “กรุงสยาม”

อนึ่ง ตามพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีว่า “คำว่า “กรุง” นี้ เดิมหมายความว่า “แม่น้ำ” โดยอรรถาธิบายว่า ผู้ใดมีอำนาจเหนือพื้นน้ำหรือเป็นเจ้าแห่งแม่น้ำตั้งแต่ปากน้ำไปจนถึงที่สุดของ แม่น้ำ ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นเจ้ากรุง แลเมืองที่ เจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ก็เลยเรียกว่า “กรุง” อย่างเมืองหลวงปัจจุบันนี้ เรียกว่า กรุงเทพฯ หรือกรุงเทพพระมหานคร ฉะนั้น”

ส่วนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์ไว้ใน สาส์นสมเด็จว่า กรุงมิได้แปลว่า “เมือง” แต่แปลว่า จักรวรรดิ (Empire) มีประเทศราชน้อยใหญ่เป็นเมืองขึ้น มีใช้ในหนังสือเก่าเวลาออกพระนาม พระเจ้าจักรพรรดิ ออกต่อท้ายนามกรุงก็มี เช่น พระเจ้ากรุงสีพี เป็นต้น

 

กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่อยู่ตรงกลางของประเทศ ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งสูงขึ้นไปประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร โดยมีทุ่งตะนาวศรีล้อมอยู่ทางด้านตะวันตก ที่สูงและภูเขาทางด้านเหนือ และที่ราบสูงโคราชทางตะวันออก กำเนิดของพื้นที่บริเวณแอ่งเจ้าพระยา เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิวโลก โดยมีร่องรอยฝั่งทะเลของอ่าวไทย ปรากฏไกลถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลทำให้เกิดการตกตะกอนทับถม ฝั่งทะเลเริ่มถอยลงไปทางใต้ จนในปัจจุบันฝั่งทะเลของอ่าวไทย ปรากฏที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ห่างจากกรุงรัตนโกสินทร์ไปทางใต้ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร

การศึกษาสภาพดินบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยเฉพาะบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ได้มีผู้ศึกษาไว้หลายด้าน ที่สมควรนำมาบันทึกไวัในจดหมายเหตุนี้ คือการศึกษาทางด้านวิศวกรรม เพราะจะมีความสัมพันธ์ต่องานอนุรักษ์

กรุงรัตนโกสินทร์ต่อไปข้างหน้าในการศึกษาสภาพดินทางด้านวิศวกรรมที่สำคัญ ๒ ครั้ง ครั้งแรกกระทำโดยนายชัย มุกตพันธ์ นายไพโรจน์ ถีระวงศ์ และนายวิเชียร เต็งอำนวย แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาเฉพาะสภาพดินในเขตตัวเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยได้รับความสนับสนุนจากสภาวิจัยแห่งชาติ และได้พิมพ์เผยแพร่

ย่อหน้าผลการศึกษาในหนังสือ Engineering Properties of Bangkok Subsoil เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ ต่อมาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับกองวิเคราะห์และวิจัย กรมทางหลวง ได้ศึกษาต่อจากข้อมูลของนายชัย มุกตพันธ์และคณะ โดยขยายพื้นที่ให้กว้างขวางออกไปจนครอบคลุมทั่วบริเวณที่เป็นดินอ่อนภาคกลางในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และเน้นหนักถึงสภาพดินในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์และพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาในหนังสือ ข้อมูลสภาพดินบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ สรุปผลการสำรวจได้ว่า

ย่อหน้า

รูปแสดงภูมิสถานแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ภูมิสถานแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

แนวที่ ๑ คลองประปา เริ่มจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ขนานกับทางรถไฟสายเหนือไปตัดตอนที่บริเวณตัดกันระหว่างทางรถไฟสายเหนือกับถนนประชาชื่น แล้วเลาะไปตามถนนประชาชื่นอีกประมาณ ๗.๕ กิโลเมตร สภาพดินตามแนวดังกล่าว ตอนบนสุดเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนหนาประมาณ ๑๓ - ๑๕ เมตร บางแห่งมีแอ่งของชั้นดินเหนียวอ่อนนี้ลึกลงไปถึงประมาณ ๒๕ เมตร ชั้นดินถัดไปเป็นชั้นดินเหนียวปานกลางมีอยู่เป็นบางแห่ง มีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ ๒ เมตร ตั้งแต่ความลึกประมาณ ๑๕ เมตร ลงมาเป็นดินแข็ง ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวแข็งไปจนถึงความลึกประมาณ ๒๕ - ๓๐ เมตร บางแห่งลึกถึง ๓๕ เมตร จากนั้นก็เป็นชั้นทรายที่แน่นตัว ผิวบนสุดของชั้นทรายตามแนวนี้ขรุขระมากไม่ราบเรียบ แนวที่ ๒ ถนนพหลโยธิน เริ่มจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาตามถนนสีลม หักเข้าถนนพญาไทตรงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ต่อไปตามถนนพหลโยธินจนกระทั่งถึงสะพานลอยลาดพร้าว ชั้นดินบริเวณนี้ประกอบด้วยชั้นดินเหนียวอ่อน ตอนบนหนาประมาณ ๖ - ๑๐ เมตร (บริเวณใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาหนามาก) ในชั้นดินอ่อนนี้มีดินผิวบนอยู่หนาประมาณ ๒ เมตร ใต้ชั้นดินอ่อนเป็นชั้นดินเหนียวปานกลางหนาประมาณ ๓ - ๘ เมตร ชั้นดินปานกลางนี้บางลงเมื่อใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา แสดงว่าเกิดการกัดเซาะก่อนที่จะมีการตกตะกอนของชั้นดินเหนียวอ่อน ต่อจากชั้นปานกลางเป็นชั้นดินเหนียวแข็งถึงแข็งมาก หนาประมาณ ๒ - ๔ เมตร แล้วจึงถึงชั้นดินเหนียวแข็งมาก ซึ่งหนาประมาณ ๓ - ๖ เมตร ใต้ชั้นดินเหนียวแข็งมากเป็นชั้นดินเหนียวปนทรายที่แข็งมาก คาดว่าต่อจากชั้นดินเหนียวปนทรายนี้เป็นชั้นทราย เพราะเจาะพบทรายที่บริเวณต้นและปลายแนวนี้
 
แนวที่ ๓ ถนนสุขุมวิท แนวนี้เริ่มจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านกรมทางหลวงข้ามไปถนนเพชรบุรีไปเข้าถนนสุขุมวิทที่ซอย ๒๗ ไปตามแนวถนนสุขุมวิทจนกระทั่งถึงซอย ๑๐๓ ลักษณะชั้นดินประกอบด้วยชั้นดินเหนียวอ่อนอยู่ตอนบนหนาประมาณ ๘ - ๑๐ เมตร เกือบตลอดสาย ในชั้นดินเหนียวอ่อนมีดินผิวบนอยู่ตอนบนสุดหนาประมาณ ๒ - ๔ เมตร ต่อจากชั้นดินเหนียวอ่อนเป็นชั้นดินเหนียวปานกลาง หนาประมาณ ๓ - ๖ เมตร ชั้นดินนี้บางลงเมื่อใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา ใต้ชั้นดินเหนียวปานกลางเป็นชั้นดินเหนียวที่แข็งถึงแข็งมากสีเทาหนาประมาณ ๓ เมตร ถัดไปเป็นชั้นดินเหนียวที่แข็งมากเช่นกัน แต่เป็นดินเหนียวสีเหลืองปนน้ำตาล แล้วจึงถึงชั้นที่คั่นระหว่างชั้นทรายกับดินเหนียวเป็นชั้นของดินเหนียวปนทราย สันนิษฐานว่า ใต้ชั้นดินเหนียวปนทรายจะเป็นชั้นทรายที่อัดแน่นมาก แนวที่ ๔ ถนนพระรามที่ ๔ แนวเริ่มจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณฝั่งตรงข้ามกับปากคลองตลาดตรงไปถนนหลวง หักเข้าไปถนนพระรามที่ ๔ ที่บริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพฯ แล้วเลียบตามถนนพระรามที่ ๔ ไปจนกระทั่งพบกับถนนสุขุมวิท ชั้นดินในแนวนี้ ชั้นดินอ่อนตอนบนหนาประมาณ ๑๐ - ๑๕ เมตร เป็นที่น่าสังเกตว่าบริเวณนี้มีชั้นดินเหนียวอ่อนอยู่หนากว่าปกติพบว่ามีชั้นดินเหนียวปานกลางอยู่เฉพาะบางแห่ง หนาประมาณ ๓ - ๔ เมตร ชั้นดินเหนียวแข็งถึงแข็งมากเริ่มจากความลึกประมาณ ๑๕ เมตร ไปจนถึงความลึกประมาณ ๒๓ เมตร ใต้ชั้นดินเหนียวแข็งถึงแข็งมากนี้ บางแห่งเป็นชั้นดินเหนียวแข็งมาก โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ตามแนวถนนพระรามที่ ๔ จากสวนลุมพินีไปจนเกือบถึงถนนสุขุมวิท พบชั้นทรายบาง ๆ ใต้ชั้นดินเหนียวแข็งถึงแข็งมากนี้ ต่อจากชั้นทรายบางเป็นดินเหนียวแข็งมากสีเหลืองปนน้ำตาล มีหินแปรสภาพปนอยู่ด้วย จากนั้นเป็นชั้นทราย ชั้นทรายบาง ๆ ที่พบบริเวณจากสวนลุมพินี ไปถึงถนนสุขุมวิทอาจเป็นอันตรายต่อฐานรากของสิ่งปลูกสร้าง เพราะมักจะเป็นทางสำหรับระบายน้ำ น้ำที่อยู่ในบริเวณนั้นจึงไม่เป็นน้ำที่อยู่นิ่ง
แนวที่ ๕ แบ่งออกเป็น ๒ แนว คือ แนวที่ ๕ ก. เป็นแนวตามถนนวงแหวน แนวเริ่มจากปลายถนนเจริญกรุง บริเวณสะพานกรุงเทพฯ ขนานตามแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงบริเวณคลองบางมะนาว หักออกไปยังประมาณกึ่งกลางถนนสาธุประดิษฐ์ แล้วตรงไปสิ้นสุดที่คลังน้ำมันเชลล์ ใกล้การท่าเรือแห่งประเทศไทย ส่วนอีกแนวหนึ่งคือ แนวที่ ๕ ข. เป็นแนวถนนขนานแม่น้ำเจ้าพระยา แนวเริ่มจากปลายถนนเจริญกรุงบริเวณสะพานกรุงเทพฯ เช่นกัน ขนานตามแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงคลังน้ำมันเชลล์ใกล้การท่าเรือแห่งประเทศไทย ลักษณะชั้นดินทั้งสองแนวนี้คล้ายคลึงกัน คือมีชั้นดินเหนียวอ่อนอยู่หนาเฉลี่ยประมาณ ๑๒ - ๑๗ เมตร ผิวบนของชั้นดินเหนียวอ่อนนี้ เป็นร่องน้ำจากลำคลองไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผิวล่างค่อนข้างจะเรียบ มีลักษณะของการกัดเซาะอยู่ไม่มากนัก ใต้ชั้นดินเหนียวอ่อนเป็นชั้นดินเหนียวแข็งถึงแข็งมาก ผิวล่างของชั้นดินนี้ไม่สม่ำเสมอ บางแห่งเป็นร่องลึกมีลักษณะการกัดเซาะของร่องน้ำขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป แสดงว่าก่อนการตกตะกอนของชั้นดินนี้ มีทางน้ำเดิมไหลผ่านไปสู่ลำน้ำเจ้าพระยาหรืออาจไหลออกสู่อ่าวไทยเลยทีเดียวก็ได้ ใต้ชั้นดินเหนียวแข็งถึงแข็งมากเป็นชั้นทรายเสียส่วนใหญ่เฉพาะบางแห่งพบแถบของดินเหนียวแข็งมากอยู่อย่างไม่สม่ำเสมอปะปนกับชั้นทราย แนวที่ ๖ ดินแดง – ท่าเรือ เป็นชั้นดินตามแนวที่เริ่มจากดินแดงบริเวณปลายถนนวิภาวดีรังสิต ช่วงดินแดง-ดอนเมือง ต่อตรงเข้าไปยังบริเวณทางรถไฟ แล้วขนานไปตามทางรถไฟสายแม่น้ำ เมื่อเลยถนนพระรามที่ ๔ เล็กน้อย ก็แยกออกเป็น ๒ แนว แนวหนึ่งเข้าสู่ท่าเรือคลองเตย ส่วนอีกแนวหนึ่งแยกไปบริเวณคลังน้ำมัน ชั้นดินตามแนวดังกล่าวนี้ประกอบด้วย ชั้นดินเหนียวอ่อนหนาประมาณ ๑๓ เมตร อยู่ตอนบน ใต้ชั้นดินเหนียวอ่อนเป็นชั้นดินเหนียวปนทรายละเอียดที่แข็ง ผิวบนของชั้นดินเหนียวปนทรายละเอียดนี้ ค่อนข้างจะราบเรียบไม่มีลักษณะของการถูกกัดเซาะ ต่อจากนั้นก็เป็นชั้นดินเหนียวปนทรายละเอียดที่แข็งมาก พบว่ามีแถบทรายปนอยู่ในชั้นดินนี้เป็นแห่ง ๆ ทั่ว ๆ ไป ผิวบนของชั้นดินไม่ราบเรียบมีร่องรอยของการกัดเซาะอยู่มาก

ย่อหน้าสำหรับมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดน อันเป็นที่ตั้งของราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน ได้มีการขุดค้นพบทั้งเครื่องมือ เครื่องใช้ และโครงการดูกในที่ต่าง ๆ จนกระทั่งในยุคหินใหม่รุ่นหลัง ร่องรอยทางด้านโบราณคดีในเอเชียอาคเนย์ที่แสดงถึงอารยธรรมอินเดียไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่   ๗ - ๘ และในระยะนี้ก็ได้มีการตั้งอาณาจักรต่างๆ ขึ้นอาณาจักรทวารวดีซึ่งเป็นอาณาจักรสมัยประวัติศาสตร์ที่แน่นอนแห่งแรกในราชอาณาจักรไทยนั้น มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ หรือ ๑๒ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

ย่อหน้าต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีของไทยเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๙๓ นั้น ปรากฏความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่า ทรงมีพระราชอำนาจแผ่ไปกว้างขวาง มีเมืองป้อมปราการชั้นในสำหรับป้องกันราชธานีทั้ง ๔ ทิศคือ ทิศเหนือ เมืองลพบุรี ทิศตะวันออก เมืองนครนายก ทิศใต้ เมืองพระประแดง ทิศตะวันตก เมืองสุพรรณบุรี และมีหัวเมืองชั้นในรายตามระยะทางคมนาคมและ ณ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของกรุงรัตนโกสินทร์ดังกล่าว ซึ่งอยู่ถัดจากเมืองพระประแดงขึ้นมา แม้จะอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปากอ่าว อันเป็นเส้นทางเดินเรือออกสู่ทะเลสายสำคัญมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็มิได้มีชื่อปรากฏในเอกสารใด ด้วยคงจะเป็นเพียงหมู่บ้านสวนเล็ก ๆ กลางโอบอันอ้อมโค้งของลำน้ำเจ้าพระยา

นายประยูร อุลุชาฏะ ได้ดำเนินการสำรวจวัดต่างๆ ในกรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือฝั่งธนบุรี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๓ กล่าวไว้ในหนังสือ “ศิลปในบางกอก” ว่า

 “หลักฐานจากโบราณวัตถุปรากฏว่า เมืองบางกอกมิใช่พึ่งจะสำคัญขึ้นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา แม้สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเรียกว่า ยุคอโยธยาสุพรรณภูมินั้น บางกอกก็เคยมีความสำคัญมาแล้ว ข้าพเจ้าได้ตรวจวัดเก่าแก่แถบอำเภอราษฎร์บูรณะ พบว่ามีพระพุทธรูปสมัยอู่ทองขนาดมหึมาอยู่ตามวัดในบริเวณนั้น ส่วนใหญ่อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น วัดประเสริฐสุทธาวาส วัดแจงร้อน วัดบางปะกอก

 ส่วนบริเวณเมืองบางกอกแท้ๆ ที่ธนบุรีนั้น เท่าที่ได้พบศิลปเก่าแก่รุ่นสมัยอยุธยาตอนต้น มีดังต่อไปนี้คือ วัดแก้ว วัดตะพาน วัดจันตาฝ้าขาว วัดเพรงในคลองบางพรม วัดบางแวก ซึ่งอยู่ในบริเวณบางระมาด บางเชือกหนัง และแม่น้ำอ้อม ล้วนเป็นวัดมีมาก่อนขุดคลองลัดในสมัยพระชัยราชาที่หน้าโรงพยาบาลศิริราชทั้งสิ้น

รูปบางกอก ก่อนจะเป็นกรุงรัตนโกสินทร์











บางกอกเมื่อก่อนจะเป็นกรุงรัตนโกสินทร์

ย่อหน้าหลังจากราชอาณาจักรไทยได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี มีความเจริญมั่นคงทั้งในด้านการปกครอง การทหาร และการเศรษฐกิจ กล่าวคือนอกจากจะได้มีการตราพระราชกำหนดกฎหมายขึ้นเป็นหลักในการปกครอง และวางระเบียบการบริหารประเทศทั้งในกรุงและหัวเมืองขึ้นโดยเรียบร้อยแล้ว ยังมีอำนาจเหนือประเทศราชน้อยใหญ่ในแถบเอเชียอาคเนย์ ทั้งลาว เวียดนาม กัมพูชา และมลายู ทั้งยังเป็นเมืองท่าสำคัญในการเดินเรือติดต่อค้าขายระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชียในขณะนั้นด้วย และด้วยเหตุประการหลังนี้ พื้นที่แถบบริเวณ “บางกอก” อันเป็นที่ตั้งของกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน จึงเริ่มเป็นที่สนพระทัยของพระมหากษัตริย์หลายรัชกาล ด้วยร่องแม่น้ำอันคดเคี้ยวระหว่างกรุงศรีอยุธยากับทะเลนั้น หากได้ขุดคลองลัดขึ้นก็จะอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางเรือ และลำน้ำเจ้าพระยาเดิมซึ่งไหลจากสามเสนเข้าคลองบางกอกน้อย ตลิ่งชัน บางระมาด เลี้ยวออกคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งเป็นทางอ้อมโค้ง หากไปด้วยเรือแจวจะกินเวลาตั้งแต่เช้าจรดเย็น เมื่อมีคลองลัดขุดพาสายน้ำไปทางอื่นก็แคบลงและตื้นเขินขึ้นจนกลายเป็นคลองไป คือที่เรียกว่า คลองบางกอกน้อย คลองตลิ่งชัน คลองบางระมาด และคลองบางกอกใหญ่ในปัจจบัน สำหรับตำบลบางกอก ซึ่งเคยอยู่ฝั่งตะวันออกของลำน้ำเจ้าพระยาเดิม ก็กลายเป็นพื้นที่ซึ่งมีแม่น้ำไหลผ่านกลาง แต่ทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกก็ยังคงใช้ชื่อรวมกันว่า “บางกอก” เช่นเดิม

ครั้นขุดคลองลัดแล้ว บางกอกจึงเริ่มมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ขึ้น และต่อมาตั้งเป็นเมืองด่านเรียกว่า เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ปรากฏชื่อเป็นครั้งแรกในพระราชพงศาวดาร รัชกาลต่อมา คือรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พุทธศักราช ๒๐๙๑ - ๒๑๑๑)งศรีอยุธยา และผ่านอีกในตอนขากลับ

ในแผนที่ทะเลและแผนที่ครั้งโบราณที่ชาวต่างประเทศได้ทำไว้แต่สมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏตำแหน่งที่ตั้งของเมืองธนบุรีในชื่อของบางกอก โดยสะกดว่า Bangkok , Bancoc , Bancok , Banckok , Bankoc , Banckock , Bangok , Bancocq , Bancock ก็มี และในบางแผ่นเขียนคำว่า Siam อันหมายถึงประเทศสยามไว้ตรงที่ตั้งของบางกอก ในขณะที่มีคำว่า Judia , Odia, Juthia , Ajothia ,Odiaa อยู่เหนือขึ้นไปในตำแหน่งที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยา ฉะนั้นบางกอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักรไทยด้วย (แผนที่ประเทศไทยครั้งโบราณนี้ พิพิธภัณฑ์แผนที่ของกรมแผนที่ทหาร ได้รวบรวมและทำสำเนามาเก็บรักษาไว้ได้เป็นจำนวนมาก)

 ส่วนคำว่า Bangkok ที่ใช้สะกดเป็นชื่อเมืองบางกอก หรือกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน นายขจร สุขพานิช ได้ให้ความเห็นไว้ในบทความเรื่อง “บางเกาะ-เกาะรัตนโกสินทร์” ว่า ปกติเป็นคำที่ฝ่ายสังฆราชผู้เป็นใหญ่ในคริสต์ศาสนาที่กรุงศรีอยุธยาใช้เมื่อเขียนถึงบางกอก ทุกครั้งที่ท่านเขียนรายงานไปยังสำนักงานใหญ่ที่กรุงปารีส และได้ใช้เรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอักษรไปถึงพวกฝรั่ง ก็ทรงสะกดคำนี้ว่า Bangkok ตามที่พวกสังฆราชฝรั่งเศสใช้ จึงได้ใช้เป็นมาตรฐานต่อมาจนปัจจุบัน

ในเอกสารชุด The Records of Relation Between Siam and Foreign Countries in 17 th Century Vol.1 (บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศในศตวรรษที่ ๑๗) ซึ่งเป็นบันทึกของชาวต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาที่เก่าสุดเท่าที่สอบค้นได้ในปัจจุบัน พ่อค้าชาวฮอลันดาได้เขียนบันทึกบรรยายเกี่ยวกับอาณาจักรสยามไว้เมื่อปีพุทธศักราช ๒๑๖๐ - ๒๑๖๑ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ความตอนที่กล่าวถึงบางกอกนั้นมีว่า

 

ย่อหน้า“กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ประมาณ ๑๕ องศา ทางเหนือ ต้องเข้าแม่น้ำไปภายในแผ่นดินประมาณ ๒๐ ไมล์ฮอลันดา แม่น้ำนี้จัดอยู่ในประเภทแม่น้ำที่ดีที่สุดในย่านอินดีส ซึ่งสามารถให้เรือระวางหนักตั้งแต่ ๑๕๐ ถึง ๒๐๐ ลาสท์ กินน้ำลึกตั้งแต่ ๑๒ ถึง ๑๓ ฟุตขึ้นไปเข้าจอดได้โดยสะดวก จากปากน้ำเข้าไป ๕ ไมล์เป็นที่ตั้งของเมืองล้อมรอบด้วยกำแพงมีชื่อว่า บางกอก ณ ที่นี่เป็นที่ตั้งของด่านภาษีแห่งแรก เรียกว่า ขนอนบางกอก (Canen Bangkok) ซึ่งเรือและสำเภาทุกลำไม่ว่าจะมาจากชาติใดก็ตาม จะต้องหยุดจอดทอดสมอ และแจ้งให้ด่านนี้ทราบก่อนว่าจะเข้ามาเพื่อจุดประสงค์อันใด บรรทุกสินค้ามาจากไหน มีผู้ใดมากับเรือบ้าง และมีสินค้าอะไรบ้างที่บรรทุกมา ก่อนที่เรือเหล่านั้นจะล่วงล้ำหรือเดินทางเข้าไปกว่านั้น จากบางกอกขึ้นมาประมาณ ๑ ไมล์ มีด่านศุลกากรอีกแห่งหนึ่งเรียกว่า บ้านตะนาว ซึ่งเรือทุกลำที่จะขึ้นไปยังกรุงศรีอยุธยาจะต้องหยุดตรวจอีกครั้งหนึ่ง เพราะอยู่ในรัศมีไม่ไกลจากกรุงศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยกำแพงหิน และมีแม่น้ำโอบไปโดยรอบ มีประชาชนอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองสวยงาม เป็นที่เชิดหน้าชูตาของกรุงสยามตามแบบฉบับของเมืองในแถบตะวันออก

ย่อหน้าในทำนองเดียวกัน เมื่อเรือจะกลับออกไปและเมื่อผ่านด่านภาษีที่บ้านตะนาวอีก ก็จะต้องหยุดทอดสมอเพื่อแจ้งให้ทราบว่าจะออกเดินทางไปไหน มีสินค้า สัมภาระและบรรทุกใครออกไปบ้าง ในเรื่องเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัตินั้นผู้ที่จะออกไปจะต้องได้รับหนังสือพระราชทานสำคัญเสียก่อน เรียกว่า ตรา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง (ใบผ่าน) ซึ่งจะต้องนำไปแสดงที่ด่านภาษีที่บางกอก ซึ่ง ณ ที่นี้เรือจะต้องหยุดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจ่ายอากรแผ่นดินสำหรับเรือและสินค้า หากไม่ปฏิบัติตามนี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นนายเรือหรือเจ้านายอื่น ๆ ก็ตาม จะถูกยึดเรือทันที”

 บางกอกเป็นเมืองด่านที่สำคัญมาแต่แรกตั้งจนตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา

 รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศและการทำมาหากินของชาวบางกอกในครั้งนั้น เอกสารประวัติศาสตร์ฝ่ายไทย มิได้กล่าวถึงมากนักด้วยผู้บันทึกคงจะเห็นเป็นของธรรมดา แต่จากบันทึกและจดหมายเหตุของชาวต่างประเทศได้ให้หลักฐานอันน่าสนใจเกี่ยวกับบางกอกไว้เป็นอันมาก อาทิ เช่น

 ลักษณะภูมิประเทศ

 นายเชอวาลิเอร์ เดอโชมองต์ (Chevalier de Chaumont) ราชทูตของสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีในพุทธศักราช ๒๒๒๘ แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกจดหมายเหตุไว้ว่า

“เมืองบางกอก เป็นหัวเมืองหนึ่งของพระเจ้าแผ่นดินสยาม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำห่างจากทะเล ๒๔ ไมล์…เดินทางจากอยุธยามาบางกอกทางเรือ ใช้เวลาประมาณ ๑๒ ชั่วโมง (ออกจากอยุธยาเวลา ๕ โมงเย็น) ถึงบางกอกรุ่งขึ้นเวลาเช้า…เวลาเช้าเดินทางออกจากบางกอก ถึงปากอ่าวเวลา ๔ โมงเย็น

 แม่น้ำเจ้าพระยาในฤดูน้ำหลากนั้นไหลเชี่ยวจัด ดังปรากฏในจดหมายเหตุของนายเซเบเรต์ (Ceberet) ซึ่งเดินทางเข้ามาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่างพุทธศักราช ๒๒๓๐ - ๒๒๓๑ ว่

“ได้ไปปรึกษากับมองซิเออร์เดอโวดรีคร์ ถึงเรื่องที่จะพาเรือรบเข้าไปในลำแม่น้ำจนถึงบางกอก มองซิเออร์เดอโวดรีคร์ จึงได้ตอบว่า การที่จะพาเรือเข้าไปในลำแม่น้ำในฤดูนี้ทำไม่ได้ เพราะน้ำในแม่น้ำกำลังท่วมตลิ่งและไหลเชี่ยวแรงมาก ถึงน้ำทะเลจะขึ้นก็ยังไม่พอทานกำลังกระแสเชี่ยวในลำแม่น้ำได้ และถ้าเรือเล็ก ๆ จะขึ้นไปตามลำแม่น้ำแล้ว ก็จะต้องทิ้งสมอลง และกว้านสมอนั้นพาเรือขึ้นไปทีละน้อย ๆ ซึ่งจะเป็นการกินเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๕ วัน เพราะระยะตั้งแต่ด่านภาษีซึ่งตั้งอยู่ที่ปากน้ำถึงบางกอกนั้น เป็นระยะไกลถึง ๑๐ ไมล์”

 แต่อย่างไรก็ตาม นายเดอลาลูแบร์ (Simon de la Loub?re) ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเดินทางเข้ามาพร้อมนายเซเบเรต์ (ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมไว้ในหนังสือ Du Royaume de Siam (จดหมายเหตุลาลูแบร์) ว่า

 “ในเดือนตุลาคม กระแสลมพัดผ่านมาทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ ฝนก็หยุดตก ในเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม สายลดพัดมาจากทิศเหนือ กวาดน่านน้ำ (ให้หมดเมฆ) และดูจะกระหน่ำลงทะเลอย่างแรงถึงขนาดกวาดน้ำที่ท่วมแผ่นดินอยู่ให้ลงทะเลไปได้ภายในไม่กี่วัน ตอนนี้กระแสน้ำขึ้นลงไหลอ่อนมาก ทำให้น้ำในแม่น้ำมีรสจืดไปได้ไกล (จากหน้าเมืองบางกอก) ถึง ๒ ลี้ หรือ ๓ ลี้”

ทำ กิ

พื้นที่บางกอกนั้นเป็นที่ราบลุ่ม พื้นดินอุดมทำสวนทำนาได้ดี โดยเฉพาะสวนผลไม้

 บันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์หยวนใหม่ เล่มที่ ๒๕๒ ซึ่งเรียบเรียบในสมัยราชวงศ์หมิง กล่าวว่า

 “หลอหูอยู่ใต้ประเทศเซียนลงมา อาณาเขตติดริมทะเล คือทางทิศใต้เป็นอ่าวใหญ่ มีแม่น้ำใหญ่

สายหนึ่งไหลผ่านจากเซียนลงมาหลอหู แล้วไหลออกทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ประเทศนี้ ในฤดูร้อนมีน้ำไหลท้นจากอ่าวขุ่นเป็นสีโคลน น้ำจะไหลเข้าคลองเล็กคลองน้อยทั่วพื้นที่ จึงทำนาได้ผลดีมาก ข้าวราคาถูก”

ตามจดหมายเหตุจีนนี้ เซียนคืออาณาจักรสุโขทัย และหลอหูคืออาณาจักรศรีอยุธยา

 นายเดอลาลูแบร์ ได้บันทึกไว้อีกตอนหนึ่งในหนังสือ Du Royaume de Siam (จดหมายเหตุลาลูแบร์) ว่า

 “สวนผลไม้ที่บางกอกนั้นมีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่งแม่น้ำ โดยทวนขึ้นไปสู่เมืองสยาม

(หมายถึงกรุงศรีอยุธยา) ถึง ๔ ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหารซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันนักหนา หมายถึงผลไม้นานาชนิดเป็นอันมาก”

 

บันทึกของนายยอช ไวต์ (George White) พ่อค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษที่เข้ามาทำการค้า ณ กรุงศรีอยุธยา เมื่อพุทธศักราช ๒๒๒๑ กล่าวว่า

 “หมากนั้นมีที่สวนสำหรับเป็นที่เพาะปลูกในระหว่างเมืองนนทบุรีและปากน้ำใกล้เมืองบางกอก ในสวนเหล่านี้ เก็บได้ปีหนึ่งประมาณ ๒๕,๐๐๐ หาบ”

 บาทหลวงตาชาร์ด บันทึกไว้ในจดหมายเหตุการเดินทางครั้งที่ ๒ ซึ่งเข้ามาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อพุทธศักราช ๒๒๓๐ - ๒๒๓๑ ว่า

 “และโดยที่บางกอกเป็นเมืองสวนของประเทศสยาม ซึ่งมีผลไม้รสเยี่ยมทั่วราชอาณาจักรมารวมกันอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ เขาจึงนำมาให้เป็นของกำนัลแก่เราเข่งหนึ่ง”

 

ลั ตั มื
 

จากการสำรวจโบราณวัตถุสถานของกรุงรัตนโกสินทร์เฉพาะฝั่งตะวันตก ปรากฏว่าในแถบคลองบางกอกน้อย คลองบางกอกใหญ่ คลองบางระมาด บางพรม บางน้อย บางเชือกหนัง และบางขุนเทียน มีวัดโบราณขนาดใหญ่โตสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาอยู่เป็นจำนวนมาก บางแห่งยังคงปรากฏสิ่งก่อสร้างอันเป็นแบบอย่างทางศิลปกรรมสำคัญ อาทิ วัดเงิน (วัดรัชฎาธิษฐาน) วัดทอง (วัดกาญจนสิงหาสน์) วัดแก้ว วัดศาลาสี่หน้า (วัดคูหาสวรรค์) วัดกำแพง แม้ฝั่งตะวันออกก็มีวัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพน) วัดสลัก (วัดมหาธาตุ) วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) วัดเลียบ (วัดราชบุรณะ) วัดโคก (วัดพลับพลาไชย) เป็นต้น บางแห่งก็อยู่เรียงรายติด ๆ กัน บ่งถึงว่าอาณาบริเวณแถบนี้ย่อมมีผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นชุมนุมใหญ่ เพราะเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งเมืองหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตาม สถานที่ตั้งของวัด หรือความเจริญของบ้านเมืองจะกระจายอยู่แถบริมแม่น้ำหรือริมคลอง อันเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ ส่วนบริเวณด้านทิศใต้ นับแต่หลังวัดบางยี่เรือ วงเวียนใหญ่โดยไปทางดาวคะนอง จนถึงหลังวัดบางสะแกนั้น มีเพียงวัดกระจับพินิจอยู่เพียงวัดเดียว และไม่ปรากฏร่องรอยความเจริญทางศิลปกรรมอื่นอีก บริเวณแถบนี้เดิมจึงน่าจะเป็นป่า และน่าจะแผ่อาณาเขตไปทางทิศใต้ของกรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งตะวันตก หรือฝั่งธนบุรีนี้ทั้งหมด

 

สำหรับที่ทำการของเจ้าเมืองบางกอกนั้น ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในคลองบางหลวงหรือคลองบางกอกใหญ่ และจากบันทึกของพ่อค้าชาวฮอลันดา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมที่กล่าวถึงข้างต้น ได้ระบุไว้ว่าบางกอกเป็นเมืองที่มีกำแพงล้อมรอบ สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของเมืองซึ่งมีบันทึกหลักฐานไว้ ทั้งเอกสารประวัติศาสตร์ของไทย และของชาวต่างประเทศ คือตึกที่พักรับรองสำหรับบุคคลสำคัญกับป้อมสองฟากแม่น้ำ

 นายอาดัม เดนตัน (Adam Denton) พ่อค้าชาวอังกฤษ ได้เขียนจดหมายถึงบริษัทอินเดียตะวันออกที่ปัตตานี เล่าถึงการเดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๑๖๕ ว่า

 “วันที่ ๑๗ ข้าพเจ้าพร้อมด้วยล่ามชาวพื้นเมืองได้ออกเดินทางล่องเรือไปตามลำน้ำ ขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๒๐ ไมล์ จึงได้มาถึงเมืองที่มีชื่อว่า บางกอก เจ้าเมืองบางกอกได้ออกมาต้อนรับคณะของเราเป็นอย่างดี และได้กรุณาจัดหาเสบียงสัมภาระของกินของใช้ที่จำเป็นมาให้ด้วย… ในการนี้ เจ้าเมืองได้จัดตึกสามชั้นให้เราอยู่ เป็นตึกค่อนข้างใหญ่ ยาว ๗ ฟาธอม และกว้าง ๕ ฟาธอม เป็นที่ที่น่าอยู่ และสะดวกสบายมาก”

 หลังจากนั้นเป็นเวลาร่วม ๑๐๐ ปี ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกของชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาก็ยังระบุว่า มีตึกที่พักรับรองก่ออิฐถือปูนอยู่ ซึ่งอาจเป็นตึกหลังเดียวกันนี้หรือสร้างขึ้นใหม่แทนอาคารหลังเดิมซึ่งชำรุดหักพังไปแล้วก็ได้

 บาทหลวงคูร์โตแลง ได้เขียนแผนที่สองฝั่งแม่น้ำตรงบางกอกในครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชไว้ โดยมีป้อมบางกอกตั้งอยู่ทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ และให้ชื่อสองฝั่งแม่น้ำตอนนี้ว่า Bankoc ข้างใต้ป้อมฝั่งตะวันออก มีโบสถ์ฝรั่งอยู่โบสถ์หนึ่งชื่อโบสถ์ Concepcion (อยู่แถบตลาดน้อย) และมีโบสถ์ทางพุทธศาสนาอยู่เหนือป้อมโบสถ์หนึ่ง (อยู่แถบวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) ข้างใต้ป้อมโบสถ์หนึ่ง (อยู่แถบวัดราชบุรณะ) ส่วนโบสถ์พุทธศาสนาทางฝั่งตะวันตกมีอยู่เป็นจำนวนมาก

 สำหรับป้อมบางกอกนั้นเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาโดยตลอดนับแต่แรกสร้างจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

 โดยที่ภูมิสถานของเมืองบางกอกนั้นเป็นที่หัวโค้งเลี้ยวของแม่น้ำ ในต้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้มีการเล็งเห็นความสำคัญของบางกอกขึ้นอีกประการหนึ่งว่า นอกจากตั้งอยู่ริมแม่น้ำระหว่างปากน้ำกับกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเมืองด่านสำคัญทางการค้าแล้ว ชัยภูมิของเมืองยังมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อีกด้วย

 

รุ รี ยุ

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้บันทึกไว้ว่า เจ้าพระยาวิไชเยนทร์เป็นผู้ดำริเกี่ยวกับการสร้างป้อมขึ้นที่เมืองบางกอก และได้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขอให้สร้างป้อมขึ้นที่บางกอกไว้ทั้งสองฟากแม่น้ำ และทำสายโซ่ใหญ่ขึงขวางน้ำตลอดถึงกันทั้งสองฟาก สำหรับป้องกันศัตรูที่จะมีมาทางทะเล สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเห็นชอบด้วย และโปรดให้เจ้าพระยาวิไชเยนทร์เป็นแม่กองก่อสร้างป้อมบางกอก หรือที่ในพระราชพงศาวดารบางฉบับ เรียกป้อมเมืองธนบุรีบ้าง ป้อมวิไชเยนทร์บ้าง แต่ในจดหมายเหตุนี้จะเรียกว่าป้อมบางกอกเพียงชื่อเดียวเพื่อมิให้สับสน

 ป้อมบางกอกที่เจ้าพระยาวิไชเยนทร์สร้างขึ้น มีลักษณะเป็นป้อมอิฐสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ มีสายโซ่ขึงขวางแม่น้ำระหว่างป้อม มีคนเชื้อชาติแขกบ้าง เชื้อชาติโปรตุเกสบ้างเป็นผู้บังคับการป้อม มีทหารอาสาต่างชาติและทหารไทยรวมกันอยู่ประจำป้อมประมาณ ๔๐๐ คน หลังจากสร้างเสร็จ ป้อมบางกอกได้แสดงอานุภาพเต็มที่ในคราวเกิดกบฏมักกะสัน ด้วยฝ่ายกบฏพยายามนำเรือหนีมาถึงบางกอกก็แล่นต่อไปไม่ได้ ด้วยติดโซ่ขึงขวางแม่น้ำอยู่ จึงถูกจับกุมได้ทั้งหมด

ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยามีการติดต่อกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง ทั้งในทางการทูตและการค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฝรั่งเศส สังฆราช เดอลามอตต์ ลัมแบร์ต สังฆราชแห่งเบรีธ

 (Monseigneur de la Motte Lambert, ?v?que de B?rythe) ได้เดินทางเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยา และได้รับอนุญาตให้ทำการสอนศาสนาในราชอาณาจักรไทยได้ จากนั้นบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสโดยความสนับสนุนของรัฐบาลก็ได้ขยายการค้าเข้ามายังราชอาณาจักรไทย โดยส่งนายบูโร เดลังด์ (Boureau Deslandes) มาเป็นผู้จัดตั้งเมื่อปีพุทธศักราช ๒๒๒๓

นายบูโร เดลังด์ ได้บันทึกถึงความสำคัญของบางกอกในรายงาน ซึ่งมีถึงบริษัทว่า

 “พวกฮอลันดาพยายามจะทำการอยู่ ๒ อย่าง คือ อย่างหนึ่งจะคิดเอาเมืองบันตำ อีกอย่างหนึ่งคิดจะเอาป้อมที่บางกอก (ป้อมนี้อยู่ริมแม่น้ำห่างจากปากน้ำประมาณ ๑๐ ไมล์) เพื่อจะได้เป็นใหญ่ในการค้าขายในทะเลฝ่ายใต้ ความคิดนี้อาจจะเป็นการจริงได้ แม้ว่าพวกฮอลันดายึดบางกอกไว้ได้แล้ว ก็จะเป็นใหญ่มีอำนาจสิทธิ์ขาดในทะเลแถบนี้ เพราะท่าเรือที่สำคัญอยู่ในเวลานี้ ก็เหลือแต่บางกอกแห่งเดียวเท่านั้น”

 นายลานิเอร์ (Lanier) นักประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ได้เขียนไว้ในหนังสือ Relations de la France et du Royaume de Siam de 1662 a 1703 (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๗ เรื่อง ไทยกับฝรั่งเศสเป็นไมตรีกันครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์) ว่า

 “ทางฝ่ายบริษัทฝรั่งเศสก็รู้ดีว่า บางกอกนั้นเป็นแห่งที่สำคัญเพราะบางกอกเป็นทำเลท่ามกลางระหว่างอ่าวสยาม ท่าเรือต่างๆ ในพระราชอาณาเขตสยาม และท่าเรือในประเทศจีนด้วย แต่เมืองมะริดนั้นบริษัทก็อยากได้เหมือนกัน เพราะเป็นทำเลอันเหมาะสำหรับการค้าขายในอ่าวเบงกอล ทั้งบางกอกและมะริด ถ้าได้สร้างป้อมอย่างดี และมีทหารรักษาแข็งแรง มีท่าจอดเรืออย่างมั่นคง และสร้างโรงเก็บของใหญ่ ๆ ไว้หลายหลัง ก็คงจะทำให้สินค้าทั้งปวงในฝ่ายอินเดียและแหลมมลายูมารวมอยู่ในที่นี้ทั้งหมด เมื่อบางกอกและมะริดได้จัดอย่างว่านี้ได้แล้ว ก็เป็นทางป้องกันมิให้เรือฮอลันดา อังกฤษ และโปรตุเกส มาสู้ในการค้าขายได้ตั้งแต่ฝั่งคอรอมันเดลตลอดไปถึงเมืองญี่ปุ่นทีเดียว…

ในประเทศสยาม มีท่าเรือที่เป็นทำเลเหมาะและมั่นคงหลายแห่ง คือเมืองตะนาวศรี เมืองมะริด เมืองภูเก็ตอยู่ทางอ่าวเบงกอล ตรงกับที่ตั้งค้าขายของฝรั่งเศส ที่ฝั่งคอรอมันเดล เมืองสงขลา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองเพชรบุรี ก็อยู่ทางอ่าวสยาม และบางกอก ซึ่งเท่ากับเป็นลูกกุญแจของประเทศสยามฝ่ายใต้ ก็เป็นทำเลอันสินค้าทั้งปวงต้องมารวมอยู่ทั้งสิ้น เพราะเหตุว่าบางกอกตั้งอยู่ใกล้กับปากน้ำเจ้าพระยา เป็นเมืองซึ่งอาจแข่งกับบาตาเวียได้”

 ความคิดของฝรั่งเศสนี้ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายกรมท่าและการค้าของไทยขณะนั้น ด้วยหมายจะให้ฝรั่งเศสร่วมช่วยป้องกันอิทธิพลของอังกฤษและฮอลันดา ดังจะเห็นได้จากพระราชสาส์นที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงมีไปถวายสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๒๓๑ ได้ทรงย้ำความสำคัญของบางกอกว่า

 “หม่อมฉันได้มอบเมืองด่านอันมีความสำคัญที่สุด พร้อมด้วยกำลังทหารแห่งราชอาณาจักรของหม่อมฉันตรงจุดที่อริราชศัตรูจะรุกล้ำเข้ามาย่ำยีไว้แก่กองทหารของฝ่าพระบาท ซึ่งหม่อมฉันส่งไปพิทักษ์รักษา”

บาทหลวงตาชาร์ด ก็ได้บันทึกความสำคัญของบางกอกไว้ในจดหมายเหตุการเดินทางครั้ง ๒ เมื่อพุทธศักราช ๒๒๓๐ - ๒๒๓๑ ว่า

 “ใคร ๆ ก็ตามย่อมพิจารณาเห็นว่าการที่สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามทรงมอบเมืองบางกอกกับเมืองมะริดไว้ในความดูแลของชาวฝรั่งเศสนั้น ย่อมเท่ากับฝากเมืองหน้าด่านที่สำคัญที่สุดแห่งรัฐสีมามณฑลและกุญแจแห่งราชอาณาจักรไว้ด้วยความไว้วางพระทัยในความโอบอ้อมอารีขององค์พระเจ้าอยู่หัวฝรั่งเศส กษัตริย์พระองค์นี้ (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ทรงมีพระสติปัญญาเฉียบแหลมพอที่จะเล็งเห็นผลล่วงหน้าอันเนื่องจากข้อผูกพันดังนี้”

 

เมื่อเรือเลอโวตูร์ของฝรั่งเศสพานายบูโรเดลังด์ เดินทางมาถึงปากน้ำเจ้าพระยาในเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๒๒๓ ขณะเรือผ่านป้อมที่บางกอก ไทยได้สั่งให้มีการยิงสลุตต้อนรับ การยิงสลุตครั้งนี้มีเรื่องเกี่ยวพันถึงตำนานธงชาติไทยด้วย มีปรากฏในจดหมายเหตุ ซึ่งฝ่ายฝรั่งเศสได้บันทึกเหตุการณ์ไว้ว่า

 “เมื่อเรือเลอโวตูร์ได้มาถึงสันดอนเมืองสยาม มีรับสั่งว่าเมื่อเรือนี้แล่นผ่านป้อมที่บางกอกให้ป้อมที่บางกอกยิงสลุตรับ เป็นธรรมเนียมมาช้านานแล้วที่เรือต่าง ๆ ของสยามมักจะชักธงฮอลันดา เพราะเหตุว่าคงจะมีคนรู้จักมากว่าเป็นเรือค้าขาย และฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินสยามจนทุกวันนี้หามีธงอย่างใดเป็นเครื่องหมายไม่ เจ้าเมืองบางกอกไม่รู้จะชักธงอะไร จึงได้ชักธงฮอลันดาขึ้น กัปตันเรือเลอโวตูร์ให้คนมาบอกเจ้าเมืองบางกอกว่า ถ้าประสงค์ให้เรือฝรั่งเศสสลุตป้อมแล้ว ก็ขอให้เอาธงฮอลันดาลงเสีย และถ้าไม่มีธงชาติอื่นจะชักแล้ว ก็ให้ชักธงอย่างใดอย่างหนึ่งก็แล้วแต่จะพอใจ เจ้าเมืองบางกอกจึงได้เอาธงฮอลันดาลงเสีย แล้วชักธงสีแดงขึ้นแทน”

 ธงชาติไทยจึงได้ใช้ธงสีแดงต่อมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

 จากนั้น การเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสจึงได้เริ่มต้นขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๒๒๘ สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้ทรงแต่งตั้งให้นายเชอวาลิเอร์ เดอโชมองต์ เป็นราชทูต และบาทหลวงเดอชัวสี (L’abb? de Choisy) เป็นอุปทูต เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยา และได้หยุดพักค้างคืนที่บางกอกหนึ่งคืน นายเดอโชมองต์ได้ขึ้นพักค้างคืนที่ป้อมบางกอกฝั่งตะวันตก ซึ่งภายในมีตึกเป็นที่รับรอง

 ในระหว่างที่พำนักอยู่ในราชอาณาจักรไทย ได้มีการปรึกษาหารือระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในการที่จะสร้างป้อมใหม่ที่บางกอกให้ใหญ่โต ในที่สุดฝ่ายไทยได้ขอตัวเรือเอกเดอฟอร์แบง (Claude de Forbin) และนายช่างเดอลามาร์ (de Lamare) ซึ่งเดินทางมาพร้อมกับราชทูตเอาไว้รับราชการอยู่ในเมืองไทยเพื่อควบคุมการสร้างป้อมที่บางกอกและทำแผนที่ ต่อมาเรือเอกเดอฟอร์แบง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกพระศักดิ์สงคราม มีตำแหน่งเป็นผู้บังคับป้อมและเป็นเจ้าเมืองที่บางกอกด้วย

 ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๒๓๐ สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศสทรงส่งราชทูตมาเมืองไทยเป็นชุดที่ ๒ มีนายเดอลาลูแบร์เป็นราชทูต พร้อมด้วยกองทหารฝรั่งเศสที่จะเข้ามาตั้งอยู่ในเมืองไทย มีนายพลเดส์ฟาร์ช (G?n?ral Desfarges) เป็นผู้บังคับบัญชา กองทหารฝรั่งเศสนี้ได้ขึ้นประจำอยู่ที่ป้อมบางกอกฝั่งตะวันออกซึ่งกำลังสร้างใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ (อยู่ระหว่างวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และปากคลองตลาดในปัจจุบัน)

นายเดอลาลูแบร์ได้ไปชมการก่อสร้างป้อมใหม่นี้ด้วย โดยนายเซเบเรต์ได้จดหมายเหตุไว้ว่า

 “รุ่งขึ้นวันที่ ๒๐ ตุลาคม (พุทธศักราช ๒๒๓๐) เวลาเช้า ได้ไปยังป้อมฝั่งตะวันออกโดยทางราชการ ป้อมได้ยิงปืนใหญ่คำนับทุกกระบอก มองซิเออร์เดฟาร์ชก็ได้มาคอยรับอยู่ที่ริมตลิ่ง และกองทหารก็ถืออาวุธเรียงรายเป็น ๒ แถวคอยต้อนรับ ทหารปอร์ตุเกสอยู่แถวหน้าปนอยู่กับทหารไทย จากนั้นจึงถึงกองทหารฝรั่งเศส ส่วนในป้อมเล็กสี่เหลี่ยมนั้นเต็มไปด้วยกองทหารไทยทั้งสิ้น

 ในที่นี้ข้าพเจ้าจะงดไม่อธิบายเล่าถึงป้อม เพราะถ้าจะดูตามแผนที่ซึ่งได้ส่งมาพร้อมกับรายงานนี้แล้วนั้น ก็อาจจะเข้าใจได้ว่าป้อมนั้นมีรูปร่างสัณฐานอย่างไร ดีกว่าจะเล่าด้วยปากหรือตัวหนังสือ แผนที่ป้อมนั้นมองซิเออร์เดอลามาร์เป็นผู้ทำขึ้น แต่ในที่นี้จะต้องกล่าวความแต่ข้อเดียวซึ่งหามีปรากฏในแผนที่ไม่ คือว่าพื้นที่ดินในป้อมนี้เป็นเลนเป็นโคลน ถูกแดดหน้าก็แห้งแข็งเหมือนจะเป็นดินแข็งไปทั้งหมด แต่ครั้นขุดลงไปลึก ๖ ฟุตเท่านั้นก็เป็นเลนเป็นตมไปหมด เมื่อเอาท่อนเหล็กยาวตั้ง ๒๐ - ๒๕ ฟุตแทงลงไป ก็ไม่พบดินแข็งเลย ซึ่งพื้นที่ดินเป็นเช่นนี้ก็ต้องนับว่าเป็นพื้นที่เลวอย่างที่สุด

 ครั้นแล้วเราจึงได้กลับข้ามฟากไปที่ป้อมฝั่งตะวันตกที่ได้พักนอนเมื่อคืนนี้”

 ป้อมบางกอกฝั่งตะวันออกนี้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วในเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๒๓๑

 อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้เกิดเหตุการณ์ยุ่งยากขึ้นเมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใกล้เสด็จสวรรคต สมเด็จพระเพทราชาทรงควบคุมพระราชอำนาจไว้ได้ ไม่โปรดให้มีกองทหารฝรั่งเศสมาตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย จึงได้ส่งทหารไปขับไล่ฝรั่งเศสออกจากป้อมบางกอก กองทหารฝรั่งเศสต้องถอนกำลังออกจากป้อมบางกอกฝั่งตะวันตก มารวมกันอยู่ที่ป้อมฟากตะวันออก ข้างทหารไทยก็เข้ายึดป้อมฝั่งตะวันตกไว้ เกิดต่อสู้กัน เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ป้อมบางกอกฝั่งตะวันออก ซึ่งเพิ่งจะสร้างเสร็จได้ใช้ประโยชน์ในการสู้รบ จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๕ จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาครั้งสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ได้บันทึกไว้ว่า

“ทหารฝรั่งเศส… ได้ระเบิดปืนใหญ่ในป้อมฝั่งตะวันตก ๑๓ กระบอก และปืนกระบอกใดที่ระเบิดไม่ได้ ก็เจาะรูเสียทุกกระบอก แล้วขนอาวุธลูกกระสุนดินดำซึ่งอยู่ในป้อมนี้ ย้ายไปอยู่ป้อมฝั่งโน้น (ฝั่งตะวันออก) พอพวกฝรั่งเศสออกจากป้อมแล้ว พวกไทยก็เข้าไปยึดป้อมไว้ พอนายพลเดฟาร์ชเห็นว่าไทยเข้าไปอยู่ในป้อมแล้ว ก็ได้สั่งกองทหารฝรั่งเศสให้ไปตีเอาป้อมคืนมาจากไทย กองทหารไทยและฝรั่งเศสได้สู้รบกันช้านาน ทหารฝรั่งเศสสู้ไม่ได้ จึงได้ถอยเข้าไปอยู่ในป้อมฝั่งตะวันออก และได้กระทำการร้ายต่าง ๆ เป็นอันมาก ฝ่ายพระเจ้ากรุงสยามทรงพระราชดำริว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสคงจะไม่ทรงทราบว่านายพลกับกองทหารได้ทำการอย่างไร ทรงเห็นว่าถ้าจะให้กองทหารไทยทำการสู้รบโดยเต็มฝีมือ ก็จะเกิดบาดหมางในพระราชไมตรี จึงเป็นแต่มีพระราชโองการสั่งให้ทำป้อมเล็ก ๆ และคูรอบป้อมใหญ่ และให้ทหารรักษาไว้ให้มั่นคง ทั้งทางบกและทางเรือ และให้คอยป้องกันอย่าให้พวกฝรั่งเศสออกจากป้อมได้…

 นายพลเดฟาร์ชกับกองทหารกลับสานตะกร้าขึ้นวางบนเชิงเทินรอบป้อม แล้วเอาดินใส่ตะกร้า และทำสนามเพลาะในป้อมอีกชั้นหนึ่ง สนามเพลาะนี้ทำด้วยต้นตาลต้นใหญ่ ๆ และคล้ายกับป้อมอีกป้อมหนึ่งต่างหาก และกองทหารก็ได้เอาปืนใหญ่เข้าบรรจุตามที่ยกพื้นขึ้นสำหรับวางปืนได้สองชั้นซ้อนกัน แล้วได้ระดมยิงปืนใหญ่ทำลายธง ทำลายโรงไว้ดินปืนด้วย ฝ่ายข้างไทยก็ได้จัดทหารรักษาป้อมฝั่งตะวันตก สำหรับยิงปืนและโยนลูกแตกเข้าไปในป้อมฝรั่งเศส แต่เกรงว่าจะไปถูกคนไทยด้วยกัน ทั้งเป็นการไม่สมควรทางพระราชไมตรี จึงเป็นแต่คอยยิงตอบโต้กับพวกฝรั่งเศสเท่านั้น แล้วฝรั่งเศสได้จับไทยที่เข้าใกล้ป้อมฆ่าและเอาศพเสียบไว้ให้ป้อมไทยเห็น ทำให้ข้าราชการไทยและชาวต่างประเทศโกรธแค้นมาก”

 ต่อมาเมื่อนายพลเดส์ฟาร์ชและสมเด็จพระเพทราชาสามารถเจรจาสงบศึกกันได้ กองทหารฝรั่งเศสก็ยินยอมถอนตัวออกไปจากเมืองไทยโดยสิ้นเชิงครั้นแล้วสมเด็จพระเพทราชาโปรดให้รื้อป้อมบางกอกฝั่งตะวันออกเสีย ด้วยทรงเห็นว่าสร้างใหญ่โตเกินกำลังทหารไทยจะรักษาไว้ได้ คงเหลือแต่ป้อมบางกอกฝั่งตะวันตก ซึ่งต่อมาเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ป้อมวิไชเยนทร์” จนกระทั่งในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจัากรุงธนบุรี (สิน) ทรงกอบกู้อิสรภาพสำเร็จ และโปรดให้ดัดแปลงบริเวณป้อมเป็นพระตำหนักที่ประทับ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขนานชื่อป้อมใหม่ว่า “ป้อมวิไชยประสิทธิ์”

ย่อหน้าเป็นที่น่าสังเกตว่า แผนผังการสร้างป้อมใหม่ที่บางกอกฝั่งตะวันออก ซึ่งมีสำเนาตกทอดมาจนถึงปัจจุบันนั้น ฝรั่งเศสได้ออกแบบสร้างอย่างมั่นคงและใหญ่โตมาก และเป็นแผนผังที่เขียนไว้ตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช ๑๖๗๗ หรือพุทธศักราช ๒๒๒๐ ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ราชทูตฝรั่งเสศชุดนายเชอวาลิเอร์ เดอโชมองต์จะเข้ามาเมืองไทยถึง ๘ ปี แผนผังนี้เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Plan du project de la fortification de Bancocq ออกแบบเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม คริสต์ศักราช ๑๖๗๗ ประกอบกับบันทึกและจดหมายเหตุต่าง ๆ ในพงศาวดาร ซึ่งมีเหตุผลสอดคล้องกันในหลักฐานว่า ฝรั่งเศสได้มีนโยบายและเตรียมการที่จะเข้ายึดครองเมืองไทยไว้เช่นเดียวกับที่อังกฤษได้ดำเนินการต่ออินเดียและฮอลันดาได้ดำเนินการต่อชวา หากแต่ฝรั่งเศสดำเนินการไปไม่ตลอดเพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในเมืองไทยเสียก่อน

 ย่อหน้าครั้นเมื่อสิ้นกรุงศรีอยุธยาในปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สิน) ทรงกอบกู้อิสรภาพขึ้นได้เป็นผลสำเร็จในปีเดียวกันนั้นเอง แต่มีพระราชดำริว่ากรุงศรีอยุธยาเสียหายหนัก ยากที่จะปฏิสังขรณ์ให้กลับคืนได้ ธนบุรีซึ่งเป็นเมืองด่านสำคัญใกล้ทะเล ทั้งมีป้อมปราการเป็นชัยภูมิดีอยู่ กอปรกับเป็นเมืองเล็กพอสมแก่กำลังไพร่พลและราษฎรในขณะนั้น จึงโปรดให้รับพระบรมวงศานุวงศ์ครั้งกรุงศรีอยุธยาลงมา ณ เมืองธนบุรี โปรดให้ไพร่พลทั้งฝ่ายทหาร พลเรือน ทำค่ายด้วยไม้ทองหลางทั้งต้นเป็นที่มั่นไว้พลางก่อน ค่ายนั้นทำตั้งแต่มุมกำแพงเมืองเก่าไปจนวัดบางว้าน้อย วกลงไปริมแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วขุดคูน้ำรอบพระนคร มูลดินขึ้นเป็นเชิงเทินตามริมค่ายข้างในเสร็จเรียบร้อยภายในหนึ่งเดือน

 ย่อหน้าต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๓๑๖ ปรากฏความในสำเนาท้องตราครั้งกรุงธนบุรี และพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีว่า โปรดให้บูรณะพระนครให้มั่นคงยิ่งขึ้น โดยให้เจ้าพระยาจักรี (คือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) เป็นายงานเกณฑ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ ผู้น้อย ฝ่ายทหาร พลเรือนทั้งปวง ทั้งในกรุงและหัวเมือง “ไปรื้ออิฐกำแพงเก่า ณ เมืองพระประแดง และกำแพงค่ายพม่า ณ โพธิ์สามต้น และสีกุก บางไทร ทั้งสามค่ายขนบรรทุกเรือมาก่อกำแพงและป้อมตามที่ถมเชิงดิน สามฟากทั้งสองด้าน เอาแม่น้ำไว้หว่างกลางเมืองเหมือนอย่างเมืองพิษณุโลก อนึ่ง ป้อมวิไชเยนทร์ท้ายพระราชวังนั้น ให้ชื่อป้อมวิไชยประสิทธิ์ แล้วให้ขุดที่สวนเดิมเป็นที่ท้องนานอกคูเมืองทั้งสองฟาก ให้เรียกทะเลตมไว้สำหรับจะได้ทำนาใกล้พระนคร… และกระทำการฐาปนาพระนครขึ้นใหม่ครั้งนั้น ๖ เดือนก็สำเร็จบริบูรณ์”

ย่อหน้าแนวกำแพงพระนครที่สร้างขึ้นนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีว่า “กำแพงพระนครทั้ง ๒ ฝั่งแม่น้ำ ได้สร้างขึ้นแต่ละฝั่ง ๓ ด้าน ข้างริมน้ำไม่มีกำแพง ฝั่งตะวันตกกำแพงตั้งแต่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ยืนไปตามลำคลองบางกอกใหญ่จนถึงคลองข้างวัดโมลีโลก

 ย่อหน้าไปตามหลังวัดอรุณ ไปออกบางกอกน้อยที่หลังวัดอัมรินทร์เป็นคูพระนคร แล้วเลี้ยวลงมาตามแนวคลองบางกอกน้อยจนถึงแม่น้ำข้างฟากนี้ ตั้งแต่ป้อมวิไชเยนทร์คือที่สุนันทาลัยมาตามแนวคลองตลาด คลองหลอด จนถึงคลองโรงไหมวังหน้า”

 ย่อหน้าบางกอกในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีฝั่งตะวันตก ภายในกำแพงพระนคร เป็นที่ตั้งพระราชวังต่อจากป้อมบางกอกหรือป้อมวิไชยประสิทธิ์ อาณาเขตพระราชวังขยายออกไปจรดคลองนครบาล ทำให้วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) กลายเป็นวัดในเขตพระราชวัง วัดอรุณราชวราราม ครั้งนั้นจึงไม่มีพระสงฆ์อยู่อาศัยเขตพระราชวังด้านตะวันตกจรดวัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) ซึ่งเป็นตลาดท้ายสนม ตั้งแต่เขตคลองนครบาลขึ้นไปจนถึงคลองมอญ เป็นที่ตั้งวังเจ้านายและคุก ติดคลองมอญเป็นบ้านพระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด ต้นสกุลบุณยรัตพันธุ์) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดเครือวัลย์วรวิหาร เหนือคลองมอญขึ้นไปเป็นนิวาสสถานของเจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ซึ่งปัจจุบันเป็นกรมอู่ทหารเรือ ต่อขึ้นไปอีกคืออู่กำปั่นอยู่ติดกับวัดระฆังโฆสิตาราม (วัดบางว้าใหญ่) เหนือวัดระฆังโฆสิตารามขึ้นไปจนถึงปากคลองบางกอกน้อย เป็นสุดเขตกำแพงกรุงธนบุรีฝ่ายเหนือ เป็นท้องที่ซึ่งเรียกว่าตำบลบ้านปูน ตำบลสวนมังคุด ตำบลสวนลิ้นจี่ อันเป็นนิวาสสถานของพระญาติพระวงศ์ในเจ้าพระยาจักรี ส่วนฝั่งตะวันออก ภายในกำแพงพระนคร เป็นบ้านเรือนของชนกลุ่มน้อยอันได้แก่ พวกจีน และญวน ซึ่งถูกกวาดต้อนอพยพมา

 ย่อหน้านอกกำแพงพระนครทั้งสองฝั่งเป็นทะเลตมสำหรับทำนาดังกล่าว

 เฉพาะฝั่งธนบุรี ไกลกำแพงพระนครออกไปนั้น ยังคงเป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำสวนไม้ยืนต้น เช่น ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา สวนผลไม้นี้ได้แผ่ออกไปถึงตำบลบางช้าง เขตแม่กลอง สมุทรสงคราม ดังมีคำพูดมาแต่โบราณว่า “สวนในเรียกบางกอก สวนนอกเรียกบางช้าง” นอกจากนี้ยังแบ่งเป็น “บางบน” กับ “บางล่าง” โดยเอาพระราชวังเป็นเกณฑ์ ถ้าอยู่เหนือพระราชวังก็เรียก “บางบน” อยู่ใต้ลงมาเรียก “บางล่าง”

ย่อหน้าผลไม้ของบางกอกฝั่งธนบุรีนั้นมีรสดีขึ้นชื่อลือนามกันเป็นแห่ง ๆ ไป เช่น ทุเรียนบางบน (อาทิที่บางผักหนาม มีรสมันมากกว่าหวาน) ทุเรียนบางล่าง (เช่นที่ตำบลวัดทอง มีรสหวานมากกว่ามัน) มะปรางท่าอิฐ เงาะบางยี่ขัน ลิ้นจี่บางอ้อ ขนุนบางล่าง ลำใยบางน้ำชน สะท้อนคลองอ้อม ฝรั่งบางเสาธง ลางสาดคลองสาน ละมุดสีดาราษฎร์บูรณะ ส้มเขียวหวานบางมด เป็นต้น

ย่อหน้าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองก็ได้รับการอัญเชิญกลับจากกรุงเวียงจันทน์มาประดิษฐานเป็นศรีพระนครอีกครั้งหนึ่งในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนี้ โดยเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ครั้งนำทัพไปปราบกรุงเวียนจันทน์ ได้อัญเชิญมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้ประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม และกระทำการสมโภชเป็นงานใหญ่

 ย่อหน้าเหตุการณ์เมื่อสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ปรากฏความในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่า

 ย่อหน้า“ณ วัน ๗ ฯ๙ ๕ ค่ำ (วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕) เพลาเช้า ๒ โมง (เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก – พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) เสด็จพระราชดำเนินทัพมาจากเสียมราบ ประทับพลับพลาหน้าวัดโพธาราม ฝ่ายข้าทูลละอองฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อยพร้อมกันไปเชิญเสด็จลงเรือพระที่นั่งกราบ ข้ามมาพระราชวังสถิต ณ ศาลาลูกขุน มีหมู่พฤฒามาตย์ราชกุลกวีมุขเฝ้าพร้อมกัน จึงมีพระราชบริหารดำรัสปรึกษาว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินอาสัตย์ ละสุจริตธรรมเสีย ประพฤติการทุจริต ฉะนี้ ก็เห็นว่าเป็นเสี้ยนหนามหลักตออันใหญ่อยู่ในแผ่นดิน จะละไว้มิได้ ขอให้ปริวรรตออกประหารเสีย ฝ่ายทแกล้วทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้นเป็นอันมาก ก็นำเอาพระเจ้าแผ่นดินและพวกโจทก์ทั้งปวงนั้นไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมือง ในทันใดนั้น

 ย่อหน้าแล้วสมณะชีพราหมณ์เสนาพฤฒามาตย์ ราษฎรทั้งปวงก็ทูลอารธนาวิงวอนอัญเชิญเสด็จขึ้นปราบดาภิเษก เป็นอิศวรภาพผ่านพิภพสืบไป พระเจ้าอยู่หัวจึงไปนมัสการพระแก้วมรกต แล้วเสด็จประทับแรม ณ พลับพลาหน้าหอพระนั้น”

 

 ป้อมท้ายเมืองนั้นคือป้อมวิไชยประสิทธิ์ หรือป้อมบางกอกฝั่งตะวันตกนั่นเอง

 

 ๑ คัมภีร์ธาตุวงศ์ ตามที่ปรากฏในบัญชีคัมภีร์ภาษามคธและภาษาสันสกฤต ฉบับของหอสมุดแห่งชาติมี ๒ คัมภีร์คือ นลาฎธาตุวงศ์ ว่าด้วยการประดิษฐานนลาฏธาตุในลังกาทวีป ทาฐาธาตุวงศ์ ว่าด้วยเรื่องพระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้าประดิษฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งสองคัมภีร์นั้น ไม่มีพุทธทำนายในเรื่องนี้เลย

๒ น่าจะหมายความว่าตระกูลสมเด็จพระเพทราชา

 ๓ คงจะหมายเอาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ก า ร ส ถ า ป น า ก รุ ง รั ต น โ ก สิ น ท ร์ เ ป็ น ร า ช ธ า นี

รูปวิถีชีวิตริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ครั้นพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงปราบปรามการจลาจลในกรุงธนบุรี และทรงรับอัญเชิญของเสนามาตย์ราษฎรทั้งหลาย เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อ ณ วันเสาร์ เดือน ๕ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ แล้ว กอปรกับเป็นเวลาที่การศึกสงครามทั้งปวง ซึ่งติดพันมาตลอดรัชสมัยแห่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้สงบลง จึงทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานขึ้นเป็นที่ประทับก่อนอื่น

ดังได้กล่าวแล้วว่า หลังจากการขยายพระนครเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๖ กรุงธนบุรีมีกำแพงพระนครอยู่สองฟากแม่น้ำ จึงมีลักษณะเป็นเมืองอกแตก๔ เป็นชัยภูมิที่ไม่มั่นคงในการต่อสู้ข้าศึก ฝั่งตะวันตกนั้นแม้จะเป็นที่ดอน แต่ก็เป็นที่ท้องคุ้งน้ำเซาะทรุดพังอยู่เสมอไม่ถาวร พระราชวังเดิมครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ตั้งอยู่ในที่อุปจารระหว่างวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวรารามในปัจจุบัน) กับวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยารามในปัจจุบัน) ยากแก่การขยายพระนครออกไปทางด้านนั้น ส่วนฝั่งตะวันออก แม้จะเป็นที่ลุ่มแต่ก็มีลักษณะเป็นแหลม มีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง แม้นข้าศึกยกมาประชิดติดชานพระนครก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่า นอกจากนั้นที่ราบลุ่มอันกว้างใหญ่นอกกำแพงพระนครฝั่งตะวันตกที่เรียกว่า ทะเลตม ซึ่งใช้เป็นที่ทำนาปลูกข้าวเลี้ยงพลเมืองนั้น ยังทำให้กองทัพข้าศึกที่จะมาตีพระนครเคลื่อนที่เข้ามาได้ยากลำบาก เมื่อทรงพระราชดำริดังนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันออกในบริเวณกำแพงพระนครเดิมครั้งกรุงธนบุรี อันเป็นภูมิสถานที่พระองค์ครั้งทรงบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาจักรีรับพระบรมราชโองการสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นนายงานควบคุมไพร่พลสร้างขึ้นไว้แต่ในพุทธศักราช ๒๓๑๖ นั้น

รูปวิถีชีวิตในอดีต

ในการย้ายพระนครมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยานี้ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด ต้นสกุล บุณยรัตพันธุ์) กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองคุมช่างและไพร่วัดที่กะสร้างพระนครและพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานใหม่ให้มีลักษณะคล้ายกรุงศรีอยุธยา

การพระราชพิธียกเสาหลักเมืองมีขึ้น ณ วันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ ฤกษ์เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๕๔ นาที

จากนั้นจึงเริ่มการสร้างพระราชวังหลวง เมื่อ ณ วันจันทร์เดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ตรงกับวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๒๕ ในชั้นแรกนี้สร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งสิ้น รายล้อมด้วยปราการระเนียด เพื่อใช้เป็นที่ประทับชั่วคราว เมื่อสร้างพระราชวังหลวงแล้วเสร็จทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษกโดยสังเขปขึ้น เพื่อให้เป็นสวัสดิมงคลแก่บ้านเมืองและพระองค์เอง ณ วันจันทร์ เดือน ๘ บูรพาษาฒ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ตรงกับวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ โดยมีการสวดพระปริตร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ณ พระราชมณเฑียรสถานสร้างใหม่ เป็นเวลา ๓ วัน ครั้นวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ เวลา ๖ นาฬิกา ๒๔ นาที อันเป็นเวลาอุดมมงคลฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ข้ามฟากจากพระราชวังกรุงธนบุรี มาขั้นที่ท่าฉนวนหน้าพระราชวังใหม่ เสด็จประทับพระราชยาน เสด็จพระราชดำเนินสู่พระราชมณเฑียรสถาน ทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษก เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระปฐมกษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชดำเนินเฉลิมพระราชมณเฑียรในพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการก่อสร้างพระนครต่อให้บริบูรณ์

รูปประกอบครั้งการสร้างพระนครใหม่

การสร้างพระนครใหม่ได้เริ่มในปีพุทธศักราช ๒๓๒๖ เนื่องจากอยู่ในระยะเวลาที่ระแวงว่าจะมีข้าศึกพม่ามาโจมตีพระนครอีก การสร้างพระนครจึงทำเป็น ๒ ระยะคือ ระยะเบื้องต้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รักษากรุงธนบุรีเป็นที่มั่น เป็นแต่ย้ายพระราชวังและสถานที่สำคัญต่างๆ ของทางราชการมาตั้งที่พระนครฝั่งตะวันออก ต่อมาในระยะที่ ๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อกำแพงกรุงธนบุรีทางฝั่งตะวันตกเสีย คงรักษาแต่ที่ริมแม่น้ำเป็นเขื่อนหน้าพระนครที่สร้างใหม่ และให้รื้อพระราชวังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีลงกึ่งหนึ่ง คงเหลือแต่กำแพงสกัดชั้นใน เรียกว่า พระราชวังเดิม แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ประทับของพระราชวงศ์ผู้ใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี (จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ต่อมาเมื่อโรงเรียนนายเรือย้ายไปอยู่ที่ปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ จึงได้ใช้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการทหารเรือสืบมาจนปัจจุบัน)

สำหรับพระนครฝั่งตะวันออก ซึ่งมีภูมิสถานเป็นแหลมโค้ง มีลำน้ำโอบอยู่สามด้าน ด้านในซึ่งติดกับผืนแผ่นดินใหญ่ ได้ขุดเป็นคูเมืองไว้แต่ครั้งกรุงธนบุรี จึงมีสัณฐานคล้ายเกาะนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากป้อมบางกอกเดิมกับกำแพงเมืองครั้งกรุงธนบุรี เพื่อขยายกำแพงและคูพระนครใหม่ให้กว้างออกไป คูพระนครใหม่นี้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขนานไปกับแนวคูเมืองเดิม เริ่มจากริมแม่น้ำตอนบางลำภู วกไปออกแม่น้ำข้างใต้ บริเวณเหนือวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาธิวาสในปัจจุบัน) ยาว ๘๕ เส้น ๑๓ วา กว้าง ๑๐ วา ลึก ๕ ศอก พระราชทานนามว่า “คลองรอบกรุง” (คือคลองบางลำภูถึงคลองโอ่งอ่างในปัจจุบัน) ด้านแม่น้ำตั้งแต่ปากคลองรอบกรุงข้างใต้ไปจนปากคลองข้างเหนือ ยาว ๙๑ เส้น ๑๖ วา รวมทางน้ำรอบพระนคร ๑๗๗ เส้น ๙ วา (ประมาณ ๗.๒ กิโลเมตร) จากนั้นให้ขุดคลองหลอดจากคลองคูเมืองเดิม ๒ คลองออกไปบรรจบกับคลองรอบกรุงที่ขุดใหม่ โดยสายแรกขุดจากวัดบุรณศิริมาตยารามไปออกวัดมหรรณพารามและวัดเทพธิดาราม และอีกสายหนึ่งขุดจากวัดราชบพิธไปออกที่สะพานถ่าน

นอกจากขุดคลองรอบกรุงและคลองหลอด ๒ สายแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองใหญ่เหนือวัดสะแก (วัดสระเกศในปัจจุบัน) โดยขุดแยกไปจากคลองรอบกรุงตรงสะพานมหาดไทยอุทิศ (ในปัจจุบัน) ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ปากคลองรอบกรุง พระราชทานนามว่า คลองมหานาค

๔ เมืองที่ตั้งป้อมกำแพงไว้สองฟาก เอาลำน้ำไว้กลางเมือง ถ้าลำน้ำนั้นแคบก็เป็นประโยชน์ในการที่จะใช้ลำเลียงเข้าได้ถึงในเมือง เวลามีศึกสงครามก็สามารถทำเครื่องกีดกันข้าศึกทางน้ำ และทำสะพานให้ทหารข้ามถ่ายเทช่วยกันรักษาหน้าที่ได้ง่าย แต่ถ้าลำน้ำกว้างออกจนกลายเป็นแม่น้ำ ประโยชน์ที่จะได้ในการป้องกันเมืองก็จะหมดไปกลายเป็นเมืองอกแตก

ดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า พื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์เป็นดินอ่อนและเป็นที่ลุ่มต่ำ การขุดคูคลองเพื่อชักน้ำเข้ามาใช้จึงเป็นทางระบายน้ำในคราวฝนตกหนักหรือฤดูน้ำหลากได้เป็นอย่างดี กอปรกับในขณะนั้นยังไม่มียวดยานพาหนะทางถนน คูคลองจึงเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญมาตลอดสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ครั้นเมื่อขุดคลองเรียบร้อยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดรากก่อกำแพงรอบพระนครตามแนวคลองรอบกรุง และด้านแม่น้ำเจ้าพระยา

กรุงรัตนโกสินทร์เมื่อแรกสร้าง มีกำแพงรอบพระนครและคูพระนครยาว ๑๗๗ เส้น ๙ วา (๗.๒ กิโลเมตร) มีเนื้อที่ภายในกำแพงพระนคร ๒,๕๘๙ ไร่ กำแพงพระนครสูงประมาณ ๗ ศอก (๓.๖๐ เมตร) หนาประมาณ ๕ ศอก (๒.๗๐ เมตร) มีประตู ๖๓ ประตู เป็นประตูใหญ่ ๑๖ ประตู ขนาดกว้างประมาณ ๘ ศอก (๔.๒๐ เมตร) สูงประมาณ ๙ ศอก (๔.๕๐ เมตร) ประตูเล็กหรือช่องกุด ๔๗ ประตู ขนาดกว้างประมาณ ๕ ศอก (๒.๗๐ เมตร) สูงประมาณ ๔ ศอก (๒.๔๐ เมตร) และได้สร้างป้อมปืนตามแนวกำแพงพระนครทั้งด้านคลองรอบกรุงและด้านแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างกันประมาณ ๑๐ เส้นบ้าง ไม่ถึง ๑๐ เส้นบ้าง จำนวน ๑๔ ป้อม คือ ป้อมพระสุเมรุ ป้อมยุคนธร ป้อมมหาปราบ ป้อมมหากาฬ ป้อมหมูทลวง ป้อมเสือทยาน ป้อมมหาไชย ป้อมจักรเพชร ป้อมผีเสื้อ ป้อมมหาฤกษ์ ป้อมมหายักษ์ ป้อมพระจันทร์ ป้อมพระอาทิตย์ และป้อมอิสินธร ทุกป้อมมีใบบังเป็นระยะ ๆ เว้นแต่ป้อมพระสุเมรุ ใบบังทำเป็นรูปเสมา

รูปสภาพเมืองในอดีต

ในขณะเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการก่อสร้างพระบรมมหาราชวังและพระราชวังบวรสถานมงคลให้บริบูรณ์ยิ่งขึ้น

ทำเลที่ในพระนครฝั่งตะวันออกขณะนั้น ตั้งแต่ปากคลองคูเมืองเดิม (คลองโรงไหม) ข้างเหนือลงมาจนปากคลองข้างใต้ มาจนริมแม่น้ำมีที่ผืนใหญ่ที่จะสร้างพระราชวังได้ ๒ แปลง แปลงข้างใต้อยู่ระหว่างวัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในปัจจุบัน) กับวัดสลัก (วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ในปัจจุบัน) แปลงข้างเหนืออยู่แต่วัดสลักขึ้นไปจรดคลองคูเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังหลวงในที่แปลงใต้ และสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลในที่แปลงเหนือ ที่สร้างพระราชวังหลวงนี้ เดิมเป็นที่ซึ่งพระยาราชาเศรษฐีและพวกจีนตั้งบ้านเรือนอยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชาเศรษฐีและพวกจีนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่สวน ตั้งแต่ระหว่างคลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาสในปัจจุบัน) ไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง (วัดประทุมคงคาในปัจจุบัน) แต่เนื่องจากความต้องการที่ริมแม่น้ำสำหรับเป็นที่จอดแพและเรือ พวกจีนบางกลุ่มจึงข้ามคลองวัดสามเพ็งไปตั้งอยู่ทางใต้ของคลองในเวลาต่อมา ทำให้ท้องที่ด้านใต้ของพระนครซึ่งเปลี่ยวมาช้านาน มีผู้คนหนาแน่นผิดกว่าแต่ก่อนมาก เป็นย่านที่เจริญและค้าขายดีที่สุด ซึ่งได้แก่ย่านตลาดสามเพ็ง (เหนือคลองวัดสามเพ็ง) กับย่านตลาดน้อย (ใต้คลองวัดสามเพ็ง) สำหรับที่ด้านริมแม่น้ำวัดโพธิ์ไปจรดป้อมบางกอกเดิม ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกญวน ซึ่งอพยพเข้ามาพร้อมกับองค์เชียงซุนครั้งกรุงธนบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนที่ตำบลบ้านหม้อและพาหุรัด แล้วใช้ที่แปลงนั้นสร้างวังท่าเตียน พระราชทานสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์

รูปสภาพเมืองในอดีต

เมื่อสร้างพระบรมมหาราชวังแล้วเสร็จ ลักษณะกำแพงพระบรมมหาราชวังสร้างก่ออิฐ ถือปูนมีใบบังบนสันกำแพงเป็นรูปเสมา สำหรับกำบังตัวเวลายิงต่อสู้ศัตรู ด้านเหนือมีความยาว ๔๑๐ เมตร ด้านใต้ยาว ๔๐๐ เมตร ด้านตะวันออกยาว ๔๖๐ เมตร และด้านตะวันตกยาว ๕๐๐ เมตร มีป้อมรวม ๑๗ ป้อม เนื้อที่พระบรมมหาราชวังเมื่อแรกสร้างมีประมาณ ๑๓๒ ไร่ แบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือ พระบรมมหาราชวังชั้นนอก พระบรมมหาราชวังชั้นกลาง และพระบรมมหาราชวังชั้นใน

พระบรมมหาราชวังชั้นนอก เป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการต่าง ๆ เช่น ศาลาลูกขุนในฝ่ายทหาร (กรมพระกลาโหม) ศาลาลูกขุนในฝ่ายพลเรือน (กรมมหาดไทย) กรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมล้อมพระราชวัง กรมสนมพลเรือน เป็นต้น

พระบรมมหาราชวังชั้นกลาง เป็นที่ตั้งของพระมหาปราสาทและพระราชมณเฑียร สถานที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในครั้งนั้น คือ

พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท เป็นปราสาทที่สร้างด้วยไม้ทั้งองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ลอกแบบพระที่นั่งสรรเพชญประสาทที่กรุงศรีอยุธยามาสร้างขึ้น สร้างเสร็จแล้วได้ทำพิธียกยอดพระมหาปราสาทเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๒๗ และได้ใช้พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาประสาทนี้ เป็นที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในปีพุทธศักราช ๒๓๒๘ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๓๓๒ ได้เกิดอสุนีบาตตกที่หน้ามุขเด็จ พระที่นั่งเกิดเพลิงไหม้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อออกแล้วสร้างพระมหาประสาทขึ้นใหม่ให้สูงใหญ่เท่าพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พระราชทานนามใหม่ว่า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นปราสาทจตุรมุข แต่ละมุขกว้างยาวเสมอกัน ทางมุขหน้ายังมีมุขเด็จยื่นออกมาข้างหน้าเป็นที่เสด็จออกให้เฝ้า และสร้างพระที่นั่งขึ้นอีกองค์หนึ่ง

พระที่นั่งพิมานรัตยา สร้างติดกับมุขด้านใต้ของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงใช้เป็นที่เข้าพระบรรทมขณะเสด็จประทับที่พระมหาปราสาท

พระมหามณเฑียร เป็นพระที่นั่งหมู่ ประกอบด้วย

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เป็นที่บรรทมของพระเจ้าแผ่นดิน หลังจากที่ทรงกระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว

พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นพระที่นั่งต่อเนื่องกับพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานทางท้องพระโรงหน้า เป็นที่ประทับทรงพระสำราญในเขตฝ่ายใน ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระสยามเทวาธิราช พระที่นั่งอัฐทิศ และพระที่นั่งภัทรบิฐ

พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ต่อเนื่องกับพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางด้านเหนือ ทางพระทวารเทวราชมเหศวร์ เป็นพระที่นั่งท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกขุนนางฝ่ายหน้า เสด็จออกมหาสมาคมและเสด็จออกทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ

ทั้งสามองค์นี้เดิมเรียกรวมว่า พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน มาแยกเรียกในรัชกาลที่ ๓

พระที่นั่งเทพสถานพิลาศ ใช้เป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายใน

พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล ใช้เป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายใน

ทั้งสององค์นี้ เดิมเรียกว่า พระปรัศว์ซ้ายขวา

หอพระสุราลัยพิมาน อยู่ทางด้านตะวันออกของพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปสำคัญอื่น ๆ เรียกกันเป็นสามัญว่า หอพระเจ้า

หอพระธาตุมณเฑียร ติดต่อทางด้านตะวันตกของพระที่นั่งไพศาลทักษิณ มีรูปร่าง ขนาด เช่นเดียวกับหอพระสุราลัยพิมาน ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุรพการี

พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ อยู่ตรงมุมกำแพงแก้วพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เป็นพลับพลาโถงเสาไม้ เป็นพลับพลาเปลื้องเครื่องเวลาเสด็จพระราชดำเนินขึ้นทรงพระคชาธาร หรือทรงพระราชยานเพื่อเสด็จโดยกระบวนพยุหยาตรา

พระที่นั่งเย็น อยู่ตรงมุมพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เป็นพระที่นั่งโถงลักษณะเดียวกับพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์

พระที่นั่งพลับพลาสูง สร้างบนกำแพงด้านตะวันออก เป็นพลับพลาโถงจตุรมุข หลังคาไม่มียอด สำหรับประทับทอดพระเนตรกระบวนแห่ในการพระราชพิธีสระสนานใหญ่ (คือการเดินช้าง เดินม้า ราชพาหนะออกมารับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ หรือจะเรียกว่าเป็นการสวนสนามจตุรงคเสนา ซึ่งมีริ้วกระบวนประกอบด้วย พลเดินเท้า กระบวนช้าง กระบวนม้า และกระบวนรถ เดินกระบวนผ่านหน้าที่ประทับ รับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ และทอดพระเนตรการฝึกช้าง) ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ ยกยอดเป็นปราสาท เรียกว่า พระที่นั่งสุทไธสวรรย์

พระตำหนักทองในสวนขวา สำหรับประทับสำราญพระราชอิริยาบถ อยู่ด้านตะวันออกทางขวาของพระราชมณเฑียร (ปัจจุบันนี้รื้อแล้ว)

พระบรมมหาราชวังชั้นใน เป็นที่ตั้งของพระตำหนักที่ประทับของพระราชวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายในและเจ้านายผู้ชายที่ยังทรงพระเยาว์ ก่อนทรงผนวชเณรเมื่อพระชันษา ๑๓

เมื่อสร้างกำแพง ป้อมปืน ประตู รอบพระบรมมหาราชวัง และพระมหาปราสาทราชมณเฑียรเรียบร้อยแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามขึ้นในพระบรมมหาราชวังพระอารามหนึ่ง แล้วเสร็จในปีมะโรง ฉศก จุลศักราช ๑๑๔๖ พุทธศักราช ๒๓๒๗ ครั้นถึงวันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ตรงกับวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๒๗ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจากโรงในพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี มาประดิษฐานยังพระอารามที่สร้างใหม่ แล้วให้นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะประชุมทำสังฆกรรมผูกพัทธสีมาในวันเดียวกันนั้น พระราชทานนามพระอารามนี้ว่า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สร้างเป็น ๒ ระยะ ระยะแรกสร้างในปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ เขตของวัดมีพระระเบียบรอบบริเวณ และมีสิ่งก่อสร้างดังนี้คือ

พระอุโบสถ สร้างภายในวงพระระเบียงทางด้านใต้ ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระประธาน

หอพระมณเฑียรธรรม สร้างกลางสระ เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก และเป็นที่แปลพระราชสาสน์ด้วย

ศาลารายรอบพระอุโบสถ ๑๒ หลัง

พระเจดีย์ทอง ๒ องค์ (ภายหลังชะลอไปไว้หน้าปราสาทพระเทพบิดร) สร้างอุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๑

หอระฆัง สำหรับแขวนระฆังที่นำมาจากวัดระฆังโฆสิตาราม

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๓๓๑ เมื่อชำระพระไตรปิฎกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แห่พระไตรปิฎกจากวัดมหาธาตุมาไว้ที่หอพระมณเฑียรธรรม แล้วมีมหรสพฉลอง ดอกไม้เพลิงได้ตกลงไปบนหลังคาหอพระมณเฑียรธรรม ไฟไหม้หมดทั้งหลัง จึงต้องสร้างพระมณฑปเป็นที่สำหรับประดิษฐานพระไตรปิฎกใหม่ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเขตวัดทางด้านตะวันออก และต่อพระระเบียบออกไปทางด้านเหนือ แล้วสร้างสิ่งต่างๆ เพิ่มเติมคือ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถมสระซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของหอพระมณเฑียรธรรมเก่าที่ถูกไฟไหม้ แล้วก่อฐานไพทีสร้างพระมณฑปไว้พระไตรปิฎก

ในเขตวัดด้านเหนือที่ขยายออกไปนั้น สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงรับอาสาสร้างหอพระมณเฑียรธรรมถวายใหม่หลังหนึ่ง เป็นที่ไว้พระไตรปิฎกที่เหลือจากพระมณฑป และใช้เป็นที่แปลพระราชสาส์นอย่างแต่ก่อน

ทรงสร้างหอพระเทพบิดร ไว้พระพุทธรูปพระเทพบิดร พระพุทธรูปองค์นี้เดิมเป็นเทวรูปประดิษฐานอยู่ในพระปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรียกกันว่า “รูปพระเจ้าอู่ทอง” ได้โปรดให้เชิญลงมา แล้วยุบหล่อใหม่เป็นพระพุทธรูปเงินทรงเครื่อง เรียกกันว่า พระเทพบิดร

ทรงสร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระนาก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์สูงใหญ่ เรียกกันว่า หอพระนาก แต่ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เป็นที่เก็บรักษาพระอัฐิเจ้านาย ย้ายพระนากไปไว้ในพระวิหารยอด

ส่วนพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนที่ดินแปลงข้างเหนือพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้โปรดให้สร้างกำแพงวังก่ออิฐมีใบบังเป็นรูปเสมา แต่ไม่มีเชิงเทิน พร้อมด้วยป้อมปืนรายรอบกำแพง จำนวน ๑๐ ป้อม มีคูล้อมพระราชวังด้านใต้และด้านตะวันออก ส่วนด้านเหนือใช้คลองคูเมืองเดิมเป็นคู ด้านตะวันตก เป็นลำน้ำเจ้าพระยา เอากำแพงพระนครเป็นกำแพงวังชั้นนอก พระราชมณเฑียรที่ประทับ ก็ทรงสร้างด้วยฝีมือประณีตงดงาม คือ

พระราชมณเฑียรที่ประทับ สร้างเป็นพระวิมาน ๓ องค์ แต่ละองค์สร้างเป็น ๒ ชั้น องค์ใต้ชื่อ พระที่นั่งวสันตพิมาน องค์กลางชื่อ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศร์ และองค์เหนือชื่อ พระที่นั่งพรหมเมศรังสรรค์ (ในรัชกาลที่ ๓ โปรดให้เปลี่ยนนามพระที่นั่งเป็นพระที่นั่งพรหมเมศธาดา)

พระพิมานดุสิดา สร้างไว้กลางสระเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ฝีมือสร้างและภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระวิมานนี้งดงามมาก

พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน เป็นพระที่นั่งโถงตามแบบอย่างพระที่นั่งทรงปืนในพระบรมมหาราชวังที่กรุงศรีอยุธยา

พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ สร้างเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

นอกจากนั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยังทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดสลัก ซึ่งเป็นวัดโบราณอยู่ติดพระราชวังด้านใต้ แล้วพระราชทานนามว่า วัดนิพพานาราม ต่อมา พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้ใหม่ว่า วัดพระศรีสรรเพ็ชญ แล้วเปลี่ยนเป็น วัดมหาธาตุ (ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้ด้วยพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเสด็จสวรรคตในพุทธศักราช ๒๔๓๗ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามวัดเป็น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์)

สำหรับบริเวณหน้าวัดมหาธาตุ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคลมีสภาพเป็นท้องทุ่งรกชัฎ ถึงหน้าน้ำเซาะเข้าขังเจิ่งจึงเป็นที่ชาวบ้านใกล้เคียงพากันไปตกกุ้งปลากินกัน คราวฤดูแล้งใช้เป็นที่สร้างพระเมรุมาศสำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบรมวงศานุวงศ์ จึงเรียกกันว่า “ทุ่งพระเมรุ” (ในรัชกาลต่อ ๆ มาใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธี และทำนา ครั้นรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดให้ใช้ชื่อเดิมว่า ท้องสนามหลวง มิให้ใช้ว่าทุ่งพระเมรุอันไม่เป็นมงคล)

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ให้มีสภาพเหมือนกับกรุงศรีอยุธยา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโดยมีลักษณะเหมือนกรุงศรีอยุธยาเกือบทุกอย่าง ดังจะเห็นได้จากการที่พระบรมมหาราชวังตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และมีกำแพงด้านข้างแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอกเช่นเดียวกับพระบรมมหาราชวังในสมัยกรุงศรีอยุธยาทุกประการ นอกจากนั้นยังมีพระราชมณเฑียรสถานและพระที่นั่งต่าง ๆ คล้ายคลึงกับพระราชมณเฑียรสถานและพระที่นั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งมีการสร้างเสาชิงช้า หอกลอง บูรณะและสร้างวัดต่าง ๆ เหมือนกับกรุงศรีอยุธยาด้วย

เมื่อการสร้างพระนคร พระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรสถานมงคลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเต็มตามแบบแผนโบราณราชประเพณี ซึ่งมีรายละเอียดมากกว่าที่ได้ทรงทำเมื่อแรกเสวยราชย์ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีนี้เมื่อจุลศักราช ๑๑๔๗ ปีมะเส็ง สัปตศก ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๘ และให้จัดการสมโภชพระนครเป็นเวลา ๓ วัน

หลังจากเสร็จการสมโภชพระนครแล้ว จึงพระราชทานนามพระนครใหม่ให้ต้องกับนามพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา”

พระนครนี้จึงมีนามปรากฏเรียกกันต่อมาอย่างสั้น ๆ ว่า กรุงรัตนโกสินทร์

ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังเจ้านายและสร้างบ้านเรือนให้เสนาบดีผู้ใหญ่รอบพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะบริเวณนอกกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านใต้ ไปจนจรดเขตวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๒๖ ไร่นั้น ได้พระราชทานให้เสนาบดีสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และเพื่อให้ช่วยดูแลระวังรักษาพระบรมมหาราชวังด้านหลัง ส่วนบ้านเรือนของข้าราชการชั้นผู้น้อยและราษฎรจะตั้งอยู่ถัดออกมาเป็นชั้น ๆ บ้างก็รวมกันตั้งอยู่เป็นหมวดเป็นหมู่ตามตำบลต่าง ๆ จนนับว่าสมบูรณ์มั่งคั่ง เมื่อเสนาบดีชุดเก่าล่วงลับไปแล้ว ผู้เป็นเสนาบดีใหม่ก็ตั้งบ้านเรือนห่างไกลออกไปจากพระบรมมหาราชวัง บ้านของข้าราชการชั้นผู้น้อยและราษฎรก็ติดตามออกไปอยู่ด้วย พระนครก็ขยายตัวออกไปโดยลำดับ

นอกจากนั้น บริเวณภายนอกกำแพงพระบรมมหาราชวังยังมีสถานที่ราชการต่างๆ นอกเหนือจากที่อยู่ในพระบรมมหาราชวังตั้งอยู่ด้วย เช่น โรงอู่หลวง อยู่ริมน้ำระหว่างคลองมอญกับวัดระฆังโฆสิตาราม ฉางข้าวเปลือก อยู่บริเวณริมถนนหน้าวัดมหาธาตุฯ ศาลหลวง อยู่ใกล้กับศาลหลักเมือง บริเวณถนนสนามไชยไปจนถึงคลองคูเมืองเดิม มีวังเจ้านาย ๖ วัง โดยอยู่ฟากข้างเหนือของถนน ๓ วัง ฟากข้างใต้ของถนน ๓ วัง โรงม้าหลวงอยู่ริมถนนสนามไชยเรียงรายไปจนถึงหัวถนนโรงม้า ทางด้านใต้ของถนนโรงม้าเป็นสวน ที่เรียกว่า สวนตึกดิน เพราะมีตึกดินซึ่งมีคลังดินดำตั้งอยู่ และบริเวณตรงข้ามกับวัดเชตุพนฯ เป็นที่ตั้งของกรมพระนครบาลและคุกของกรมพระนครบาล ตอนหน้าคุกเรียกกันว่า หับเผย มีตลาดขายของสดที่หน้าหับเผย และข้างคุกมีหอกลองสูง ๓ ชั้น แต่ละชั้นมีกลองขนาดใหญ่สำหรับตีเมื่อเกิดศึกสงคราม เพลิงไหม้ และตีบอกเวลา นอกจากนี้ มีโรงช้างปลูกเรียงรายอยู่

สำหรับบริเวณภายนอกกำแพงพระนคร ขณะนั้นยังมีสภาพเป็นชนบทที่เปล่าเปลี่ยวรกร้างและเป็นท้องทุ่ง เช่น บริเวณวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระที่นั่งอนันตสมาคม สนามเสือป่า และพระราชวังดุสิตในปัจจุบันนั้นเดิมเคยเป็นดงตาล และท้องทุ่ง ที่เรียกว่า ทุ่งส้มป่อย มีคนอาศัยอยู่น้อย ส่วนใหญ่เป็นท้องไร่ ท้องนา สำหรับทำนาปลูกข้าว นอกจากนั้น แม้แต่ภายในกำแพงพระนครบางแห่งยังเป็นที่เปลี่ยวเต็มไปด้วยต้นไม้และวัชพืช บางแห่งยังเป็นเรือกสวนไร่นา ราษฎรทั่วไปพักอาศัยอยู่ตามริมน้ำเป็นส่วนใหญ่ โดยการปลูกเรือนแพจอดอยู่ตามริมคลองและริมแม่น้ำ ทั้งในและนอกพระนคร เพราะนอกจากสะดวกในการคมนาคมแล้ว ยังสะดวกในการใช้อุปโภคบริโภค

รูปโรงภาพยนต์ราโด้

ในระยะหลังปีพุทธศักราช ๒๓๒๙ เมื่อพม่าพ่ายแพ้ไทยในการรบที่ท่าดินแดง และสามสบ พม่าจึงไม่กล้ามารุกรานไทยอีก บ้านเมืองมีแต่ความสงบสุข ทำให้เป็นที่จูงใจราษฎรตามหัวเมืองต่าง ๆ เข้ามาอยู่อาศัยและทำมาหากินในพระนครเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ทางการมีนโยบายที่จะให้พระนครมีพลเมืองหนาแน่นกว่าแต่ก่อน จึงได้ต้อนรับชาวต่างประเทศที่เข้ามาขออยู่อาศัยด้วยอัธยาศัยไมตรีเป็นอย่างดี อีกทั้งได้กวาดต้อนเชลยเข้ามาเป็นจำนวนมาก จึงมีการตั้งนิคมชนต่างด้าวขึ้น ได้แก่ บ้านเขมร อยู่ริมคลองรอบกรุงเยื้องปากคลองหลอด บ้านชาวเหนือ (บ้านหล่อหรือบ้านช่างหล่อ) อยู่ข้างหลังวังหลัง บ้านญวน บางโพ และบ้านทวาย ซึ่งอยู่บริเวณวัดคอกกระบือ (วัดยานนาวาในปัจจุบัน) นอกจากนั้นยังมีสะพานข้ามคลองคูเมืองสะพานหนึ่งชื่อว่า สะพานมอญ ซึ่งเข้าใจว่าคงมีพวกมอญตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณนั้น นอกจากนั้นบริเวณหน้าวัดชนะสงคราม ยังมีนิคมชาวมลายู ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทกวาดต้อนเข้ามาในปีพุทธศักราช ๒๓๒๙ เป็นเชลยของวังหน้า และที่ริมคลองมหานาคมีนิคมชาวมลายูที่เป็นเชลยของวังหลวง

สำหรับการคมนาคมในสมัยนั้นอาศัยแม่น้ำลำคลองเป็นหลักสำคัญ โดยเฉพาะคลองหลอด ๒ คลองที่ขุดขึ้น จะแบ่งบริเวณระหว่างคลองคูเมืองเดิมกับคลองรอบกรุง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของข้าราชบริพารและราษฎรสามัญ ออกเป็น ๓ ส่วนเกือบเท่า ๆ กัน และในแต่ละส่วนจึงมีน้ำล้อมรอบ ประกอบกับในเวลานั้นมีประชาชนอาศัยอยู่ในพระนครเป็นจำนวนน้อย จึงสามารถเลือกตั้งบ้านเรือนตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและริมคลองที่ขุดขึ้นใหม่ อันเป็นเส้นทางคมนาคมเดินทางไปมาค้าขายติดต่อกันได้โดยตลอด ส่วนชานพระนครมีคลองมหานาคที่ช่วยให้ประชาชนเดินทางเข้ามาพระนครสะดวกขึ้น สำหรับการคมนาคมทางบก ส่วนใหญ่ใช้ตรอกเป็นทางเดินเช่นเดียวกับสมัยกรุงธนบุรี ต่อมามีการขยายตรอกออกเป็นถนนบ้าง มีการตัดถนนใหม่บ้าง ถนนส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นทางเดินแคบ ๆ เป็นถนนดินหรือไม่ก็ปูด้วยอิฐเรียงตะแคง จะมีถนนที่ขนาดใหญ่กว่าถนนอื่น ๆ คือ ถนนรอบพระบรมมหาราชวัง แต่ก็ปูด้วยอิฐเหมือนกับถนนสายอื่น ๆ เช่นกัน ถนนที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัดขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มี ๙ สาย คือ

ถนนหน้าจักรวรรดิวังหลวง (ถนนสนามไชยในปัจจุบัน) ตั้งแต่ป้อมเผด็จดัสกรถึงถนนมหาราช

ถนนหน้าจักรวรรดิวังหน้า ต่อจากถนนสนามไชยตรงป้อมเผด็จดัสกรถึงเลี้ยวข้ามคลองคูเมืองเดิม

ถนนเสาชิงช้า (ถนนบำรุงเมืองตอนในกำแพงเมืองในปัจจุบัน) ตั้งแต่ถนนสนามไชยถึงประตูสำราญราษฎร์)

ถนนท่าช้างวังหลวง (ถนนหน้าพระลานในปัจจุบัน) ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา (ท่าพระ) ถึงถนนสนามไชย

ถนนพระจันทร์ ตั้งแต่ถนนหน้าพระธาตุถึงถนนมหาราช

ถนนหน้าวัดมหาธาตุ ตั้งแต่ถนนท่าช้างวังหลวงถึงถนนมหาราช

ถนนหน้าโรงไหม ตั้งแต่ริมคลองคูเมืองด้านเหนือ (คลองโรงไหม) ถึงถนนหน้าจักรวรรดิวังหน้า

ถนนท่าขุนนาง ตั้งแต่ถนนมหาราชถึงแม่น้ำเจ้าพระยา

ถนนสามเพ็ง ตั้งแต่ถนนจักรเพชร ถึงถนนโยธา ตำบลตลาดน้อย

นอกจากนั้น ยังมีการสร้างสะพานข้ามคลองซึ่งทำอย่างง่าย ๆ โดยใช้ไม้กระดานแผ่นเดียวทอดข้ามคลอง และสะพานช้าง ซึ่งสร้างอย่างพิถีพิถันเพื่อให้สามารถรับน้ำหนักล้อเลื่อนและช้างได้ ที่ฐานสะพานก่อด้วยอิฐและไม้สะพานเป็นไม้เนื้อแข็งที่หนามาก สะพานที่ใช้ข้ามคลองคูเมืองเดิมมีสะพานช้าง ๓ สะพาน คือ สะพานที่ ๑ อยู่ที่ปากคลองสำหรับกระบวนแห่ของวังหน้าเดินข้ามคลอง สะพานที่ ๒ เรียกว่า สะพานช้างโรงสี สำหรับกระบวนแห่ข้ามไปยังเสาชิงช้า และสะพานที่ ๓ เรียกว่า สะพานช้างบ้านหม้อ สำหรับเดินข้ามจากหน้าวัดพระเชตุพน ไปยังบ้านหม้อและสามเพ็ง และสร้างท่าสำหรับช้างข้ามคลองรอบกรุงตรงสนามกระบืออีกแห่งหนึ่ง

รูป กรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ

กรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนี้ แม้จะมีอาณาเขตคลุมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาดุจเมื่อครั้งกรุงธนบุรี แต่ความเจริญเติบโตของพระนครต่อมานั้นมุ่งอยู่บริเวณฟากตะวันออก ดังจะเห็นได้จากการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองรอบกรุงเป็นแนวคูเมืองใหม่ อาณาเขตเฉพาะตัว พระนครฟากตะวันออกจึงขยายจากเนื้อที่ ๑,๐๒๙ ไร่ในเขตคลองคูเมืองเดิม ออกไปจนถึงคลองรอบกรุง เป็นเนื้อที่ ๒,๕๘๙ ไร่

สำหรับฝั่งธนบุรี ยังคงสภาพเรือกสวนไร่นา อันเป็นที่อยู่อาศัยและทำมาหากินของราษฎรส่วนใหญ่อยู่ดุจครั้งกรุงธนบุรี ทั้งมีบ้านขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งยังคงตั้งรกรากอยู่ที่นั้น พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดโบราณซึ่งมีมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาให้งดงามบริบูรณ์ดังเดิม อาทิ วัดบางว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม ในปัจจุบัน) วัดทอง (วัดสุวรรณาราม ในปัจจุบัน) วัดใหม่เทพนิมิต เป็นต้น

ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปรับปรุงบริเวณพระบรมมหาราชวังใหม่ ด้วยทรงพระราชดำริว่า ในรัชกาลของพระองค์นี้มีพระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าลูกยาเธอเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ต้องสร้างตำหนักให้ประทับทุกพระองค์ นอกพระบรมมหาราชวังด้านใต้ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเสนาบดีผู้ใหญ่ บัดนี้ ท่านเหล่านั้นต่างก็ล่วงลับไปหมดแล้ว และเสนบดีที่เป็นขึ้นใหม่ก็มิได้อยู่ในบ้านเสนาบดีเก่า แต่มีบ้านเรือนของตนห่างพระบรมมหาราชวังออกไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดหาที่ดินแห่งใหม่พระราชทานให้บุตรหลานและเชื้อสายของเสนาบดีเก่าเป็นการแลกเปลี่ยนกับที่ดินท้ายวังที่ขอเวนคืนด้วยทุกราย แล้วทรงขยายเขตพระบรมมหาราชวังออกไป โดยสร้างกำแพงเสริมต่อจากกำแพงพระบรมมหาราชวังเดิม เนื้อที่พระบรมมหาราชวังตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๓๖๑ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น ๑๕๒ ไร่ ๒ งาน มีกำแพงด้านเหนือยาว ๕๑๐ เมตร กำแพงด้านใต้ยาว ๓๖๐ เมตร กำแพงด้านตะวันออกยาว ๕๑๐ เมตร และกำแพงด้านตะวันตกยาว ๖๓๐ เมตร

นอกจากนั้น ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนประชิดกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านใต้ เป็นถนนตัดกลางระหว่างเขตพระบรมมหาราชวังกับเขตวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามขึ้นสายหนึ่ง เพื่อแยกอาณาเขตของวัดและพระบรมมหาราชวังไว้คนละส่วน มิให้เป็นที่อุปจารกับเขตวัดเหมือนเช่นพระราชวังในสมัยกรุงธนบุรี ถนนสายนี้เรียกกันว่า ถนนท้ายวัง ดังนั้น กรุงรัตนโกสินทร์จึงมีถนนกว้างใหญ่เพิ่มขึ้นอีกสายหนึ่ง ทำให้กระบวนแห่สามารถเคลื่อนที่ไปตามถนนได้รอบพระบรมมหาราชวัง

สำหรับพระราชมณเฑียรสถานที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพิ่มเติมขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ที่สำคัญมีดังนี้

พระราชมณเฑียรในสวนขวา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นแม่กองจัดสร้างสวนข้างหมู่พระมหามณเฑียรด้านตะวันออกขึ้นใหม่จากวนเดิมสมัยรัชกาลที่ ๑ มีการขุดสระ ทำภูเขาน้อย ๆ สร้างพระราชมณเฑียรและสร้างเก๋งขึ้นเป็นอันมากโดยมีทั้งที่เป็นึกแบบฝรั่งและเก๋งแบบจีน และมีการตกแต่งอย่างงดงาม

พระที่นั่งสนามจันทร์ เป็นพระที่นั่งไม้องค์เล็กตั้งอยู่ที่พระลานข้างมุขพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยด้านตะวันตก พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงมีส่วนร่วมในการสร้างและการตกแต่งพระที่นั่งองค์นี้ด้วยพระองค์เองตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๑ พระที่นั่งองค์นี้นอกจากจะเสด็จประทับทรงพระสำราญอยู่เสมอแล้ว ยังทรงใช้เสด็จออกขุนนางแทนการเสด็จออก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในบางวันด้วย

เก๋งโรงละครหรือเก๋งโรงมหาสภา ตั้งอยู่หน้าพระราชมณเฑียรในสวนขวาทางใต้ ทำเป็นเก๋งจีน ใช้เป็นโรงละคร

สำหรับฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง หรือที่ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า วัดอรุณราชวราราม ซึ่งเป็นวัดโบราณมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาและทรงมีพระราชดำริให้สร้างพระปรางค์ใหญ่ขึ้นภายในวัด ให้เป็นศรีสง่าแก่พระนครฝั่งตะวันตก แต่พอเริ่มกะที่ขุดดินวางรากก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับเป็นพระราชภาระสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระบรมราชชนก สร้างต่อจนแล้วเสร็จบริบูรณ์

อนึ่ง ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิกหล้านภาลัยนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตกรุงรัตนโกสินทร์ครั้งหนึ่ง คือทางด้านใต้กรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของเมืองพระประแดง เมืองด่านสำคัญสำหรับรักษาปากอ่าวครั้งกรุงศรีอยุธยานั้น ครั้นต่อมาแผ่นดินงอกออกไป เมืองพระประแดงจึงอยู่ลึกจากทะเล จนต้องย้ายเมืองออกไปตั้งที่บางเจ้าพระยา เรียกชื่อใหม่ว่า เมืองสมุทรปราการ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชดำริว่า ควรจะมีเมืองด่านที่มีป้อมปราการมั่นคงสำหรับป้องกันพระนครด้านใต้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ปากลัด อันเคยเป็นที่ตั้งเมืองพระประแดงเดิม โดยตัดท้องที่แขวงกรุงรัตนโกสินทร์ และแขวงเมืองสมุทรปราการรวมกัน ตั้งเป็นเมืองนครเขื่อนขันธ์ สร้างป้อมขึ้นทั้งสองฝั่งแม่น้ำ ทำลูกทุ่นสายโซ่ขึงขวางแม่น้ำ ป้อมแต่ละฝั่งชักกำแพงถึงกันตลอด และตั้งยุ้งฉางตึกดินไว้เครื่องคาสตราวุธพร้อมทุกประการ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายครอบครัวมอญเมืองปทุมธานีพวกพระยาเจ่ง ไปอยู่ ณ เมืองนครขันธ์

รูปวิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

การสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์นี้ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์แคบเข้ามากว่าเดิม ด้วยท้องที่เขตพระโขนง ซึ่งเดิมขึ้นอยู่ในพระนคร เปลี่ยนเไปขึ้นกับเมืองนครเขื่อนขันธ์

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินนโยบายต่อจากพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในการสร้างและตกแต่งพระนครให้งดงาม ทรงบูรณะและปฏิสังขรณ์พระบรมมหาราชวังและวัดวาอารามเสียใหม่ ตลอดจนมีการสร้างโบสถ์วิหารการเปรียญเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

สำหรับพระบรมมหาราชวังและบริเวณใกล้เคียง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปรับปรุงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก โดยทำโรงปืนจ่ารงรางเกวียนรอบพระระเบียบวัดพระศรีรัตนศาสดารามและแถวกำแพงด้านตะวันออกต่อเนื่องกันไป พระบรมมหาราชวังชั้นกลางทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท โดยซ่อมแซมเครื่องบน เปลี่ยนหลังคาซึ่งเดิมดาดด้วยดีบุกเป็นกระเบื้องเคลือบสี แล้วปิดทองใหม่ รื้อเครื่องบนพระที่นั่งพิมานรัตยาซ่อมแซมใหม่ และปฏิสังขรณ์พระที่นั่งพลับพลาสูงหน้าจักรวรรดิทำเป็นผนังก่ออิฐหลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ประดับกระจก ช่อฟ้าใบระกาแก้ว และพระราชทานนามว่า พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ (ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามว่า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์) ส่วนหอกลองนั้นเดิมเป็นเครื่องไม้ ยอดมณฑป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำเป็นเครื่องก่อชั้นล่าง แต่ชั้นกลางและชั้นบนนั้นเป็นฝาขัดแตะถือปูน และเปลี่ยนยอดมณฑปเป็นยอดเกี้ยว นอกจากนั้นประตูกำแพงพระบรมมหาราชวัง และประตูกำแพงพระนคร ซึ่งแต่เดิมทำเป็นประตูยอดมณฑปเครื่องไม้ทาดินแดง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อใหม่เป็นประตูหอรบ

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชศรัทธาให้สร้างและบูรณะวัดต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามให้สูงสงว่ายิ่งกว่าเดิม ซึ่งแต่เดิมมีความสูงเพียง ๘ วาเท่านั้น แล้วให้ก่อหุ้มใหม่ให้สูง ๓๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๑ นิ้ว และให้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่เท่ากับพระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิงที่กรุงศรีอยุธยา โดยถ่ายแบบมาทำและประดิษฐานไว้ในวัดกัลยาณมิตร นอกจากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองสร้างพระเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่งที่วัดสระเกศริมคลองมหานาค ให้เหมือนกับพระเจดีย์วัดภูเขาทองซึ่งอยู่ริมคลองมหานาคในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระราชทานชื่อว่า เจดีย์ภูเขาทอง นอกจากนี้เมื่อทรงปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ต่าง ๆ สำเร็จ ก็จะทรงตั้งชื่อหรือทรงเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เหมือนกับวัดในกรุงศรีอยุธยา อาทิ วัดบางว้าใหญ่ เปลี่ยนเป็น วัดระฆังโฆสิตาราม วัดตองปุ เปลี่ยนเป็น วัดชนะสงคราม วัดเลียบ เปลี่ยนเป็น วัดราชบุรณะ เป็นต้น ทั้งยังได้ทรงชักชวนขุนนางผู้ใหญ่ที่มีกำลังไพร่พลและทรัพย์สินมากให้ช่วยกันสร้างวัดขึ้นตามแต่จะทำได้ บรรดาขุนนางผู้ใหญ่จึงโดยเสด็จพระราชนิยม สร้างวัดขึ้นในเขตที่ดินของตน ทำนองจะให้เป็นวัดประจำตระกูลเหมือนเช่นขุนนางครั้งกรุงศรีอยุธยานิยมสร้างกัน หรือไม่ก็ปฏิสังขรณ์วัดโบราณที่มีมาก่อนแล้วบ้าง เช่น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ สร้างวัดประยุรวงศาวาส สมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ สร้างวัดพิชัยญาติการาม ท่านผู้หญิงน้อยในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ สร้างวัดอนงคาราม เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต ต้นสกุล กัลยาณมิตร) สร้างวัดกัลยาณมิตร และพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน ไกรฤกษ์) ปฏิสังขรณ์วัดทองนพคุณ เป็นต้น วัดเหล่านี้ล้วนสร้างขึ้นอย่างใหญ่โต และปูชนียวัตถุสถานภายในวัดสร้างด้วยฝีมืออันประณีตงดงาม

รูป กรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งธนบุรี

กรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งธนบุรีนั้นมีวัดโบราณ ซึ่งสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาอยู่เป็นจำนวนมาก และมีหลายวัดที่มีขนาดใหญ่ มีสิ่งก่อสร้างอันเป็นแบบอย่างทางศิลปกรรมที่สำคัญ อาทิ วัดเงิน (วัดรัชฎาธิษฐานในปัจจุบัน) วัดทอง (วัดกาญจสิงหาสน์ในปัจจุบัน) วัดแก้ว วัดศาลาสี่หน้า (วัดคูหาสวรรค์ ในปัจจุบัน) วัดกำแพง ในคลองชักพระ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ให้งามบริบูรณ์ดังเดิมทั้งสิ้น

ด้านการคมนาคมระหว่างกรุงรัตนโกสินทร์กับหัวเมืองใกล้เคียง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็นแม่กองอำนวยการขุดคลอง ตั้งแต่หัวหมากไปถึงบางขนากเป็นทาง ๑,๓๓๗ เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก ลึก ๔ ศอก กว้าง ๖ วา สิ้นค่าใช้จ่าย ๑,๒๐๖ ชั่ง ๑๓ ตำลึง ๒ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ขุดเสร็จในปีชวด โทศก จุลศักราช ๑๒๐๓ ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๘๔ คลองบางขนากเป็นคลองทะลุออกแม่น้ำบางปะกง เมื่อขุดคลองบางขนากมาบรรจบกับคลองพระโขนง จึงช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าลำเลียงสินค้าจากเมืองฉะเชิงเทรามาสู่พระนคร และลำเลียงสินค้าจากพระนครไปยังเมืองฉะเชิงเทราได้สะดวกทอดเดียว โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าลำเลียงขึ้นทางบกเป็นสองทอด นอกจากนั้นยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองด่านจากวัดปากน้ำริมคลองบางกอกใหญ่ไปจนถึงคลองบางขุนเทียนยาว ๗๘ เส้น ๑๘ วา ขุดลอกคลองบางขุนเทียนไปจนถึงวัดกก วัดเลา เป็นระยะทาง ๑๐๐ เส้น รวมเป็นระยะคลองยาว ๑๗๘ เส้น ๑๘ วา รวมทั้งขุดลอกคลองสุนัชหอนซึ่งเป็นคลองเชื่อมแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำแม่กลองที่ตื้นเขินให้ลึกเหมือนแต่ก่อนด้วย

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีประชาชนเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อแรกสร้างพระนครใหม่ ๆ หลายเท่า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเขตพระนครออกไปทางตะวันออก จนถึงทุ่งวัวลำพอง ทุ่งส้มป่อย และทุ่งสามเสน

ในปีพุทธศักราช ๒๓๙๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองอำนวยการขุดคูพระนครขึ้นอีกชั้นหนึ่ง ปากคลองด้านเหนือเริ่มจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาข้างวัดเทวราชกุญชรมาออกแม่น้ำข้างทิศใต้ริมวัดแก้วฟ้า เป็นแนวขนานกับคลองรอบกรุงซึ่งขุดไว้ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คลองนี้ขุดแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๓๙๕ คลองกว้าง ๑๐ วา ลึก ๖ ศอก ยาว ๑๓๗ เส้น ๑๐ วา สิ้นค่าใช้จ่าย ๓๙๑ ชั่ง ๑๓ ตำลึง ๑ บาท ๑ เฟื้อง แล้วพระราชทานนามว่า คลองผดุงกรุงเกษม ทำให้บริเวณระหว่างคลองรอบกรุงกับคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งแต่ก่อนเป็นบริเวณที่อยู่นอกเมืองและเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนสามัญ ย่านการค้าและที่อยู่อาศัยของชาวจีนได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของพระนคร

คูเมืองที่ขุดขึ้นใหม่นี้ไม่มีการก่อกำแพงเมืองเลียบแนวคูเมืองเหมือนดังที่ทำกันมาแต่ก่อน เพียงแต่มีการสร้างป้อมเรียงรายไปตามริมคลองสำหรับป้องกันข้าศึก เมื่อมีเหตุการณ์คับขันก็จะจัดกำลังต้านทานโดยชักปีกการะหว่างป้อมให้ถึงกันตลอด และได้สร้างข้ามไปยังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย จำนวน ๘ ป้อม คือ

ป้อมปัจจามิตร อยู่บริเวณฝั่งตะวันตกริมปากคลองสาน ซึ่งเป็นด้านตรงข้ามกับปากคลองผดุงกรุงเกษมด้านใต้

ป้อมป้องปิดปัจจนึก อยู่บริเวณฝั่งตะวันออกริมปากคลองผดุงกรุงเกษมข้างใต้

ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ อยู่ใกล้กับป้อมป้องปิดปัจจนึก เป็นป้อมเล็ก ๆ สำหรับยิงปืนคำนับแขกเมืองตามธรรมเนียมการยิงสลุต

ป้อมผลาญไพรีราบ อยู่บริเวณตลาดหัวลำโพง

ป้อมปราบศัตรูพ่าย อยู่ใกล้สะพานนพวงศ์

ป้อมทำลายปรปักษ์ อยู่บริเวณมุมถนนหลานหลวง เชิงสะพานจตุรภัตร์รังสฤษดิ์

ป้อมหักกำลังดัษกร อยู่บริเวณถนนราชดำเนินนอก

ป้อมมหานครรักษา อยู่บริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษมข้างเหนือ ใกล้วัดนรนาถสุนทริการาม

หลังจากการขุดคลองผดุงกรุงเกษมและสร้างป้อมแล้วเสร็จในพุทธศักราช ๒๓๙๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีมหสพฉลองตลอดคลอง

การขุดคลองผดุงกรุงเกษมนี้ทำให้อาณาเขตของกรุงรัตนโกสินทร์เฉพาะตัวพระนครมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ ๑ เท่าตัว หรือประมาณ ๕,๕๕๒ ไร่ และยังช่วยให้ประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนและทำสวนอยู่ในบริเวณนี้ได้ชักน้ำจากแม่น้ำลำคลองมาหล่อเลี้ยงพื้นที่สองฟากคลองทำให้เป็นที่ที่เหมาะแก่การทำสวนยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงมีเนื้อที่สวนในกรุงรัตนโกสินทร์เพิ่มขึ้น ส่วนเนื้อที่ทุ่งนาลดน้อยลง

รูป กรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศใหม่ เป็นเมืองเปิดให้ชาวต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัยและค้าขายได้ รัฐบาลมิตรประเทศที่ทำสัญญทางพระราชไมตรีและทางการค้ากับไทยจึงส่งกงสุลเข้ามาพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประเทศตน รวมทั้งให้ความคุ้มครองแก่คนในบังคับของตนด้วย พวกกงสุลของประเทศต่าง ๆ เหล่านี้จะได้รับพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสำหรับเป็นที่ตั้งของสถานกงสุล ตั้งแต่ใต้ปากคลองผดุงกรุงเกษมลงไป โดยเริ่มจากแบงก์ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้อยู่ตรงปากคลองผดุงกรุงเกษม ถัดไปเป็นสถานกงสุลเยอรมัน สถานกงสุลโปรตุเกส สถานกงสุลอังกฤษ สถานกงสุลสหรัฐอเมริกา สถานกงสุลฝรั่งเศส ดังนั้น ย่านใต้คลองผดุงกรุงเกษมจึงเป็นย่านที่ชาวต่างประเทศชอบตั้งบ้านเรือนและร้านโรงมากกว่าที่อื่น ๆ เพราะอยู่ใกล้สถานกงสุลอันเป็นที่พึ่งของเขาได้

การที่มีกงสุลต่างประเทศตั้งในประเทศไทย ทำให้เกิดผลดีบางประการคือ มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ทางราชการทำการปรับปรุงพระนครให้เจริญขึ้น เช่น มีการสร้างถนนเพิ่มเติมเพื่อสะดวกในการคมนาคม และการขนส่งสินค้า ได้แก่ ถนนเจริญกรุง ถนนสีลม ถนนตรง ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร เป็นต้น ความนิยมในรูปแบบสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างแบบยุโรป ได้มีปรากฏทั่วไปในอาคารที่สร้างขึ้นในรัชสมัยนี้ ทั้งในราชสำนัก วัด และอาคารร้านค้าของประชาชน

ในปีพุทธสักราช ๒๔๐๐ กงสุลอังกฤษ กงสุลสหรัฐอเมริกา และกงสุลฝรั่งเศส ได้เข้าชื่อรวมกับพ่อค้าชาวต่างประเทศ ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ต่อกรมเจ้าท่าว่า เรือสินค้าจะขึ้นมาค้าขายในพระนครนั้น เมื่อถึงฤดูน้ำน้ำจะเชี่ยวแรงมาก กว่าจะขึ้นมาถึงพระนครได้ต้องใช้เวลาหลายวัน จะขอลงไปตั้งห้างซื้อขายที่ใต้ปากคลองพระโขนงตลอดจนถึงบางนา โดยขอให้มีการขุดคลองลัดตั้งแต่บางนาตลอดจนถึงคลองผดุงกรุงเกษม พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรึกษาเสนาบดี เสนบดีต่างเห็นชอบและกราบบังคมทูลว่า ถ้าชาวยุโรปลงไปตั้งห้านร้านที่บางนาได้จะมีคุณอย่างหนึ่ง ความยุ่งยากต่างๆ จะน้องลงสมควรที่จะให้ขุดคลองเพื่อเป็นทางลัด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารวิวงศมหาโกษาบดี ที่พระคลังอำนวยการขุดคลอง ตั้งแต่หน้าป้อมผลาญไพรีราบตัดทุ่งวัวลำพองริมคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งนอกลงไปถึงคลองพระโขนงและตัด (แก้) คลองพระโขนงออกไปทะลุแม่น้ำใหญ่ เป็นคลองกว้าง ๖ วา ลึก ๖ ศอก ยาว ๒๐๗ เส้น ๒ วา ๓ ศอก และเอามูลดินขึ้นถมเป็นถนนฝั่งเหนือขนานไปกับลำคลอง สิ้นเงินค่าใช้จ่าย ๑๖,๖๓๓ บาท พระราชทานชื่อ คลองขุดใหม่นี้ว่า คลองถนนตรง ครั้นขุดคลองเสร็จเรียบร้อยแล้วปรากฏว่า ชาวต่างประเทศเหล่านั้นมิได้ย้ายห้างร้านไปอยู่ที่บางนาแต่อย่างใด แต่คลองนี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อการเดินทางระหว่างพระนครกับหัวเมืองใกล้เคียงทางด้านตะวันออก ประชาชนส่วนใหญ่เรียกคลองสายนี้ว่า คลองวัวลำพอง และเรียกถนนสายใหม่นี้ว่า ถนนวัวลำพอง ตามชื่อทุ่งนาที่ถนนและคลองตัดผ่าน เมื่อเกิดถนนขึ้นทางด้านใต้ของคลองผดุงกรุงเกษม ในไม่ช้าก็มีการสร้างสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมขึ้นในบริเวณนั้นเพื่อให้ประชาชนข้ามไปมาได้สะดวก สะพานนี้ชื่อ สะพานวัวลำพอง ชื่อวัวลำพองนี้ ภายหลังเปลี่ยนเรียกเป็น หัวลำโพง

รูปสภาพเมืองในอดีต

ในเวลาต่อมา กงสุลของประเทศต่างๆ ได้เข้าชื่อกันอีกครั้งหนึ่ง ขอร้องให้ทางราชการสร้างถนนยาวสำหรับให้พวกตนขี่รถม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศโดยอ้างว่า เข้ามาอยู่ที่พระนครนี้ ไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยวทำให้เกิดเจ็บไข้เนือง ๆ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า พวกชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์มากขึ้นทุกปี ประเทศบ้านเมืองของเขามีถนนหนทางที่สะดวกราบรื่นไปทุกบ้านทุกเมือง ผิดกับบ้านเมืองของเราที่มีแต่รกเรี้ยว ถนนหนทางเป็นตรอกเล็กซอยน้อย ถนนที่ใหญ่หน่อยก็สกปรก ไม่เป็นที่เจริญตา ทำให้ขายหน้าชาวต่างประเทศ ในปีพุทธศักราช 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง และพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงานสร้างถนนเชื่อมโยงเขตกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามผ่านสามเพ็ง ย่านการค้าและที่อยู่ของชาวจีนกับย่านการค้าและที่อยู่ของชาวตะวันออก ซึ่งอยู่ชานพระนครด้านใต้ บริเวณบางรักถึงบางคอแหลม (ถนนตก) พระราชทานชื่อว่า ถนนเจริญกรุง ประชาชนทั่วไปและชาวต่างประเทศ เรียกว่า ถนนใหม่ (New Road)

ถนนเจริญกรุงแบ่งเป็น ๒ ตอนคือ ถนนเจริญกรุงตอนใน ตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามจนถึงสะพานเหล็ก (สะพานดำรงสถิต) กว้าง ๔ วา หรือ หรือ ๘ เมตร ถนนเจริญกรุงตอนนอกเริ่มตั้งแต่คลองรอบกรุง จนถึงฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลดาวคนอง กว้าง ๕ วา ๒ ศอก หรือ ๑๑ เมตร เป็นระยะทาง ๒๕ เส้น ๑๐ วา ๓ ศอก สิ้นค่าก่อสร้าง ๑๙,๗๐๐ บาท

ในการสร้างถนนเจริญกรุงนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำเอาวิธีการขยายความเจริญทางการค้าขายมาเผยแพร่ด้วยโดยทางสร้างตึกแถวชั้นเดียวตามสองฟากถนนเป็นระยะ ๆ พระราชทานแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาเพื่อเก็บผลประโยชน์ ตึกแถวเหล่านี้ส่วนมากเป็นร้านค้าของคนจีนและห้างฝรั่ง ทำให้ถนนมีบทบาทและความสำคัญในการขยายตัวทางการค้ามากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุที่ถนนเจริญกรุง เป็นถนนที่กว้างมากในสมัยนั้น จึงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของคนบางกลุ่มว่าทำการลงทุนเกินความจำเป็น ความทราบถึงพระกรรณจึงทรงมีพระราชปรารภ ดังปรากฏในหนังสือทำเนียบนามภาค ๔ เรื่อง ถนนในจังหวัดพระนครและธนบุรีว่า

“…เสมือนหนึ่งสนนเจริญกรุง ฤาจะเอาตามปากชาวเมืองว่า สนนใหม่ชาวต่างประเทศเข้าชื่อกันขอให้ทำขึ้น เพื่อจะใช้ม้า ใช้รถให้สบาย ให้ถูกลมเย็น เส้นสายเหยียดยืดสบายดี ผู้ครองแผ่นดิน ฝ่ายไทยเห็นชอบด้วยจึงได้ยอมทำตามขึ้น ครั้นสร้างขึ้นแล้ว คนใช้ม้าทั้งไทยทั้งชาวนอกประเทศกี่คน คนใช้ม้าทั้งชาวไทยทั้งชาวนอกประเทศกี่คน ใช้รถอยู่กี่เล่ม ใช้ก็ไม่ได้เต็มสนน ใช้อยู่แต่ข้างหนึ่ง ก็ส่วนสนนอีกข้างหนึ่งก็ทิ้งตั้งเปล่าอยู่ ไม่มีใครเดินม้า เดินรถ เดินเท้า ผู้ครองแผ่นดินฝ่าย ไทยทำสนนกว้าง เสียค่าจ้างถมดิน ถมทรายเสียเปล่าไม่ใช้ ฤา ถ้าจะทำแต่แคบ ๆ พอคนเดินก็จะดี แต่ซึ่งทำใหญ่ไว้นี้ก็เผื่อไว้ว่า เมื่อนานไปภายน่าบ้านเมืองสมบูรณ์ มีผู้ค้นมากขึ้น รถแลม้าแลคนจะได้คล่องสดวกจึ่งทำให้ใหญ่ไว้…”

จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นการณ์ไกล เพราะในปัจจุบันนี้ถนนเจริญกรุงได้คับแคบลงเสียแล้ว

นอกจากนั้น ยังทรพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการปรับปรุงถนน ซึ่งเริ่มตั้งแต่สะพานช้างโรงสี อันเป็นถนนเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกให้เป็นถนนทันสมัย มีท่อระบายน้ำและไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกเหมือนในสมัยก่อน ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการเดินทางระหว่างเขตพระบรมมหาราชวังกับตลาดเสาชิงช้าซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้าในสมัยนั้น ถนนสายนี้ยาว ๒๙ เส้นเศษ พระราชทานชื่อใหม่ว่า ถนนบำรุงเมืองและให้สร้างถนนอีกสายหนึ่ง คือถนนเฟื่องนคร ยาวประมาณ ๕๐ เส้น กว้าง ๑๐ ศอก โดยเริ่มจากกำแพงเมืองด้านใต้ (ใต้ปากคลองตลาด) ผ่านบ้านหม้อ บ้านญวณ ตัดกับถนนเจริญกรุงเป็นสี่แพร่ง ที่เรียกว่า สี่กั๊กพระยาศรี และตัดกับถนนบำรุงเมืองเป็นสี่แพร่งที่เรียกว่า สี่กั๊กเสาชิงช้า ผ่านวัดมหรรณพาราม โรงเลี้ยงวัว สวนหลวงไปจดกำแพงเมืองด้านเหนือที่วัดบวรนิเวศวิหาร ถนนทั้ง ๒ สายนี้เริ่มทำในปีพุทธศักราช ๒๔๐๖ ถนนบำรุงเมืองเมื่อแรกสร้างนั้นยังแคบอยู่และไม่ค่อยตรง เมื่อสร้างเสร็จเจ้าของที่ดินริมถนนก็สร้างตึกแถวบ้าง ห้องแถวบ้าง และร้านโรงบ้าง สำหรับทำการค้าและให้เช่าเพื่อการค้าเพราะเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามากมาย

กรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเจริญกว่าในสมัยก่อน ๆ มาก เพราะมีถนนสายใหม่ สะพาน ตึกแถว เรือกลไฟ โรงสี อู่ต่อเรือ และของสมัยใหม่ใข้สอยมากกว่าสมัยก่อน ๆ ย่านการค้า ซึ่งแต่ก่อนอยู่ตามริมแม่น้ำและลำคลอง ได้เริ่มก่อตัวขึ้นที่ริมถนนประปราย เพราะมีคนไปมาตามท้องถนนมากขึ้น การตั้งตลาดริมถนนจึงเริ่มแพร่หลายขึ้นในสมัยนี้ ส่วนมากเป็นตลาดริมถนนเจริญกรุง เช่น ตลาดบ้านทะวาย ตลาดบางรัก ตลาดเก่า ตลาดบ้านหม้อ และตลาดหน้าคุก

นอกจากการขยายเขตพระนครและปรับปรุงทางคมนาคมอาคารร้านค้าให้เป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังใหม่สำหรับเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานนอกเขตพระนคร โดยทรงสร้างในท้องที่นาหลวงริมคลองบางกะปิ มีอาณาบริเวณกว้างขวางใหญ่โต ทำเป็นสระบัวและเกาะน้อยใหญ่ สำหรับให้พวกข้าราชบริพารฝ่ายในพายเรือเล่น อาคารภายในพระราชวังประกอบด้วยพระที่นั่งที่ประทับแรม ๑ องค์ พลับพลา โรงละคร และตำหนักสำหรับเจ้าจอม พระราชทานนามว่า วังสวนสระปทุมวัน ประชาชนส่วนใหญ่เรียกสั้น ๆ ว่า วังสระปทุม นอกจากนั้นยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดสำหรับพระสงฆ์นิกายธรรมยุติขึ้นติดกับพระราชวัง พระราชทานนามว่า วัดปทุมวนาราม การสร้างพระราชวังและวัดที่ริมคลองบางกะปินี้เท่ากับเป็นการชักนำประชาชนในเขตพระนครให้มาตั้งบ้านเรือนทางด้านตะวันออกของพระนครให้มากขึ้น นับว่าเป็นการทะนุบำรุงพระนครให้เจริญเติบโตและขยายกว้างขวางออกไป

สำหรับภายในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งเพิ่มเติม คือ

พระที่นั่งมหิศรปราสาท สร้างขึ้นที่แนวกำแพงกั้นเขตระหว่างสวนศิวาลัยกับเขตพระราชฐานชั้นใน ตรงกับพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานด้านตะวันตก เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมชนกนาถมาประดิษฐานไว้

พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท สร้างขึ้นตรงแนวกำแพงแก้วพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้านตะวันออก เพื่อใช้เป็นพลับพลาสำหรับประทับพระราชยานรับส่งเสด็จฯ ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราหรือกระบวนราบ ประทับพระราชยานอัญเชิญพระบรมอัฐิ และประทับพระเสลี่ยงส่งเสด็จพระบรมราชวงศ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีโสกันต์พระราชทาน เป็นต้น

พระที่นั่งไชยชุมพล สร้างบนกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านตะวันออกตรงกับพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรกระบวนแห่พระยายืนชิงช้า ในการพระราชพิธีตรียัมปวาย

พระที่นั่งภูวดลทัศไนย คือหอนาฬิกา

พระที่นั่งอภิเนาวนิเวศน์ เป็นพระที่นั่งหมู่ใหญ่ ประกอบด้วย พระที่นั่งและหอต่าง ๆ คือ

พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นท้องพระโรงเสด็จออกฝ่ายหน้า

พระที่นั่งบรมพิมาน เป็นพระมหามณเฑียรฝ่ายใน

พระที่นั่งนงคราญสโมสร เป็นท้องพระโรงฝ่ายใน

พระที่นั่งจันทรทิพโยภาส เป็นพระพิมานฝ่ายใต้

พระที่นั่งภานุมาศจำรูญ เป็นพระพิมานฝ่ายเหนือ

พระที่นั่งมูลมณเฑียร เป็นพระที่นั่งเดิมรื้อมาสร้างใหม่ (ต่อมารื้อไปสร้างไว้ที่วัดเขมาภิรตาราม)

หอเสถียรธรรมปริตร เป็นหอพระปริตร

หอราชฤทธิรุ่งโรจน์ เป็นหอพระแสงศาสตราคม

หอโภชนลีลาศ เป็นหอเลี้ยงแขกเมือง

พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ในพระราชธาน

พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ในพระราชฐาน

พระที่นั่งในหมู่พระอภิเนาวนิเวศน์นี้รื้อในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระที่นั่งราชฤดี สร้างทางด้านตะวันออกของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ สร้างในเขตพระราชฐานชั้นในข้างประตูสนามราชกิจ

พระที่นั่งรอบสกุณวัน ๔ องค์สร้างในบริเวณสนามด้านตะวันตกของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ซึ่งปัจจุบันเป็นสนามหน้าพระที่นั่งจักรีองค์ตะวันออก

พระที่นั่งราชฤดี พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ และพระที่นั่งรอบสกุณวัน เหล่านี้รื้อในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระพุทธรัตนสถาน สร้างเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบุษยรัตน

หอแก้ว สร้างเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปแก้วผลึก เทพารักษ์สำหรับพระราชฐานชั้นในและเจว็ดมุก

หอศาสตราคม สร้างเป็นที่พระสงฆ์ฝ่ายรามัญนิกายทำพิธีเสกทำน้ำพระพุทธมนต์

นอกจากการสร้างพระราชมณเฑียรสถานในพระบรมมหาราชวังให้งดงามขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระราชดำริว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อถึงกาลอันควร พระองค์จะเสด็จออกไปประทับนอกพระบรมมหาราชวัง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังใหม่อีกแห่งหนึ่งขึ้นในสวนตรงข้ามกับกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านตะวันออก พระราชทานนามว่า วังสราญรมย์

สำหรับความเจริญของกรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งตะวันตก ไม่สู้จะมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อครั้งกรุงธนบุรีนัก ด้วยยังคงเป็นที่นาที่สวนไม้ผลอันมีชื่อ และมีย่านชุมชนอันแตกต่างกันไปตามอาชีพและเชื้อชาติอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ ดังเดิม อาทิ บ้านบุ ริมคลองบางกอกใหญ่ เป็นกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำเครื่องทองลงหิน ซึ่งเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของช่างไทยในการทำขันน้ำพานรอง ถาด เครื่องดนตรี เป็นต้น บ้านช่างหล่ออยู่ใต้พระราชวังหลังลงมา เป็นกลุ่มผู้ทำรูปหล่อสำริด โดยเฉพาะการหล่อพระมีชื่อมาจนปัจจุบัน บ้านขมิ้น ทำขมิ้นผลงสำหรับย้อมผ้าย้อมจีวร กุฎิเจริญพาศน์ และบ้านแขก เป็นที่อยู่ของชาวไทยอิสลาม กุฎิจีน (เป็นที่ตั้งของวัดกัลยาณมิตรในปัจจุบัน) เป็นที่อยู่ของพวกจีนและมีพระภิกษุจีนสร้างกุฎิพำนักอยู่ หมู่กุฎีเรียกว่า “เกียนอันเก๋ง” ยังมีปรากฏอยู่ทางด้านตะวันออกของวัดกัลยาณมิตร กุฎิฝรั่ง หรือโบสถ์ซางตาครู้ส เป็นย่านที่อยู่ของผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากฝรั่งโปรตุเกส มีชื่อเสียงในการทำขนม ยังคงนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก สวนพลูอยู่ปลายคลองด่านต่อคลองบางหลวง เป็นหมู่บ้านทำสวนพลูทั้งขนัดสวน มีย่านที่ซื้อขายพลูอยู่ใกล้ตลาดริมคลองบางหลวง จึงเป็นที่มาของชื่อตลาดนั้นว่า ตลาดพลู ความเจริญเติบโตของกรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งตะวันตก นอกจากการเพิ่มจำนวนประชากร และการตัดถนนหนทาง เช่น ฝั่งตะวันออกแล้ว สิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมีความเปลี่ยนแปลงน้อยมากนับแต่แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์มา

รูปวิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

จะเห็นได้ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีความเจริญขึ้นอย่างเต็มที่ ความงดงามของประสาทราชวัง วัดวาอาราม ถนนคูคลองต่าง ๆ ล้วนแสดงถึงความสามารถอันเยี่ยมยอดของช่างศิลปกรรมไทยแขนงต่างๆ เป็นอย่างดี พระบรมมหาราชวังอันประกอบด้วย ปราสาทราชมณเฑียรยอดแหลมเสียดฟ้าปิดทองประดับกระจกเป็นประกายระยับเมื่อต้องแสงตะวัน ล้อมด้วยกำแพงและป้อมปราการสีขาว เป็นศูนย์กลางและจุดยอดของกรุงรัตนโกสินทร์ ถัดออกมาคือแนว ๓ ชั้นของคลองคูเมือง ซึ่งขุดขึ้นแต่ครั้งกรุงธนบุรีเป็นชั้นที่หนึ่ง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสนทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นชั้นที่สอง โดยมีกำแพงและป้อมรายรอบทั้งด้านริมแม่น้ำและลำคลอง กับครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เป็นชั้นที่สาม ซึ่งมีแต่เพียงป้อมรายเรียงเป็นระยะ จากนั้นจึงเป็นลำคลองและถนนที่ตัดพุ่งออกไปในทิศต่างๆ ประดุจรัศมี ท่ามกลางความเขียวชอุ่มของพืชพรรณไม่ไร่นาและเรือกสวน ที่โอบอยู่ด้านตะวันตกนั้นคือลำน้ำอันกว้างใหญ่ของแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงรัตนโกสินทร์จึงเปรียบประดุจอัญมณีที่มนุษย์ได้รังสรรค์ขึ้นอย่างมีศิลป และจัดวางไว้ในสภาพแวดล้อมอันงดงามของธรรมชาติ สมดังที่นายนิจ หิญชีระนันทน์ ได้กล่าวเปรียบไว้ว่า นี้คือ “หัวแหวนแห่งรัตนโกสินทร์”

เมื่อสังฆราชปาเลอกัว (Monseigneur Pallegoix) เดินทางมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ในปีพุทธศักราช ๒๓๗๓ ได้พรรณาถึงลักษณะของกรุงรัตนโกสินทร์ในขณะนั้นไว้ในหนังสือ Description du Royaume Thai ou Siam ซึ่งเป็นภาพกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ ก่อนที่จะย่างเข้าสู่ความเจริญอย่างสมัยใหม่ไว้ดังนี้

“กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำ ห่างจากทะเล ๘ ลีก ตัวเมืองเป็นรูปเกาะเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ ลีก ล้อมรอบด้วยปราการเชิงเทิน และแต่ละมุมเมืองมีหอคอยหรือป้อมค่าย กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนที่อุดมสมบูรณ์เขียวชอุ่มตลอดปี จึงงามเหมือนภาพวาด กลุ่มเรือใบ ประดับธงจอดเป็นทิวแถวตามสองฝั่งแม่น้ำ ยอดแหลมหุ้มทองของมณฑปและโครงสร้างอันสวยงามของพระปรางค์ที่มีการประดับอย่างสวยงามด้วยกระเบื้องเคลือบหลากสีลอยสูงเด่นอยู่ในอากาศ ยอดเจดีย์หุ้มหองประดับกระเบื้องหลากสี สะท้อนแสงเหมือนสีรุ้ง เบื้องหน้าของท่านจะมองเห็นร้านค้าบนเรือนแพจำนวนนับพันเรียงเป็นสองแถว ยาวตามริมฝั่งแม่น้ำ มีเรือสวยงามแล่นตัดข้ามฟากไปมา ตลอดความยาวของลำน้ำอันคดเคี้ยว ป้อมสีขาวคล้ายหิมะ ตัวเมืองซึ่งมีหอคอยแลประตูมากมาย ลำคลองที่ตัดผ่านไปรอบเมือง ยอดแหลมของปราสาทราชมณเฑียรในพระบรมมหาราชวังสามารถมองเห็นได้จากทั้งสี่ทิศ มีอาคารแบบจีน อินเดีย และยุโรป เสื้อผ้าอาภรณ์ที่แตกต่างกันไปของแต่ละชาติ เสียงดนตรี เสียงเพลงจากโรงละคร ความเคลื่อนไหวของชีวิตในเมือง สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวต่างชาติมองด้วยความชื่นชมและพิศวง

ไม่มีรถสักคันเดียวในพระนคร ทุกคนใช้การสัญจรทางน้ำ แม่น้ำและลำคลองเป็นเหมือนถนนอันจอแจ มีเพียงตอนใจกลางเมืองและย่านตลาดเท่านั้นที่ท่านจะพบถนนปูด้วยอิฐแผ่นใหญ่ ๆ

บ้านในกรุงเทพฯ มี ๓ ประเภท ประเภทแรกสร้างด้วยอิฐดูสวยงามสง่า ประเภทที่สองสร้างด้วยไม้ และประเภทที่สามเป็นบ้านคนจนทำด้วยไม่ไผ่ ฉะนั้นจึงเกิดเพลิงไหม้บ่อยครั้ง และทำความเสียหายครั้งละ ๔๐๐ - ๕๐๐ หลัง แต่ทุกอย่างจะสามารถสร้างขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิมได้ภายใน ๗ - ๘ วัน ด้วยน้ำใจของญาติพี่น้องและมิตรสหายที่มาร่วมช่วยเหลือผู้ที่บ้านถูกไฟไหม้”

กรุงรัตนโกสินทร์เริ่มย่างเข้าสู่ความเจริญสมัยใหม่ในต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขณะนั้น กรุงรัตนโกสินทร์ยังมีสวน มีป่า ที่รก ที่เปลี่ยวอยู่มาก พื้นที่ระหว่างคลองรอบกรุงกับคลองผดุงกรุงเกษมแม้จะอยู่ในใจกลางพระนครก็ยังเป็นวนเป็นป่าอยู่โดยทั่วไป พ้นแนวคลองผดุงกรุงเกษมออกไปทางตะวันออก เป็นบริเวณที่เป็นทุ่ง เป็นนา เป็นป่า เช่น ทุ่มส้มป่อย ทุ่งวัวลำพอง ทุ่งสามเสน ทุ่งพญาไท ทุ่งบางกระสัน (มักกะสัน) และทุ่งบางกะปิ ซึ่งไม่ค่อยมีคนอาศัยอยู่นอกจากริมฝั่งแม่น้ำและริมคลองซึ่งเป็นที่สวน ประชาชนส่วนใหญ่นิยมตั้งบ้านเรือนในบริเวณที่มีคนหนาแน่น เพราะมีตลาดร้านค้าโรงขายอาหารและเครื่องใข้สอยต่าง ๆ ตำบลที่มีประชาชนหนาแน่นที่สุดภายในกำแพงเมืองนั้นอยู่ทางตอนใต้ ตั้งแต่บ้านหม้อ บ้านญวณ ลงไปจนถึงคลองรอบกรุง ส่วนภายนอกกำแพงเมืองนั้นมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นในบริเวณท้องที่สามเพ็งตลอดลงไปจนถึงตำบลตลาดน้อย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีเจตจำนงส่งเสริมความเจริญเติบโตของพระนครทางด้านเหนือ โดยเริ่มต้นด้วยการขุดคลองเปรมประชากรด้วยเงินของพระคลังข้างที่ ด้วยทรงพระราชดำริว่าคลองใหญ่ที่อยู่เหนือคลองผดุงกรุงเกษมอันเป็นเขตคั่นพระนครกับท้องที่นอกพระนครในขณะนั้น ส่วนใหญ่ขุดจากแม่น้ำเจ้าพระยาตัดไปไปทางตะวันออก แต่ถ้าทำการขุดคลองจากฝั่งใต้ของคลองโค แขวงเมืองกรุงเก่า ลงมาทางทิศใต้ให้ตัดกับคลองเก่า เช่น คลองบางซื่อ และคลองสามเสน มาออกคลองผดุงกรุงเกษมที่หน้าวัดโสมนัสวิหาร จะเกิดประโยชน์แก่การคมนาคมและการทำมาหากินของประชาชนเปํนอันมาก จะส่งเสริมให้ประชาชนมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในท้องที่เหนือพระนครมากขึ้นกว่าแต่ก่อน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองเปรมประชากรขึ้น มีความยาวถึง ๑,๒๗๑ เส้น ๓ วา โดยเริ่มขุดเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๑๓ จากคลองโคมาบรรจบกับคลองผดุงกรุงเกษมในปีพุทธศักราช ๒๔๑๕ สิ้นเงินพระคลังข้างที่ ๒,๕๔๔ ชั่ง ๒ ตำลึง

นอกจากนั้น ยังมีการขุดคลองขวางซึ่งขุดแยกจากคลองผดุงกรุงเกษมไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่ช่องนนทรี คลองนี้เป็นคลองขวาง ถนนสี่พระยา ถนนสุรวงศ์ ถนนสีลม และถนนสาธร เป็นแนวจากเหนือไปใต้ ตอนปลายคลองผ่านตำบลช่องนนทรี ประชาชนจึงเรียกคลองในบริเวณนี้ว่า คลองช่องนนทรี และขุดคลองวัดสามปลื้ม คลองโรงกะทะ คลองวัดปทุมคงคง คลองบางรัก คลองสาธร คลองอรชร คลองสวนหลวง คลองสระปทุม และคลองราชดำริ คลองเหล่านี้ส่วนใหญ่ผ่านย่านชุมชน อาคารบ้านเรือน และทุ่งนา

รูปกรุงเทพฯ ในอดีต

ในตอนต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พุทธศักราช ๒๔๑๑ - ๒๔๒๖) ยังไม่ค่อยมีการสร้างถนนสายใหม่มากนัก เพราะรายได้ของประเทศยังฝืดเคืองอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็นการขยายถนนสายใหม่มากนัก เพราะรายได้ของประเทศยังฝืดอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็นการขยายถนนสายเกล่าและบังคับให้ราษฎรรื้อกระท่อมออกไปจากริมกำแพงเมือง ถนนสายเก่าที่ได้รับการปรับปรุงหรือขยายให้กว้างขวางออกไป นอกจากถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนครแล้ว ยังมีถนนเลียบกำแพงพระบรมมหาราชวังทั้ง ๔ ด้านได้แก่ ถนนหน้าพระลาน ถนนสนามไชย ถนนท้ายวัง และถนนมหาราช ถนนเลียบคลองคูเมืองเดิมทั้งสองฝั่งได้แก่ถนนราชินีและถนนอัษฎางค์ ส่วนถนนที่สร้างขึ้นใหม่นั้นได้แก่ ถนนจักรพงษ์ ถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถนนจักรเพชร และถนนมหาไชย ซึ่งล้วนแต่เป็นถนนภายในกำแพงเมืองทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการปรับปรุงถนนและสร้างถนนมาหลายสายดังกล่าวมาแล้ว แต่ยังไม่สามารถนั่งรถให้รอบกำแพงเมืองได้เพราะพื้นที่ภายในกำแพงเมืองยังมีสวนและป่าอยู่หลายตำบล เช่น ตำบลบ้านแขก บ้านตะนาว บ้านพานถม และสวนตึกดิน นอกจากนั้นยังมีบ้านราษฎรยากจนซึ่งเป็นไพร่หลวงและไพร่สม รวมทั้งบ้านของเจ้านายและข้าราชการปลูกอยู่ที่ริมกำแพงเมืองอยู่อีกมาก

ในตอนกลางรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พุทธศักราช ๒๔๒๗ - ๒๔๓๙) มีการสร้างถนนใหม่หลายสายที่มีขนาดกว้างกว่าสมัยก่อน ๆ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการปูอิฐถนนสระปทุมที่สร้างต่อจากถนนบำรุงเมืองตรงไปยังวังสระปทุม และสร้างถนนจากวังสระปทุมไปบรรจบกับถนนตรงหรือถนนวัวลำพองเพื่อขยายการคมนาคมทางด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครให้สะดวกยิ่งขึ้น

นอกจากถนนสระปทุมแล้ว ยังมีถนนที่อยู่ทางด้านตะวันออกของพระนครอีก ๓ สายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น คือ ถนนตลาดนางเลิ้ง (ถนนนครสวรรค์) โดยสร้างจากคลองรอบกรุงตรงกับประตูพฤฒิบาศ ตรงไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงคลองผดุงกรุงเกษม ถนนประแจจีน (ถนนเพชรบุรี) สร้างจากคลองผดุงกรุงเกษมไปทางตะวันออกจนถึงริมคลองแสนแสบ ที่อยู่ตรงข้ามวังสระปทุม และถนนบริพัตร สร้างจากสะพานเหล็กข้ามคลองรอบกรุงแยกจากถนนเจริญกรุงไปยังวัดสระเกศ

ทางด้านเหนือของพระนครมีการสร้างถนนใหม่ ๒ สาย คือ ถนนสามเสนสร้างตั้งแต่สะพานนรรัตน์

ผ่านวังบางขุนพรหมไปจนถึงคลองผดุงกรุงเกษม และสร้างถนนกรุงเกษมเลียบฝั่งคลองผดุงกรุงเกษมไปบรรจบกับถนนตรงหรือถนนวัวลำพอง (หัวลำโพงก็เรียก)

ส่วนทางด้านใต้ของพระนครก็มีการสร้างถนนหลายสาย แต่ที่สำคัญที่สุดคือถนนที่สร้างในตำบลสามเพ็ง ได้แก่ ถนนเยาวราช ซึ่งสร้างตั้งแต่บริเวณริมคลองรอบกรุงตรงข้ามกับป้อมมหาไชย ตัดลงไปทางใต้ บรรจบกับถนนราชวงศ์ ซึ่งแยกจากถนนเจริญกรุงตรงไปยังฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

นอกจากนั้น ยังมีการสร้างถนนริมกำแพงเมืองให้ติดต่อกันเป็นวงรอบพระนคร เว้นแต่ตอนที่เป็นพระราชวังบวรสถานมงคลเท่านั้น และสร้างถนนข้าวสารแยกจากถนนจักรพงษ์ที่หน้าวัดชนะสงครามไปตามตรอกข้าวสารไปบรรจบกับถนนเฟื่องนครตอนใกล้กับตึกดิน สร้างถนนพาหุรัดโดยเริ่มจากถนนเฟื่องนครไปจนถึงประตูสะพานหัน และสร้างถนนแยกจากถนนพาหุรัด ๒ สาย โดยสายหนึ่งผ่านหลังวังบูรพาภิรมย์ไปบรรจบกับถนนเจริญกรุง และอีกสายหนึ่งผ่านวัดสุทัศน์ไปบรรจบถนนบำรุงเมือง

การเสด็จประพาสยุโรปเป็นเวลาหลายเดือนในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเหตุให้พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างสรรค์กรุงรัตนโกสินทร์ให้สวยงามและสะอาดเหมือนเช่นประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป

ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เงินพระคลังข้างที่ซื้อที่สวนและที่นาทางตอนเหนือของพระนคร ระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมกับคลองสามเสนเป็นเนื้อที่หลายร้อยไร่ พระราชทานชื่อว่า สวนดุสิต และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังสำหรับเป็นที่ประทับคือ พระราชวังสวนดุสิต และให้สร้างถนนรอบสวนดุสิต ได้แก่ ถนนซางฮี้ (ถนนราชวิถี) โอบทางด้านหลัง ถนนดวงตะวัน (ถนนศรีอยุธยา) โอบทางด้านหน้า ถนนลก (ถนนพระรามที่ ๕) โอบทางด้านตะวันออก และถนนสามเสนตอนตั้งแต่คลองผดุงกรุงเกษมขึ้นไปจนถึงคลองสามเสน โดยสร้างต่อจากถนนสามเสนเดิมที่ทำจากคลองรอบกรุงมาจนถึงคลองผดุงกรุงเกษม โอบทางด้านตะวันตก รวมทั้งถนนเบญมาศ ซึ่งสร้างจากสวนดุสิตไปจนถึงถนนกรุงเกษมใกล้กับป้อมหักกำลังดัษกร

จะเห็นได้ว่า การที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชวังดุสิต และสร้างถนนในบริเวณนั้นนอกจากจะเพื่อสร้างพระราชวังใหม่ในที่สงบเงียบสำหรับเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานแล้ว ยังเป็นการสนองพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงสร้างพระราชวังสระปทุมเพื่อนำทางขยายพระนคร เพราะทรงเห็นการณ์ไกลว่า กรุงรัตนโกสินทร์จะต้องเจริญเติบโตค่อนข้างรวดเร็วต่อไป ประกอบกับสภาพพระนครในขณะนั้นมีคนอาศัยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะภายในบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณทางด้านใต้และบริเวณอำเภอบางรัก ซึ่งเป็นย่านการค้าและที่ตั้งกงสุล จึงสมควรที่จะมีการวางแผนขยายเมืองหลวงออกไปทางเหนือโดยเฉพาะบริเวณอำเภอดุสิต ซึ่งเป็นที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะตั้งบ้านเรือน เพราะเป็นที่ราบลุ่มกว้างไกลออกไปทางเหนือ

นอกจากนั้น มีถนนอีกสายหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างให้ใหญ่โตกว้างขวางกว่าถนนสายอื่น ๆ ในกรุงรัตนโกสินทร์ คือ ถนนราชดำเนิน การสร้างถนนราชดำเนินแบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือ ถนนราชดำเนินนอกตอนหนึ่ง ถนนราชดำเนินกลางตอนหนึ่ง และถนนราชดำเนินในอีกตอนหนึ่ง ทั้งนี้ โดยเริ่มสร้างถนนราชดำเนินนอกก่อนในปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ โดยในขั้นแรกนั้นกะจะสร้างข้ามคลองรอบกรุง ผ่านตำบลบ้านพานถม ไปบรรจบกับถนนเบญมาศ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงแนวถนนเสียใหม่คือสร้างจากริมคลองรอบกรุงตรงประตูพฤฒิบาศ ผ่านบ้านช่างหล่อ ไปบรรจบกับถนนเบญมาศ ถนนที่สร้างนี้กว้าง ๒๙ วา ประกอบด้วย ถนนสายกลางกว้าง ๘ วา ทางเดินเท้าสองข้างถนนสายกลางข้างละ ๕ วา กับถนนสายนอกกว้าง ๔ วา อีกสองสาย และมีทางเดินเท้าริมถนนสายนอกสองข้าง กว้างข้างละ ๑ วา ๒ ศอก ในทางเดินเท้าสองข้างของถนนสายกลางนั้นปลูกต้นไม้สายละ ๒ แถว เพื่อให้เป็นที่ร่มเย็นแก่คนเดินทาง หนังสือราชกิจจานุเบกษา ปีรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๒ ได้กล่าวถึงวิธีการสร้างถนนนี้ว่า “อนึ่งที่ดินตำบลนี้เดิมเป็นที่สวน มีลำรางและร่องสวนเป็นที่ลุ่มตลอดไป การสร้างถนนในชั้นแรกต้องทำท่อรางน้ำ แลถมดินปูอิฐ รอให้ดินยุบอยู่หลายฤดูฝน จนดินแน่นแล้วจึงโปรดฯ ให้กรมศุขาภิบาลถมศิลา”

เมื่อการสร้างถนนราชดำเนินนอกใกล้จะเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ลงมือสร้างถนนราชดำเนินกลาง โดยเริ่มลงมือในเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๔ ประกอบด้วย ถนนสายกลาง ๑ สาย ถนนสายนอก ๒ สาย และทางเดินเท้าริมถนนสายกลาง ๒ สาย ทางเดินเท้าริมถนนสายนอก ๒ สาย เหมือนเช่นถนนราชดำเนินนอก

ส่วนการสร้างถนนราชดำเนินในนั้น สร้างขยายแนวถนนจักรวรรดิวังหน้าเดิม เริ่มจากมุมถนนหน้าพระลานและถนนสนามไชยมาบรรจบกัน ผ่านริมสนามหลวงด้านตะวันออกไปบรรจบถนนราชดำเนินกลางที่สะพานผ่านพิภพลีลา แล้วเสร็จในพุทธศักราช ๒๔๔๖

เมื่อสร้างถนนราชดำเนินเสร็จเรียบร้อยตลอดทั้งสายแล้ว ได้มีการสร้างสะพานข้ามคลองในถนนสายนี้อย่างวิจิตรงดงามกว่าสะพานอื่น ๆ ได้แก่ สะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยสร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษมเชื่อมถนนราชดำเนินกับถนนเบญมาศ และมีการสร้างสะพานผ่านภพลีลาเชื่อมถนนราชดำเนินในกับถนนราชดำเนินกลาง

ในตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสร้างถนนเพิ่มเติมอีกหลายสายในบริเวณต่างๆ ดังนี้คือ

ทางด้านใต้ของพระนคร ท้องที่อำเภอสามเพ็งอันเป็นย่านชาวจีน จัดเป็นท้องที่ที่มีผู้ค้นอาศัยหนาแน่นที่สุดในพระนคร เนื่องจากความหนาแน่นของพลเมืองและความนิยมจุดธูปเทียนบูชาพระ บูชาเจ้าของชาวจีน ปรากฏว่าเกิดเพลิงไหม้ในท้องที่อำเภอสามเพ็งบ่อยครั้ง ทางการจึงถือโอกาสที่เกิดไฟไหม้ทำการตัดถนนและขยายถนนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ถนนทรงวาด ถนนทรงสวัสดิ์ ถนนอนุวงศ์ และถนนซอยผลิตผล เป็นต้น

รูปกรุงเทพฯ ในอดีต

นอกจากนั้น ยังมีการสร้างถนนของเอกชนที่มีความประสงค์จะขายที่ดินริมถนนอีก ๓ สาย คือ ถนนสุรวงษ์ ถนนเดโช ซึ่งพระยาสีหราชเดโชชัย บุตรเจ้าพระยาสุรวงษไวยวัฒน์ เป็นผู้สร้างในที่ดินของสกุลบุนนาค เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ และถนนสี่พระยา ซึ่งขุนนางชั้นพระยา ๔ คน คือ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง พระยาพิพัฒน์โกษา พระยานรฤทธิ์ราชหัช (ทองดี) และพระยานรนารถภักดี กับขุนนางชั้นหลวงอีกหนึ่งคนคือ หลวงมนัศมานิต (เผล่) รวมทุนกันสร้างในปีพุทธศักราช ๒๔๔๗ และการที่ประชาชนไปตั้งบ้านเรือนริมถนนสีลมและถนนสาธรเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มีการตัดถนนซอยเชื่อมถนนสีลมกับถนนสาธรขึ้นหลายสาย ที่สำคัญคือถนนสุรศักดิ์ ถนนประมวญ ถนนพระยาพิพัฒน์ และถนนคอนแวนต์

ทางด้านตะวันออกของพระนคร มีการสร้างถนนในเวิ้งนครเกษม ถนนวรจักร ถนนจักรพรรดิพงษ์ ถนนหลวง ถนนหลานหลวง ถนนประแจจีน (ถนนเพชรบุรี) ถนนพญาไท และถนนราชปรารภ นอกจากนั้นยังมีเอกชนสร้างถนนสาธารณะสายหนึ่งทางด้านตะวันออกของพระนคร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๖ คือถนนรองเมือง ซึ่งสร้างโดยพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง และต่อมามีการสร้างถนนซอยของถนนรองเมือง รวม ๓ สาย คือ ซอย ๑ ซอย ๒ และซอย ๓

ทางด้านเหนือของพระนคร มีการสร้างถนนบริเวณด้านเหนือของคลองผดุงกรุงเกษม ถนนที่อยู่เหนือสุดได้แก่ ถนนราชวัตร (ถนนนครไชยศรี) ถัดลงมาคือ ถนนดวงเดือน (ถนนสุโขทัย) ถนนซางฮี้ (ถนนราชวิถี) ถนนดวงตะวัน (ถนนศรีอยุธยา) ถนนคอเสื้อ (ถนนพิษณุโลก) และถนนลูกหลวง ซึ่งเลียบฝั่งคลองผดุงกรุงเกษมด้านเหนือ ส่วนถนนขวางที่มีทิศทางจากเหนือลงมาใต้ ได้แก่ ถนนลก (ถนนพระรามที่ ๕) ซึ่งทำขนานไปกับคลองเปรมประชากรจนถึบคลองบางซื่อ ถนนฮก (ถนนหน้าวัดเบญจมบพิตร) ถนนซิ่ว (ถนนสวรรคโลก) ซึ่งผ่านด้านตะวันออกของสวนจิตรลดา และถนนประทัดทอง (ถนนพระรามที่ ๖) ซึ่งเริ่มจากถนนเพชรบุรีไปตัดกับถนนซางฮี้ แล้วเลยไปถึงที่ส่งน้ำประปาคลองสามเสน

ในสมัยนี้มีการสร้างสะพานข้ามคลองที่มีถนนตัดผ่านหลายสะพาน สะพานที่เป็นที่รู้จักกันดี และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมอย่างสูง ได้แก่ สะพานชุดเฉลิม ซึ่งมีทั้งสิ้นรวม ๑๗ สะพาน สะพานเหล่านี้เริ่มสร้างครั้งแรกในปีพุทธศักราช ๒๔๓๗ โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสาธารณทาน เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ ด้วยการบริจารพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พระราชทานให้เจ้าพนักงานกรมโยธาธิการไปสร้างสะพานข้ามคลองบางขุนพรหม ที่ถนนสามเสน พระราชทานนามว่า สะพานเฉลิม ๔๒ และได้มีพิธีเปิดสะพานแห่งนี้ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๘ อันเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ ๔๒ พรรษา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระองค์ก็ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างสะพานตลอดมาทุกปี จนกระทั่งสิ้นรัชกาลในปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ โดยมีชื่อเรียกว่า สะพานเฉลิมทุกสะพาน เพียงแต่เปลี่ยนตัวเลขตามพระชนมายุในปีนั้น ๆ เท่านั้น จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช ๒๔๕๒ ซึ่งในเวลานั้นได้มีการสร้างสะพานเฉลิมมาแล้วเป็นจำนวน ๑๕ สะพานและเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีสุดท้ายของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารภว่าชื่อสะพานที่มีเพียงตัวเลขกำกับนั้นยากต่อการเรียกและการจดจำ จึงพระราชทานชื่อสะพานดังนี้คือ

สะพานเฉลิมศรี ๔๒ อยู่ที่ถนนสามเสน สร้างข้ามคลองบางขุนพรหม

สะพานเฉลิมศักดิ์ ๔๓ อยู่ที่ถนนหัวลำโพงนอก สร้างข้ามคลองริมาถนนสนามม้า

สะพานเฉลิมเกียรติ ๔๔ อยู่ที่ปลายถนนสาธรฝั่งใต้ สร้างข้ามคลองหัวลำโพง

สะพานเฉลิมยศ ๔๕ อยู่ที่ถนนวรจักร สร้างข้ามคลองวัดพระพิเรนทร์

สะพานเฉลิมเวียง ๔๖ อยู่ที่ถนนเยาวราช สร้างข้ามคลองตรอกเต๊า

สะพานเฉลิมวัง ๔๗ อยู่ที่ถนนอุณากรรณ สร้างข้ามคลองสะพานถ่าน

สะพานเฉลิมกรุง ๔๘ อยู่ที่ถนนเจริญกรุง สร้างข้ามคลองวัดจักรวรรดิ

สะพานเฉลิมเมือง ๔๙ อยู่ที่ถนนเจ้าพระยาสุรศักดิ์ สร้างข้ามคลองสาธร

สะพานเฉลิมภพ ๕๐ อยู่ที่ปลายถนนสุรวงศ์ สร้างข้ามคลองหัวลำโพง

สะพานเฉลิมพงษ์ ๕๑ อยู่ที่ถนนเฟื่องนคร สร้างข้ามคลองสะพานถ่าน

สะพานเฉลิมเผ่า ๕๒ อยู่ที่ถนนปทุมวัน สร้างข้ามคลองริมถนนสนามม้า

สะพานเฉลิมพันธ์ ๕๓ อยู่ที่ถนนเจริญกรุง สร้างข้ามคลองวัดสามจีน

สะพานเฉลิมภาคย์ ๕๔ อยู่ที่ถนนเจริญกรุง สร้างข้ามคลองสีลม

สะพานเฉลิมโลก ๕๕ อยู่ที่ถนนราชดำริห์ และถนนประแจจีน สร้างข้ามคลองบางกะปิ

สะพานเฉลิมหล้า ๕๖ อยู่ที่ถนนพญาไท สร้างข้ามคลองบางกะปิ

และต่อมาได้มีการสร้างสะพานเฉลิมขึ้นอีก ๒ สะพาน หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว คือ

สะพานเฉลิมเดช ๕๗ อยู่ที่ปลายถนนสี่พระยา สร้างข้ามคลองหัวลำโพง

สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘ อยู่ที่ถนนพระอาทิตย์ สร้างข้ามคลองโรงไหม

นอกจากนั้น ยังมีการสร้างสะพานอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก คือ สะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานผ่านภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานสมมตอมรมารค สะพานดำรงสถิต สะพานพิทยเสถียร สะพานภาณุพันธุ์ สะพานกลุ่มวัดเบญจมบพิตร สะพานข้ามคลองเม่งเส็ง สะพานพระอรรคชายา สะพานอรไทย สะพานหน้าวัดโสมนัส และข้างวัดนรนารถ สะพานวัดราชาธิวาส สะพานชมัยมรุเชฐ สะพานบ้านดอกไม้ สะพานในกลุ่มวัดสระเกศและกลุ่มสามเสน และสะพานหน้าสวนสราญรมย์

รูปกรุงเทพฯ ในอดีต

สำหรับภายในเขตพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาประสาทเพิ่มเติม ๒ องค์ คือ พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท สร้างตรงบริเวณสวนศิวาลัย ด้านตะวันออกเฉียงใต้ข้างประตูราชสำราญ แต่เดิมบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์มาก่อน ครั้นพระที่นั่งองค์นี้ไม่ได้ทำประโยชน์อันใด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อออก แล้วสร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทขึ้นแทน เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๑ สำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในราชวงศ์จักรี ส่วนพระที่นั่งอีกองค์หนึ่งคือ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ เนื่องจากพระที่นั่งเดิมที่มีอยู่ล้วนชำรุดทรุดโทรมและมีขนาดเล็กไม่เหมาะสมที่จะใช้รับแขกบ้านแขกเมืองให้สมพระเกียรติได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อเขื่อนเพชรและมุขพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ มุขพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติออกแล้วสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทลงในชาลานั้น ส่วนที่ท้องพระโรงกลาง สร้างสอดเข้าไปในระหว่างกลางพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์และพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรป โดยสร้างพระที่นั่งเป็นตึกแบบฝรั่ง ส่วนหลังคาเป็นแบบปราสาทอย่างไทย เมื่อสร้างเสร็จทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรในปีพุทธศักราช ๒๔๒๕

นอกจากนั้น ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชมณเฑียรต่อเนื่องกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ดังนี้ พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ พระที่นั่งดำรงคสวัสดิ์อนัญวงศ์ พระที่นั่งนิพัทธพงศ์ถาวรวิจิตร พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร พระที่นั่งอมรพิมานมณี พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์ พระที่นั่งบรรณาคมสรนี พระที่นั่งปรีดีราชวโรทัย พระที่นั่งเทพดนัยนันทยากร

และสร้างพระที่นั่งอื่น ๆ อีก คือ พระที่นั่งราชกรัณยสภา พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามใหม่ว่า พระที่นั่งบรมพิมาน) และพระที่นั่งทรงผนวช (สร้างไว้ทางด้านเหนือพระพุทธรัตนสถานในสวนศิวาลัย ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อไปสร้างไว้ที่วัดเบญจมบพิตร)

ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การพัฒนาเมืองเป็นแบบทันสมัยได้เริ่มขึ้น มีโครงการพัฒนาประเทศ จะเห็นได้จากการพัฒนาทางรถไฟ โทรศัพท์ และสาธารณูปโภคต่างๆ ทั่วประเทศ โครงการพัฒนาเมืองหลวง และโครงการพัฒนาชนบทได้เริ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บ้านเมืองมีความเจริญทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ มีความสวยงามสะอาด เจริญตา เจริญใจแก่ผู้พบเห็น คู คลองที่มีอยู่ก่อนแล้ว ได้ทะนุบำรุงพัฒนาให้สะดวกแก่การสัญจรไปมามากขึ้น โดยมีการสร้างถนนและปลูกต้นไม้ เช่น ต้นมะขาม ต้นมะฮอกกานี และต้นจามจุรี เลียบฝั่งคลองทั้งสองข้างและตามริมถนน สภาพบ้านเมืองจึงมีสีสรรเขียวขจี ชุ่มชื่นร่มเย็น และสง่างาม ส่วนอาคารร้านค้าก็สร้างขึ้นอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น แถวบริเวณหน้าและหลังโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า มีการสร้างศูนย์การค้า เช่น บริเวณถนนเยาวราช ศูนย์กลางคมนาคมทางรถไฟ เช่น สถานีรถไฟกรุงเทพฯ ซึ่งในขณะนั้นเป็นบริเวณชานเมือง เป็นต้น

สำหรับการปกครองกรุงรัตนโกสินทร์นับแต่แรกสถาปนาขึ้นเมื่อครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมนครบาลมาโดยตลอดเหมือนเช่นที่เป็นมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ครั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๕ โดยยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ซึ่งใช้มาแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยามาจัดเป็นกระทรวงต่าง ๆ ตามลักษณะงานได้ทรงจัดให้กรุงรัตนโกสินทร์สังกัดอยู่ในความปกครองของกระทรวงนครบาล ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ ขึ้นอยู่ในความปกครองของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้จัดการปกครองโดยรวมเมืองต่าง ๆ หลาย ๆ เมืองเข้าเป็นมณฑล การตั้งมณฑลเสร็จสิ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ กรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้รับการยกขึ้นเป็นมณฑลด้วย และเป็นมณฑลเดียวของกระทรวงนครบาล ในชื่อว่า มณฑลกรุงเทพพระมหานคร และรวมหัวเมืองใกล้เคียงพระมหานครเข้าไว้ในสังกัดด้วย คือ เมืองนครเขื่อนขันธ์ เมืองนนทบุรี เมืองประทุมธานี และเมืองสมุทรปราการ เสนาบดีกระทรวงนครบาลดำรงตำแหน่งหัวหน้าปกครองมณฑลด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง เรียกว่า สมุหพระนครบาล

ต่อมาเมื่อความเจริญขยายออกไปในแถบทุ่งหลวง จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองธัญญะบุรีและเมืองมีนบุรีขึ้น และรวมเข้าไว้ในมณฑลกรุงเทพพระมหานครด้วย มณฑลกรุงเทพพระมหานครขณะนั้น จึงมีพื้นที่ถึง ๓,๐๙๑ ตารางกิโลเมตร เฉพาะตัวพระนครมีพื้นที่ ๔๐๐ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็นอำเภอชั้นใน ๘ อำเภอ คือ อำเภอพระนคร อำเภอสามเพ็ง อำเภอบางรัก อำเภอประทุมวัน อำเภอดุสิต อำเภอบางกอกน้อย อำเภอบางลำภูล่าง อำเภอบางกอกใหญ่ ต่อมายุบเหลือ ๗ อำเภอ โดยยกอำเภอประทุมวันไปขึ้นกับอำเภอดุสิต สำหรับอำเภอชั้นนอกมี ๘ อำเภอ คือ อำเภอบางซื่อ อำเภอบางขุนเทียน อำเภอราษฎร์บูรณะ อำเภอตลิ่งชัน อำเภอภาษีเจริญ อำเภอหนองแขม อำเภอบางเขน อำเภอบางกะปิ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ความเจริญของกรุงรัตนโกสินทร์ได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางเพราะมีการติดต่อกับประเทศภายนอกทั้งเอเซีย ยุโรป และอเมริกามากขึ้น การขยายตัวของกรุงรัตนโกสินทร์ทางด้านตะวันตก เริ่มจากบริเวณสี่พระยา จนถึงบริเวณถนนตก ซึ่งแยกออกได้เป็น ๓ เขต คือ เขตที่พักอาศัย บริเวณถนนสีลม บางรัก และบริเวณถนนสาธร เขตการค้าได้ขยายตัวออกไปสองฟากถนนเจริญกรุง และเขตอุตสาหกรรมขยายตัวเลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่งวัตถุดิบมาจากหัวเมือง ส่วนบริเวณด้านเหนือของกรุงรัตนโกสินทร์ไม่สู้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาชีพเป็นชาวสวน ชาวนา และทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน ส่วนบริเวณบางลำภู เป็นศูนย์กลางจำหน่ายสินค้าไทยพื้นเมือง รวมทั้งผักสด ผลไม้ ย่านการค้าที่สำคัญในรัชสมัยนี้มีอยู่ ๓ แห่ง คือ บริเวณถนนเยาวราช เป็นย่านคนจีน บริเวณบางรักเป็นย่านชาวยุโรป และบริเวณบางลำภู เป็นย่านคนไทย ทั้งสามย่านจะมีลักษณะแยกออกจากกันเด็ดขาด โดยแต่ละย่านจะประกอบด้วยบริเวณที่พักอาศัย การประกอบอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และการค้าขาย

สำหรับการบูรณะปรับปรุงในบริเวณพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งภายในพระบรมมหาราชวังอีก ๒ องค์ คือ

พระที่นั่งราชฤดี สร้างในบริเวณข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยด้านตะวันตก สำหรับเป็นที่สรงมูรธาภิเษกในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาและในพระราชพิธีอื่น ๆ (ยกเว้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก) ในครั้งแรกพระราชทานนามว่า “พระที่นั่งจันทรทิพโยภาส” ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนนามเป็น “พระที่นั่งราชฤดี”

พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ สร้างที่บริเวณริมสนามทางด้านเหนือของพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน เบื้องหลังพระที่นั่งบรมพิมาน สำหรับใช้เป็นที่ประทับในโอกาสต่างๆ เช่น เป็นที่ประทับเสวยในโอกาสที่มีการพระราชทานเลี้ยงกลางแจ้ง หรือประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถตามพระราชอัธยาศัย ในงานพระราชอุทยานสโมสร เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษา

นอกจากนั้น ยังทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักจิตรลดารโหฐานขึ้นในสวนจิตรลดา เขตพระราชวังสวนดุสิต เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๖ โดยสร้างในเนื้อที่ประมาณ ๓๙๕ ไร่ ซึ่งเดิมเป็นทุ่งนากว้างใหญ่ สำหรับใช้เป็นที่ประทับ

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินอันกว้างใหญ่บริเวณทุ่งศาลาแดง ที่ทรงใช้จัดนิทรรศการประเทศสยามเพื่อแสดงความก้าวหน้าของชาติให้เป็นสวนสาธารณะ และพระราชทานนามว่า สวนลุมพินี ตามชื่อสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งนับเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์

ในรัชกาลนี้มีการสร้างถนนหนทางเพิ่มเติมอีกหลายสายคือ

ตัดถนนในบริเวณตำบลที่อยู่ระหว่างถนนหัวลำโพงกับถนนประทุมวัน พระราชทานนามว่า ถนนประทัดทอง

ตัดถนนในบริเวรที่เกิดเพลิงไหม้ตรอกเชียงกงเก่า ถนนเจริญกรุงไปบรรจบกับถนนทรงวาด (ตรงสี่แยกถนนทรงวาดกับสามเพ็ง) พระราชทานามว่า ถนนปทุมคงคา

ตัดถนนจากถนนบ้านตะนาวไปบรรจบกับถนนบ้านดินสอบริเวณหลังตลาดเสาชิงช้า พระราชทานนามว่า ถนนมหรรณพ

ตัดถนนในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ตำบลหัวลำโพง รวม ๓ สาย คือ

สายที่ ๑ ตั้งแต่ถนนหัวลำโพงตอนเชิงสะพานเจริญสวัสดิ์ไปบรรจบสี่แยกถนนพลับพลาไชยเชื่อมกับถนนหลวง

สายที่ ๒ ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงตอนปากถนนทรงวาดไปบรรจบถนนกรุงเกษม ตอนเชิงสะพานนพวงษ์

สายที่ ๓ ตั้งแต่ถนนพลับพลาไชยเยื้องวัดคณิกาผลไปบรรจบถนนกรุงเกษม

ตัดถนนในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ตำบลศาลเจ้าต้นไทรริมถนนเจริญกรุงไปออกถนนเยาวราช ๑ สาย และจากถนนเยาวราชเชื่อมกับถนนพาดสายอีก ๑ สาย รวมทั้งขยายตรอกต่าง ๆ ด้วย

ตัดถนนในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ตำบลตรอกศาลเจ้าอาม้าเก็งจากถนนเจริญกรุงไปออกถนนเยาวราช ๑ สาย และจากถนนราชวงศ์ไปออกคลองจักรวรรดิที่กำลังถมเป็นถนนอีก ๑ สาย

ตัดถนนในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ตำบลตรอกเต้าหู้ รวม ๖ สาย คือ

สายที่ ๑ ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงไปบรรจบถนนหลวงข้างโรงพยาบาลกลาง พระราชทานนามว่า ถนนเสือป่า

สายที่ ๒ ตั้งแต่ถนนวรจักรไปบรรจบถนนพลับพลาไชยตรงวัดคณิกาผลด้านใต้ ผ่านถนนจักรวรรดิ์และตรอกเต๊าที่ถมใหม่ พระราชทานนามว่า ถนนยมราชสุขุม

สายที่ ๓ ตั้งแต่คลองจักรวรรดิที่ถมใหม่ไปบรรจบถนนพลับพลาไชยข้างวัดคณิกาผลด้านเหนือผ่านถนนสายที่ ๑ และตรอกเต๊า พระราชทานนามว่า ถนนเจ้าคำรบ

สายที่ ๔ ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงตรงกับถนนที่ตัดใหม่ตำบลศาลเจ้าอาม้าเก็ง ไปบรรจบถนนสายที่ ๒ พระราชทานนามว่า ถนนศรีธรรมาธิราช

สายที่ ๕ ขยายตรอกเต้าหู้ ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงไปบรรจบกับถนนสายที่ ๒

สายที่ ๖ ถมคูที่แยกจากคลองจักรวรรดิไปเชื่อมกับตรอกเต้าหู้

ตัดถนนตั้งแต่ถนนราชดำริห์ ตรงไปทางตะวันออกถึงถนนขวางที่ตั้งวิทยุโทรเลข พระราชทานนามว่า ถนนเพลินจิต และถนนขวางที่ตั้งวิทยุโทรเลขไปบรรจบถนนพระรามที่ ๕ พระราชทานนามว่า ถนนวิทยุ

ตัดถนนในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ตำบลตรอกซุง ถนนสาธร รวม ๓ สาย คือ

สายที่ ๑ ตั้งแต่ถนนสาธรไปบรรจบถนนตรอกไก่ พระราชทานนามว่า ถนนจรัสเวียง

สายที่ ๒ ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงไปบรรจบกับถนนสายที่ ๑ พระราชทานนามว่า ถนนเจริญเวียง

สายที่ ๓ ตั้งแต่ถนนสายที่ ๑ ไปบรรจบถนนสุรศักดิ์ พระราชทานนามว่า ถนนจรูญเวียง

นอกจากนั้น ยังมีถนนที่เอกชนขออนุญาตสร้างอีกหลายสาย เช่น กรมขุนสรรพศาสตรศุภกิจขอพระบรมราชานุญาต ทำการตัดถนนตรงถนนประทุมวันต่อกับถนนราชดำริห์ ตรงสะพานเฉลิมโลกไปยังทุ่งประทุมวันถึงทางรถไฟที่จะผ่านไปช่องนนทรี โดยสายหนึ่งตัดไปทางใต้จนบรรจบกับถนนศาลาแดง และอีกสายหนึ่งตัดไปทางเหนือข้ามคลองแสนแสบ ไปบรรจบถนนที่จะไปที่ทำการประปา และถนนที่ตัดไปทางเหนือและใต้นี้ยาวประมาณ ๖๐ เส้น และบริษัทซีเมนต์สยามขอพระบรมราชานุญาตตัดถนนต่อจากถนนลก (ถนนพระรามที่ ๕) ไปตามริมคลองเปรมประชากรถึงสถานีรถไฟบางซื่อ เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำเนินตามพระยุคลบาทของสมเด็จพระบรมราชชนก ในการทรงพระราชอุทิศพระราชทรัพย์ สร้างสะพานเป็นสาธารณประโยชน์ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สะพานที่ทรงสร้างเหล่านี้มีคำว่า “เจริญ” นำหน้า มีจำนวน ๖ สะพาน คือ

สะพานเจริญรัช ๓๑ อยู่ที่ปากคลองตลาด

สะพานเจริญราษฎร์ ๓๒ อยู่ที่ถนนกรุงเกษม สร้างข้ามคลองมหานาค

สะพานเจริญพาศน์ ๓๓ อยู่ที่ถนนอิสรภาพ สร้างข้ามคลองบางกอกใหญ่

สะพานเจริญศรี ๓๔ อยู่ที่เยื้องหน้าวัดบุรณศิริมาตยาราม สร้างข้ามคลองคูเมืองเดิม

สะพานเจริญทัศน์ ๓๕ อยู่ที่ถนนบำรุงเมือง สร้างข้ามคลองวัดสุทัศนเทพวราราม

สะพานเจริญสวัสดิ์ ๓๖ อยู่ที่ถนนพระรามที่ ๔ หน้าสถานีรถไฟกรุงเทพฯ สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษม

รูปกรุงเทพฯ ในอดีต

นอกจากนั้น ยังมีการสร้างสะพานอื่น ๆ อีกหลายสะพาน เช่น สะพานราชเทวี สะพานอุรุพงษ์ สะพานอุบลรัตน์ สะพานช้างโรงสี สะพานมอญ สะพานในบ้านพิษณุโลก สะพานเสาวนีย์ สะพานมหาดไทยอุทิศ

อนึ่ง ในสมัยนี้มีการขุดคลองสำหรับระบายน้ำตั้งแต่คลองสกัดสายล่างมาบรรจบกับคลองตันและประตูน้ำพระโขนง และมีการถมคลองจักรวรรดิเพื่อทำการตัดถนน

สำหรับการปกครองกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าท้องที่การปกครองมณฑลกรุงเทพพระมหานครที่แบ่งไว้เดิมนั้นกว้างใหญ่เกินไป เมื่อประชาชนพลเมืองหนาแน่นขึ้นไม่อาจปกครองดูแลให้ทั่วถึง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงนครบาลออก “ประกาศยกเลิกอำเภอชั้นใน ๗ อำเภอ และตั้งอำเภอขึ้นใหม่ ๒๕ อำเภอ” ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๘ มีสาระสำคัญ ดังนี้

(สะกดการันต์ตามต้นฉบับ)

“๑. อำเภอพระราชวัง

อำเภอนี้มีเขตร์ คือ ทิศเหนือต่ออำเภอชนะสงคราม แต่ริมลำแม่น้ำเจ้าพระยาไปตามลำคลองโรงไหมฝั่งใต้ ถึงสามแยกคลองวัดเทพธิดามุมวัดบุรณสิริมาตยาราม ทิศตะวันออกต่ออำเภอสำราญราษฎร์และอำเภอพาหุรัด แต่สามแยกคลองวัดเทพธิดามุมวัดบุรณสิริมาตยารามไปตามลำคลองริมถนนราชินีฝั่งตะวันตก ถึงปากคลองตลาดฝั่งเหนือ ทิศตะวันออกต่ออำเภอบุปผาราม อำเภอหงษาราม อำเภออมรินทร์ แต่ปากคลองตลาดฝั่งเหนือเลียบขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกถึงปากคลองโรงไหมฝั่งใต้ ในเขตร์นี้เป็นท้องที่อำเภอพระราชวัง

๒. อำเภอชนะสงคราม

อำเภอนี้มีเขตร์ คือ ทิศเหนือต่ออำเภอบางขุนพรหม และอำเภอนางเลิ้ง แต่ปากคลองบางลำภูบนไปตามลำคลองบางลำภูฝั่งใต้ ถึงสามแยกคลองมหานาคริมบรมบรรพต ทิศตะวันออกต่ออำเภอสามยอด แต่สามแยกคลองมหานาคริมบรมบรรพตไปตามลำคลองสะพานหันฝั่งตะวันตกถึงคลองวัดเทพธิดา ทิศใต้ต่ออำเภอสำราญราษฎร์ไปตามลำคลองวัดเทพธิดาฝังใต้ถึงสามแยกมุมวัดบุรณสิริมาตยาาม ทิศตะวันตกต่ออำเภอพระราชวังและอำเภอบางพลัด แต่สามแยกมุมวัดบุรณสิริมาตยารามไปตามลำคลองโรงไหมฝั่งใต้ออกลำน้ำเจ้าพระยาเลี้ยวขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกถึงปากคลองบางลำภูบนฝั่งใต้ ในเขตร์นี้เป็นท้องที่อำเภอชนะสงคราม

๓. อำเภอสำราญราษฎร์

อำเภอนี้มีเขตร์ คือ ทิศเหนือต่ออำเภอชนะสงคราม แต่สามแยกคลองมุมวัดบุรณสิริมาตยารามไปตามลำคลองวัดเทพธิดาฝั่งใต้ถึงคลองสะพานหัน ทิศตะวันออกต่ออำเภอสามยอด แต่คลองวัดเทพธิดาไปตามลำคลองสะพานหันฝั่งตะวันตกถึงคลองสะพานถ่าน ทิศใต้ต่ออำเภอพาหุรัด แต่คลองสะพานหันไปตามลำคลองสะพานถ่าน ฝั่งใต้ถึงคลองหลอด ทิศตะวันตกต่ออำเภอพระราชวัง แต่คลองสะพานถ่านไปตามลำคลองหลอด ฝั่งตะวันตกถึงคลองวัดเทพธิดามุมวัดบุรณสิริมาตยาราม ในเขตร์นี้เป็นท้องที่อำเภอสำราญราษฎร์

๔. อำเภอพาหุรัด

อำเภอนี้มีเขตร์ คือ ทิศเหนือต่ออำเภอสำราญราษฎร์ แต่คลองหลอดไปตามลำคลองสะพานถ่านฝั่งใต้ถึงคลองสะพานหัน ทิศตะวันออกต่ออำเภอจักรวรรดิ์ แต่คลองสะพานถ่านไปตามลำคลองสะพานหัน ฝั่งตะวันตกถึงลำน้ำเจ้าพระยา ทิศใต้ต่ออำเภอบุบผาราม แต่คลองสะพานหันฝั่งเหนือขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกถึงปากคลองตลาดฝั่งเหนือ ทิศตะวันตกต่ออำเภอพระราชวัง แต่ปากคลองตลาดไปตามลำคลองถึงคลองสะพานถ่านฝั่งใต้ ในเขตร์นี้เป็นท้องที่อำเภอพาหุรัด

๕. อำเภอจักรวรรดิ์

อำเภอนี้มีเขตร์ คือ ทิศเหนือต่ออำเภอสามยอดและอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่คลองสะพานหันไปตามถนนเจริญกรุงด้านใต้ถึงถนนแปลงนาม ทิศตะวันออกต่ออำเภอสัมพันธวงศ์ แต่ถนนเจริญกรุงไปตามถนนแปลงนามด้านตะวันตก และตามแนวตรอกโรงกะทะด้านตะวันตกถึงลำน้ำเจ้าพระยา ทิศใต้ต่ออำเภอบุบผาราม แต่ท่าโรงกะทะด้านเหนือไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกถึงปากคลองโอ่งอ่างฝั่งเหนือ ทิศตะวันตกต่ออำเภอพาหุรัด แต่ปากคลองโอ่งอ่างฝั่งเหนือไปตามลำคลองสะพานหันฝั่งตะวันตกถึงสะพานดำรงสถิตย์ ในเขตร์นี้เป็นท้องที่อำเภอจักรวรรดิ์

๖. อำเภอสัมพันธวงศ์

อำเภอนี้มีเขตร์ คือ ทิศเหนือต่ออำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่ถนนแปลงนามด้านตะวันตกไปตามถนนเจริญกรุงด้านใต้ถึงถนนทรงวาด ทิศตะวันออกต่ออำเภอสามแยก แต่ถนนทรงวาดไปตามถนนเจริญกรุงด้านตะวันตกถึงคลองผดุงกรุงเกษมเชิงสะพานพิทยเสถียร ทิศใต้ต่ออำเภอบางรักและอำเภอบุบผาราม แต่เชิงสะพานพิทยเสถียรลงไปตามลำคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งเหนือเลี้ยวขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกถึงท่าโรงกะทะด้านเหนือ ทิศตะวันตกต่ออำเภอจักรวรรดิ์ แต่ท่าโรงกะทะไปตามตรอกโรงกะทะด้านตะวันตกและถนนแปลงนาม ด้านตะวันตกถึงถนนเจริญกรุง ในเขตร์นี้เป็นท้องที่อำเภอสัมพันธวงษ์

๗. อำเภอสามแยก

อำเภอนี้มีเขตร์ คือ ทิศเหนือต่ออำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่ถนนทรงวาดไปตามถนนหัวลำโพงในด้านใต้ถึงคลองผดุงกรุงเกษม ทิศตะวันออกต่ออำเภอบางรัก แต่มุมถนนหัวลำโพงในไปตามลำคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งตะวันตกถึงเชิงสะพานพิทยเสถียร ทิศตะวันตกต่ออำเภอสัมพันธวงษ์ แต่เชิงสะพานพิทยเสถียรไปตามถนนเจริญกรุงด้านตะวันตกถึงมุมถนนทรงวาด ในเขตร์นี้เป็นท้องที่อำเภอสามแยก

๘. อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย

อำเภอนี้มีเขตร์ คือ ทิศเหนือต่ออำเภอนางเลิ้ง แต่คลองวัดจักรวรรดิ์ราชาวาสไปตามลำคลองมหานาคฝั่งใต้ ถึงสี่แยกมหานาค ทิศตะวันออกต่ออำเภอปทุมวัน แต่สี่แยกมหานาคไปตามลำคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งตะวันตกถึงสะพานสุประดิษฐ์ ทิศใต้ต่ออำเภอสามแยกอำเภอสัมพันธวงษ์ อำเภอจักรวรรดิ์ แต่เชิงสะพานสุประดิษฐ์ไปตามถนนหัวลำโพงในถนนเจริญกรุงด้านใต้ถึงสะพานเฉลิมกรุง ๔๘ ทิศตะวันตกต่ออำเภอสามยอด แต่สะพานเฉลิมกรุง ๔๘ ถนนเจริญกรุงไปตามคลองวัดจักรวรรดิ์ราชาวาสฝั่งตะวันตกถึงคลองมหานาค ในเขตร์นี้เป็นท้องที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย

๙. อำเภอสามยอด

อำเภอนี้มีเขต คือ ทิศเหนือต่ออำเภอนางเลิ้ง แต่สามแยกมหานาคริมบรมบรรพตไปตามลำคลองมหานาค ฝั่งใต้ถึงคลองวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส ทิศตะวันออกต่ออำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่ปากคลองวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส มาตามคลองวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส ฝั่งตะวันตกถึงสะพานเแลิมกรุง ๔๘ ถนนเจริญกรุง ทิศใต้ต่ออำเภอจักรวรรดิ์ แต่เชิงสะพานเฉลิมกรุง ๔๘ ไปตามถนนเจริญกรุง ด้านใต้ถึงสะพานดำรงสถิตย์ ทิศตะวันตกต่ออำเภอพาหุรัด อำเภอสำราญราษฎร์ อำเภอชนะสงคราม แต่สะพานดำรงสถิตย์ไปตามลำคลองสะพานหันฝั่งตะวันตกถึงสามแยกคลองมหานาคริมบรมบรรพต ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอสามยอด

๑๐. อำเภอนางเลิ้ง

อำเภอนี้มีเขต คือ ทิศเหนือต่ออำเภอดุสิต แต่คลองข้างวัดมกุฎกระษัตริยารามไปตามลำคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งใต้จนถึงสะพานจตุรภักตร์ ทิศตะวันออกต่ออำเภอดุสิต แต่สะพานจตุรภักตร์ไปตามลำคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งตะวันตกถึงสี่แยกมหานาค ทิศใต้ต่ออำเภอสามยอด และอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่สี่แยกมหานาคไปตามลำคลองมหานาคฝั่งใต้ ถึงสามแยกมหานาคริมบรมบรรพต ทิศตะวันตกอยู่อำเภอชนะสงคราม แต่สามแยกมหานาคริมบรมบรรพตไปตามลำคลองบางลำภูบนฝั่งตะวันตกถึงปากคลองวัดตรีทศเทพ เลี้ยวไปตามลำคลองวัดตรีทศเทพฝั่งใต้ตัดตรงไปตามเขตโรงเรียนนายร้อยมัธยมด้านตะวันตก ออกคลองข้างวัดมกุฎกระษัตริยารามจดคลองผดุงกรุงเกษม ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอนางเลิ้ง

๑๑. อำเภอบางขุนพรหม

อำเภอนี้มีเขต คือ ทิศเหนือต่ออำเภอสามเสน แต่ริมลำน้ำเจ้าพระยาไปตามลำคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งใต้ถึงคลองข้างวัดมกุฎกระษัตริยาราม ทิศตะวันออกต่ออำเภอนางเลิ้ง แต่คลองผดุงกรุงเกษมไปตามลำคลองข้างวัดมกุฎกระษัตริยารามฝั่งเหนือตรงไปตามเขตโรงเรียนนายร้อยมัธยมด้านตะวันตก ตัดไปตามคลองวัดตรีทศเทพ ฝั่งใต้ไปออกคลองบางลำภูบน ทิศใต้ต่ออำเภอชนะสงคราม แต่ปากคลองวัดตรีทศเทพไปตามลำคลองบางลำภูฝั่งบน ฝั่งใต้ถึงลำน้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตกต่ออำเภอบางพลัด แต่ปากคลองบางลำภูบนไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกถึงปากคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งใต้ ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอบางขุนพรหม

๑๒. อำเภอสามเสน

อำเภอนี้มีเขต คือ ทิศเหนือต่ออำเภอบางซื่อ แต่ริมลำน้ำเจ้าพระยาเข้าไปตามลำคลองสามเสนฝั่งใต้ถึงปากคลองรางเงินฝั่งตะวันตก ทิศตะวันตกต่ออำเภอดุสิต แต่ปากคลองสามเสนเข้าไปตามลำคลองรางเงินฝั่งตะวันตกถึงถนนซางฮี้ เลี้ยวไปตามถนนซางฮี้นอกด้านใต้ถึงมุมกำแพงพระราชวังดุสิต เลี้ยวไปตามพระราชวังสวนดุสิตด้านตะวันตก ริมถนนสามเสนถึงถนนใบพร เลี้ยวไปตามถนนใบพรด้านเหนือถึงคลองเม่งเส็ง เลี้ยวไปตามคลองเม่งเส็งฝั่งตะวันตกออกคลองผดุงกรุงเกษม ทิศใต้ต่ออำเภอบางขุนพรหม แต่ปากคลองเม่งเส็งไปตามคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งใต้ถึงลำน้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตกต่ออำเภอบางพลัด แต่ปากคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งใต้ขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกถึงปากคลองสามเสนฝั่งใต้ ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอสามเสน

๑๓. อำเภอดุสิต

อำเภอนี้มีเขต คือ ทิศเหนือต่ออำเภอบางซื่อ แต่ปากคลองรางเงินฝั่งตะวันตก ไปตามลำคลองสามเสนฝั่งใต้ถึงทางรถไฟสายเหนือด้านตะวันตก ทิศตะวันออกต่ออำเภอพญาไทและอำเภอประแจจีน แต่คลองสามเสนไปตามทางรถไฟสายเหนือ ด้านตะวันตกถึงคลองบางกะปิ (คลองมหานาค) ทิศใต้ต่ออำเภอปทุมวันและอำเภอนางเลิ้ง แต่ทางรถไฟสายเหนือไปตามลำคลองบางกะปิ (คลองมหานาค) ฝั่งใต้ถึงสี่แยกมหานาค เลี้ยวขึ้นตามลำคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งตะวันตกไปถึงปากคลองเม่งเส็ง ทิศตะวันตกต่ออำเภอสามเสน แต่คลองผดุงกรุงเกษมเข้าไปตามลำคลองเม่งเส็งฝั่งตะวันตกถึงถนนใบพร เลี้ยวไปตามถนนใบพร ด้านเหนือถึงมุมกำแพงพระราชวังสวนดุสิตริมถนนสามเสน เลี้ยวขึ้นริมกำแพงพระราชวังสวนดุสิตริมถนนสามเสน เลี้ยวขึ้นริมกำแพงพระราชวังสวนดุสิตด้านตะวันตกถึงถนนซางฮี้นอก เลี้ยวตามถนนซางฮี้นอก ด้านใต้ไปถึงลำคลองรางเงิน เลี้ยวตามลำคลองรางเงินฝั่งตะวันตกถึงคลองสามเสน ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอดุสิต

๑๔. อำเภอพญาไท

อำเภอนี้มีเขต คือ ทิศเหนือต่ออำเภอบางซื่อ แต่ทางรถไฟสายเหนือไปตามลำคลองสามเสนฝั่งใต้ถึงคลองบางกระสันฝั่งตะวันตก ทิศตะวันออกต่ออำเภอบางกะปิ แต่คลองสามเสนเข้าไปตามลำคลองบางกระสันฝั่งตะวันตกถึงทางรถไฟสายตะวันออก ทิศใต้ต่ออำเภอประแจจีน แต่คลองบางกระสันเข้าไปตามทางรถไฟสายตะวันออก ด้านเหนือถึงสะพานยมราช ทิศตะวันตกต่ออำเภอดุสิต แต่สะพานยมราชไปตามทางรถไฟสายเหนือด้านตะวันตกถึงคลองสามเสน ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอพญาไท

๑๕. อำเภอประแจจีน

อำเภอนี้มีเขต คือ ทิศเหนือต่ออำเภอพญาไท แต่สะพานยมราชไปตามทางรถไฟสายตะวันออก ด้านเหนือตรงย่านถนนดวงตะวันถึงคลองบางกระสัน ทิศตะวันออกต่ออำเภอบางกะปิ แต่ทางรถไฟสายตะวันออกไปตามลำคลองบางกระสันฝั่งตะวันตกถึงคลองแสนแสบ ทิศใต้ต่ออำเภอปทุมวัน แต่ปากคลองบางกระสันมาตามลำคลองแสนแสบฝั่งใต้ถึงทางรถไฟสายเหนือ ทิศตะวันตกต่ออำเภอดุสิต แต่คลองบางกะปิ (คลองมหานาค) ไปตามทางรถไฟสายเหนือด้านตะวันตกถึงสะพานยมราช ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอประแจจีน

๑๖. อำเภอปทุมวัน

อำเภอนี้มีเขต คือ ทิศเหนือต่ออำเภอดุสิต และอำเภอประแจจีนแต่สี่แยกมหานาคไปตามลำคลองแสนแสบฝั่งใต้ ถึงทางรถไฟไปช่องนนทรี ทิศตะวันออกต่ออำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง แต่คลองแสนแสบไปตามทางรถไฟสายช่องนนทรีด้านตะวันออกถึงคลองหัวลำโพง ทิศใต้ต่อเขตอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง และอำเภอสาธร อำเภอบางรัก แต่ทางรถไฟสายช่องนนทรีไปตามลำคลองหัวลำโพงฝั่งใต้ถึงคลองผดุงกรุงเกษม ทิศตะวันตกต่ออำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่ปากคลองหัวลำโพงไปตามลำคลองผดุงกรุงเกษม ฝั่งตะวันตกถึงสี่แยกมหานาค ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอปทุมวัน

๑๗. อำเภอบางรัก

อำเภอนี้มีเขต คือ ทิศเหนือต่ออำเภอประทุมวัน แต่ปากคลองหัวลำโพง ไปตามลำคลองหัวลำโพงฝั่งใต้ถึงปากคลองสีลม ทิศใต้ต่ออำเภอสาธร แต่คลองหัวลำโพง ไปตามลำคลองสีลมฝั่งเหนือถึงคลองบางรัก เลี้ยวไปตามลำคลองบางรักฝั่งเหนือถึงลำน้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตกต่ออำเภอบุบผาราม แต่ปากคลองบางรักขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกถึงปากคลองผดุงกรุงเกษมไปตามลำคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งเหนือถึงปากคลองหัวลำโพงในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอบางรัก

๑๘. อำเภอสาธร

อำเภอนี้มีเขต คือ ทิศเหนือต่ออำเภอบางรักและอำเภอปทุมวัน แต่ปากคลองบางรักเข้าไปตามลำคลองบางรัก และคลองสีลมฝั่งเหนือถึงคลองหัวลำโพง เลี้ยวไปตามลำคลองหัวลำโพงฝั่งใต้ถึงหลักเขตต่ออำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง ทิศตะวันออกต่ออำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง แต่หลักเขตริมคลองหัวลำโพงตัดมาตามลำรางและคูตรงไปถึงปลายคลองขวางหรือคลองมหาเมฆ แล้วตัดข้ามตรงไปถึงคลองช่องนนทรี ทิศใต้ต่ออำเภอบ้านทวาย แต่หลักเขตริมคลองช่องนนทรี ไปตามลำคลองช่องนนทรีฝั่งใต้ถึงคลองสาธร เลี้ยวไปตามลำคลองสาธรฝั่งใต้ออกลำน้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตกต่ออำเภอบุบผาราม แต่ปากคลองสาธรขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ถึงปากคลองบางรัก ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอสาธร

๑๙. อำเภอบ้านทวาย

อำเภอนี้มีเขต คือ ทิศเหนือต่ออำเภอสาธร แต่ปากคลองสาธรเข้าไปตามลำคลองสาธรฝั่งใต้ถึงคลองช่องนนทรี เลี้ยวไปตามลำคลองช่องนนทรีฝั่งใต้ถึงหลักเขตต่ออำเภอเมือง จังหวัดพระประแดง ทิศตะวันออกต่ออำเภอเมือง จังหวัดพระประแดง แต่หลักเขตริมคลองช่องนนทรีตัดไปตามลำรางและคันนาถึงคลองบางมะนาวเลียบตามลำคลองบางมะนาวฝั่งตะวันตกออกลำน้ำเจ้าพระยา ทิศใต้ต่ออำเภอราษฎร์บูรณะ แต่ปากคลองบางมะนาวฝั่งเหนือไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกถึงท่าถนนตก ทิศตะวันตกต่ออำเภอบุคโล แต่ท่าถนนตกไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกถึงปากคลองสาธรฝั่งใต้ ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอบ้านทวาย

๒๐. อำเภอบางพลัด

อำเภอนี้มีเขตร์ คือ ทิศเหนือต่ออำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี แต่ปลายคลองบางบำหรุไปจนเขตร์วัดเพลงด้านใต้ ตัดขึ้นไปตามลำรางและคันนาถึงปากคลองวัดละมุด ไปตามลำคลองวัดละมุดฝั่งเหนือออกลำน้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออกต่ออำเภอบางซื่อและอำเภอสามเสน อำเภอบางขุนพรหม กับอำเภอชนะสงคราม แต่ปากคลองบางซ่อนฝั่งใต้ไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกถึงปากคลองโรงไหม ทิศใต้ต่ออำเภออมรินทร์แต่ปากคลองโรงไหมฝั่งใต้ ตัดข้ามฟากลำน้ำเจ้าพระยาไปตามลำคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือถึงปากคลองบางบำหรุฝั่งตะวันออก ทิศตะวันตกต่ออำเภอตลิ่งชัน แต่คลองบางกอกน้อยปากคลองบางบำหรุไปตามลำคลองบางบำหรุ ฝั่งตะวันออกถึงเขตวัดเพลงด้านใต้ ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอบางพลัด

๒๑. อำเภออมรินทร์

อำเภอนี้มีเขต คือ ทิศเหนือต่ออำเภอตลิ่งชัน และอำเภอบางพลัดแต่สามแยกหน้าวัดสุวรรณคีรีไปตามลำคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือออกลำน้ำเจ้าพระยา ตัดข้ามฟากไปถึงปากคลองโรงไหมฝั่งใต้ ตะวันออกต่ออำเภอพระราชวัง แต่ปากคลองโรงไหมฝั่งใต้ ไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกถึงตรงข้ามปากคลองมอญ ทิศใต้ต่ออำเภอหงษาราม แต่ตรงข้ามปากคลองมอญฝั่งเหนือถึงสี่แยกบางเสาธง ทิศตะวันตกต่ออำเภอตลิ่งชันแต่สี่แยกบางเสาธงไปตามลำคลองบางขุนศรีและคลองอ้อมชักพระฝั่งตะวันออกถึงสามแยกน่าวัดสุวรรณคีรี ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภออมรินทร์

๒๒. อำเภอหงษาราม

อำเภอนี้มีเขต คือ ทิศเหนือต่ออำเภออมรินทร์ แต่สี่แยกบางเสาธงไปตามลำคลองมอญฝั่งเหนือออกลำน้ำเจ้าพระยา ตัดข้ามฟากไปถึงตรงข้ามปากคลองมอญ ทิศตะวันออกต่ออำเภอพระราชวังแต่ตรงข้ามปากคลองมอญไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกถึงตรงข้ามปากคลองบางกอกใหญ่ ทิศใต้ต่ออำเภอบุบผาราม อำเภอราชคฤห์ แต่ตรงข้ามปากคลองบางกอกใหญ่ไปตามลำคลองบางกอกใหญ่ฝั่งเหนือถึงสามแยกปากคลองด่าน ทิศตะวันตกต่ออำเภอภาษีเจริญ แต่สามแยกปากคลองด่านไปตามลำคลองวัดหนังหรือคลองอ้อมชักพระ ฝั่งตะวันออกถึงสี่แยกบางเสาธง ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอหงษาราม

๒๓. อำเภอราชคฤห์

อำเภอนี้มีเขตร์ คือ ทิศเหนือต่ออำเภอหงษาราม แต่สามแยกปากคลองด่านไปตามลำคลองบางกอกใหญ่ฝั่งเหนือถึงปากคลองบางไส้ไก่ทิศตะวันออกต่ออำเภอบุบผาราม แต่ปากคลองบางไส้ไก่ไปตามลำคลองบางไส้ไก่ถึงทางรถไฟสายท่าจีน ทิศใต้ต่ออำเภอบุคโล อำเภอบางขุนเทียน แต่คลองบางไส้ไก่ไปตามทางรถไฟสายท่าจีนด้านใต้ถึงคลองบางสะแก ไปตามลำคลองบางสะแกฝั่งตะวันตกถึงลำกระโดงสวนไปตามลำคลองกระโดงสวนฝั่งเหนือถึงเขตร์วัดใหม่ยายนุ้ยด้านใต้ออกคลองด้านทิศตะวันตกต่ออำเภอบางขุนเทียน อำเภอภาษีเจริญ แต่เขตร์วัดใหม่ยายนุ้ยด้านใต้ไปตามลำคลองด่านฝั่งตะวันออก ถึงคลองบางกอกใหญ่สามแยก ปากคลองด่าน ในเขตร์นี้เป็นท้องที่อำเภอราชคฤห์

๒๔. อำเภอบุบผาราม

อำเภอนี้มีเขตร์ คือ ทิศเหนือต่ออำเภอพระราชวัง อำเภอพาหุรัด อำเภอจักรวรรดิ์ อำเภอสัมพันธวงศ์ แต่ตรงข้ามปากคลองบางกอกใหญ่ไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกถึงปากคลองผดุงกรุงเกษม ทิศตะวันออกต่ออำเภอบางรัก อำเภอสาธร อำเภอบ้านทวาย แต่ปากคลองผดุงกรุงเกษมลงไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกถึงตรงข้ามปากคลองบางไส้ไก่ ทิศใต้ต่ออำเภอบุคโลและอำเภอราชคฤห์ แต่ตรงข้ามปากคลองบางไส้ไก่ ตัดข้ามฟากลำน้ำเจ้าพระยาไปตามลำคลองบางไส้ไก่ ฝั่งใต้ถึงคลองบางกอกใหญ่ ทิศตะวันตกแต่อำเภอหงษาราม แต่ปากคลองบางไส้ไก่ไปตามลำคลองบางกอกใหญ่ฝั่งตะวันออกถึงตรงข้ามปากคลองบางกอกใหญ่ ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอบุบผาราม

๒๕. อำเภอบุคโล

อำเภอนี้มีเขตร์ คือ ทิศเหนือต่ออำเภอบุบผาราม แต่คลองบางสะแก ไปตามทางรถไฟสายท่าจีนฝั่งใต้ ถึงคลองบางไส้ไก่ทิศตะวันออกต่ออำเภอบุบผาราม แต่ทางรถไฟสายท่าจีนไปตามลำคลองบางไส้ไก่ฝั่งใต้ออกลำน้ำเจ้าพระยา ทิศใต้ต่ออำเภอบ้านทวายอำเภอราษฎร์บูรณะ แต่ตรงข้ามปากคลองบางไส้ไก่ไปตามลำน้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกถึงตรงข้ามปากคลองดาวคนอง ตัดข้ามฟากลำน้ำเจ้าพระยาไปตามลำคลองดาวคนองฝั่งเหนือ ถึงปากคลองบางค้อทิศตะวันตกต่ออำเภอบางขุนเทียนและอำเภอราชคฤห์ แต่คลองดาวคนองปากคลองบางค้อไปถึงคลองบางสะแกไปตามลำคลองบางสะแกฝั่งตะวันตกถึงทางรถไฟสายท่าจีน ในเขตนี้เป็นท้องที่อำเภอบุคโล”

ส่วนอำเภอชั้นนอก ๘ อำเภอนั้น ยังคงตามเดิม

ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงเขตการปกครองมณฑลกรุงเทพมหานครเสียใหม่ ให้เหมาะแก่ความเจริญของบ้านเมืองที่ขยายตัวออกไป โดยให้ยกเลิกมณฑลกรุงเทพพระมหานครเสีย ให้เมืองธัญญะบุรีและเมืองปทุมธานีไปสมทบเป็นหัวเมืองขึ้นของกระทรวงมหาดไทย ส่วนที่เหลือนั้นให้มีฐานะเป็น “กรุงเทพพระมหานคร” ดังปรากฏความในมาตรา ๓ แห่ง “ประกาศขยายเขตกรุงเทพพระมหานคร” ดังนี้

(สะกดการันต์ตามต้นฉบับ)

“มาตรา ๓ ให้แบ่งเขตกรุงเทพพระมหานครออกเป็นจังหวัด ดังนี้คือ

กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกลำน้ำเจ้าพระยา เป็นจังหวัดพระนคร

กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตกลำน้ำเจ้าพระยา เป็นจังหวัดธนบุรี

แบ่งรอบนอกเป็นจังหวัดนนทบุรี จังหวัดมีนบุรี จังหวัดพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ”

ทั้งหมดทุกจังหวัดนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของกระทรวงนครบาลเช่นเดิม ตำแหน่งผู้ปกครอง

เมืองให้เรียกนครบาลจังหวัด และสำหรับจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีนั้น ให้มหาอำมาตย์ตรีพระยาเพ็ชรปาณี อธิบดีกรมพระนครบาล ปฏิบัติหน้าที่นครบาลจังหวัดด้วย

เขตของกรุงเทพพระมหานครขณะนั้น ปรากฏดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับมณฑลกรุงเก่า (อยุธยา)

ทิศตะวันออก ติดต่อกับมณฑลปราจีนบุรี

ทิศใต้ ปกครองอ่าวทะเลตลอดเขตอำนาจกฎหมาย

ทิศตะวันตก ติดต่อกับมณฑลนครไชยศรี

“ประกาศขอบเขตกรุงเทพพระมหานคร” นี้ นับเป็นครั้งแรกที่แบ่งกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็นจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี

เฉพาะเขตจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีนั้น มีความละเอียดปรากฏใน “ประกาศกระทรวงนครบาล เรื่อง กำหนดเขตท้องที่การปกครองกรุงเทพมหานคร” เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๘ ซึ่งลงนามโดยมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล ดังนี้

รูปกรุงเทพฯ ในอดีต

“๑. จังหวัดพระนคร รวมท้องที่ อำเภอพระราชวัง อำเภอสำราญราษฏร์ อำเภอพาหุรัด อำเภอชนะสงคราม อำเภอสามยอด อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอจักรวรรดิ์ อำเภอสัมพันธวงษ์ อำเภอสามแยก อำเภอบ้านทวาย อำเภอบางรัก อำเภอสาธร อำเภอบางขุนพรหม อำเภอสามเสน อำเภอดุสิต อำเภอนางเลิ้ง อำเภอประแจจีน อำเภอพญาไท อำเภอประทุมวัน อำเภอบางซื่อ อำเภอบางเขน อำเภอบางกะปิ มีอาณาเขตร์ ดังนี้

ทิศเหนือต่อจังหวัดนนทบุรีและเมืองธัญญะบุรี ตั้งแต่ลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตวันออกไปตามลำคลองบางเขนฝั่งใต้ถึงคลองเปรมประชากร เลี้ยวไปตามคลองเปรมประชากรฝั่งตวันออกถึงตรงสถานีรถไฟหลักหก แล้วตัดตรงไปคลองหกวาสายล่างฝั่งเหนือถึงคลองซอยที่ ๔ เปนเขตร์ด้านเหนือ

ทิศตวันออกต่อจังหวัดมีนบุรี แต่คลองซอยที่ ๔ ตัดตรงไปตามคลองลำเตาปูน คลองลาดบัวขาวถึงลำหลอแหล เปนเขตร์ด้านตวันออก

ทิศใต้ต่อจังหวัดพระประแดงแต่คลองลาดบัวขาวไปตามลำหลอแหลลำบ้านม้า คลองบางกะจะฝั่งเหนือถึงคลองแสนแสบ เลี้ยวไปตามลำคลองแสนแสบฝั่งใต้ถึงการรถไฟสายช่องนนทรี เลี้ยวไปตามทางรถไฟสายช่องนนทรีด้านตวันออกถึงคลองหัวลำโพง เลี้ยวไปตามคลองหัวลำโพงฝั่งใต้ถึงหลักเขตร์พรมแดนระหว่างจังหวัดพระนครกับจังหวัดพระประแดงเลี้ยวไปตามลำรางตัดเส้นตรงจนถึงคลองบางมะนาวไปตามลำคลองบางมะนาว ฝั่งตวันออกลำน้ำเจ้าพระยา เปนเขตร์ด้านใต้

ทิศตวันตกต่อจังหวัดธนบุรี แต่ปากคลองบางมะนาวเลียบขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตวันออกถึงปากคลองบางเขนฝั่งใต้ เปนเขตด้านตวันตก ในเขตร์นี้เปนจังหวัดพระนคร

๒. จังหวัดธนบุรี รวมท้องที่อำเภอหงษาราม อำเภออมรินทร์ อำเภอบางพลัด อำเภอราชคฤห์

อำเภอบุบผาราม อำเภอบุคโล อำเภอตลิ่งชัน อำเภอภาษีเจริญ อำเภอบางขุนเทียน อำเภอราษฎร์บูรณะ อำเภอหนองแขม มีอาณาเขตร์ ดังนี้

ทิศเหนือต่อจังหวัดนนทุบรี แต่สี่แยกคลองนราภิรมย์ไปตามลำคลองมหาสวัสดิ์ ฝั่งใต้ถึงโรงพักพลตระเวน เลี้ยวตัดขึ้นบกตรงไปถึงคลองสวนแดนไปตามลำคลองสวนแดน ฝั่งใต้ออกคลองบางกอกน้อย เลี้ยวขึ้นไปตามลำคลองบางกอกน้อยฝั่งตวันตกถึงตรงปากคลองวัดพิกุล ตัดข้ามฟากคลองบางกอกน้อยไปตามลำคลองวัดพิกุลฝั่งใต้จนถึงคลองบางตำหรุเลี้ยวไปตามลำคลองบางตำหรุฝั่งตวันออกจนถึงเขตร์วัดเพลงด้านใต้ ตัดเส้นตรงไปปลายคลองวัดละมุดไปตามลำคลองวัดละมุดฝั่งเหนือออกลำน้ำเจ้าพระยา ตัดตรงข้ามไปฝั่งตวันออกลำแม่น้ำเจ้าพระยาถึงปากคลองบางซ่อนฝั่งใต้ เปนเขตร์ด้านเหนือ

ทิศตวันออกต่อจังหวัดพระนครและจังหวัดพระประแดง แต่ปากคลองบางซ่อนฝั่งใต้ลงไปตามลำน้ำเจ้าพระยาฝั่งตวันออกจนถึงคลองบางมะนาวฝั่งเหนือตัดตรงข้ามลำน้ำเจ้าพระยาไปฝั่งตวันตกเลี้ยวไปถึงปากคลองแจงร้อน เลี้ยวเข้าคลองแจงร้อนไปตามลำคลองบางผึ้งฝั่งตวันออก ตัดเส้นตรงไปปลายคลองขุดเจ้าเมืองไปตามคลองขุดเจ้าเมืองแลคลองขวางฝั่งตะวันออกถึงคลองบางจาก เปนเขตร์ด้านตวันออก

ทิศใต้ต่อจังหวัดสมุทรปราการแลเขตร์มณฑลนครไชยศรี แต่คลองขวางไปตามลำคลองบางจากฝั่งเหนือถึงคลองหัวกระบือ เลี้ยวไปตามลำคลองหัวกระบือฝั่งตวันออกถึงคลองมหาไชย เลี้ยวไปตามลำคลองมหาไชยฝั่งเหนือจนถึงคลองแสมดำ เปนเขตร์ด้านใต้

ทิศตวันตกต่อเขตร์มณฑลนครไชยศรี แต่คลองมหาไชยไปตามลำคลองแสมดำ ฝั่งตวันออกตรงถึงวัดหนองแขมเขตร์ด้านตวันตกตัดเส้นตรงไปถึงสี่แยกคลองนราภิรมย์แลคลองมหาสวัสดิ์ เปนเขตร์ด้านตวันตก ในเขตร์นี้เปนจังหวัดธนบุรี

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฏเกล้า

เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย แต่กรุงเทพพระมหานครก็ยังมีพื้นที่และฐานะอยู่อย่างเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สภาพบ้านเมืองมีลักษณะคล้ายคลึงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเพิ่มเติมอีกหลายสาย ส่วนใหญ่เป็นการตัดถนนในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ถนนต่าง ๆ ที่ตัดขึ้นใหม่มีดังนี้

ตัดถนในบริเวณที่ถูกเพลิงไหม้ตำบลวัดดวงแข จำนวน ๓ สายคือ

สายที่ ๑ ต่อจากถนนที่ตัดไว้เดิมในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปบรรจบกับถนนรองเมือง พระราชทานนามว่า ถนนเจริญเมือง

สายที่ ๒ ตั้งแต่ถนนพระรามที่ ๔ ไปบรรจบกับถนนสายที่ ๓ ตอนกลาง พระราชทานนามว่า ถนนจารุเมือง

สายที่ ๓ ตั้งแต่ถนนพระรามที่ ๖ ไปบรรจบกับถนนรองเมือง พระราชทานนามว่า ถนนจรัสเมือง ตัดถนนในตำบลมหาพฤฒาราม ตั้งแต่สะพานพิทยเสถียรขึ้นไปทางเหนือตามริมคลองผดุงกรุงเกษมไปหักออกทางตะวันออกเฉียงเหนือไปบรรจบถนนพระรามที่ ๔ ตรงหน้าลานสถานีรถไฟกรุงเทพฯ พระราชทานนามว่า ถนนมหาพฤฒาราม

ตัดถนนวิสุทธิกษัตริย์ ต่อจากที่ตัดไว้เดิมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยามาบรรจบสี่แยกวงเวียนถนนสามเสน ตำบลบางขุนพรหม โดยให้ทำต่อตั้งแต่ถนนสามเสนตอนสี่แยกบางขุนพรหมไปออกถนนราชดำเนินนอกตรงกับถนนจักรพรรดิพงศ์

ตัดถนนซอยจากถนนสุริยวงศ์ (สุรวงศ์) ไปออกคลองสีลม ๓ สาย คือ

สายที่ ๑ ตั้งแต่ถนนสุริยวงศ์ไปออกคลองสีลมตรงถนนสุรศักดิ์ข้ามพระราชทานนามว่า ถนนมเหสักข์

สายที่ ๒ ตั้งแต่ถนนสุริยวงศ์ไปออกคลองสีลมตรงถนนประมวญข้ามพระราชทานนามว่า ถนนปราโมทย์

สายที่ ๓ ตั้งแต่ถนนสุริยวงศ์ไปออกคลองสีลมตรงถนนปั้นข้ามพระราชทานนามว่า ถนนประดิษฐ์

ตัดถนนต่อจากถนนสุริยวงศ์ (สุรวงศ์) ตอนร่วมถนนเจริญกรุงถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา พระราชทานนามว่า ถนนท่าขนอน

ตัดถนนในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ตำบลสี่แยกมหานาคตอนริมถนนกรุงเกษม ท้องที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จำนวน ๗ สาย

ตัดถนนในท้องที่ตำบลปทุมคงคา จำนวน ๙ สาย

ตัดถนนในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ระหว่างถนนเจริญกรุง ถนนเยาวราช และถนนปทุมคงคา จำนวน ๔ สาย

สร้างถนนต่อจากถนนเพลินจิตไปจนถึงจังหวัดสมุทรปราการ

สร้างถนนตั้งแต่ถนนถนนพระรามที่ ๕ ข้ามคลองบางซื่อถึงแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางขวาง พระราชทานนามว่า ถนนประชาราษฏร์

การตัดขยายถนนในกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ เป็นเหตุให้กำแพงพระนครและป้อมปืนซึ่งสร้างขึ้นแต่ครั้งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต้องถูกรื้อทำลายไปมาก ปรากฏว่าในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คงมีเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุที่ปากคลองรอบกรุง (คลองบางลำภู) และป้อมมหากาฬเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กับทั้งกำแพงพระนครซึ่งติดต่อกับป้อมมหากาฬไปจนถึงคลองหลอดระหว่างวัดราชนัดดากับวัดเทพธิดา ราชบัณฑิตยสภาในสมัยนั้นจึงได้มีมติให้บำรุงรักษาไว้เพื่อประโยชน์ความรู้ทางโบราณคดีต่อไปซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นพ้องด้วยกับความเห็นของราชบัณฑิตยสภา ป้อมดังกล่าวจึงคงมีปรากฏมาจนปัจจุบัน

การปกครองกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ ได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงอำเภอในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรีอีกครั้งหนึ่ง โดยจังหวัด

พระนครแบ่งออกเป็น ๘ อำเภอ จังหวัดธนบุรีแบ่งออกเป็น ๖ อำเภอ

นายถัด พรหมมาณพ ได้เขียนไว้ในหนังสือภูมิศาสตร์มณฑลกรุงเทพฯ (ความจริงในปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ ซึ่งหนังสือนี้ตีพิมพ์ กรุงเทพพระมหานครมิใช่มณฑลแล้ว) กล่าวถึงเขตท้องที่อำเภอต่าง ๆ รวมทั้งสถานที่สำคัญในแต่ละอำเภอ อันทำให้มองเห็นลักษณะความเจริญของกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ ไว้อย่างแจ่มชัด ดังนี้

รูปกรุงเทพฯ ในอดีต

“๑. อำเภอจังหวัดพระนคร

(ก) อำเภอชั้นใน ๘ อำเภอ คือ :

(๑) อำเภอพระนคร ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ข้างวัดชะนะสงคราม ถนนจักรพงศ์ เยื้องกับสถานีตำรวจพระนครบาลชะนะสงคราม แบ่งเป็นตำบล ๔๓ ตำบล พลเมืองมีราว ๗๘,๘๙๕ คน อำเภอนี้ท้องที่อยู่ภายในเขตต์กำแพงพระนคร แขวงพระนครกลาง มีพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นมาก บ้านเรือนเป็นตึกและมีถนนมาก ตามริมถนนมีตึกแถวและบ้านเรือนเต็มไปทั้งนั้น ไม่มีที่ว่างเปล่าเลย สถานที่สำคัญและวัดที่สำคัญอยู่ในอำเภอนี้มาก เป็นที่ตั้งพระบรมมหาราชวัง วัดสำคัญ และกระทรวงต่าง ๆ ทั้งสิ้น

(๒) อำเภอนางเลิ้ง ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่สามแยกถนนหลานหลวงกับถนนพะเนียง ตำบลสนามกระบือ หน้าวังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ แบ่งเป็น ๒๐ ตำบล มี

พลเมืองราว ๒๙,๒๖๔ คน ท้องที่อำเภอนี้ต่อจากอำเภอพระนคร ทางด้านเหนือมีคลองบางลำพูขั้น

ทิศเหนือและทิศตะวันออกจดคลองผดุงกรุงเกษมอยู่ในแขวงจังหวัดพระนครเหนือพลเมืองอยู่มากเหมือนกัน

มีถนนน้อย

(๓) อำเภอดุสิต ที่ว่าการอำเภอตั้งที่ริมคลองเปรมประชากร ถนนสุโขทัย ติดต่อกับโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยทางด้านเหนือ แบ่งเป็นตำบล ๒๖ ตำบล มีพลเมืองราว ๓๓,๕๘๒ คน เนื้อที่กว้างมากแต่มีพลเมืองน้อย มีถนนสายต่าง ๆ มากและรื่นรมย์ดี มีต้นไม้งาม ๆ ตามข้างถนน และโดยมากมีบ้านที่ดี ๆ และเป็นที่ ๆ มีวังเจ้านายอยู่มาก เว้นไว้แต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยามีคนหนาแน่น มีวัดและสถานที่สำคัญหลายแห่ง ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป อำเภอนี้มีที่ว่างอยู่ทางตะวันออกมาก พลเมืองจึงได้สร้างบ้านเรือนขยายความกว้างของพระนครออกไปเสมอทุกปี อยู่ในแขวงจังหวัดพระนครเหนือเหมือนกัน

(๔) อำเภอสัมพันธวงศ์ ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ป้อมปัจจนึก ตำบลวัดกะละหว่า ตรอกกรมเจ้าท่าและธนาคารสยามกัมมาจล ตรงข้ามกับโรงน้ำแข็ง บี.เอม.ซี. แบ่งท้องที่เป็นตำบล ๓๘ ตำบล มีพลเมืองราว ๖๗,๗๑๔ คน ทิศตะวันตกจดเขตต์คูคลองพระนคร ด้านใต้จนถึงสะพานดำรงสถิตย์ ทิศเหนือจดถนนเจริญกรุงเป็นเขตต์เรื่อยลงไปจนถึงสามแยกหน้าสถานีตำรวจพระนครบาลสามแยก แล้วต่อไปตามถนนพระราม ๔ เป็นเขตต์จนถึงสะพานเจริญสวัสดิ์ ตะวันออกจดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเขตต์ด้านใต้จดแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอนี้มีพลเมืองอยู่หนาแน่นมาก มีสถานที่สำคัญและเป็นทำเลการค้าขายเป็นพื้น ถนนสำเพ็ง เยาวราช และราชวงศ์ ซึ่งเป็นถนนที่มีการค้าขายมากก็อยู่ในอำเภอนี้ และพลเมืองส่วนมากเป็นจีน บ้านเรือนเป็นตึก ริมถนนเยาวราชมีตึกงาม ๆ และสูงถึง ๙ ชั้น ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นท่าเรือ มีเรือสำเภาจีน เรือโปะ เรือกลไฟเดิรภายในหัวเมือง ริมทะเลในอ่าวสยาม มาจอดเทียบท่าในท้องที่อำเภอนี้ทั้งสิ้น ปลาทะเลที่จับได้จากปากน้ำจังหวัดสมุทรปราการพวกเรือโปะโดยมากไม่บรรทุกรถไฟ จ้างเรือกลไฟลากมาจำหน่ายเอง และเทียบท่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนนี้ อำเภอนี้อยู่ในแขวงจังหวัดพระนครใต้

(๕) อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ถนนหลวง หลังวัดเทพศิรินทร์ แบ่งท้องที่ออกเป็น ๒๒ ตำบล มีพลเมืองราว ๕๘,๓๓๙ คน มีอาณาเขตต์ติดต่อคือ ตะวันตกต่อจากคลองคูพระนคร ตะวันออกจดคลองผดุงกรุงเกษม ทิศใต้จดถนนเจริญกรุงและถนนพระราม ๔ ต่อกับอำเภอสัมพันธวงศ์ และทิศเหนือจดคลองมหานาคติดต่อกับอำเภอนางเลิ้ง อำเภอนี้มีพลเมืองอาศัยอยู่มากเหมือนกัน มีทำเลการค้าขายมาก มีถนนหลายสาย ริมถนนบางถนนมีตึก บางถนนเป็นบ้านและห้องแถวให้เช่า ยังมีที่ว่างอยู่มาก มีวัดและสถานที่สำคัญอยู่หลายแห่ง อำเภอนี้อยู่แขวงจังหวัดพระนครใต้เหมือนกัน

(๖) อำเภอบางรัก ตั้งที่ว่าการอำเภอที่ถนนนเรศ ซึ่งเป็นถนนซอยระหว่างถนนสี่พระยากับถนนสุริวงศ์ ใกล้ ๆ กับสถานีตำรวจนครบาลบางรัก แบ่งท้องที่อำเภอเป็น ๒๖ ตำบล มีพลเมืองราว ๔๙,๙๗๓ คน เขตต์ท้องที่อำเภอนี้คือ ทิศตะวันตกติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองผดุงกรุงเกษม แต่สะพานเจริญสวัสดิ์จนออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่ข้างธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ทางทิศเหนือต่อจากแนวทางรถไฟสายปากน้ำและคลองหัวลำโพง ทางทิศใต้จดคลองถนนสาทรมีพื้นที่เกือบเป็นรูปสามเหลี่ยม อำเภอนี้แถบบริเวณถนนเจริญกรุงกับแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่ตั้งของธนาคาร บริษัทประกันภัย สำนักงานห้างใหญ่ ๆ ที่ไว้สินค้า โรงภาษีและที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขกลาง นอกจากนี้มีถนนที่ซอยต่อระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนพระราม ๔ สี่สาย คือ ถนนสี่พระยา , สุริย์วงศ์ , สีลม และถนนสาทร และระหว่างถนนซอยเหล่านี้ยังมีถนนซอยเล็ก ๆ อีกมากมาย ตามริมถนนที่กล่าวมานี้มีบ้านงาม ๆ ของคนไทยและชาวต่างประเทศอาศัยอยู่มาก มีคนชาติฝรั่งต่าง ๆ เช่าบ้านตามริมถนนเหล่านี้อยู่มากที่สุดในกรุงเทพฯ และในท้องที่อำเภอนี้เป็นที่ตั้งของสถานทูตต่างประเทศหลายชาติดังจะกล่าวต่อไป อำเภอนี้อยู่ในแขวงจังหวัดพระนครใต้

(๗) อำเภอประทุมวัน ที่ว่าการอำเภอตั้งที่สี่แยกถนนพระราม ๑ กับถนนพญาไทยผ่านกัน ตำบลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งท้องที่เป็นตำบล ๑๗ ตำบล มีพลเมืองราว ๔๖,๙๐๒ คน มี อาณาเขตต์ติดต่อคือ ทางทิศตะวันตกจดคลองผดุงกรุงเกษม ตั้งแต่สะพานเจริญสวัสดิ์ถึงสี่แยกคลอง มหานาค ทางทิศเหนือจดคลองมหานาค ทิศใต้จดแนวรถไฟสายปากน้ำ และทางทิศตะวันออกจดแนวทางรถไฟสายแม่น้ำ (ช่องนนทรี) อำเภอนี้ตอนริมคลองผดุงกรุงเกษมเป็นที่ตั้งสถานีรถไฟกรุงเทพฯ และบริเวณกรมรถไฟหลวงและต่อลงมาจากบริเวณสถานีตลอดจนถึงทุ่งทางรถไฟสายแม่น้ำ (ช่องนนทรี) มีบ้านงาม ๆ และตามข้างถนนมีสถานที่ที่สำคัญหลายอย่าง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถานเสาวภา , โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ , สถานทูตต่างประเทศและบ้านฝรั่งชาติต่าง ๆ อยู่มาก สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ก็ตั้งอยู่ในอำเภอนี้ด้วยแห่ง ๑ ถนนที่จะทำต่อไปจังหวัดสมุทรปราการก็ต่อจากถนนเพลินจิตร์ (พระราม ๑) ในอำเภอนี้ และความขยายตัวของพระนครก็ขยายออกไปทางอำเภอนี้มากเพราะพลเมืองได้ปลูกบ้าน

งาม ๆ ตามทุ่งทางรถไฟสายแม่น้ำมากขึ้นเสมอ อำเภอนี้อยู่ในเขตต์จังหวัดพระนครใต้เหมือนกัน

(๘) อำเภอบ้านทะวาย ที่ว่าการอำเภอตั้งที่เชิงสะพานถนนสาทร ถนนเจริญกรุง แบ่งท้องที่เป็นตำบล ๒๐ ตำบล มีพลเมืองราว ๔๕,๓๘๘ คน มีอาณาเขตต์ติดต่อกันคือ ทิศเหนือติดต่อกับคลองสาทร ทิศใต้ติดต่อแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อจากทุ่งมหาเมฆ ตามทางรถไฟสายแม่น้ำ ทิศตะวันตกติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออกติดต่อกับคลองหัวลำโพง (คลองเตย) อำเภอนี้มีพลเมืองน้อย ตอนที่นับว่าสำคัญคือตอนถนนสาทร และระหว่างถนนเจริญกรุงกับแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะตอนนี้เป็นท่าเรือที่สำคัญหลายแห่ง ทั้งเป็นท่าเรือเดิรติดต่อกับต่างประเทศทั้งสิ้น และมีอู่เรือที่สำคัญด้วย นอกจากนี้มีโรงเลื่อยจักรและโรงสีไฟที่ใหญ่ ๆ ที่เป็นท่าเรือคือ ท่าเรือห้างบอเนียว , อีสเอเซียติก , แองโกลสยาม , โรงเลื่อยของห้างอีสเอเซียติก , อู่บางกอกด๊อก เป็นต้น ท้องที่นอกจากนี้เป็นสวนผลไม้ต่าง ๆ และที่นา อำเภอนี้อยู่ในแขวงจังหวัดพระนครใต้

ท้องที่ทั้ง ๓ แขวงของจังหวัดพระนคร เมื่อเทียบเคียงความสำคัญในทางการค้าขายแล้ว จังหวัดพระนครใต้สำคัญที่สุด เพราะเป็นทำเลที่มีการค้าขาย เป็นที่อยู่ของพ่อค้าและฝรั่งชาติต่างๆ ก็อยู่ในจังหวัดพระนครใต้มาก สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โรงพยาบาลที่สำคัญ , ธนาคาร , สถานทูตต่างประเทศ , ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขกลาง , ท่าเรืออยู่ในเขตต์จังหวัดพระนครใต้ทั้งสิ้น และมีเนื้อที่มากกว่าทั้ง ๒ แขวงรวมกัน จังหวัดพระนครกลางสำคัญที่สุดในการที่เป็นที่ตั้งของกระทรวงต่าง ๆ พระบรมมหาราชวัง มีวัดงาม ๆ และเป็นพระนครเดิม จังหวัดพระนครเหนือสำคัญที่สุดในการที่มีพระที่นั่งงดงาม และวังเจ้านายอยู่มาก

(ข) อำเภอชั้นนอก จังหวัดพระนคร ๔ อำเภอ คือ :

(๑) อำเภอบางซื่อ ตั้งที่ว่าการอำเภอที่ริมสถานีรถไฟหลวงบางซื่อ แบ่งท้องที่เป็นตำบล ๖ ตำบล มีพลเมืองราว ๓๖,๒๙๐ คน มีกำนันผู้ใหญ่บ้าน มีอาณาเขตต์ต่อจากอำเภอดุสิตขึ้นไปทางทิศเหนือ ท้องที่อำเภอนี้มีพลเมืองน้อย กรมทหารม้า , ทหารปืนใหญ่ , ทหารราบ , สื่อสาร , มีโรงงานกรมช่างแสงทหารบก , โรงงานทำเครื่องประกอบเครื่องบินของกรมอากาศยาน , โรงปูนซิเมนท์ และที่ทำน้ำประปาก็อยู่ในอำเภอนี้ ท้องที่อำเภอนี้มีท้องนาทางทิศตะวันออกและทิศเหนือ มีพลเมืองออกไปทำไร่ผักและสร้างบ้านเรือนเพิ่มขึ้นเสมอ เป็นอำเภอหนึ่งที่ขยายตัวแห่งพระนครให้กว้างขวางออกไปเหมือนกัน

(๒) อำเภอบางเขน ที่ว่าการอำเภอตั้งที่ข้างวัดบางเขน ใกล้กับตลาดบางเขน ไปจากพระนครได้โดยทางรถไฟสายเหนือ ลงที่สถานีบางเขน แบ่งท้องที่เป็นตำบล ๕ ตำบล มีพลเมืองราว ๑๐,๙๐๕ คน มีกำนันผู้ใหญ่บ้านอาณาเขตต์ทางทิศใต้ติดต่อกับอำเภอบางซื่อ ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดนนทบุรี ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดมีนบุรี และทางทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดธัญญะบุรี มณฑลอยุธยาท้องที่อำเภอนี้เป็นท้องนาทั้งสิ้น เว้นไว้แต่ริมทางรถไฟมีไร่ผักอยู่บ้าง ที่ดอนเมืองเป็นที่ตั้งกรมอากาศยานทหารบก มีสนามบินที่ดี มีโรงเรียนฝึกหัดการบินเบื้องต้น มีโรงไว้เครื่องบิน ที่หลักสี่มีสถานีวิทยุของกรมไปรษณีย์โทรเลขขนาดใหญ่เปิดใช้เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่บางเขนมีตลาดขายของและเป็นตลาดขายเข้า มีของเบ็ดเตล็ดต่างๆ ขายรูปร่างตลาดคล้าย ๆ ตลาดบางบัวทอง หรือตลาดจังหวัดมีนบุรี หรือตลาดดอนเมือง ที่ปากคลองบางเขนที่ออกแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นตลาดผลไม้ที่มาจากสวนเรียกว่า ตำบลตลาดแก้ว

(๓) อำเภอบางกะปิ ที่ว่าการอำเภอตั้งที่ริมคลองแสนแสบฝั่งเหนือ แบ่งท้องที่เป็นตำบล ๙ ตำบล มีพลเมืองราว ๑๘,๖๖๔ คน มีกำนันผู้ใหญ่บ้าน อาณาเขตต์อยู่ทางภาคตะวันออกแห่งพระนคร มีเขตต์ติดต่อกับจังหวัดมีนบุรี ท้องที่อำเภอนี้เป็นที่นาทั้งสิ้น จากพระนครจะไปอำเภอนี้ได้โดยทางเรือ ไปลงเรือที่เชิงสะพานเฉลิมโลก มีเรือเดิรไปมาประจำอยู่เสมอ

(๔) อำเภอพระโขนง ตั้งที่ว่าการอำเภอที่ข้างวัดสะพานริมสถานีรถไฟพระโขนง ริมทางรถไฟสายปากน้ำ แบ่งท้องที่เป็น ๑๑ ตำบล มีพลเมืองราว ๒๘,๐๔๒ คน ท้องที่เป็นที่สวนตอนริมแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้เป็นที่นาทั้งสิ้นอยู่พระนครจะไปอำเภอนี้ ไปได้โดยรถไฟสายปากน้ำ

๒. อำเภอจังหวัดธนบุรี

(พลเมืองสำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ มีราว ๑๗๗,๙๘๙ คน)

(ก) อำเภอชั้นใน ๖ อำเภอ คือ :

(๑) อำเภอบางพลัด ที่ว่าการอำเภอตั้งที่วัดอาวุธวิกสิตาราม ปากคลองบางพลัด ตรงข้ามกับโรงไฟฟ้าหลวงสามเสน แบ่งท้องที่เป็นตำบล ๑๘ ตำบล มีพลเมืองราว ๑๕,๒๓๘ คน อำเภอนี้อยู่ในแขวงจังหวัดธนบุรีเหนือ อาณาเขตต์ตามคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือ ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือจดอำเภอตลิ่งชัน และอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ตะวันออกตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอนี้ไม่มีถนน มีทางหลวงเล็ก ๆ ตัดเลาะไปตามบ้านและสวนผลไม้ต่าง ๆ ส่วนหนึ่งของบางบำหรุซึ่งขึ้นชื่อว่ามีสัปปะรดมาก และบางยี่ขันขึ้นชื่อเรื่องเงาะอยู่ในท้องที่อำเภอนี้ สถานีต้นทางรถไฟสายบางบัวทองก็ตั้งต้นจากริมวัดบวรมงคล (วัดลิงขบ) ตรงข้ามกับปากคลองผดุงกรุงเกษม (บน) ในอำเภอนี้เหมือนกัน ท้องที่หาที่ว่างไม่ค่อยมี เต็มไปด้วยสวนผลไม้ทั้งนั้น

(๒) อำเภอบางกอกน้อย ที่ว่าการอำเภอที่ตั้งที่วัดสุวรรณาราม (วัดทอง) ริมคลองบางกอกน้อยตำบลตลาดบ้านบุอาณาเขตต์ทางทิศเหนือตามคลองบางกอกน้อย ทิศตะวันตกจดอำเภอตลิ่งชัน ตะวันออกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศใต้จดอำเภอบางกอกใหญ่ แบ่งท้องที่เป็นตำบล ๑๙ ตำบล มีพลเมืองราว ๒๐,๗๖๙ คน ในอำเภอนี้มีแนวถนน (แต่รถเดิรไม่ได้) ตั้งแต่คลองมอญหลังกระทรวงทหารเรือตลอดมาจนผ่านหลังโรงพยาบาลศิริราช ริมถนนนี้มีตลาดสำคัญเรียกว่า ตลาดบ้านขมิ้น ท้องที่อำเภอนี้มีสวนและที่ว่างเปล่ามาก และเป็นอำเภอที่มีสถานที่สำคัญ เช่น เป็นที่ตั้งกระทรวงทหารเรือ , โรงพยาบาลศิริราช และสถานีรถไฟบางกอกน้อย ตำบลบางขุนนนท์เป็นที่กรมเพาะปลูกสร้างตัวอย่างสวน มีพรรณรุกข์ชาติต่าง ๆ ปลูกทดลองไว้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร และนอกจากนี้ตำบลนี้ขึ้นชื่อในการที่มีทุเรียนชนิดดีด้วย อำเภอนี้อยู่ในแขวงจังหวัดธนบุรีเหนือเหมือนกัน

(๓) อำเภอบางกอกใหญ่ ที่ว่าการอำเภอที่ตั้งที่ข้างหน้าวัดหงสรัตนาราม ริมคลองบางกอกใหญ่ แบ่งท้องที่เป็นตำบล ๑๕ ตำบล มีพลเมืองราว ๑๓,๗๓๐ คน อาณาเขตต์ทางคลองบางกอกใหญ่ขึ้นไปทางเหนือจดแนวคลองมอญ บรรจบคลองบางกอกน้อยที่คลองเสาบางเสาธงกับคลองบางเชือกหนังติดกับแม่น้ำเดิม ท้องที่อำเภอนี้ไม่มีถนนดีเลย มีแต่ทางเดิรเท่านั้น มีสวนและที่ว่างอยู่มาก มีวัดและสถานที่สำคัญหลายอย่าง เช่น พระราชวังเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งบัดนี้เป็นโรงเรียนนายทหารเรือ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และพระพุทธปรางค์ , ป้อมวิชัยประสิทธิ์ปากคลองบางกอกใหญ่ เป็นต้น ที่ตำบลเจริญพาศน์มีสะพานคอนกรีตข้ามคลองบางกอกใหญ่ เชื่อมทางคมนาคมทางบกระหว่างจังหวัดธนบุรีเหนือกับจังหวัดธนบุรีใต้ ท้องที่อำเภอนี้อยู่ในแขวงจังหวัดธนบุรีเหนือ

(๔) อำเภอคลองสาน ที่ว่าการอำเภอตั้งที่วัดทองนพคุณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับวัดปทุมคงคาทางฝั่งพระนคร แบ่งท้องที่เป็นตำบลทั้งสิ้น ๑๗ ตำบล มีพลเมืองราว ๒๔,๔๔๕ คน อาณาเขตต์ทิศเหนือนับจากปากคลองบางกอกใหญ่จนปากคลองบางไส้ไก่ลงมาทางใต้ ทิศตะวันตกตามแนวคลองบางไส้ไก่วกมาทิศใต้ออกแม่น้ำเจ้าพระยา ตะวันออกติดต่อแม่น้ำเจ้าพระยา ภูมิประเทศอำเภอนี้ตอนเหนือมีบ้านขุนนางข้าราชการงดงามหลายแห่ง เมื่อการตัดถนนในจังหวัดธนบุรีเสร็จแล้ว ท้องที่อำเภอนี้จะเจริญมากกว่าอำเภออื่น ๆ เพราะสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ที่สร้างเชื่อมพระนครกับธนบุรีก็สร้างในท้องที่อำเภอนี้ นอกจากนี้ยังมีวัดและสิ่งสำคัญหลายอย่าง เช่น วัดกัลยาณมิตร , วัดพิชัยญาติ , วัดประยูรวงศ์ , โบสถ์ฝรั่ง (กุฎีจีน) และเสาธงสัญญาณที่ป้อมป้องปัจจามิตร์ที่ปากคลองสาน โรงพยาบาลโรคจิตร์ที่ตำบลปากคลองสานก็ตั้งอยู่ในอำเภอนี้ ตอนใต้หลังบ้านต่อจากลำแม่น้ำออกไปมีสวนผลไม้ต่าง ๆ ริมแม่น้ำ มีบ้านงาม ๆ โรงเลื่อยโรงสีเป็นอันมาก มีเรือสินค้ามาจอดบรรทุกเข้าสารอยู่เสมอ สถานีต้นทางของรถไฟสายแม่กลองของบริษัทซึ่งตั้งอยู่ข้างปากคลองสานริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับคลองผดุงกรุงเกษม หรือธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ก็ตั้งอยู่ในอำเภอนี้ อำเภอนี้อยู่ในแขวงจังหวัดธนบุรีใต้

(๕) อำเภอบุคคโล ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่หลังวัดบุคคโล ตำบลบุคคโล แบ่งท้องที่เป็นตำบล ๑๐ ตำบล มีพลเมืองราว ๑๐,๔๗๕ คน อาณาเขตต์ต่ออำเภอคลองสานลงไปทางใต้จนจดคลองบางปะแก้ว จดเขตต์จังหวัดพระประแดง ท้องที่อำเภอนี้มีสวนทั่วไปไม่มีถนน มีทางเดิรไปตามขนัดสวนต่อเนื่องจากอำเภอคลองสาน ตอนริมแม่น้ำเจ้าพระยามีโรงสีไฟใหญ่ ๆ หลายโรง และมีท่าเรือสำหรับเรือสินค้าที่มาบรรทุกข้าวสารจอด อำเภอนี้อยู่ในแขวงจังหวัดธนบุรีใต้

(๖) อำเภอบางยี่เรือ ที่ว่าการอำเภอตั้งที่วัดราชคฤห์ (วัดบางยี่เรือเหนือ) ในคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้ แบ่งท้องที่เป็นตำบล ๕ ตำบล มีพลเมืองราว ๑๕,๙๓๖ คน อาณาเขตต์ต่ออำเภอคลองสานไปทางตะวันตกตามแนวคลองบางไส้ไก่ ทางใต้จดกับอาณาเขตต์อำเภอบางขุนเทียน ทิศตะวันตกจดคลองด่าน ทิศเหนือจดคลองบางกอกใหญ่ ท้องที่อำเภอนี้ ตอนริมคลองบางกอกใหญ่มีโรงสีและตลาดสำคัญคือตลาดพลู นอกจากนี้มีสวนผลไม้ต่าง ๆ และมีของสวนที่สำคัญขึ้นชื่อคือพลู ในท้องที่อำเภอนี้และอำเภอบางขุนเทียนมีการปลูกพลูตามร่องสวนมาก ตลาดพลูจึงเป็นศูนย์กลางของพลู อำเภอนี้อยู่ในแขวงจังหวัดธนบุรีใต้

(ข) อำเภอชั้นนอก ๓ อำเภอ คือ :

(๑) อำเภอตลิ่งชัน ที่ว่าการอำเภอตั้งที่ริมคลองตลิ่งชัน (แม่น้ำเจ้าพระยาเดิม) ข้ามทางรถไฟสายบางกอกน้อย แบ่งท้องที่เป็นตำบล ๘ ตำบล มีพลเมืองราว ๑๔,๖๗๑ คน อาณาเขตต์ของอำเภอนี้คือ อาณาเขตต์ต่อไปทางทิศตะวันตกของอำเภอนี้คือ อาณาเขตต์ต่อไปทางทิศตะวันตกของอำเภอบางกอกน้อยและอำเภอบางพลัด ตอนริมคลองบางกอกน้อย ริมคลองตลิ่งชัน และริมคลองบางระมาด (ตอนจะออกคลองบางกรวยและแม่น้ำอ้อม) มีสวนผลไม้ ส่วนหนึ่งของบางบำหรุซึ่งขึ้นชื่อว่ามีสัปปะรดดีก็มาขึ้นอยู่ในอำเภอนี้ ตอนนอก ๆ ออกไปเป็นท้องนาและไร่ผักจนจดจังหวัดนครปฐมมณฑลนครชัยศรี ริมทางรถไฟสายใต้มีไร่ผักซึ่งพวกจีนไปทำอยู่มาก ในอำเภอนี้มีสถานีชุมทางหรือทางแยกของรถไฟสายใต้มาข้ามสะพานพระราม ๖ เข้ามายังสถานีกรุงเทพฯ

(๒) อำเภอภาษีเจริญและกิ่งหนองแขม ที่ว่าการอำเภอตั้งที่วัดรางบัวริมคลองภาษีเจริญตอนใน อยู่จังหวัดพระนครจะไปยังที่ว่าการอำเภอนี้ คือลงเรือยนตร์ซึ่งเดิรในคลองบางกอกใหญ่ไปขึ้นที่ประตูน้ำภาษีเจริญ มีทางเดิรไปยังวัดรางบัวก็ถึงที่ว่าการอำเภอทีเดียว และยังมีกิ่งอำเภอหนองแขมขึ้นอำเภอภาษีเจริญอีกกิ่งหนึ่ง ตั้งที่ว่าการกิ่งที่ริมคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือตำบลหนองแขม รวมตำบลทั้งอำเภอมี ๑๓ ตำบล มีพลเมืองราว ๓๒,๑๓๙ คน อาณาเขตต์ทางทิศเหนือต่อกับอำเภอตลิ่งชัน มีคลองบางเชือกหนังเป็นอาณาเขตต์ ทางทิศใต้และทิศตะวันตกจดจังหวัดสมุทรสาคร มณฑลนครชัยศรี ทิศตะวันออกจดอำเภอบางยี่เรือและอำเภอบางขุนเทียน ท้องที่อำเภอนี้ตามคลองตอนในมีสวนผลไม้ต่าง ๆ มาก ตอนนอกเป็นท้องนาทั้งสิ้น

(๓) อำเภอบางขุนเทียน ที่ว่าการอำเภอตั้งที่ข้างวัดราชโอรส (วัดจอมทอง) ริมทางรถไฟสายท่าจีน หรือริมคลองด่านตอนจะออกสามแยกคลองด่าน คลองดาวคะนองและคลองมหาชัยต่อกัน อยู่จังหวัดพระนครจะไปที่ว่าการอำเภอนี้ ต้องขึ้นรถไฟสายท่าจีนที่ปากคลองสาน หรือไปเรือในคลองบางกอกใหญ่ขึ้นรถไฟที่ตลาดพลูไปลงที่สถานีวัดจอมทองก็ถึงที่ว่าการอำเภอทีเดียว แบ่งท้องที่เป็นตำบล ๑๓ ตำบล มีพลเมืองราว ๒๖,๕๘๖ คน อาณาเขตต์อำเภอนี้อยู่ทางใต้ของอำเภอบางยี่เรือและอำเภอภาษีเจริญ ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอคลองสานและอำเภอบุคคโล ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการ ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาคร พื้นที่มีสวนมากและมีผลไม้ที่ขึ้นชื่อคือ ส้มเขียวหวานที่ตำบลบางมดก็อยู่ในท้องที่อำเภอนี้”

จะเห็นได้ว่า สภาพของฝั่งธนบุรีนั้นมิได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์แต่อย่างใด จนกระทั่วคราวสมโภชพระนครครบ ๑๕๐ ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์เชื่อมการคมนาคมระหว่างกรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งตะวันออกกับฝั่งธนบุรี ระหว่างการดำเนินงานสร้างสะพานกระทรวงมหาดไทยได้จัดทำโครงการตัดถนนฝั่งธนบุรีทั้งสายใหญ่และสายเล็กรวม ๑๐ สาย เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางมาสู่สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ได้ ฝั่งธนบุรี จึงเริ่มมีความเจริญเยี่ยงฝั่งตะวันออกแต่นั้นมา

ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัดลงเป็นจำนวนมาก เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ ประกาศครั้งนี้ สำหรับท้องที่ในกรุงเทพพระมหานคร จังหวัดมีนบุรี และจังหวัดพระประแดงถูกยุบลงเป็นอำเภอ โดยจังหวัดมีนบุรียุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดพระนคร เว้นท้องที่อำเภอหนองจอกให้ไปขึ้นกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนจังหวัดพระประแดงยุบลงเป็นอำเภอไปขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ เว้นอำเภอราษฎร์บูรณะให้ไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี ต่อมาในวันที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ก็ได้มีประกาศโอนอำเภอหนองจอกมาขึ้นกับจังหวัดพระนครอีกอำเภอหนึ่ง

ในพุทธศักราช ๒๔๗๖ ได้มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยามขึ้น ตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลให้มณฑลเทศาภิบาลต้องยกเลิกไป การบริหารราชการของแต่ละจังหวัดจึงขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยโดยตรงทุกจังหวัด

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งเทศบาลนครกรุงเทพฯ และเทศบาลนครธนบุรีขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๗๙ มีผลทำให้มีการจัดรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดขึ้นในลักษณะของ “เทศบาล”

เขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ และเขตเทศบาลนครธนบุรี ต่อมาได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงขยายออกไปอีกหลายครั้งให้เหมาะสมแก่ความเจริญของบ้านเมือง ส่วนเขตพื้นที่ของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีมิได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

รูปกรุงเทพฯ ในอดีต

ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๑๔ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช รัชกาลปัจจุบัน คณะปฏิวัติซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้า ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔ ให้รวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งจังหวัดและเรียกว่า “นครหลวงกรุงเทพธนบุรี” ตำแหน่งผู้ว่าราชการนครหลวงกรุงเทพธนบุรี” และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๕ ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔ ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพฯ และเทศบาลนครธนบุรี เป็นเทศบาลสำหรับนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเรียกว่า “เทศบาลนครหลวง” เขตการปกครองกรุงรัตนโกสินทร์จึงรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวอีกครั้งหนึ่ง ขณะนั้นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีมีพื้นที่ ๑,๕๖๘.๗๔ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๙๘๐,๔๖๒.๕ ไร่

กรุงรัตนโกสินทร์ได้รับขนานนามว่า นครหลวงกรุงเทพธนบุรีเพียง ๑ ปี ก็ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ ให้เรียกนครหลวงของอาณาจักรไทยว่า “กรุงเทพมหานคร” มีฐานะเป็นจังหวัด มี “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงานตามนโยบายของรัฐบาล มติคณะรัฐมนตรี และคำสั่งของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ โดยมีเหตุผลว่า นครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นมหานคร มีประชากรอยู่หนาแน่นและเป็นศูนย์รวมของกิจการต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดรูปการปกครองและการบริหารให้มีลักษณะพิเศษ เพื่อให้การพัฒนานครหลวงกรุงเทพธนบุรีมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ประกาศคณะปฏิวัติดังกล่าวได้ระบุให้มีสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งเขตละหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง มีจำนวนเท่ากับจำนวนเขตในกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะเป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา ร่างข้อบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานครแล้ว เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเทศกิจจานุเบกษาของกรุงเทพมหานครแล้วให้ใช้บังคับได้ พื้นที่กรุงเทพมหานครให้แบ่งออกเป็นเขต มีหัวหน้าเขตเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขต

อาณาเขตของกรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพมหานครนี้ ยังมีขนาดเท่าเดิมคือ ๑,๕๖๘.๗๔ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็นเขตรวม ๒๔ เขต คือ (๑) พระนคร (๒) ดุสิต (๓) พญาไท (๔) พระโขนง (๕) หนองจอก (๖) ลาดกระบัง (๗) บางเขน (๘) ห้วยขวาง (๙) บางกะปิ (๑๐) มีนบุรี (๑๑) ยานนาวา (๑๒) ปทุมวัน (๑๓) ป้อมปราบศัตรูพ่าย (๑๔) สัมพันธวงศ์ (๑๕) บางรัก) (เขตที่ ๑ - ๑๕) อยู่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นอำเภอในท้องที่จังหวัดพระนคร) (๑๖) ธนบุรี (๑๗) คลองสาน (๑๘) ราษฎร์บูรณะ (๑๙) บางกอกน้อย (๒๐) บางกอกใหญ่ (๒๑) ตลิ่งชัน (๒๒) บางขุนเทียน (๒๓) หนองแขม (๒๔) ภาษีเจริญ (เขตที่ ๑๖ - ๒๔ อยู่ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นอำเภอในท้องที่จังหวัดธนบุรี)

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ จึงได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นทบวงการเมืองมาจนปัจจุบัน

ก รุ ง รั ต น โ ก สิ น ท ร์ ใ น ปั จ จุ บั น

รูปโรงภาพยนต์ ราโด้

ความเจริญของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร

มหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนาขึ้นเป็นราชธานี พร้อมกับการสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๕ และสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ได้ทรงสืบพระบรมราโชบายสร้างสรรค์กรุงรัตนโกสินทร์ให้วัฒนาถาวรขึ้นเป็นลำดับ สมเป็นศรีพระนคร มีความสง่างามปรากฏไปในนานาประเทศ ยังประโยชน์สุขแก่พสกนิกรชาวไทยและผู้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารทั่วหน้าแม้จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ รัฐบาลที่บริหารประเทศก็ได้รับสนองพระบรมราชโองการสืบแทนต่อมาจนกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุบรรจบครบ ๒๐๐ ปีแล้วนั้น กรุงรัตนโกสินทร์ก็ต้องประสบกับปัญหาเช่นเดียวกับมหานครใหญ่อื่น ๆ ที่ความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันกลับเป็นสิ่งกัดกร่อนบั่นทอนตนเอง ด้วยสภาพธรรมชาติ ความสง่างาม ความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพระนครได้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหานานัปการ อันยากแก่การแก้ไขในระยะเวลาอันสั้น อีกประการหนึ่ง กรุงรัตนโกสินทร์ได้เจริญขึ้นในลักษณะของความเป็นแหล่งรวมความเจริญและสถาบันสำคัญทั้งปวงของชาติ เป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่างของประเทศ อาทิ ศูนย์กลางการบริหารประเทศ ศูนย์กลางการท่องเที่ยว ศูนย์กลางการอุตสาหกรรม ศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ ศูนย์กลางการศึกษา ศูนย์กลางการทหาร ศูนย์กลางเศรษฐกิจและการพาณิชย์ ศูนย์กลางการจ้างงาน ศูนย์กลางงานราชการต่าง ๆ ของประเทศ และทั้งเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรไทยด้วย สภาพของกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันจึงเป็นเสมือนเมืองเอกหรือเอกนคร (primate city) ที่เป็นหัวใจของประเทศ เป็นเมืองเดียวที่มีขนาดใหญ่และควบคุมความสำคัญต่าง ๆ เหนือกว่าเมืองที่อยู่ในอันดับรองลงไปอย่างมาก และหากเกิดภาวะคับขันชะงักงันประการใดขึ้นในเมืองเอกนี้แล้ว ย่อมส่งผลกระทบไปทั้งประเทศ อันเป็นจุดอ่อนสำคัญที่การแก้ปัญหาใด ๆ จักต้องดำเนินไปด้วยความระมัดระวังเพราะสาเหตุของปัญหานั้น จะเป็นเงื่อนไขที่เกี่ยวโยงถึงกันตลอด

ความเจริญเติบโตของกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดช่วงเวลา ๒๐๐ ปีที่ได้กล่าวพรรณนามาข้างต้น มีสถิติของกองการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และของกองผังเมือง กรุงเทพมหานคร ปรากฏว่า

กรุงรัตนโกสินทร์เมื่อแรกสถาปนาในพุทธศักราช ๒๓๒๕–๒๓๒๘ เนื้อที่ ๒,๕๘๙ ไร่

พุทธศักราช ๒๔๔๓ ประชากร ๖๐๐,๐๐๐ คน เนื้อที่ ๘,๓๓๐ ไร่

พุทธศักราช ๒๔๘๐ ประชากร ๘๙๐,๔๕๓ คน เนื้อที่ ๖๑,๗๓๖.๒๕ ไร่

พุทธศักราช ๒๔๙๙ ประชากร ๑.๗๗๓๓ ล้านคน เนื้อที่ ๑๐๙,๘๔๑.๘๗๕ ไร่

พุทธศักราช ๒๕๐๐ ประชากร ๑.๙๐๘๑ ล้านคน เนื้อที่ ๑๐๙,๘๔๑.๘๗๕ ไร่

พุทธศักราช ๒๕๑๐ ประชากร ๓.๑๒๓๖ ล้านคน เนื้อที่ ๑๐๙,๘๔๑.๘๓๕ ไร่

พุทธศักราช ๒๕๑๕ ประชากร ๓.๗๙๓๗ ล้านคน เนื้อที่ ๑๐๙,๘๔๑.๘๓๕ ไร่

พุทธศักราช ๒๕๒๕ ประชากร ๕.๔๖๘๒ ล้านคน เนื้อที่ ๙๘๐,๔๖๐.๖๒๕ ไร่

จะเห็นได้ว่า ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ จำนวนประชากรของกรุงรัตนโกสินทร์เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ เพราะอัตราเกิดและอัตราตายยังอยู่ในระดับสูง ทำให้อัตราการเพิ่มของประชากรต่ำประมาณร้อยละ ๔.๗ ต่อปี แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง จำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะอัตราการตายลดต่ำลง เนื่องจากเทคนิควิทยาการทางการแพทย์สาธารณสุขในขณะที่อัตราเกิดยังสูงอยู่ พร้อมกันนี้ได้มีผู้อพยพจากหัวเมืองเข้ามาแสวงหางานและความเจริญก้าวหน้าในชีวิตในพระนครอีกด้วย และหลังจากการที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้มีโครงการปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ เป็นต้นมา การเพิ่มของประชากรในนครหลวงจึงยิ่งทบทวี กรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันจึงต้องเผชิญกับปัญหาใหม่ ๔ ประการ คือ ปัญหาความแออัดของอาคารและสิ่งก่อสร้าง ปัญหาการจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ และปัญหาน้ำท่วมและการทรุดตัวของแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์

รูปกรุงเทพฯ ในอดีต

ปัญหาแรก คือ ปัญหาความแออัดของอาคารและสิ่งก่อสร้าง

เกิดขึ้นจากการที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบการปกครองกรุงรัตนโกสินทร์มีเพียงเทศบัญญัติหรือที่ในปัจจุบัน เรียกว่า ข้อบัญญัติสำหรับควบคุมการก่อสร้าง ไม่มีกฎหมายควบคุมการใช้ที่ดิน จึงได้แต่เพียงควบคุมความมั่นคงแข็งแรงของตัวอาคาร ส่วนที่ดินในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเอกชนนั้น กฎหมายได้ให้อำนาจผู้เป็นเจ้าของมีสิทธิที่จะใช้ที่ดินของตนเองไม่ว่ากรณีใด ๆ จึงทำให้บุคคลที่มีที่ดินก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ได้ตามความต้องการเพื่อประโยชน์ส่วนตน กฎหมายในการเวนคืนที่ดินก็ค่อนข้างจะใช้เวลานาน และถ้าไม่เกี่ยวกับกิจการที่สำคัญจริง ๆ แล้ว ทางราชการจะไม่เวนคืนที่ดินเพราะมีปัญหาด้วยเรื่องงบประมาณในการจ่ายเงินชดเชย กรุงรัตนโกสินทร์จึงเติบโตอยู่ภายใต้อิทธิพลของเอกชน การใช้ประโยชน์ของที่ดินไม่มีระเบียบและไม่ประหยัด ทำให้ประสิทธิภาพของที่ดินเสียไป มีการปลูกสร้างอาคารกันตามใจชอบ จึงปรากฏว่าในย่านกลางเมืองมีอาคารหลายชนิดเข้าไปตั้งอยู่ เช่น คลังเก็บสินค้า โรงงาน ตลาดกลาง สนามกีฬา สนามแข่งม้า สถานีรถไฟ โรงเรียน ฯลฯ ตึกแถวก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นย่านการค้ากระจัดกระจายอยู่ทั่วกรุงรัตนโกสินทร์ สภาพย่านการค้าแต่ละแห่งแออัดเบียดเสียด อาคารสูง ๆ ต่ำ ๆ ขาดความเป็นระเบียบ ความงามและความกลมกลืนทางสถาปัตยกรรม การปลูกสร้างอาคารส่วนใหญ่นิยมวางอาคารไปตามความยาวของสองฟากถนนสายสำคัญชิดขอบทางเท้าทำให้ที่ดินเฉพาะด้านที่ติดถนนมีคุณค่าในทางการค้า ถนนจึงแคบและคับคั่งด้วยการจราจร ทั้งยังต้องใช้เป็นที่จอดรถด้วย ส่วนบริเวณที่ดินด้านหลังตึกแถว ซึ่งถูกปิดกั้นและถูกทำลายสภาพแวดล้อม ได้รับบริการสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ ราคาจึงตกต่ำ และแปรสภาพเป็นแหล่งเสื่อมโทรมไปในที่สุด

จากการสำรวจเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ ปรากฏว่ามีประชากรถึงร้อยและ ๒๐ อาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม

การขยายตัวของกรุงรัตนโกสินทร์ออกไปยังบริเวณรอบนอกแถบถนนสุขุมวิท ถนนพหลโยธิน บางกะปิ บางแค จึงเกิดขึ้นจากความจำเป็นในเรื่องที่อยู่อาศัย มีการจัดสรรที่ดินและอาคารเช่าซื้อกันเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ดำเนินการโดยองค์การของรัฐบาลและเอกชน แต่โดยที่ยังขาดมาตรฐานและกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่เหมาะสมเป็นแนวทางปฏิบัติ ที่จัดสรรและอาคารเช่าซื้อบางแห่งจึงมิได้คำนึงถึงการจัดสาธารณูปโภคที่เหมาะสมครบถ้วนเพียงพอ มีการตัดถนนขยายบริเวณชานเมืองโดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นทางผังเมือง ขนาดถนนภายในแคบเกินไป ไม่มีทางเดินเท้า ทางระบายน้ำ ขนาดที่ดินไม่ได้สัดส่วนกับอาคารที่ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินนั้น ขาดบริเวณสวนและสนามสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น อันจะทำให้บริเวณเหล่านี้กลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรมย่อย ๆ ในอนาคต

ความแออัดของอาคารและสิ่งก่อสร้างในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์นี้ จุดที่สำคัญที่สุด คือ บริเวณระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นบริเวณเมืองเก่าแรกกำเนิดของกรุงรัตนโกสินทร์ อันมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น มีการใช้ที่ดินแออัดกว่าบริเวณที่ขยายออกไปในตอนหลัง ๆ เป็นย่านธุรกิจที่ตกต่ำร่วงโรย และเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการสำคัญ ๆ วัดวาอาราม ปูชนียสถาน และพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นศิลปสมบัติอันล้ำค่าของกรุงรัตนโกสินทร์ที่ควรได้รับการอนุรักษ์ปรับปรุงโดยเร่งด่วน

รูปแสดง สภาพจราจรในอดีต

ปัญหาประการที่สองคือ ปัญหาการจราจร

โดยที่กรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยก่อนใช้การสัญจรทางน้ำเป็นสำคัญ จึงมีถนนหลักเพียงไม่กี่เส้นทางและขนาดถนนไม่กว้างนัก นอกนั้นเป็นทางเท้าและตรอกแคบ ๆ วกเวียนเป็นจำนวนมาก แต่กรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันเป็นเมืองคู่ที่แบ่งแยกโดยแม่น้ำเจ้าพระยา ความจำเป็นในการเชื่อมต่อระหว่างเมืองทั้งสองจึงอยู่ในระดับสูง และเป็นยุคของการใข้รถยนต์เป็นสื่อสำคัญในการสัญจรพื้นฐานของประชากรในกรุงรัตนโกสินทร์ ใน ๓ ลักษณะ คือ ลักษณะแรก การเดินทางประจำวันที่เริ่มจากนอกเมืองมาสิ้นสุดลงที่ใดที่หนึ่งในตัวเมือง และส่วนมากจะจบลงที่ย่านใจกลางธุรกิจการค้าภายในเมือง ลักษณะที่สอง การเดินทางประจำวันที่เริ่มจากภายในตัวเมืองแล้วไปสิ้นสุดลง ณ ที่ใดที่หนึ่งภายในตัวเมืองเดียวกันนั่นเอง และลักษณะสุดท้ายคือการเดินทางประจำวันที่เริ่มจากในเมืองออกไปยังนอกเมืองรอบ ๆ แต่การเดินทางประเภทนี้มีน้อย โดยทั่ว ๆ ไปมักจะไปยังโรงงานหรือสำนักงานที่ตั้งอยู่ชานเมือง

โดยที่ถนนสายหลักสู่ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ขาดระบบการเชื่อมต่อถึงกัน การสัญจรจากทิศหนึ่งไปยังอีกทิศหนึ่ง จึงต้องอ้อมผ่านเข้ามาในตัวเมือง ประกอบกับระบบถนนที่มีอยู่เป็นแบบธรรมดา ทุกทางแยกรถวิ่งตัดกันในระดับเดียวและต้องจอดคอยสัญญาณไฟ เมื่อมีรถมากการจราจรจึงติดขัดต่อเนื่องกันไปทั้งหมด นอกจากนั้นซอยต่างๆ ที่ไม่ได้มีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นถนนสายหลัก หากเป็นเพียงเส้นทางที่จะให้ยานพาหนะจากย่านที่อยู่อาศัยออกมาสู่ถนนใหญ่ แต่บังเอิญไปเชื่อมระหว่างถนนสายหลักจากสายหนึ่งถึงอีกสายหนึ่งได้ จึงทำให้ซอยนั้นกลายเป็นเส้นทางสัญจรหลักไป ในที่สุดก็กลายเป็นถนนแคบที่เป็นสาเหตุปัญหาการจราจรอีกอย่างหนึ่ง

นอกจากนี้ ในบางส่วนของกรุงรัตนโกสินทร์ ระยะห่างของถนนสายหลักแต่ละสายห่างกันมาก ทำให้เกิดผืนที่ดินขนาดใหญ่ การตัดถนนซอยสำหรับบริเวณที่พักอาศัยซึ่งอยู่ลึกจากถนนใหญ่ และอยู่ด้านหลังอาคารแถว จึงถูกตัดจากถนนใหญ่ ลึกเข้าไปทั้งสองข้างมีลักษณะคับแคบคดเคี้ยวไปมา ไม่ได้มาตรฐานขนาดชุมชนในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ถนนซอยเปล่านี้จะห่างกัน ๕๐ - ๑๕๐ เมตร กว้าง ๔– ๕ เมตร ยาวตั้งแต่ ๖๐๐ - ๒,๐๐๐ เมตร อันก่อให้เกิดสภาพการจราจรติดขัดบริเวณปากซอยในชั่วโมงเร่งด่วน

การขาดแคลนที่จอดรถก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกิดการจราจรติดขัด ดังได้กล่าวแล้วว่า ในย่านธุรกิจ การปลูกสร้างอาคาร ร้านค้า และบ้านเรือน มักจะปลูกชิดขอบถนน ผิวการจราจร จึงต้องใช้เป็นที่จอดรถยนต์ กรุงเทพมหานครจึงต้องออกกฎหมายห้ามการจอดรถบนถนนบางสายในชั่วโมงเร่งด่วน กำหนดให้เดินรถทางเดียว กำหนดทางวิ่งเฉพาะรถประจำทาง ตลอดจนกำหนดเวลาห้ามรถบรรทุกสิบล้อวิ่ง อันเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

การไม่มีกฎหมายควบคุมการใช้ที่ดินมาแต่แรก อันก่อให้เกิดปัญหาความแออัดของอาคารและสิ่งก่อสร้างนั้น ได้ส่งผลกระทบถึงปัญหาการจราจรคับคั่งด้วย กรุงรัตนโกสินทร์มีย่านรับส่งสินค้า ตลาดกลาง โกดังสินค้ากระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะแถบใจกลางเมืองสถานีรถไฟกรุงเทพฯ เมื่อแรกสร้างนั้นเป็นเขตชานเมือง แต่ในปัจจุบันความเจริญของเมืองได้ขยายตัวโอบล้อมไว้จนกลายเป็นย่านกลางเมือง ทุกวันนี้สถานีรับส่งผู้โดยสาร เขตสับเปลี่ยน โรงซ่อม โรงรถจักร สถานีขนถ่ายสินค้า ซึ่งมีพื้นที่รวมกันนับพันไร่ ส่วนใหญ่ยังคงตั้งอยู่ที่เดิมแต่ครั้งเมื่อสร้าง และยังคงเป็นชุมทางรถไฟสู่สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายตะวันออก และสายใต้ มีรถไฟเข้าออกวันหนึ่ง ๆ นับร้อยขบวน การจราจรบนถนนทุกสายที่ตัดผ่านทางรถไฟต้องหยุดชะงักเมื่อรถไฟแล่นผ่าน รัฐบาลได้เคยมีโครงการจะย้ายสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ออกไปอยู่ด้านเหนือของกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงกับเวนคืนที่ดินไว้แล้ว แต่ก็ติดขัดด้วยงบประมาณดำเนินการ โครงการนั้นจึงระงับไป

ปัญหาการจราจรในกรุงรัตนโกสินทร์นั้น เป็นปัญหาที่มีสาเหตุจากองค์ประกอบต่าง ๆ ภายใน อันเป็นเงื่อนไขที่เกี่ยวพันซึ่งกันและกัน และยากที่จะแก้ไขให้ลุล่วงไปได้โดยเร็ว แต่รัฐบาลก็ได้พยายามบรรเทาปัญหาดังกล่าว ด้วยการจัดเส้นทางระบายยวดยานที่ไม่จำเป็นต้องผ่านเข้ามาเพิ่มปัญหาการจราจรในกรุงรัตนโกสินทร์ ๒ โครงการ คือ

เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๔ คราวเฉลิมฉลองพระราชพิธีรัชดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช รัชกาลปัจจุบัน รัฐบาลได้เริ่มการสร้างถนนรัชดาภิเษก เป็นถนนวงแหวนรอบกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นอนุสรณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งเนื่องในการพระราชพิธีดังกล่าว

ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๑๕ รัฐบาลได้ตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยขึ้นให้มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อรับผิดชอบการจัดสร้างระบบขนส่งมวลชนในกรุงรัตนโกสินทร์ โครงการแรกที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการคือ การสร้างทางด่วน ๓ สาย ซึ่งบางตอนเป็นถนนยกระดับ สายที่ ๑ ดินแดง – ท่าเรือ ระยะทาง ๘.๙ กิโลเมตร สายที่ ๒ บางนา – ท่าเรือ ระยะทาง ๗.๙ กิโลเมตร สายที่ ๓ ดาวคะนอง – ท่าเรือ ระยะทาง ๑๐.๓ กิโลเมตร ทางด่วนสองสายแรกได้เสร็จเรียบร้อยเป็นอนุสรณ์สถานแห่งการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี และได้รับพระราชทานนามว่า ถนนเฉลิมมหานคร

อย่างไรก็ตาม จากสภาพทางภูมิทัศน์ของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ตั้งอยู่จุดกลางของประเทศอันเป็นแนวบรรจบระหว่างดินแดนส่วนเหนือและส่วนใต้ ทั้งอยู่บริเวณปากอ่าวอันเป็นทางออกสู่ทะเล การคมนาคมติดต่อและการขนส่งสินค้าระหว่างดินแดนทั้งสองภาคก็ดี การขนส่งสินค้าทางทะเลก็ดี ล้วนต้องผ่านเข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ ประกอบกับกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีปัญหาการจราจรภายในเมืองของตนเองดังกล่าว ปัญหานี้ จึงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชาติโดยส่วนรวมด้วย แม้จะได้มีการสร้างท่าเรือน้ำลึกขึ้นที่จังหวัดชลบุรี สร้างท่ากาศยานสากลที่จังหวัดเชียงใหม่ และสร้างทางเลี่ยงเมืองรอบกรุงรัตนโกสินทร์ก็ตาม แต่เมื่อคำนึงถึงความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ขยายตามไปแล้ว ปัญหาการจราจรในกรุงรัตนโกสินทร์ก็มิได้ลดลงแต่ประการใด

รูปวิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

 ปัญหาประการที่สาม คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

กรุงรัตนโกสินทร์เคยได้รับสมญาว่า “เวนิสแห่งภาคตะวันออก” ด้วยมีแม่น้ำคูคลองตัดผ่านไปตามส่วนต่าง ๆ ของเมือง เพื่อการชักน้ำเข้ามาใช้อุปโภคบริโภค และเป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญ ตลอดจนใช้เป็นทางระบายน้ำเวลาฝนตกหรือในฤดูน้ำหลาก ด้วยพื้นภูมิประเทศเป็นที่ลุ่มต่ำดังกล่าวแล้ว ครั้นเมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว คูคลองถูกถมเพื่อทำถนนเป็นส่วนมาก คงเหลือแต่ท่อระบายน้ำสองฟากถนนมาแทนที่ คลองขนาดใหญ่ก็ถูกสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาเหลือสภาพเพียงลำคลองแคบ ๆ ตื้นเขินและสกปรก ต้นไม้สองฟากถนนอันสงบ ร่มรื่น และช่วยแก้ปัญหาอากาศเป็นพิษของเมือง ซึ่งปลูกไว้แทบทุกถนนครั้งสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็ถูกตัดโค่นลงแทบหมดสิ้น เพราะต้องขยายถนนให้กว้างขวางออกไป ต้นไม้ที่ปลูกขึ้นใหม่ทดแทนก็ไม่อาจเจริญได้เต็มขนาดแห่งพืชพันธุ์ด้วยสภาวะแวดล้อมไม่อำนวย อาคารร้านค้าและบ้านเรือนซึ่งก่อสร้างในที่ลุ่มก็ถูกถมปรับระดับขึ้นสูงกว่าถนน เมื่อฝนตกแทนที่น้ำฝนจะสามารถระบายสู่คูคลองได้เหมือนแต่ก่อนก็กลับไหลลงสู่ถนน เกิดน้ำท่วมถนน และอาจขังอยู่ได้เป็นเวลานานหากเป็นฤดูน้ำหลาก จากนั้นจึงค่อยระบายลงสู่ท่อระบายน้ำ หรือแหล่งเสื่อมโทรมซึ่งยังเป็นที่ลุ่ม และระบายออกสู่คูคลองที่ยังเหลืออีกทีหนึ่ง นอกจากนี้โรงงานอาคารพาณิชย์และบ้านเรือน มักจะปล่อยน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลออกสู่ท่อระบายน้ำโดยไม่มีเครื่องกรอง น้ำเหล่านี้จึงเป็นน้ำโสโครกมาก อีกประการหนึ่ง ปากคูคลองต่าง ๆ ที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยามักจะมีทำนบกั้น เพื่อป้องกันอุทกภัยยามน้ำทะเลหนุนสุงหรือในฤดูน้ำหลาก น้ำในคูคลองต่าง ๆ จึงขังเน่าเหม็นอยู่เป็นเวลานาน และยามระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาก็ก่อให้เกิดปัญหาแม่น้ำเจ้าพระยาเน่าขึ้นด้วย

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในเรื่องระบบการระบายน้ำนี้ เป็นปัญหาหนักที่กรุงเทพมหานครได้พยายามดำเนินการแก้ไขอย่างเต็มที่มาโดยตลอด อาทิ การจัดโครงการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร จัดสร้างโรงสูบน้ำปากคลองผดุงกรุงเกษมด้านใต้ จัดสร้างประตูน้ำชนิดเรือผ่านได้ตามคลองเหนือคลองผดุงกรุงเกษม คลองบางลำภู คลองโอ่งอ่าง คลองวาสุกรี คลองเงิน คลองเปรมประชากร และคลองริมทางรถไฟบริเวณยมราช จัดซ่อมแซมประตูน้ำที่คลองหลอด สร้างโรงกำจัดน้ำโสโครกที่บริเวณคลองช่องนนทรีย์ สร้างโรงกำจัดน้ำเสียที่ห้วยขวาง ให้โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ สร้างโรงกำจัดน้ำเสีย ซึ่งมีโรงงานที่ทำได้ขั้นมาตรฐาน คือ โรงงานผลิตน้ำอัดลมเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีโครงการเฉพาะกิจต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากมีปัญหาทั้งเรื่องแหล่งเงินทุนและระบบบริหารงาน จึงทำให้การดำเนินงานตามโครงการแผนหลักต่างๆ ดำเนินไปได้อย่างล่าช้า ไม่ทันกับความต้องการของประชาชน และความเจริญเติบโตของเมือง

สภาพแวดล้อมเป็นพิษอีกเรื่องหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ คือ ปัญหาเรื่องเสียง และอากาศเสีย ซึ่งมีทั้งในรูปของฝุ่งละออง ควัน หรือไอ อันเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมันและถ่านหิน ก๊าซพิษและก๊าซเสียต่าง ๆ กลิ่นอันไม่พึงปรารถนา อันมีสาเหตุจากการก่อสร้างอาคารร้านค้าและที่อยู่อาศัยอย่างแออัด ผิดสุขลักษณะ การใช้ยวดยานซึ่งเครื่องยนต์ชำรุด การทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ และการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น รัฐบาลได้พยายามลดตัวการหรือแหล่งที่ทำให้อากาศเสีย โดยการควบคุมจำนวนประชากร ควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด ควบคุมยานพาหนะให้ใช้เครื่องยนต์ที่มีสภาพสมบูรณ์ และหาทางลดปริมาณรถยนต์โดยสร้างระบบขนส่งมวลชนเพื่อผ่อนคลายปัญหา แต่จะได้ผลมากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นกับประชากรแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนในการสร้างปัญหา จะให้ความร่วมมือมากน้อยเพียงใดด้วย

รูปกรุงเทพฯ ในอดีต

ปัญหาประการที่สี่ คือ ปัญหาการทรุดตัวของพื้นดินในเขตกรุงเทพมหานคร

ดังได้กล่าวแล้วว่า สภาพพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์เป็นที่ราบลุ่ม มีระดับโดยเฉลี่ย ๑.๕๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งตามสภาพธรรมชาติแล้ว พื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างนี้จะเกิดน้ำท่วมอยู่เสมอ มากน้อยขึ้นกับภูมิอากาศในแต่ละปี ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กรุงรัตนโกสินทร์ได้ประสบสภาวะน้ำท่วมอย่างหนักหลายครั้ง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากในหลายบริเวณ ถนนสายต่าง ๆ ถูกน้ำท่วมเป็นเวลาหลายวัน บ้านพักอาศัยบริเวณชานเมืองบางแห่งจมอยู่ในน้ำระดับสูงตั้งแต่ ๐.๕๐ เมตรถึงมากกว่า ๑ เมตร โดยเฉพาะบริเวณตะวันออกของกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ ลาดพร้าว บางกะปิ หัวหมาก และพระโขนง

ปัญหาน้ำท่วมในกรุงรัตนโกสินทร์เกิดจากสาเหตุใหญ่ ๓ ประการ คือ ประการแรก น้ำหลากจากทางเหนือของประเทศ ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นมาก ประการที่สอง การหนุนเนื่องของน้ำทะเลจากปากแม่น้ำบริเวณอ่าวไทย และประการที่สาม การมีฝนตกหนักในเขตพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์นั้นเอง เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตมรสุม โดยเฉพาะในเดือนกันยายนถึงตุลาคมจะมีฝนตกชุก ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งรับน้ำจากต้นน้ำทางภาคเหนือระบายไม่ทัน กอปรกับถ้าอยู่ในช่วงที่น้ำทะเลหนุนและฝนตกหนักในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ จะก่อให้เกิดน้ำท่วมอย่างมากในข่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนั้น จากการสำรวจวิจัยของนักวิชาการหลายฝ่าย ยังได้พบว่าพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ได้ทรุดตัวลงไปอย่างมากและต่อเนื่องกัน โดยเฉพาะในบริเวณลาดพร้าว บางกะปิ หัวหมาก และพระโขนง มีอัตราการทรุดตัวมากที่สุด ทำให้ปัญหาน้ำท่วมที่ร้ายแรงอยู่แล้วกลับทวีมากขึ้น โดยทำให้ระดับน้ำท่วมสูงขึ้นและน้ำจะขังอยู่นานกว่าปกติ ส่วนบริเวณที่ไม่เคยมีน้ำท่วมมาก่อนก็จะกลับมีน้ำท่วมขึ้นอีก และในอนาคตบริเวณนี้จะเกิดวิกฤติการณ์น้ำท่วมมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะได้รับผลร้ายแรงจากการทรุดตัวของพื้นดินมากกว่าบริเวณอื่น ๆ

ลักษณะพิเศษของชั้นดินก็คือ เมื่อเกิดการทรุดตัวยุบลงไปแล้ว พื้นดินจะไม่มีการขยายตัวกลับคืนมาได้ ดังนั้น พื้นที่ที่ทรุดลงไปแล้วในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ จะไม่สามารถทำให้กลับคืนสู่ระดับเดิมได้ และถ้าปล่อยให้ทรุดตัวลงไปโดยลำดับ ก็จะเกิดบริเวณพื้นที่ต่ำและจมน้ำขึ้น

สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้เป็นผู้ประสานงานให้มีการศึกษาวิจัยและสำรวจในการป้องกันและแก้ไขวิกฤติการณ์น้ำบาดาลและแผ่นดินทรุด มีแผนการดำเนินงาน ๔ ปี (พุทธศักราช ๒๕๒๑ - ๒๕๒๔) โดยแบ่งออกเป็น ๓ โครงการย่อย คือ

๑. โครงการวิจัยการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำบาดาลในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ ให้กรมทรัพยากรธรณี และแผนกวิศวกรรมแหล่งน้ำ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียเป็นผู้ดำเนินงาน

๒. โครงการวิจัยการทรุดตัวของพื้นดิน เนื่องจากการใช้น้ำบาดาล ให้แผนกวิศวกรรมธรณีและการขนส่ง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียเป็นผู้ดำเนินงาน

๓. โครงการเดินระดับสำรวจการทรุดตัวของพื้นดินในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ ให้กรมแผนที่ทหารเป็นผู้ดำเนินงาน

งานสำรวจเพื่อหาอัตราการทรุดตัวนั้น ได้ดำเนินงานสำรวจ ๒ วิธีคือ วิธีที่ ๑ โดยการเดินระดับจากหมุดหลักฐาน ซึ่งติดตั้งบนภูเขาที่จังหวัดราชบุรี มายังหมุดหลักฐานในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ทุก ๆ ๖ เดือน และวิธีที่ ๒ การติดตั้งอุปกรณ์วัดการทรุดตัวระดับตื้น ๑ เมตร จนถึง ๔๐๐ เมตร ทั้งสองวิธีนี้สามารถใช้ตรวจสอบค่าการทรุดตัวซึ่งกันและกันได้ดี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ได้ติดตั้งอุปกรณ์วัดการทรุดตัวที่ความลึกต่าง ๆ กัน จำนวน ๒๗ สถานีในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ ผลการสำรวจในช่วง ๒ ปี (พุทธศักราช ๒๕๒๑ - ๒๕๒๒) พบว่า บริเวณลาดพร้าว หัวหมาก พระโขนง บางนา มีอัตราการทรุดตัวสูงสุดประมาณ ๑๐ เซนติเมตรต่อปี ขณะที่ใจกลางกรุงรัตนโกสินทร์มีการทรุดตัวประมาณ ๕ เซนติเมตรต่อปี และฝั่งธนบุรี นนทบุรี และดอนเมือง มีการทรุดตัวประมาณ ๒ เซนติเมตรต่อปี

จากการศึกษาวิจัยและสำรวจพบว่า สาเหตุใหญ่ของการทรุดตัวคือ การสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้มากเกินขนาดที่น้ำธรรมชาติจะไหลเข้ามาแทนที่ ปัจจุบันมีบ่อบาดาลทางราชการและเอกชนมากกว่า ๑๐,๐๐๐ บ่อในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ และผู้ที่ใช้น้ำบาลมาก ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานผลิตน้ำอัดลม โรงงานเบียร์ และโรงงานกระดาษ รวมทั้งหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ และการประปานครหลวงอีกด้วย ปริมาณ การใช้น้ำบาดาลปัจจุบันสูงถึงหนึ่งล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน การสูบน้ำจากชั้นกรวดทรายใต้ดินทำให้ความดันน้ำในชั้นดังกล่าวลดลง และทำให้น้ำในชั้นดินเหนียวไหลซึมลงสู่ชั้นกรวดทราย ทำให้ชั้นดินเหนียวนั้นยุบตัวลง แรงดันน้ำซึ่งช่วยต้านรับน้ำหนักดินชั้นบน ๆ ก็ลดลงไปด้วย มีผลทำให้เม็ดดินต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น จึงทำให้ชั้นดินนั้นยุบตัวลง พื้นผิวดินจึงทรุดตามลงไปด้วย

กรมทรัพยากรธรณี และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียได้เจาะบ่อสำรวจและติดตั้งเครื่องมือวัดระดับความดันน้ำบาดาลที่ความลำ ๑๐๐ - ๒๐๐ เมตร จำนวน ๖๐ บ่อ ในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ และจังหวัดใกล้เคียง ผลการสำรวจแสดงให้เห็นโดยชัดเจนว่า การทรุดตัวของพื้นดินและการลดความดันน้ำบาดาลมีความสัมพันธ์กันโดยตรง ในบริเวณที่มีอัตราการทรุดตัวสูงระดับความดันของน้ำบาดาลจะลดต่ำลงไปมาก ขณะที่บริเวณที่การทรุดตัวน้อย ระดับความดันน้ำบาดาลจะลดลงไปไม่มากนัก

ในการสำรวจวัดระดับโดยกรมแผนที่ทหารพบว่า ระดับพื้นผิวดินในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ลดต่ำลงทุกปี ระดับโดยเฉลี่ยประมาณ ๑.๕๐ เมตร สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ผลจากการสำรวจเมื่อประมาณต้นปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ แสดงให้เห็นว่าที่สถานีสำรวจแผ่นดินทรุดหลายแห่งทางตะวันออกของกรุงรัตนโกสินทร์มีระดับต่ำกว่า ๑ เมตร เช่น ที่การเคหะแห่งชาติ (คลองจั่น) มีระดับ ๐.๙๕ เมตร ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับ ๐.๔๖ เมตร วัดราษฎร์ศรัทธารรม ซอยสุขุมวิท ๙๓ ระดับ ๐.๕๔ เมตร ที่ศูนย์วิจัยอุตุนิยมวิทยา (บางนา) ระดับ ๐.๘๖ เมตร ดังนั้น เมื่อเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงรัตนโกสินทร์บริเวณดังกล่าวจะมีน้ำท่วมสูงกว่าที่อื่น ๆ และระดับน้ำจะลดลงช้ากว่าบริเวณอื่น ๆ ด้วย

จากอัตราการทรุดตัวของพื้นดินดังกล่าวข้างต้น เมื่อเปรียบเทียบกับหมุดหลักฐานระดับเก่าในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้ติดตั้งไว้ประมาณ ๔๐ ปีที่แล้ว พบว่ามีการทรุดตัวในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ประมาณ ๕๐ เซนติเมตร และบริเวณหัวหมาก มีการทรุดตัวประมาณ ๖๐ - ๘๐ เซนติเมตร ซึ่งแสดงให้เห็นโดยชัดเจนว่า ตัวเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการทรุดตัวลงไปแล้วอย่างมาก โดยเฉพาะบริเวณทางตะวันออกของกรุงรัตนโกสินทร์มีระดับพื้นดินต่ำมาก และมีอัตราการทรุดตัวสูงมากที่สุด ซึ่งนับว่าอยู่ในอัตราที่น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้น จึงควรที่จะได้มีการจัดทำระบบป้องกันน้ำท่วมที่ถาวร และเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังในการควบคุมและป้องกันการทรุดตัวของพื้นดินกรุงรัตนโกสินทร์ โดยลดการใช้น้ำบาดาลลงโดยเร็ว ปัจจุบันหมู่บ้านและโรงงานอุตสาหกรรมชานเมือง โดยเฉพาะในเขตบางกะปิ และเขตพระโขนง ใช้น้ำบาดาลเป็นปริมาณมาก เพราะการประปานครหลวงยังมิได้ขยายเขตการส่งน้ำครอบคลุมให้ทั่วถึงบริเวณดังกล่าว ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นซึ่งมีระดับต่ำมากอยู่แล้วกลับทรุดตัวลงไปอย่างรวดเร็ว

ในเรื่องนี้กรมทรัพยากรธรณีได้มีนโยบายจำกัดการใช้น้ำบาดาล โดยจะเรียกเก็บเงินค่าใช้น้ำบาดาล โดยจะเรียกเก็บเงินค่าใช้น้ำบาดาลจากผู้ใช้ อันจะทำให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดและลดอัตราการใช้ลง และจะควบคุมการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลใหม่ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและความต้องการ

ผู้ใช้น้ำบาดาลรายใหญ่อีกรายหนึ่งก็คือ การประปานครหลวง ซึ่งสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของการใช้น้ำบาดาลทั้งหมด โดยมีนโยบายการสูบน้ำบาดาลภายในปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ โดยคาดว่าโครงการพัฒนาแหล่งน้ำพื้นผิวและจัดส่งเข้าทางอุโมงค์จะสำเร็จเรียบร้อย

ส่วนสำนักผังเมืองและกรุงเทพมหานครจะได้ใช้มาตรการในการจัดพื้นที่ตามลักษณะการใช้งาน เพื่อมิให้เกิดปัญหาทางสาธารณูปโภคต่อไป

แม้ปัญหาใหญ่ ๆ ทั้งสี่ประการดังกล่าว ที่กรุงรัตนโกสินทร์กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน จะเป็นปัญหาเดียวกับที่เกิดขึ้นในทุกมหานครใหญ่ของโลก แต่กรรมวิธีในการแก้ปัญหานั้นย่อมผิดแผกกันไปตามฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ ข้อกฎหมาย และที่สำคัญคืออุปนิสัยของประชากร สำหรับประเทศไทย หน่วยงานบริหารซึ่งรับผิดชอบต่อการแก้ปัญหาของกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากกรุงเทพมหานครแล้วยังมีอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งมักปฏิบัติงานซ้ำซ้อนขาดเอกภาพ ขาดงบประมาณ และขาดอำนาจอย่างแทัจริง ทำให้ไม่อาจดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโดยเฉพาะรัฐบาลซึ่งกุมอำนาจเหนือหน่วยงานเหล่านี้ ได้มีส่วนอย่างสำคัญที่ทำให้แผนหลักและแนวนโยบายต่าง ๆ ที่วางไว้ต้องเบี่ยงเบนไปจากเดิมด้วยแรงกดดันทางการเมือง งานอนุรักษ์และปรับปรุงกรุงรัตนโกสินทร์จึงยังไม่สัมฤทธิผลเท่าที่ควร แต่จะอย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็ได้สนับสนุนการดำเนินงานหลายโครงการเพื่อชะลอความเจริญเติบโตของกรุงรัตนโกสินทร์ให้มีขนาดและขอบเขตที่เหมาะสมเพื่อกรุงรัตนโกสินทร์จะได้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยและอำนวยประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติอย่างเต็มที่ โครงการที่สำคัญเหล่านี้คือ

รูปแสดง การกระจายความเจริญออกไปสู่ภูมิภาครอบนอกตามเมืองหลัก

 การกระจายความเจริญออกไปสู่ภูมิภาครอบนอกตามเมืองหลัก

ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๕ กรุงรัตนโกสินทร์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนมีรายได้ไม่พอเลี้ยงตัวเอง แต่เนื่องจากประชากรในกรุงรัตนโกสินทร์มีอำนาจเรียกร้องทางการเมืองสูง รัฐบาลจึงจำเป็นต้องให้เงินอุดหนุนเหนือกว่าที่ให้แก่จังหวัดอื่น ๆ จนมีผู้กล่าวเปรียบเทียบว่า ประเทศไทยเปรียบเสมือนคนที่หัวโตเท้าลีบ เพราะความเจริญของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น เป็นประโยชน์เฉพาะชนกลุ่มน้อย ในขณะที่เมืองในส่วนภูมิภาคและชนบทขาดศูนย์กลางความเจริญ และขาดความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้บรรจุนโยบายกระจายความเจริญออกไปสู่ภูมิภาค ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ (พุทธศักราช ๒๕๒๐ - ๒๕๒๔) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (พุทธศักราช ๒๕๒๕ - ๒๕๒๙) โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงพัฒนาเมืองหลักให้เจริญสมดุลกับสภาพลักษณะภูมิประเทศและสภาวะเศรษฐกิจของท้องถิ่นนั้น ๆ โดยดำเนินการตามหลักการพัฒนา ส่งเสริมอาชีพทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการอันเป็นหลักสำคัญในการจ้างแรงงาน เพื่อให้ประชากรในภูมิภาคมีอาชีพประจำ มีรายได้พอที่จะเลี้ยงครอบครัวได้ ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนอพยพเข้าสู่เมืองใหญ่ ปัจจุบันมีโครงการที่ส่งเสริมตามแนวทางนี้ด้วย เช่น โครงการในพระราชดำริต่างๆ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการปฏิรูปที่ดิน โครงการส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร โครงการสร้างงานในชนบท ฯลฯ

เมืองหลักตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กำหนดไว้ ๑๑ เมือง ได้แก่

เมืองหลักภาคเหนือตอนบน คือ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำปาง

เมืองหลักภาคเหนือตอนล่าง คือ จังหวัดพิษณุโลก

เมืองหลักภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดนครราชสีมา

เมืองหลักภาคตะวันออก คือ จังหวัดชลบุรี

เมืองหลักภาคใต้ คือ จังหวัดสงขลา (หาดใหญ่) และจังหวัดภูเก็ต

กรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวง และเป็นเมืองหลักภาคกลาง

 การควบคุมขนาดครอบครัว

เพื่อให้ครอบครัวแต่ละครอบครัวมีสมาชิกพอสมควรที่หัวหน้าครอบครัวจะให้การเลี้ยงดูและให้การศึกษาเท่าที่จำเป็นได้ เป็นการลดระดับอัตราการขยายตัวตามธรรมชาติของประชากรในกรุงรัตนโกสินทร์ ส่งเสริมคุณภาพของประชากร และชะลอความเติบโตของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะหากยังมีการขยายตัวของประชากรต่อไปอย่างไม่รู้จบสิ้น ก็ย่อมไม่มีทางที่จะพัฒนาปรับปรุงให้มีบริการสาธารณะได้ทันกับจำนวนประชากรและพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าฐานะทางเศรษฐกิจจะดีเพียงใด เพราะการทุ่มเทงบประมาณแก้ปัญหาสาธารณูปโภคจะปรากฏผลช่วยผ่อนคลายความแออัดได้เพียงชั่วระยะหนึ่ง แต่ครั้นแล้วเมื่อเมืองขยายตัวเพราะจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ความแออัดก็จะปรากฏขึ้นอีกเช่นเดิม ปัจจุบันมีโครงการที่ส่งเสริมแนวทางนี้คือ โครงการวางแผนครอบครัว ฯลฯ

 การควบคุมตามผังเมือง

เป็นการกำหนดขนาดของกรุงรัตนโกสินทร์ และดำเนินการควบคุมการใช้ที่ดินให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างรัดกุม โดยกฎหมายการแบ่งย่านกฎหมายควบคุมการก่อสร้าง กฎหมายควบคุมการจัดสรรที่ดิน กฎหมายสาธารณสุข และกฎหมายอื่น ๆ ที่จะเป็นเครื่องมือควบคุมความเจริญในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ ให้เป็นไปตามแนวทางที่ต้องการได้

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ กระทรวงมหาดไทยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาผ่านองค์การยูซอม (USOM) ให้คณะลิทช์ฟิลด์ ไว้ท์ทิงบาวน์ แอนด์ แอสโซซิเอท (Litchfield Whiting Bowne & Associates) เข้ามาทำการสำรวจและจัดทำโครงการผังนครหลวง ๒๕๓๓ (Greater Bangkok Plan 2533) ขึ้น เป็นโครงการ ๓๐ ปี มีเป้าหมายประชากรไว้ ๔.๕ ล้านคน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าการขยายตัวของกรุงรัตนโกสินทร์ได้ดำเนินมาโดยมิได้สอดคล้องกับผังดังกล่าว เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ แต่ที่สำคัญที่สุด ได้แก่ การขาดกฎหมายผังเมืองที่สมบูรณ์ แม้ว่าประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติการผังเมืองและผังชนบท เป็นกฎหมายผังเมืองฉบับแรกขึ้นตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๕ ต่อมาได้ยกเลิกโดยออกเป็นพระราชบัญญัติการผังเมือง พุทธศักราช ๒๕๑๘ แต่กฎหมายฉบับนี้ไม่รัดกุมเพียงพอ จึงยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ได้วางผังนครหลวง ๒๕๔๓ โดยยึดหลักผังนครหลวง ๒๕๓๓ เป็นโครงการ ๒๕ ปี ซึ่งกำหนดว่า ประชากรที่หนาแน่นพอเหมาะควรเป็น ๗.๕ ล้านคนในพื้นที่ ๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ของกรุงรัตนโกสินทร์ นนทบุรี และสมุทรปราการบางส่วน โดยจะได้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ให้มีสาธารณูปโภคสาธารณูปการกระจายตามศูนย์กลางต่าง ๆ ตามความเหมาะสม และให้มีกฎหมายผังเมืองบังคับให้เป็นไปตามผังที่วางไว้ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการประกาศใช้ผังนครหลวงและกฎหมายผังเมืองที่สมบูรณ์ ทางกระทรวงมหาดไทยจึงให้หน่วยงานต่าง ๆ ยึดหลักการดังกล่าวใช้เป็นแม่บทในการพัฒนาบ้านเมืองได้โดยอนุโลมไปก่อน และทางกรุงเทพมหานครได้ทำผังเมืองเฉพาะไว้แล้ว จึงใช้ออกกฎหมายในรูปข้อบัญญัติ (เทศบัญญัติเดิม) เพื่อควบคุมการเติบโตของเมืองให้เป็นไปตามผังเมืองเฉพาะตามจุดที่จำเป็นไปพลางก่อน

รูป กว่าจะมาเป็นกรุงเทพฯ

 การพัฒนาเมืองบริวาร

เป็นการสร้างเมืองบริวารขึ้นรอบ ๆ กรุงรัตนโกสินทร์ ให้มีลักษณะเป็นเมืองที่มีสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่สามารถพึ่งตัวเองได้ ประชากรสามารถอยู่อาศัยและประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยมีบริการสาธารณะ สาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกภายในเมืองเพียงพอ พึ่งพาเฉพาะความสำคัญทางด้านศูนย์เศรษฐกิจ หรือศูนย์การศึกษาวัฒนธรรมจากเมืองแม่เท่านั้น เมืองบริวารควรอยู่ห่างจากเมืองแม่ ๓๐ - ๘๐ กิโลเมตร เพื่อป้องกันการขยายตัวของเมืองทั้งสองมาเชื่อมกันในอนาคต เมืองบริวารเหล่านี้จะแบ่งรับประชากรที่อพยพเข้ากรุงรัตนโกสินทร์ และรับประชาชนที่ล้นเกินจากเขตกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งจังหวัดที่อยู่ในโครงการพัฒนาเมืองบริวารของกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี และสมุทรสาคร

รูป การพัฒนาเมืองบริวาร

 การเร่งรัดปรับปรุงสภาวะสิ่งแวดล้อมของกรุงรัตนโกสินทร์

การปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม การกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย การป้องกันอากาศเป็นพิษและเสียงรบกวน ตลอดจนการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยเฉพาะในเรื่องการขจัดแหล่งเสื่อมโทรม ควรมีการวางนโยบายที่ดี เลือกผู้บริหารที่ชำนาญงาน พิจารณาแหล่งที่สะดวกสบายเหมาะกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ กลั่นกรองจัดเตรียมงบประมาณในการลงทุนทำโดยไม่กระทบกระเทือนต่อการพัฒนาด้านอื่น ๆ และเลือกวัตถุก่อสร้าง แรงงานที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนในแหล่งเสื่อมโทรมพอใจกับการปรับปรุงสงเคราะห์ เพราะปกติประชาชนมักไม่คุ้นกับการปรับปรุงสงเคราะห์แบบนี้ และมักอยากจะอยู่ในแหล่งเดิม ดังนั้น ถ้าวางแผนงานไม่ละเอียดถี่ถ้วนพอจะทำให้ไม่ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมาย

ปัจจุบันรัฐบาลโดยการเคหะแห่งชาติได้พยายามส่งเสริมโครงการสร้างอาคารเช่าซื้อสำหรับประชาชนที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง โดยกำหนดให้สภาพอาคารมีมาตรฐานดีพอสมควรตามย่านชานเมือง พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่สาธารณะประเภทต่าง ๆ ควบคู่กันไปด้วย

 การสร้างนิคมอุตสาหกรรม

โดยหาทำเลและเลือกกิจกรรมอุตสาหกรรมที่จะผลักดันออกจากกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดนโยบายและมาตรการกระจายแหล่งที่ตั้งอุตสาหกรรม ย้ายโรงงานบางประเภทออกไปใกล้แหล่งวัตถุดิบและแรงงาน รวมทั้งพยายามดึงอุตสาหกรรมให้ไปสู่เมืองเล็ก ๆ โดยกำหนดประเภทและชนิดของอุตสาหกรรมที่จะไม่อนุญาตให้ตั้งใหม่ในกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งไม่อนุญาตให้มีการขยายในประเภทและชนิดของอุตสาหกรรมนั้น ๆ ในปัจจุบันจึงมีย่านโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ที่ชานกรุงรัตนโกสินทร์หลายจุด เช่น ที่รังสิต บางชัน พระประแดง อ้อมน้อย นอกจากนี้ สำนักผังเมืองได้กำหนดเขตนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เห็นว่ามีทำเลเหมาะสมบริเวณรอบนอกของกรุงรัตนโกสินทร์ คือ ในจังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม และชลบุรี

รูป การอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม

 การอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม

โดยการส่งเสริมสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์อาคารสถานที่ บริเวณอันมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมในแนวความคิดใหม่ โดยให้สถานที่บริเวณนั้นผสมกลมกลืนไปกับชีวิตและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของมนุษย์ในสังคม ปัจจุบันมีโครงการที่สนับสนุนแนวทางนี้คือ โครงการกรุงรัตนโกสินทร์ โครงการบูรณะวัดประจำรัชกาล โครงการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาของกรุงรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

ในวาระที่กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ ๒๒๐ ปี ในพุทธศักราช ๒๕๒๕ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช ได้เห็นความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ในรูปโครงการแบบผสมผสาน เพื่อมุ่งประโยชน์ทั้งในด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรม การควบคุมการก่อสร้าง และการใช้ที่ดินในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นเรียกว่า “คณะกรรมการโครงการกรุงรัตนโกสินทร์” มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และมีเลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นเลขานุการ ให้มีหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนงานในการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดหลักเกณฑ์การก่อสร้างอาคาร บริการพื้นฐานทั้งในด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการที่จำเป็น ตลอดจนการอนุรักษ์ปรับปรุงบริเวณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์สถานและโบราณสถาน โดยมีแผนการดำเนินงานเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะสั้น จากพุทธศักราช ๒๕๒๑–๒๕๒๕ เพื่อร่วมการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๒๐ ปี และระยะสำหรับแผนการระยะสั้นนั้นเป็นมาตรการเร่งด่วนสำหรับการดำเนินงานในเขตกรุงรัตนโกสนิทร์ชั้นใน โดยเฉพาะในอาณาบริเวณระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับคลองคูเมืองเดิม ฉะนั้น เมื่อสิ้นสุดแผนการระยะสั้นนี้ ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ “หัวแหวนแห่งรัตนโกสินทร์” ก็จะทรงความงามอันล้ำค่าเฉกเช่นในอดีตอีกครั้งหนึ่ง

 

แหล่งที่มาของข้อมูล: คณะกรรมการจัดงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี

พุทธศักราช 2525, จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากร, 2525