วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บย่อ:

บทความคุณภาพในวิกิพีเดียภาษาไทย

Symbol support vote.svg
บทความคุณภาพ เป็นบทความซึ่งผ่านการพิจารณาว่าเป็นบทความคุณภาพดีโดยชาววิกิพีเดีย หากยังมีคุณภาพเป็นรองหลักเกณฑ์ของบทความคัดสรร บทความจะต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหา ความเป็นกลาง และรูปแบบ ตามหลักเกณฑ์ของบทความคุณภาพ หากคุณเห็นว่าบทความใดเหมาะสมจะผ่านการคัดเลือกเป็นบทความคุณภาพให้ทำตามขั้นตอนการเสนอชื่อด้านล่าง

ทั้งนี้ บทความคุณภาพจะเป็นมาตรฐานเพื่อใช้เป็นตัวอย่างแนวทางในการเขียนบทความใหม่ เราขอให้คุณกล้าแก้ไขบทความ เพื่อพัฒนาคุณภาพของบทความให้อยู่ในระดับสูงต่อไป หรืออาจเสนอชื่อให้เป็นบทความคัดสรร เมื่อบทความมีคุณภาพสูงขึ้น หากบทความคุณภาพบทใดผ่านเกณฑ์ของบทความคัดสรร บทความดังกล่าวจะถูกนำออกจากรายชื่อด้านล่างนี้ และย้ายไปยังหน้าบทความคัดสรรแทน จึงอาจกล่าวได้ว่า มีบทความทั้งสิ้น 246 บทความ ที่ผ่านเกณฑ์ของบทความคุณภาพเรียบร้อยแล้ว

ปัจจุบัน วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความคุณภาพทั้งหมด 128 บทความ จากทั้งหมด 96,942 บทความ หากคุณเห็นว่าบทความใดควรได้รับการปรับปรุงภายหลังจากได้รับคัดเลือกแล้ว เนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาอีกต่อไป คุณสามารถเสนอให้มีการปรับปรุงข้อบกพร่องหรือลดระดับของบทความได้

บทความคุณภาพในวิกิพีเดียภาษาไทยระบุด้วยสัญลักษณ์รูปเครื่องหมายบวก (Symbol support vote.svg) บริเวณมุมขวาบนของบทความ อันเป็นเครื่องหมายยอมรับว่าบทความนั้นผ่านมาตรฐานที่กำหนดไว้แล้ว

บทความคุณภาพ:

ตัวอย่างบทความคุณภาพ

Homer Ilias Griphanius c1572.jpg

อีเลียด (กรีก: Ἰλιάς Ilias; อังกฤษ: Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน

เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (ตุรกี: Truva; กรีก: Τροία, Troía; ละติน: Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกันก อ่านต่อ...

บทความนี้ได้รับการคัดเลือกเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 : ผู้เขียนหลัก ได้แก่ Tinuviel และ เสนอบทความ โดย Tinuviel

รายชื่อบทความคุณภาพ

หลักเกณฑ์บทความคุณภาพ

ดูข้อความทั้งหมดได้ที่ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพคืออะไร

อะไรที่ไม่ใช่บทความคุณภาพ

  • บทความที่ผ่านการพิจารณาให้เป็นบทความคัดสรร ถือว่าได้เป็นบทความคุณภาพโดยปริยาย ไม่ต้องเสนอให้เป็นบทความคุณภาพอีก
  • เป็นบทความที่ต้องพิจารณา
  • เป็นสถานีย่อย และหน้าอื่นๆ ที่มิได้อยู่ในเนมสเปซหลัก
  • เป็นหน้าแก้ความกำกวม

เกณฑ์ในการพิจารณา

การพิจารณาบทความคุณภาพนั้น พิจารณาจากหลักเกณฑ์ข้างต้น โดยทุกคนสามารถลงชื่อสนับสนุน คัดค้าน หรือเสนอแนะให้มีการปรับปรุง โดยให้เหตุผลประกอบในการพิจารณาทุกครั้ง โดยการพิจารณาบทความนั้น หากเป็นไปได้ให้พิจารณาบทความ 10 อันดับแรกก่อนแล้วไล่ลงไป บทความที่ได้รับการเสนอชื่อนั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

GA candidate.svg ได้รับการเสนอชื่อใหม่ 
บทความที่ได้รับการเสนอชื่อใหม่ โดยจะได้รับการพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์ นับจากวันที่เสนอชื่อ
  • บทความที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาแล้วให้ใส่ "{{บทความคุณภาพ}}" ไว้บรรทัดบนสุดของบทความ
Symbol wait.svg อยู่ในระหว่างรอการปรับปรุง 
บทความที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา แต่อยู่ระหว่างการปรับปรุงความสมบูรณ์ของเนื้อหา ถ้าบทความไม่มีการปรับปรุงเนื้อหาในระยะเวลา 4 สัปดาห์ นับจากวันเริ่มเสนอชื่อ บทความนั้นจะถูกเปลี่ยนเป็น "บทความที่เคยถูกเสนอชื่อเป็นบทความคุณภาพ"
Symbol support vote.svg ผ่านเกณฑ์ 
บทความที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา ได้ปรับแก้จากข้อเสนอแนะของผู้ลงความเห็นคนอื่น โดยผู้พิจารณาจะไม่ใช่ผู้ที่ร่วมแก้ไขหลักสำหรับบทความดังกล่าว หรือผู้เสนอชื่อ
Symbol unsupport vote.svg เคยถูกเสนอชื่อ 
บทความไม่ได้แก้ไขเพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้นตามความเห็น ภายหลังจากเวลาที่กล่าวไว้ข้างต้น
  • อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถเสนอชื่อบทความที่เคยถูกเสนอชื่อได้ในภายหลัง ถ้าหากบทความนั้นได้รับการแก้ไขปรับปรุงจากข้อเสนอแนะของผู้ลงความเห็นคนอื่นแล้ว

ขั้นตอนการเสนอชื่อและคัดเลือก

ชาววิกิพีเดียที่มีบัญชีผู้ใช้เท่านั้นจึงจะเสนอได้ การเสนอและพิจารณาบทความ มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนในการเสนอชื่อ

  1. เลือกบทความที่คุณคิดว่ามีคุณภาพ ที่คุณเขียนขึ้นมา ร่วมเขียนขึ้นมา หรือว่าไม่ได้เขียนแต่มีความสนใจ และนำรายชื่อนั้นไปเสนอในส่วนของการเสนอชื่อ (ถึงแม้ว่าไม่มีการจำกัดจำนวนบทความที่เสนอชื่อ แต่การเสนอบทความหลายชื่อในเวลาเดียวกันก็ไม่เป็นที่แนะนำ)
  2. ใส่ป้าย {{GAnominee|dd/mm/yyyy}} โดยใส่วันเดือนปีรูปแบบ dd/mm/yyyy (พ.ศ.) ในหน้าพูดคุยของบทความที่เสนอ
  3. ช่วงเวลาการเสนอชื่อและคัดเลือกเป็นบทความคุณภาพนั้น จะใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์นับจากวันที่เริ่มเสนอชื่อ
  4. ภายหลังจากเสนอชื่อให้รอเป็นเวลา 2 อาทิตย์ ซึ่งในระหว่างนั้นจะมีความเห็นจากผู้อื่น ซึ่งทางผู้เสนอชื่อหรือผู้เขียนคนอื่น ควรร่วมกันปรับแก้บทความให้ดียิ่งขึ้น

วิธีการเสนอชื่อ

1
เสนอชื่อบทความคุณภาพ

พิมพ์ชื่อบทความแทนที่คำว่า ชื่อบทความ แล้วคลิก เสนอบทความ


2
ขึ้นบัญชีบทความที่เสนอ

แก้ไขหน้านี้ และเพิ่มโค้ดดังนี้ไว้ล่างสุด โดยเปลี่ยนคำว่า ชื่อบทความ เป็นชื่อบทความที่คุณเสนอ:
{{เสนอคุณภาพ|ชื่อบทความ|วันที่พิจารณา}}

3
ใส่ป้าย {{GAnominee|วันที่พิจารณา}} ที่หน้าพูดคุยของบทความ

โดยวันที่พิจารณาให้ใส่เป็นรูปแบบ dd/mm/yyyy (พ.ศ.) หรือ วัน เดือน ปีก็ได้

การพิจารณาบทความคุณภาพ

  • ผู้ใช้วิกิพีเดียทุกคนสามารถพิจารณาบทความได้ แต่มีเพียงผู้ใช้ที่ลงทะเบียนแล้วเท่านั้นที่จะสามารถลงคะแนนได้
  • ผู้เขียนบทความที่กำลังพิจารณาให้เป็นบทความคุณภาพนี้ไม่สามารถพิจารณาบทความของตัวเองได้
  • ผู้ที่พิจารณาบทความสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในบทความได้
  • ผู้ที่พิจารณาบทความไม่ควรให้บทความนั้นผ่านเกณฑ์หรือไม่ผ่านเกณฑ์ขณะที่บทความนั้นกำลังรอการพิจารณาอยู่

รายชื่อบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณา

พื้นที่นี้ใช้สำหรับแสดงรายชื่อบทความที่ถูกเสนอชื่อเพื่อรับการพิจารณาเป็นบทความคุณภาพ คุณสามารถลงคะแนนสนับสนุน คัดค้าน และเสนอข้อแนะนำได้ โดยเลือกที่ (ลงคะแนนและเสนอแนะ) ของแต่ละบทความ บทความจะได้รับการพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์หลังวันเสนอชื่อ ขณะนี้วันที่ 5 กันยายน 2558 เวลา 12:45 น.

Symbol wait.svg บทความที่อยู่ระหว่างรอการปรับปรุง หลังจากได้ตัดสินไปรอบแรก
  • ขณะนี้ยังไม่มีบทความที่อยู่ระหว่างรอการปรับปรุง
GA candidate.svg บทความที่ได้รับการเสนอชื่อใหม่
  • ขณะนี้ยังไม่มีบทความที่ได้รับการเสนอชื่อใหม่

บทความที่เคยถูกเสนอชื่อแต่ไม่ผ่านเกณฑ์

ดูเพิ่ม