ทรัพยากรชีวภาพสัตว์

เม่น

ชื่อท้องถิ่น:เม่น
ชื่อสามัญ:เม่นใหญ่แผงคอยาว Malayan Porcupine
ชื่อวิทยาศาสตร์:Hystrix brachyura
ชื่อวงศ์:-
ประเภทสัตว์:สัตว์บก-สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ลักษณะสัตว์:    เม่นมีลักษณะสำคัญคือ มีขนเป็นหนามแข็งปกคลุมลำตัว ขาทั้งสี่สั้นเท้าแต่ละข้างมีห้านิ้ว ขาคู่หน้ามีอุ้งเท้าและเล็บที่แข็งแรง หูมีขนาดเล็กเคลื่อนไหวได้ค่อนข้างเชื่องช้า ออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนตอนกลางวันจะนอนกหลับอยู่ในโพรง อาหารของเม่นส่วนมากเป็นรากไม้ เปลือกไม้หรือผลไม้ที่หล่นอยู่ตามพื้น นอกจากนี้ยังชอบแทะกินกระดูกสัตว์เพื่อเพิ่มธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรันส โดยปกติแล้วเม่นจะไม่ขุดโพรงเองเหมือนกับพวกอ้น แต่จะอาศัยอยู่ตามโรงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ตามซอกหินหรือโพรงต้นไม้ที่ล้มอยู่ตามป่า มักอาศัยอยู่เป็นคู่
ปริมาณที่พบ:น้อย
การใช้ประโยชน์:อื่นๆ
อธิบายวิธีการใช้ประโยชน์:
แหล่งที่พบ:-
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม:    เม่นเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (order Rodentia) เช่นเดียวกับพวกกระรอกและพวกหนู ทั่วโลกมีเม่นอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ เม่นโลกใหม่ (New World porcupines) เป็นเม่นที่ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ พบบริเวณทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ และเม่นโลกเก่า (Old World porcupines) เป็นเม่นที่ชอบอาศัยอยู่บนพื้นดิน พบบริเวณทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชียประเทศไทยมีเม่นอยู่ 2 ชนิด คือ เม่นธรรมดา (Malayan porcupine, Hystrix brachyurus) พบบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ส่วนในประเทศอื่น ๆ บริเวณตอนใต้ของจีน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย บอร์เนียว อีกชนิดหนึ่งคือ เม่นหางพวง (bush-tailed porcupine, Atherurus macrourus) เป็นเม่นขนาดเล็กพบอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคกลาง นอกจากนี้ยังพบในประเทศลาว เวียดนาม ชายแดนพม่าต่อจีน และมาเลเซีย เม่นหางพวงมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นภาคเหนือจะเรียกว่า หอนหรือมั่นภาคใต้จะเรียกกว่า อีแก๊ะ ภาคอีสานเรียก ม็อก
    มักจะมีเรื่องเล่าขานกันอยู่เสมอว่า เม่นสามารถสะบัดขนเข้ใส่ศัตรูได้แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเม่นพบศัตรูจะรีบหันหลังให้แล้ววิ่งหนีไปพร้อมทั้งสั่นขนให้เกิดเสียงดังกราว ๆ เป็นการเตือน ไม่ให้ศัตรูเข้าใกล้ แต่ถ้าศัตรูยังวิ่งไล่อยู่เม่นจะรีบหยุดทันที พร้อมทั้งพองขนให้ตั้งชัน และวิ่งถอยหลังเข้าหา ศัตรูที่วิ่งตามไม่สามารถจะหยุดได้ทันจึงถูกขนเม่นทิ่มตำ ขนเม่นจะหลุดจากตัวเม่นได้ง่ายมาก มักจะติดไปกับสัตว์ที่เข้ามาทำอันตรายเสมอและอาจทำให้ศัตรูเสียชีวิตได้ ตามชนบทพรานป่าที่เข้าไปล่าสัตว์มักจะนำสุนัขไปด้วยเพื่อช่วยดมกลิ่นและค้นหาสัตว์ป่าถ้าพบเห็นเม่นมันจะวิ่งไล่ทันที เมื่อเม่นหยุดวิ่ง สุนัขจะวิ่งชนเม่นทันทีจึงมักได้รับบาดเจ็บและมีขนเม่นติดตามตัว เมื่อเจ้าของสุนัขพบเข้าจึงคิดว่าเม่นสะบัดขนเข้าใส่ ทำให้เกิดความเชื่อผิด ๆ บอกเล่าต่อกันมา เม่นผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายนมีระยะตั้งท้องนาน 6-8 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 1-5 ตัว แต่ปกติแล้วจะออกลูกครั้งละ 2 ตัว ลูกที่เกิดใหม่จะลืมตาและมีขนทีอ่อนนุ่มขนลูกเม่นจะเริ่มแข็งหลังจากเวลาผ่านไปไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์ เม่นมีช่วงอายุนาน 12-15 ปี
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ได้:-
แหล่งที่มาของข้อมูล:www.google.com
คำช่วยค้นหา(keyword):-
ผู้บันทึกข้อมูล:ภูริช เชี่ยวน้อย
วันที่บันทึกข้อมูล:9/14/2010 3:05:14 PM
วันที่แก้ไขล่าสุด:9/14/2010 3:27:02 PM
จำนวน view:2501 ครั้ง
สถานะการตรวจสอบ:ยังไม่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง

รูปภาพ:




^ ไปบนสุด