Home ประวัติสายทาง

ประวัติสายทาง

ประวัติสายทาง

ประวัติความเป็นมาของสายทาง

เนื่องด้วยแผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 6 ถึง ฉบับที่ 8 รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาระบบการขนส่งและเครือข่ายถนนของประเทศ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กรมทางหลวงในขณะนั้นได้รับเงินงบประมาณไม่เพียงพอต่อการพัฒนา ตามนโยบายของรัฐบาลจึงได้กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ต่างประเทศโดยจัดสรรจากกระทรวงการคลังมาเป็นค่าใช้จ่ายในการสำรวจเส้นทาง ออกแบบ วิเคราะห์วิจัย ปรับปรุงองค์กร พัฒนาบุคลากร ก่อสร้างโครงการต่าง ๆ โดยได้แหล่งเงินกู้จาก 3 แหล่งใหญ่คือ

1.             ธนาคารโลก ( World Bank )

2.             กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF : Overseas Economic Cooperation Fund )

3.             ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB)

โดยกรมทางหลวงมีแผนที่จะพัฒนาก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองขึ้นโดยอาศัยผลการศึกษาจากคณะผู้เชี่ยวชาญของ Japan International Co – operative Agency (JICA) ระหว่างปี พ.ศ. 25302532 โดยอาศัยความช่วยเหลือสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น ศึกษาวางแผนเพื่อจัดทำแผนแม่บท

 ความเป็นมาของทางหลวงพิเศษ หมายเลข 7

โครงการก่อสร้างสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพ-ชลบุรี ระยะทาง 78.87กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากถนนศรีนครินทร์จุดต่อเชื่อมกับถนนพระรามเก้า ไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 สายชลบุรี มาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง วงเงินค่าก่อสร้าง 14,000 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณ 50% และเงินกู้จากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาของพื้นที่ชายทะเลตะวันออก และรองรับการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 2 (สนามบินสุวรรณภูมิ) เพื่อรองรับการขยายตัวด้านความเจริญทางเศรษฐกิจ และสังคมเมืองขณะนั้นซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว     

   

                ลักษณะทางกายภาพทางหลวงพิเศษหมายเลข 7

เป็นถนนที่ก่อสร้างเป็นมาตรฐานชั้นพิเศษ โดยเขตทางกว้าง(กม.0+000กม.15+000) 80.00 เมตร (กม.15+000กม.78+850) เขตทางกว้าง 100 เมตร คันทางคู่ขนานแยกการจราจรเป็นสองทิศทาง ไปและกลับ โดยแต่ละทิศทางประกอบด้วย 2 ช่องจราจร ผิวทางเป็น Asphalt Concrete ความกว้าง 7.00 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ2.50 เมตร และ 1.50 เมตร จุดตัดกับทางหลวงสายต่าง ๆ มีการก่อสร้างเป็นทางแยกต่างระดับ (Interchange) รวม 8 แห่ง และส่วนตัดกับทางหลวงท้องถิ่นเดิม ปัจจุบันทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 รองรับสนามบินสุวรรณภูมิได้เปิดให้ใช้บริการแล้วจึงทำให้มีปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นด้วยเหตุนี้ สำนักก่อสร้างทางที่ 2 กรมทางหลวง จึงได้ทำการก่อสร้างขยายเพิ่มช่องจราจรเป็น 8 ช่องจราจร (ไป กลับ ข้างละ 4 ช่องจราจร) มีไหล่ทางด้านนอกกว้าง 3.00 เมตร และด้านในกว้าง 1.20 เมตร รวมงานขยายความกว้างสะพาน 15 คู่สะพาน

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพ-ชลบุรี ณ.ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสะดวกและปลอดภัยเพิ่มยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ตามความต้องการของประชาชนที่เข้าใช้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิ โดยทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เป็นเส้นทางเลี่ยงเมืองกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก เชื่อมโยงภาคตะวันออก โดยไม่ต้องผ่านเข้ากรุงเทพมหานคร และ ได้เชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 วงแหวนรอบนอกด้านทิศตะวันออก ติดต่อวงแหวนด้านใต้ ซึ่งเปิดให้บริการแล้ว ณ.ขณะนี้

  

ความเป็นมาของทางหลวงพิเศษ หมายเลข 9 

          โครงการก่อสร้างสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอก ด้านทิศตะวันออก ระยะทาง 65.325 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา ตราด (กม.8) อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ วงเงินค่าก่อสร้าง 12,000 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณ 50% และเงินกู้จากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาระบบการขนส่งรอบนอกกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการขยายตัวด้านความเจริญทางเศรษฐกิจ และสังคมเมืองขณะนั้นซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ลักษณะทางกายภาพของทางหลวงพิเศษหมายเลข 9

เป็นถนนที่ก่อสร้างเป็นมาตรฐานชั้นพิเศษ เขตทางกว้าง 100.00 เมตร มีช่องจราจรเป็นสองทิศทาง ไปและกลับ โดยแต่และทิศทางประกอบด้วย 2 ช่องจราจร ผิวทางเป็น Asphalt Concrete ความกว้าง 7.00 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ2.50 เมตร และ 1.50 เมตร จุดตัดกับทางหลวงสายต่าง ๆ มีการก่อสร้างเป็นทางแยกต่างระดับ(Interchange) รวม 8 แห่ง และส่วนตัดกับทางหลวงท้องถิ่นเดิม มีสะพานลอย ( Over Pass) รวม 4 แห่ง ปัจจุบันทางหลวงพิเศษหมายเลข 9ได้รับการปรับปรุงขยายผิวจราจรเพื่อรองรับการขยายตัวของปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้น โดยที่สำนักก่อสร้างทางที่ 2 กรมทางหลวง จึงได้ดำเนินการก่อสร้างขยายเพิ่มช่องจราจรเป็น 8 ช่องจราจร (ไป กลับ ข้างละ 4 ช่องจราจร) มีไหล่ทางด้านนอกกว้าง 3.00 เมตร และงานขยายความกว้างสะพาน

          ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นเส้นทางเลี่ยงเมืองกรุงเทพมหานครด้านทิศตะวันออก เชื่อมโยงภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคตะวันออกและเชื่อมโยงทิศใต้กับทิศตะวันออกและทิศเหนือ โดยไม่ต้องผ่านเข้ากรุงเทพมหานคร เป็นการช่วยลดการแออัดของปริมาณจราจร ภายในกรุงเทพมหานครและ เป็นการช่วยกระจาย สินค้าและบริการต่าง ๆ ออกสู่ภายนอก ทั้งนี้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 กำลังอยู่ในช่วงของการปรับปรุงขยายผิวจราจร โดยทั้งนี้ได้มีการดำเนินการขยายผิวจราจรยังไม่แล้วเสร็จ

 


Main Menu
hot news
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday12
mod_vvisit_counterYesterday123
mod_vvisit_counterThis week651
mod_vvisit_counterLast week1412
mod_vvisit_counterThis month406
mod_vvisit_counterLast month4227
mod_vvisit_counterAll days311585

Today: Mar 05, 2016