จอมพล ผิน ชุณหะวัณ
ผู้บัญชาการทหารบกลำดับที่ ๑๕
( ระหว่าง ๒๘ พฤษภาคม ๒๔๙๑ - ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๗ )

วันเกิด ๑๔ ตุลาคม ๒๔๓๔ อสัญกรรม ๒๖ มกราคม ๒๕๑๖
เป็นบุตรนายไข่ และนางพลับ ชุณหะวัณ ภริยา คือ คุณหญิงวิบุลลักสม์ ชุณหะวัณ

การศึกษา

- อายุ ๙ ปี เรียนหนังสือกับอาจารย์ไล้ วัดโพธิ์งาม ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคณฑี
จังหวัดสมุทรสงคราม และพระสุย วัดใหม่สี่หมื่น ตำบลสี่หมื่น อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
- อายุ ๑๑ ปี อุปสมบทเป็นสามเณรจำพรรษา ๓ พรรษา แล้วลาอุปสมบทเข้ามาเรียนหนังสือ
ที่วัดมหรรณพารามและวัดบวรนิเวศน์ตามลำดับ
- อายุ ๑๖ ปี นักเรียนนายสิบในกองพลที่ ๔ สอบไล่ได้คะแนนยอดเยี่ยม จึงมีโอกาส
เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบกตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๓

ประวัติรับราชการ
- เมื่อสำเร็จการศึกษา รับราชการเบื้องต้นเป็นนักเรียนทำการประจำกองร้อยที่ ๒
กรมทหารราบที่ ๔ ราชบุรี ทำหน้าที่ฝึกทหารใหม่ได้ที่หนึ่งถึง ๕ ปีติดต่อกัน
- พ.ศ.๒๔๖๔ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกองพลที่ ๔
- พ.ศ.๒๔๖๙ นายทหารฝ่ายเสนาธิการกองทัพที่ ๑ เป็นเวลาหนึ่งปีแล้วกลับมาทำหน้าที่นายทหารฝ่ายเสนาธิการ
กองพลที่ ๔
- พ.ศ.๒๔๗๑ หัวหน้าทหารฝ่ายเสนาธิการ
- พ.ศ.๒๔๗๒ รับพระราชทานยศนายพันตรี
- พ.ศ.๒๔๗๖ เสนาธิการกองผสมปราบปรามพวกกบฏ และเสนาธิการมณฑล ทหารบกที่ ๓
- พ.ศ.๒๔๗๗ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓ รับพระราชทานยศเป็นนายพันโท
- พ.ศ.๒๔๗๘ ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ ๓
- พ.ศ.๒๔๘๐ รับพระราชทานยศนายพันเอก
- พ.ศ.๒๔๘๓ รองแม่ทัพอีสาน
- พ.ศ.๒๔๘๔ รับพระราชทานยศนายพลตรี
- พ.ศ.๒๔๘๕ ข้าหลวงทหารประจำสหรัฐไทยใหญ่ (สหรัฐไทยเดิม)
- พ.ศ.๒๔๘๖ ผู้ช่วยแม่ทัพกองทัพพายัพ รับพระราชทานยศพลโท และกลับไปเป็นข้าหลวงทหารประจำสหรัฐไทยเดิม
- พ.ศ.๒๔๘๗ ประจำกรมเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ.๒๔๘๘ ออกจากราชการ
- พ.ศ.๒๔๙๐ รองผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ.๒๔๙๑ ผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ.๒๔๙๓ รับพระราชทานยศพลเอก
- พ.ศ.๒๔๙๔ ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ.๒๔๙๕ รับพระราชทานยศพลเรือเอก และพลอากาศเอก
รับพระราชทานยศพลอากาศเอก
- พ.ศ.๒๔๙๖ รับพระราชทานยศจอมพล และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
- พ.ศ.๒๔๙๗ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รองจเรทหารทั่วไป
- พ.ศ.๒๕๐๐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท ๒ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และวุฒิสมาชิก
ราชการพิเศษ หรือตำแหน่งพิเศษ
- ราชการสงครามมหาเอเชียบูรพา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญที่ได้รับพระราชทาน
- พ.ศ.๒๔๕๔ เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๖
- พ.ศ.๒๔๖๕ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญบรมราชาภิเษก (เงิน) รัชกาลที่ ๗
- พ.ศ.๒๔๗๒ เหรียญจักรมาลา
- พ.ศ.๒๔๗๓ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๔๗๗ เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
- พ.ศ.๒๔๘๐ ตริตาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๔๘๒ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๔๘๓ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๔๘๔ เหรียญชัยสมรภูมิ (คราวอินโดจีน)
- พ.ศ.๒๔๘๕ ปถมาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๔๘๖ เหรียญชัยสมรภูมิ (คราวสงครามมหาเอเชีย)
- พ.ศ.๒๔๙๑ ปถมากรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๔๙๓ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๘ ชั้นที่ ๒ เหรียญบรมราชาภิเษก (ทอง) รัชกาลที่ ๙ และมหาวชิรมงกุฎ
- พ.ศ.๒๔๙๕ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก และทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
- พ.ศ.๒๔๙๖ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๙ ชั้นที่ ๑ และปฐมจุลจอมเกล้า
ผลงานที่สำคัญ
- พ.ศ.๒๔๘๔ เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาเกิดขึ้น จอมพลผิน ขณะนั้นมียศนายพลตรี ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ
กองพลที่ ๓ นำทหารฝ่าอันตรายจากข้าศึก ภัยธรรมชาติและโรคภัยไข้เจ็บเข้าตีนครเชียงตุงเป็นผลสำเร็จ
- ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (พ.ศ.๒๔๙๑-๒๔๙๗) ได้พยายามปรับปรุงกองทัพโดยตั้งกองทัพ
และกองพลขึ้นเพื่อให้รับผิดชอบในเขตของตนเวลาฉุกเฉิน จัดตั้งจังหวัดทหารบกที่มีหน่วยทหารบกตั้งอยู่ทุกจังหวัด
เพื่อเป็นหน่วยฝึกทหารประจำถิ่นและส่งกำลังเพิ่มเติมแก่หน่วยทหารในสนามรบ ปรับปรุงการจัดหน่วยรบ หน่วยช่วยรบ
หน่วยเสนารักษ์และหน่วยอื่นๆ มีการผนึกกำลังคนไทยทั้ง ทหารและพลเรือนเพื่อป้องกันประเทศ ส่งเสริมการฝึกอาชีพ
แก่พลทหาร เป็นต้น

- กลับสู่หน้าหลัก ทำเนียบผู้บัญชาการทหารบก -