ภาษาราชสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาราชสถาน
राजस्थानी
ภาษาแม่ใน รัฐราชสถาน (อินเดีย)
จำนวนผู้พูด ประมาณ 80 ล้านคน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-2 raj
ISO 639-3 raj

ภาษาราชสถาน เป็นภาษาหลักของภาษากลุ่มอินโด-อารยัน มีผู้พูดราว 80 ล้านคน (มี 36 ล้านคนตามข้อมูล พ.ศ. 2544) ในรัฐราชสถานและรัฐอื่นๆของอินเดีย มีสำเนียงหลัก 8 สำเนียงคือ พาคริ เสขวาตี ธุนธารี ฮารัวตี มาร์วารี เมวารี และวาคริ สำเนียงเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้พูดในราชสถาน แต่ก็มีพบใน คุชราต หรยณะ และรัฐปัญจาบ ภาษามัลวีที่อยู่ในกลุ่มราชสถาน มีผู้พูดในเขตมัลวาทางตะวันตกของรัฐมัธยประเทศ และจังหวัดปัญจาบและจังหวัดสินธ์ในปากีสถาน

ประวัติศาสตร์[แก้]

ภาษาที่เป็นบรรพบุรุษของภาษาราชสถานและภาษาคุชราตคือภาษาคุชราตโบราณ หรือภาษามรุ-คุรชาร์หรือภาษามรุวนี หรือภาษาคุชชาร์ ภขา เป็นภาษาที่ใช้พูดโดยชาวคุรชาร์ในรัฐคุชราตและราชสถาน เอกสารในยุคนี้แสดงลักษณะของภาษาคุชราต การปรับมาตรฐานของภาษาเกิดขึ้นเมื่อ 757 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากจะใช้คำว่าภาษาคุชราตโบราณแล้ว ยังมีผู้ใช้ว่าภาษาราชสถานตะวันตกโบราณ เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีการแบ่งแยกระหว่างภาษาราชสถานกับภาษาคุชราต ไวยากรณ์ของภาษาโบราณนี้ เขียนโดยนักบวชในศาสนาเชน

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์[แก้]

สำเนียงส่วนใหญ่ของภาษาคุชราต ใช้พูดในรัฐราชสถาน และมีบางส่วนใช้พูดในรัฐคุชราต ปัญจาบและหรยณะ นอกจากนั้น ภาษาราชสถานยังใช้พูดในพหวัลปุรและมุลตาน ในจังหวัดปัญจาบของปากีสถาน และบางส่วนในจังหวัดสินธ์

สถานะการเป็นภาษาราชการ[แก้]

ในอดีต จัดให้ภาษาที่ใช้พูดในรัฐราชสถานเป็นสำเนียงของภาษาฮินดีตะวันตก George Abraham Grierson เป็นนักวิชาการคนแรกที่ใช้คำว่าภาษาราชสถานใน พ.ศ. 2451 ในปัจจุบัน ภาษาราชสถานถือเป็นภาษาเอกเทศ ที่มีหลายสำเนียงและมีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย โดยมีการสอนภาษาราชสถานในฐานะภาษาต่างหากตั้งแต่ พ.ศ. 2516 รัฐบาลของรัฐราชสถาน กำหนดให้เป็นภาษาประจำรัฐ แต่ยังมีเส้นทางอีกยาวไกลในการยกระดับให้เป็นภาษาระดับชาติ มีพจนานุกรมและตำราไวยากรณ์สำหรับภาษาราชสถาน

ระบบการเขียน[แก้]

ในอินเดีย ภาษาราชสถานเขียนด้วยอักษรเทวนาครี การใช้อักษรมุริยาใช้เฉพาะในทางธุรกิจเท่านั้น ในปากีสถาน ภาษาราชสถานถือเป็นภาษาของชนส่วนน้อย[1] และใช้ระบบการเขียนของภาษาสินธีในการเขียนภาษาราชสถาน[2][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Language policy, multilingualism and language vitality in Pakistan". Quaid-i-Azam University. สืบค้นเมื่อ 2009–08–09. 
  2. "Goaria". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 2009–08–09. 
  3. "Dhatki". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 2009–08–09.