ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

โลภมูลจิต ๘ ดวง มีสิ่งที่ควรทำความเข้าใจอยู่ ๓ คู่ คือ

คู่ที่ ๑ โสมนัสสสหคตัง (จิตดวงที่ ๑-๔) แปลว่า เกิดพร้อมด้วยความดีใจนั้นต้องถึงกับมีปิติ คือ ความอิ่มเอิบใจด้วย

อุเปกขาสหคตัง (จิตดวงที่ ๕-๘) แปลว่าเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ มีความหมายว่าดีใจเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงกับปลื้มปิติอิ่มเอิบใจ

คู่ที่ ๒ ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง กับ ทิฏฐิคตวิปปยุตตัง (ดวงที่ ๑-๒,๕-๖ กับ ๓-๔,๗-๘) คำว่า "ทิฏฐิ" แปลตามพยัญชนะ คือความเห็น แต่ตามความหมายแห่งธรรม ถ้าใช้คำว่า "ทิฏฐิ" ลอย ๆ หมายถึง "มิจฉาทิฏฐิ" คือความเห็นผิด เว้นแต่ที่ใดบ่งไว้ว่า "สัมมาทิฏฐิ" หรือ "ทิฏฐิวิสุทธิ" หมายถึง ความเห็นชอบ เห็นถูกต้องตามสภาพแห่งความเป็นจริง

ทิฏฐิคตสัมปยุตต ในโลภมูลจิตนี้ หมายถึง ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิโดยตรงทีเดียว เช่น เห็นผิดว่า บาปไม่มี ผลแห่งการทำบาปไม่มี

ทิฏฐิคตวิปปยุตต ในโลภมูลจิตนี้ หมายเพียงว่าไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดเท่านั้น หรือทำไปโดยไม่รู้ แต่ไม่ถึงกับอวดรู้ โทษทัณฑ์ก็ย่อมเบาหน่อย

คู่ที่ ๓ อสังขาริก แปลว่า เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งชักชวน

จิตที่เป็นอสังขาริก(ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว) เพราะอำนาจ ๖ อย่างดังนี้

๑. มีปฏิสนธิจิตที่เกิดจากอสังขาริก เพราะในอดีตได้สั่งสมอสังขาริกมาก่อน

๒. มีกายและจิตเข้มแข็ง

๓. มีความอดทนอดกลั้นสูง

๔. เห็นอานิสงส์ในการงานของบุรุษที่กระทำขึ้น เห็นประโยชน์ของการงาน

๕. มีความชำนาญในการงาน

๖. ได้รับอากาศดี และมีอาหารดี

สสังขาริก แปลว่า เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

สิ่งชักชวน ชักนำ ชักจูง นั้นคือ สังขาร แปลว่าปรุงแต่ง สังขารในที่นี้หมายถึง ชักชวน ชักนำ ชักจูง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ คือคิดถึงเรื่องเพลิดเพลิน แล้วเกิดโลภจิตขึ้น หรือคิดถึงเรื่องไม่ดีไม่ชอบใจก็เกิดโทสะขึ้น

จิตที่เป็นสสังขาริก เพราะอำนาจ ๖ อย่าง ดังนี้

๑. มีปฏิสนธิจิตเป็น สสังขาริก เพราะในอดีตจะทำความดีต้องอาศัยผู้อื่นชักชวนจึงทำ

๒. มีกายและจิตใจไม่เข้มแข็ง คือร่างกายอ่อนแอและจิตใจก็อ่อนแอด้วยจึงไม่ทำ

๓. มีความอดทนน้อย ไม่อดทนต่อความร้อนหนาว ความหิวกระหาย ทนไม่ได้

๔. ไม่เห็นอานิสงส์ของการงานของบุรุษ มองไม่เห็นประโยชน์ของการงานเลยไม่ทำจึงอ่อนแอ ต้องมีผู้ชักชวน

๕. ไม่มีความชำนาญในการงาน เพราะทำไม่เป็นจึงต้องคอยผู้ชักชวนจึงลงมือทำ

๖. ไม่ได้รับอากาศที่ดีและได้รับอาหารที่ไม่ดี

 

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...